Family Description |
A-G |
รู้จักลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืชวงศ์ต่างๆกัน |
ACANTHACEAE (วงศ์ไม้ต้อยติ่ง) | |
ACANTHACEAE (ACAN) |
ประมาณ250 สกุล2,500ชนิด พืช วงศ์นี้ส่วนใหญ่กระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกาถึงทวีปออสเตรเลีย ประกอบด้วยพืชที่เป็นไม้พุ่มและไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม มีใบคู่ตรงข้าม ดอกจะมีลักษณะเป็นช่อกระจะหรือช่อแยกแขนงออกที่ปลายยอด หลอดแยกเป็น 5กลีบ หรือรูปปากเปิดเช่น ฟ้าทะลายโจร ทองพันชั่ง ดาดตะกั่ว บุษบาฮาวาย กาบรองดอกที่เห็นเด่นชัดเมื่อติดผลเป็นฝักเล็กๆแก่เต็ม ที่จะดีดตัวไปไกลเพื่อกระจายพันธุ์ เช่นต้อยติ่งพืชวงศ์นี้ปลูกเลี้ยงง่าย แข็งแรงทนทาน ขยายพันธุ์ง่ายด้วยการปักชำกิ่ง เช่น บุษบาฮาวาย อังกาบ เพ็ญทิวา สังกรณี ใบเงิน ใบทอง ใบนาก ดาดตะกั่ว ดาดทับทิม ขาไก่่ด่าง ละอองดาว พรมออสเตรเลีย เสลดพังพอน ฯลฯ |
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||
ACERACEAE (วงศ์ก่วม) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
ACERACEAE (ACER) |
วงศ์เล็กที่กระจายในเอเซียตะวันออกประกอบด้วย 2 ถึง 4 สุกลขึ้นกับขอบเขต มีประมาณ 120 ชนิดที่เป็นไม้ยืนต้นและไม้พุ่ม ในประเทศไทยพบ1สกุลคือACERลักษณะเป็นไม้ต้น ใบ เดี่ยว ติดตรงข้ามสลับตั้งฉาก ขอบเรียบ เส้นใบออกจากโคนใบ 3-5เส้น บางครั้งพบออกจากสองข้างของเส้นกลางใบแบบขนนก ไม่มีหูใบ ดอก แยก เพศสมมาตรตามรัศมี กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมี 4 หรือ 5 กลีบ แยกจากกัน ผล มีปีกตัวอย่างพืชวงศ์นี้ได้แก่ ก่วมเชียงดาว Acer chiangdaoense ก่วมขาว Acer laurinium ก่วมแดง Acer calcaratum Acer oblong
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||
AGAVACEAE (วงศ์อากาเว่) |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||
AGAVACEAE (AGA) |
พรรณไม้ประดับที่น่าสนใจในวงศ์นี้ได้แก่ สกุลอากาเว่ (Agave) เฟอร์เครีย (Furcraea) และ ยุกกา(Yucca) พบแล้วประมาณ 300ชนิด มีการกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาเหนือและทางตอน เหนือของทวีปอเมริกาใต้ เป็น พืชมีเหง้าใบมักแตกเป็นพุ่มหนาแน่นบริเวณโคนต้น ลำต้นมักแคบหนามีเนื้อมากลำต้นอาจสั้นหรือเจริญเติบโตดี ดอกสมบูรณ์เพศ มีดอกเพศเดียวและสมบูรณ์เพศอยู่ร่วมต้น หรือต่างเพศต่างต้น ไม่มีกระบังรอบหรือมงกุฏ เกสรเพศผู้มี6อัน ผลแห้งแตกหรือผลมีเนื้อหลายเมล็ด หรือเมล็ดเดียว พืชวงศ์นี้ปลูกเลี้ยงง่าย แต่ไม่ทนกับน้ำท่วมขัง แสงแดดครึ่งวันถึงตลอดวัน สามารถปลูกเป็นไม้กระถาง ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อหรือนำต้นที่เกิดจากดอกมาปลูกใหม่
|
AIZOACEAE (วงศ์ผักเบี้ยหิน) |
|||||||||||||||||||
AIZOACEAE (AIZO) |
ประมาณ130สกุล 1200 ชนิดพันธุ์ ส่วนใหญ่เป็นพืชกึ่งเขตร้อน สกุลที่เป็นพันธุ์พืชท้องถิ่นของไทยมี 3สกุล เป็นไม้ล้มลุกอวบน้ำ พุ่มเตี้ย เป็นพืชทนแล้งได้ดี แตกกิ่งก้านสาขามากใบใส ดอกจะออกเดี่ยวๆ สมบูรณ์เพศ ฝักแก่แตก ตัวอย่างชนิดพืชได้แก่ ผักเบี้ยเขียว (Glinus lotoides)
|
ALANGIACEAE(วงศ์สลีกดง) | |||||||||||||||
เป็นวงศ์เล็กทั่วโลกมีเพียง 1สกุล 21ชนิด จำกัดอยู่ในเขตศูนย์สูตรของแอฟริกาและเอเซีย พบทางภาคเหนือของไทย4ชนิด เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย หรือไม้ยืนต้นผลัด ใบ ช่อดอกสั้นสีเหลืองอ่อนหรือครีมกลีบดอกอยู่ชิดกันแต่ไม่ซ้อนกัน กลีบเป็นเส้นยาวโค้งไปข้างหลังเมื่อดอกบาน ดอกมีกลิ่นหอม ผลเกลี้ยงหรือมีขนห่างๆ ภายในมี1เมล็ด ตัวอย่างพืชในวงศ์นี้ ได้แก่ ปรู, มะตาปู๋ - Alangium salvifolium สลีกดง - Alangium kurzii ผีเสื้อ - Alangium chinense Alangium barbatum
|
|||||||||||||||
ALISMATACEAE | |||||||||||||||
ALISMATACEAE (ALISM) |
พืชวงศ์นี้มักเป็นไม้น้ำที่ขึ้นอยู่ในดินปนทรายทั่วไป ที่ลุ่มน้ำขังแฉะ หรือเลนโคลนใต้น้ำ ลำต้นมีเหง้าใหญ่ ใบจะแตกออกจากเหง้าเป็นกระจุกที่โคนต้น มีก้านใบชัดเจน ช่อดอกมีขนาดใหญ่ ก้านช่อยาวเป็นเหลี่ยม เช่น อเมซอน ตาลปัตรยายชี ผักนางกวัก |
||||||||||||||
บัวอเมซอน |
ผักนางกวัก |
ตาลปัตรยายชี |
ตาลปัตรฤาษี |
AMARANTHACEAE |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||
AMARANTHACEAE (AMAR) มี 64 สกุล ประมาณ 800 ชนิดเป็นไม้ ล้มลุก พุ่มเล็ก มีการกระจายพันธุ์ในเขตร้อนของทวีปอเมริกา มีอายุปีเดียวหรือหลายปี บางชนิดเป็นพืชผักหรือเป็นไม้ประดับ ใบเดี่ยว ติดเรียงแบบสลับหรือตรงกันข้าม ขอบใบเรียบ ผิวใบมีขน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบอ่อน กิ่งก้านและใบเล็ก ใบมีหลายสี มีดอกจำนวนมากและแต่ละดอกมี 1 เมล็ด พืชวงศ์นี้ปลูกเลี้ยงง่ายต้องการแสงแดดครึ่งวันถึงตลอดวัน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ตัวอย่างพืชในวงศ์นี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||
AMARYLLIDACEAE (วงศ์พลับพลึง) |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
AMARYLLIDACEAE (AMARY) มีประมาณ 65สกุล900ชนิด ไม้หัวล้มลุก อายุหลายปี ลำต้นอวบน้ำ มีกาบบางเป็นเยื่อหุ้มหัวใต้ดินไว้ ใบเดี่ยวขึ้นเป็นกระจุกจากหัว ดอกคล้ายดอกลิลลี่ สมบูรณ์เพศ ช่อดอกแบบร่มมีรังไข่อยู่ในวงกลีบซึ่งลิลลี่ไม่มี ตัวอย่างพืชในวงศ์นี้ได้แก่ หอมเล็ก (Allium ascalonicum)
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ANACARDIACEAE (วงศ์ไม้มะม่วง) |
|
ANACARDIACEAE (ANACA) |
มีประมาณ 75สกุล 600ชนิด เป็นไม้ ต้นหรือไม้พุ่ม ส่วนของต้นพืชจะมีน้ำยางข้น โดยน้ำยางที่ออกใหม่ๆ มีสีขาวขุ่นหรือใสเมื่อถูกลมจะเปลี่ยนเป็นสีดำ เปลือก ใบ และผลสดจะมีกลิ่นเปรี้ยวใบเรียงสลับอาจมีตรงข้ามแต่หายาก ดอกสมบูรณ์เพศ หรือไม่สมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงหยักเป็นรูปต่างๆ มีกลีบดอก3-7กลีบ หรือไม่มีเลย เกสรเพศผู้มีจำนวนเท่ากับจำนวนกลีบดอก ผลมีเมล็ดแข็ง มะม่วงหิมพานต์ (Anacardium occidentale) |
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
ANNONACEAE (วงศ์ไม้กระดังงา) |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
ANNONACEAE (ANN) |
ไม้เขตร้อนมีทั้งไม้ต้น ไม้พุ่ม และไม้เถาเลื้อย เปลือกและใบมีต่อมน้ำมันทำให้มีกลิ่นเฉพาะตัว โดยมากเหม็นเขียวเปลือกชั้นในของลำต้นส่วนใหญ่มีเส้นใยสานเป็นร่างแหบาง ๆ เรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ใบเรียงสลับมีดอกสีนวลถึงน้ำตาลหลายผล ติดอยู่บนแกนดอก บางชนิดจะเชื่อมติดกันเป็นผลกลุ่มเมล็ด มีขนาดใหญ่ ผิวหุ้มเมล็ดแข็งและเป็นมัน มีอาหารสะสม ผิวของเนื้อเยื่อสะสมอาหารเป็นร่องลาย หลายชนิดเป็นไม้ผลกินได้ เช่น น้อยหน่า, น้อยโหน่ง, ทุเรียนเทศ และมีหลายชนิดมีกลิ่นหอมและรู้จักกันโดยทั่วไป เช่น กระดังงา ,สายหยุด และการเวก เป็นต้น พันธุ์ไม้ในวงศ์นี้มีประมาณ 120 สกุล 2,100 ชนิด กระจายพันธุ์ในประเทศไทย 35 สกุล 200 ชนิด ตัวอย่างพรรณไม้ในวงศ์นี้ จำปูน (Anaxagorea javanica) มะป่วน (Mitrephora tomentosa) |
||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
APOCYNACEAE (วงศ์ตีนเป็ด) |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
APOCYNACEAE (APOCY) พันธุ์ไม้ในวงศ์นี้มีประมาณ 180 สกุล 1,500 ชนิด กระจายพันธุ์ในประเทศไทย 42 สกุล 150 ชนิด มีทั้งไม้ต้น ไม้พุ่มและไม้เลื้อย ลักษณะเด่นคือมีน้ำยางข้นสีขาวคล้ายน้ำนม การจัดเรียงใบตรงกันข้าม เวียนสลับหรือเป็นวง โดยมีสกุลเด่นๆ คือ
สกุลตีนเป็ดทะเล (ชื่อวิทยาศาสตร์:Cerbera) ไม้ต้น ขึ้นตามป่าชายเลนและป่าชายหาดได้แก่ ตีนเป็ดทราย (Cerbera manghas L.) ผลมีเนื้อเมล็ดแข็ง
สกุลคุย (ชื่อวิทยาศาสตร์:Willughbeia) ไม้เลื้อย ผลนุ่ม กลม สีเหลืองหรือส้ม ได้แก่ คุย (Willughbeia edulis Roxb.)
สกุลโมกหลวง (ชื่อวิทยาศาสตร์:Holarrhena) ไม้พุ่มผลัดใบหรือไม้ต้น สูงได้ถึง 15 เมตร เปลือกต้นสีเทาอ่อนถึง น้ำตาล หลุดลอกเป็นแผ่นกลมๆ ไม่เท่ากัน เช่น โมกหลวง (Holarrhena pubescens)
สกุลโมกมัน (ชื่อวิทยาศาสตร์:Wrightia) ไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 8 - 20 เมตร เปลือกสีขาวหรือสีเทาอ่อนถึงน้ำตาล นิ่มคล้ายจุกไม้ก๊อร์ค เช่น โมกมัน (Wrightia arborea (Dennst.) Mabb.)
ไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้เลื้อย อื่นๆในวงศ์นี้ เช่น บานบุรี ยี่โถ หิรัญญิการ์ ขะย่อมหลวง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ARACEAE (ไม้วงศ์บอนและเผือก) |
|
ARACEAE (ARA) |
มีประมาณ108 สกุล 3,750 ชนิด ลำต้นอวบน้ำ บางชนิดมีเนื้อไม้ บางชนิดมีรากเกาะเลื้อยตามต้นไม้อื่น ลักษณะใบมีความหลากหลาย เป็นวงศ์ไม้ล้มลุกขนาดใหญ่ ที่มีลักษณะเด่นคือ มีลำต้นเป็นหัวสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน มีตาปกคลุมโดยรอบ ภายในมีน้ำยางใสที่มีผลึกแคลเซียมออกซาเลตที่เป็นพิา เมื่อสัมผัสจะทำให้คัน มีช่อดอกแบบช่อเชิงลด มีกาบหุ้มช่อดอกที่มีสีสันสะดุดตา ตัวอย่างได้แก่ หน้าวัว บอนสี พลูด่าง เขียวหมื่นปี อุตพิด |
พรรณไม้วงศ์ ARACEAE นี้มีสกุลที่สำคัญอยู่ดังนี้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สกุลอโกลนีมา (Aglaonema Schott) พบทั่วโลกประมาณ 21ชนิด มีเป็นทั้งไม้พุ่มและไม้เลื้อย ลำต้นอวบน้ำมีข้อปล้องเด่นชัด เป็นพรรณไม้ที่ปลูกในเมืองไทยมานานแล้ว นับตั้งแต่ยุคของว่านและไม้มงคลต่างๆ ปัจจุบันมีชื่อพระราชทานว่า"แก้วกาญจนา" ได้แก่ เขียวหมื่นปี เขียวพันปี ขันหมากป่า
สกุลอโลคาเซีย (Alocasia (Schott) G.Don f.) ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีลำต้นจริงเป็นหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดินใบรูปหัวใจหรือลูกศร ก้านใบสีเขียวมีลวดลาย ดอกแยกเพศอยู่บนช่อเดียวกัน ชอบดินชุ่มชื้นแสงแดดรำไรถึงครึ่งวัน แต่บางชนิดก็ชอบแสงแดดมากเช่นกระดาดขาว กระดาดแดง กระดาดดำ แก้วหน้าม้า
สกุลคาลาเดียม (Caladium Vent) ที่ค้นพบแล้วมี 7ชนิด ปัจจุบันมีลูกผสมที่สวยงามในเมืองไทยมากมายจนได้ชื่อว่า"บอนสี" ราชินีแห่งไม้ใบ สกุลโคโลคาเซีย (Colocasia Schott) ที่ค้นพบปัจจุบันมี8ชนิด มีการกระจายพันธุ์ในเขตร้อนทั่วไป ได้แก่ บอนและเผือก คูน(ออกดิบ)
สกุลสาวน้อยประแป้ง (Dieffenbachia Schott) มีประมาณ 20ชนิด ปัจจุบันมีพันธุ์ลูกผสมที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับจำนวนมาก
สกุลโฮมาโลมีนา (Homalomena Schott) ลักษณะเด่นคือทุกส่วนของต้นเมื่อขยี้จะมีกลิ่นหอม เป็นไม้อวบน้ำชอบแสงแดดรำไร ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ เช่น เสน่ห์จันทร์ขาว เสน่ห์จันทร์แดง ร่มญี่ปุ่น สกุลมอนสเตอรา (Monstera A dans) มีชื่อสามัญว่า Swiss - Cheese Plant และ Windowleaf มีการกระจายพันธุ์ในเขตร้อนของทวีปอเมริกา พบทั่วโลกประมาณ22ชนิด
สกุลฟิโลเดนดรอน (Philodendron Schott) ปัจจุบันค้นพบแล้วประมาณ350-400ชนิด ซึ่งมีความหลากหลายของรูปใบและการเจริญเติบโตมาก
สกุลซิงโกเนียม (Syngonium Schott) หรือที่นิยมเรียกกันว่า เงินไหลมา ทองไหลมา พบแล้วประมาณ33ชนิด เป็นไม้เลื้อยอายุหลายปี
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
AQUIFOLIACEAE(วงศ์เน่าใน) |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทั่วโลกมี1สกุลประมาณ400ชนิดกระจายพันธุ์ทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นไม้ต้นขนาดเล็กหรือไม้พุ่ม ไม่ผลัดใบ ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ แผ่นใบมักอวบน้ำ ขอบใบเรียบถึงหยักซี่ฟันมีติ่งหนามปลายหยัก ดอกแบบช่อกระจุกออกตามง่ามใบ เหนือง่ามใบหรือปลายยอด ดอกขนาดเล็กสมมาตรตามรัศมี ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้นหรือดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้นแกมดอกสมบูรณ์เพศ ผลเมล็ดเดียวแข็งมี2-4ถึงหลายเมล็ด มีผนังหุ้มเมล็ดแข็ง ตัวอย่างต้นไม้ในวงศ์นี้ ได้แก่ ศิลา Ilex cymosa, เน่าใน Ilex umbellulata
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ARALIACEAE (วงศ์เล็บครุฑ) |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ARALIACEAE (ARAL) |
มี 65 สกุล 900 ชนิดเป็นไม้ เขตอบอุ่นและร้อนมีทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก และไม้เถาเลื้อย กิ่งแข็งแต่ตอนกลางมีไส้แกน ใบมักมีกลิ่นหอม มีทั้งใบเดี่ยว ใบประกอบแบบต่างๆ ขอบใบอาจเรียบหยักเว้าเป็นจักหรือเป็นฝอย มีเซลล์ขนขึ้นที่ใบ เยื่อก้านใบติดเป็นแผ่นบางที่โคนใบหรือติดอยู่ระหว่างก้านใบ หรือเป็นแผ่น ลิ้นอยู่เหนือโคนใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็ก สีเขียว มีรูปทรงได้สัดส่วน มีเพศเดียวหรือเพศครบ ดอกมีกลีบประดับย่อยรองรับ กลีบรอง มี 5 กลีบ ติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็นจักซี่ กลีบมีขนาดเล็ก กลีบดอก มี 5 กลีบ แยกกันหรืออาจติดกัน มีสีขาวปนเขียว ร่วงเร็ว เกสรตัวผู้ มี 5 อัน อยู่แยกกัน ติดสลับกลีบดอก ตัวอย่างไม้ในวงศ์นี้ ได้แก่ Aralidium pinnatifidum มือพระนารายณ์ Heteropanax fragrans อ้อยช้าง Polyscias fillicifolia ครุฑกนก Brassaia actinophylla หนวดปลาหมึก Polyscias guilfoylei ครุฑใบใหญ่ Macropanax dispermum เพี้ยฟาน Pseudobrassaiopsis polyacantha ผักหนามช้าง Brassaiopsis hookeri ต้างบก Schefflera bengalensis หนวดปลาหมึกเขา Trevesia valida คันหามเสือ Trevesia palmata ต้างหลวง
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ARAUCARIACEAE | ||||||||||
ARAUCARIACEAE (ARAU) |
ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบมียาง แตกกิ่งรอบต้น จัดเรียงแบบใบสลับ ใบคล้ายรูปลิ่มแคบถึงรูปไข่กว้าง ใบหนาเหมือนแผ่นหนังได้แก่ สนฉัตร สนหนามจีน
|
|||||||||
ARISTOLOCHIACEAE |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ARISTOLOCHIACEAE (ARIS) |
เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง มีรสขม มีน้ำยางใส มีการจัดเรียงใบแบบสลับมีเส้นใบออกจากจุดโคนใบ และออก จากสองข้างของเส้นกลางใบแบบขนนกโคนใบรูปหัวใจ ดอกมีลักษณะแปลกคือเป็นหลอดดอกที่โค้งงอกลีบรวมเชื่อมติดกัน ที่โคนเป็นกระเปาะ รูปร่างคล้ายไก่ฟ้า มีกลิ่นเหม็น สีสะดุดตา ผลมีรูปร่างคล้ายกระเช้า เช่น ไก่ฟ้า กระเช้าสีดา กระเช้าถุงทอง กระเช้านกเล็ก นกขมิ้น ในประเทศไทยมี 2 สกุล สกุลไก่ฟ้า Aristolochia เป็นไม้เลื้อย ชนิดที่พบทั่วไป คือ กระเช้าผีมด, Aristolochia tagala . กระเช้าถุงทอง Aristolochia pothieri สกุลหูหมี Thottea เป็นไม้ล้มลุก ชนิดที่พบทั่วไป คือ Thottea tomentosa
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ASCLEPIADACEAE(ไม้วงศ์ดอกรัก) |
|||||||||||||||||||||||||||||||
ASCLEPIADACEAE (ASCL) |
มีประมาณ170สกุล 2.000ชนิด เป็นไม้พุ่มหรือไม้เถาหรือไม้พุ่มอวบน้ำ ล้มลุก มีน้ำยางสีขาวข้น ดอกเป็นมันคล้ายขี้ผึ้งปกติมักมีใจกลางของดอกคล้ายมงกุฎ ได้แก่โฮย่า เดป เทียนแดง สร้อยใบโพธิ์ ดอกรัก จมูกปลาหลด Asclepias curassavica เทียนแดง ,Dischidia major กระเช้าผีมด
|
ASPLENIACEAE(วงศ์เฟินข้าหลวง) |
||||||||||
ASPLENIACEAE (ASPL) |
เป็น พืชวงศ์เฟินอิงอาศัย หรือขึ้นบนดิน ลำต้นเป็นเหง้าสั้น ตั้งตรงหรือเลื้อย ปกคลุมด้วยขนและเกล็ด เกล็ดประกอบด้วยเซลล์ผนังหนาเด่นชัด ใบดี่ยว หรือใบประกอบแบบขนนกหลายชั้น เส้นใบแตกเป็นง่ามปลายอิสระ หรือบางครั้งเชื่อมติดกันใกล้ขอบใบ กลุ่มอับสปอร์รูปแถบยาวต่อเนื่องตามแนวเส้นใบ มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์ สปอร์มี2ซีกเหมือนกัน รูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วมีปากเปิดด้านเดียว ได้แก่เฟินข้าหลวงAsplenium nidus, ข้าหลวงอ่างขางAsplenium antrophyoides, ข้าหลวงเลื้อยบาตู A.batuense,ข้าหลวงเลื้อยใบยาว Asplenium longissimum
|
|||||||||
AVERRHOACEAE(วงศ์มะเฟือง) |
|||||||||||||
AVERRHOACEAE (AVER) |
ไม้ ต้นขนาดเล็กใบเรียงสลับใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ชั้นเดียว ใบย่อยออกตรงข้าม หรือเรียงสลับ ดอกขนาดเล็กมีกลีบเลี้ยง5กลีบ มีเกสรเพศผู้ 10 อันเรียงเป็น2ชั้น ผลมีเนื้อหลายเมล็ด และมีขนาดใหญ่มี5พู เมล็ดไม่มีเยื่อหุ้มหรือมีเยื่อหุ้มเช่น มะเฟือง ตะลิงปลิง
|
||||||||||||
BALANOPHORACEAE(วงศ์ขนุนดิน) |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มีรายงานพบในประเทศไทย55สกุล เป็นพืชเบียนขึ้นบนรากไม้อาศัยแย่งอาหารจากพืชสกุลอื่น ลำต้นอยู่รวมกันเป็นก้อยขรุขระอยู่ใต้ดิน ดอกขนาดเล็ก ช่อแก่จะส่งก้านขึ้นเหนือผิวดิน เป็นกลุ่มหรือเป็นกระจุก มีกลิ่นหอมเอียน ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่แยกต้นสีแดงอมน้ำตาลหรือขาวถึง เหลืองอ่อน ตัวอย่างพืชในวงศ์นี้ Aeginetia indica ดอกดินแดง Balanophora latisepala ดอกดินขาว Balaophora fungosa ขนุนดิน
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||
BALSAMINACEAE (ไม้วงศ์เทียน) |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||
BALSAMINACEAE (BALS) |
มี 2 สกุล 600 ชนิด ไม้ล้มลุก อายุปีเดียว บางชนิดเป็นไม้น้ำ หรือไม้พุ่มกึ่งล้มลุก อวบน้ำใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ ข้อละ3ใบ ดอกสมบูรณ์เพศดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยง3-5กลีบ แยกหรือติดกัน เกสรเพศเมีย1อันเพศผู้5อัน ผลแห้งแตกแยกเป็น5แฉก ผลมีเนื้อหลายเมล็ด เมล็ดแข็ง ตัวอย่างไม้ในวงศ์นี้ ได้แก่ เทียนบ้าน เทียนฝรั่ง เทียนภู เทียนหิน เทียนดอย เทียนน้ำ (Hydrocera triflora)
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
BASELLACEAE(วงศ์ผักปลัง) | |||||||
BASELLACEAE (BASEL) |
มีประมาณ5สกุล 22ชนิด ไม้ เลื้อยพันลำต้นมักอวบน้ำ ใบเดี่ยวครงข้ามออกเวียนสลับ ดอกสมบูรณ์เพศมีใบประดับ2ใบคล้ายกลีบเลี้ยงสีสันคล้ายกลีบดอก กลีบเลี้ยงแยกหรือติดกัน5กลีบไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้5อันเรียงตรงข้ามกับกลีบเลี้ยงและติดที่โคนกลีบเลี้ยง ผลไม่แตก มีวงกลีบเลี้ยงอวบน้ำ หรือใบประดับที่แผ่เป็นปีกหุ้ม เมล็ดเดียวมีเยื่อหุ้มเปลือกเมล็ดชั้นนอกบางได้แก่ ผักปลังขาว Basella alba, ผักปลังแดง Basella rubra
|
||||||
BARRINGTONIACEAE (วงศ์ไม้กระโดน) | |
BARRINGTONIACEAE (BAR) |
ไม้ ต้นและไม้พุ่มใบใหญ่ เรียงสลับ ดอกสมบูรณ์เพศ วงกลีบเลี้ยง4-5กลีบ ที่หยักเป็น2-3พูจะพบน้อยมาก กลีบดอกรูปอิสระมี4-5กลีบ หรือไม่มีเลย เกสรเพศผู้มีมากเรียงหลายชั้น ผลมีเมล็ดแข็งหรือมีลักษณะเป็นผลมีเนื้อ ได้แก่ จิกบ้าน กระโดน |
จิกนา |
จิกสวน |
กระโดน |
BEGONIACEAE | |
BEGONIACEAE (BEGON) |
มี5สกุล 920ชนิด ไม้ พุ่มหรือไม้เลื้อย เนื้ออ่อน อวบน้ำอายุหลายปี ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น เหง้าเลื้อยหนา หรือมีหัว ใบเดี่ยวเวียนสลับหรือเป็น2แถว ช่อดอกออกแบบช่อกระจุก ดอกแยกเพศ เพศผู้2-4กลีบมีเกสรจำนวนมาก ดอกเพศเมีย2-5กลีบ รังไข่ใต้วงกลีบมีกมีปีก ได้แก่ บีโกเนีย ตัวอย่างชนิดพืชBegonia coccinea ดาดตะกั่วดอก |
BERBERIDACEAE (วงศ์ขมิ้นต้น) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
BERBERIDACEAE |
เป็นวงศ์ขนาดเล็กทั่วโลกมีประมาณ680ชนิด ในเขตอบอุ่นเหนือ และ๓ูเขาบริเวณเส้นศูนย์สูตร พบในภาคเหนือของไทย1ชนิดคือ Mahonia nepalensis ขมิ้นต้น ลักษณะเป็นไม้ไม่ผลัดใบ ลำต้นสั้นกิ่งก้านหนาใหญ่ เปลือกขั้นนอกสีน้ำตาล เปลือกชั้นในสีเหลืองสด ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบย่อยคู่ล่างสุดมักจะกลมและขนาดเล็กกว่าใบย่อยคู่อื่นๆ ดอกเป็นช่อยาวไม่แตกแขนงสีเหลืองสด ผลสีน้ำเงินเหลือบเทาอ่อนยอดเกสรเพศเมียยังอยู่เป็นติ่งสั้นๆที่ปลายผล เนื้อผลฉ่ำน้ำสีแดงเข้มมีเมล็ด1เมล็ด
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
BETULACEAE (วงศ์ไม้กำลังเสือโคร่ง) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มี 6 สกุล ประมาณ 110 ชนิด เป็นไม้ยืนต้นหรือไม้พุ่ม บริเวณที่เกิดตาจะมีเกล็ดแข็งหุ้มไว้ ใบเดี่ยว ติดเรียงแบบสลับ มีเยื่อก้านใบ แผ่นใบบางขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย เส้นใบตรงช่อดอก ห้อยหัวลง มีกาบรองช่อดอกหุ้มรองรับโคนก้านช่ออยู่หลายชั้น ช่อดอกตัวผู้มีดอกมากแต่ร่วงง่าย ผลขนาดเล็ก อาจมีครีบติด มีกาบรองคล้ายใบหุ้มผลไว้ มี 1 เมล็ด เพราะเมล็ดอื่นๆ ฝ่อหมด
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
BIGNONIACEAE(วงศ์ปีป) |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
BIGNONIACEAE (BIGNO) พืช เขตร้อน มีทั้งไม้ต้น ไม้พุ่ม และไม้เถามีมือจับใบเดี่ยวหรือใบประกอบเรียงตรงข้าม กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น5กลีบ เกสรเพศผู้มักมี4อันเรียงกันเป็น2คู่ยาวไม่เท่ากันเมล็ดมักมีปีก ดอกใหญ่ร่วงง่ายส่วนใหญ่กระจายพันธุ์ในเขตร้อน มีบางชนิดเท่านั้นที่กระจายไปในเขตอบอุ่นโดยในประเทศไทย มี 14 สกุล เช่น สกุลปีป (Millingtonia) ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ได้แก่ ปีบ (Millingtonia hortensis L.f.)
สกุลเพกา (Oroxylum) ไม้ต้น พบในป่าดิบชื้น ได้แก่ เพกา (Oroxylum indicum (L.) Kurz)
สกุลกาสะลองคำ (Radermachera) ไม้ต้น พบในป่าดิบชื้น เช่นปีบทอง (Radermachera ignea)แคชาญชัย(Radermachera eberhardii)
สกุลแคทราย (Stereospermum) ไม้ต้น พบในป่าดิบชื้น ได้แก่ แคทราย (Stereospermum neuranthum Kurz)
สกุลแคสันติสุข (Santisukia) ไม้ต้นขนาดเล็ก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว เช่น แคสันติสุข (Santisukis kerrii (Barnett & Sandwith) Brummit)
สกุลตาเบบูย่า (Tabebuia) ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เช่น ชมพูพันธุ์ทิพย์ (Tabebuia rosea (Bertol.) DC.) และ เหลืองปรีดิยาธร (Tabebuia argentea Britt.)
สกุลศรีตรัง (Jacaranda) ไม้ต้นผลัดใบขนาดกลาง เช่น ศรีตรัง (Jacaranda filicifolia (Anders) D.Don) และ ศรีตรังพระยารัษฎา (Jacaranda obtusifolia Humb. & Bonpl.) ศรีตรัง แคฝอย (แคฝอย) (Jacaranda minosifolia D.Don)
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
BIXACEAE(วงศ์คำแสด) |
||||||||||
BIXACEAE (BIXA) |
ไม้ พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กมีน้ำยางเป็นสี ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยง5กลีบ กลีบดอก5กลีบ มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก เนื้อผลสีแดง ผลแห้งแล้วแตกเป็นสองแฉกมีหนามทู่ปกคลุมจำนวนมาก หรือเรียบเกลี้ยง เปลือกหุ้มเมล็ดชั้นนอก เช่น คำแสด
|
|||||||||
BOMBACACEAE(วงศ์งิ้ว) |
||||||||||||||||
BOMBACACEAE (BOMB) |
เป็น พืชพวกไม้ใหญ่ยืนต้น โคนต้นกว้าง อาจมีพูพอน มีการแตกกิ่ง สาขากว้างใหญ่ เปลือกในมียางเมือก บางครั้งลำต้นอ้วนพองเพื่อเป็นที่เก็บน้ำ ใบเดี่ยวหรือใบประกอบแบบนิ้วมือเรียงเวียนสลับ ดอกใหญ่ สมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงจรดกันเมื่อยังตูม หายากที่จะลึกเป็น5กลีบ กลีบดอกใหญ่เรียงยาวบางครั้งก็ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้แยกกันหรือเชื่อมติดกันเป็นหลอด ผลแห้งแตกกลางพู เมล็ดจะฝังตัวอยู่ระหว่างขนที่เกิดจากด้านในพูเมล็ด มีขนาดใหญ่ ผิวเรียบ ฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อคล้ายไส้ผิวด้านนอกของเมล็ดมีปุยเยื่อเส้นใย หรือเนื้อเยื่อสะสมสาร ห่อหุ้มไว้ เมล็ดไม่มีอาหารสะสม ต้นอ่อนในเมล็ดโค้งและเป็นเมือก พืชในวงศ์นี้ได้แก่เช่น งิ้ว งิ้วป่า ทุเรียน ทุเรียนผี นุ่น งิ้วป่า (Bombax anceps)
|
|||||||||||||||
BORAGINACEAE(วงศ์หญ้างวงช้าง) |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มีประมาณ 100 สกุล 2,000 ชนิดเป็นพืชล้มลุก มีขนคลุม อายุปีเดียวหรือข้ามปี มีเพียงบางชนิดที่เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น ใบเดี่ยว ขอบใบเรียบ เนื้อใบหยาบ มีขนแข็งคลุมติดเรียงแบบสลับช่อดอก จะม้วนโค้งขณะอายุยังน้อย ดอกสมบูรณ์เพศ มีขอบเยื่อวงแหวนรองรับรังไข่ กลีบเลี้ยง มี 5 กลีบ แยกกันหรือรวมกัน เป็นหลอดปลายแฉก กลีบดอก มี 5 กลีบติดกัน ปลายแผ่ราบ ปากหลอดกลีบดอกมักมีขนคลุมภายใน มักมีขนคลุมภายใน มีมีสีเท่าอมฟ้า หรือสีขาว ตัวอย่างชนิดพืช Cordia dentata สุวรรณพฤกษ์ Cordia mhaya ปอหมัน cordia cochinchinensis หมัน Cordia subcordata หมันทะเล Ehretia microphylla ชาดัดใบมัน, ชาฮกเกี้ยน Ehretia winitii จั่นน้ำ Heliotropium indicum หญ้างวงช้าง Rotula aquatica ไคร้หางนาค Tournefortia intonsa หญ้างวงช้างหลวง Trichodesma indicum ผักแผ่ว
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
BRETSCHNEIDERACEAE(วงศ์ชมพูภูคา) |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มีเหลือเพียงชนิดเดียวในโลก พบเฉพาะในจีนตอนใต้ เวียตนาม และตอนเหนือของประเทศไทย พบเฉพาะที่ดอยภูคา จังหวัดน่าน เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ใบประกอบแบบขนนกดอกสีชมพูสดใส ช่อไม่แตกแขนงออกที่ปลายกิ่ง ผลแตกออกเป็น3เสี้ยวแต่ละเสี้ยวมี1-2เมล็ดได้แก่ ชมพูภูคา Bretschneidera sinensis
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
BROMELIACEAE (วงศ์สับปะรด) |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
BROMELIACEAE (BROM) |
ไม้ ล้มลุกในประเทศเขตร้อนของอเมริกา ทั้งหมดเป็นพืชอิงอาศัย ใบอวบน้ำหรือใบแข็งมีร่อง มักเก็บน้ำไว้ที่โคนกาบ ลำต้น ใบ ช่อดอก ใบประดับ มีสีสันสะดุดคา ได้แก่พืชกลุ่มสับปะรดสี สับปะรด (Ananas sativus)
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||
CACTACEAE(วงศ์กระบองเพชร) |
||||||||||||||||||||||
CACTACEAE (CACT) |
มีประมาณ 140 สกุล ประมาณ 1,700 ชนิด เป็นไม้ อวบน้ำทนแล้งที่เกือบทั้งหมดเป็นพืชอเมริกา ถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อน ที่ปรับเปลี่ยนลำต้นให้อวบน้ำ และเปลี่ยนใบเป็นหนาม สามารถเจริญเติบโตได้ในแบบไม้ต้น ไม้เลื้อย หรือพืชอิงอาศัย ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี ลำต้นเป็นท่อนกลม เหลี่ยม พู มีเนื้อมาก ผิวลำต้นเป็นสีเขียว และมักคอดกิ่วเป็นระยะๆ ใบลดรุปลงเป็นหนามลักษณะต่างๆ หรือเป็นขน มีปุ่มแท่นรองรับหนามหรือขนนั้นดอกเด่นสะดุดตา มีกลีบจำนวนมาก เกสรเพศผู้จำนวนมาก รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ เช่นพวก แคคตัส กระบองเพชร กุหลาบเทียม (กุหลาบพุกาม,กุหลาบเมาะลำเลิง) เพชรสังฆาต โบตั๋น
|
|||||||||||||||||||||
CAESALPINIACEAE (วงศ์ไม้ราชพฤกษ์) |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
CAESALPINIACEAE (CAESAL) |
มีประมาณ 152 สกุล ประมาณ 2,800 มีทั้งไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้เลื้อย มีน้อยชนิดที่จะเป็นไม้ล้มลุก ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว หรือขนนก2ชั้น มีหูใบ ช่อดอกออกแบบช่อแขนงหรือช่อกระจะ ดอกปกติจะสมมาตรด้านข้าง บางครั้งมีดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น บานรองดอกมีหลายแบบ กลีบเลี้ยง5กลีบ ดอกตั้งขึ้นและกลีบบนเรียงอยู่รอบในสุด กลีบดอก5กลีบถึงไม่มีเลย แยกจากกัน เกสรเพศผู้10-1อัน รังไข่มี1ช่อง ผลเป็นฝัก แตกหรือไม่แตก เมล็ดยาว หรือ กลม แบน เช่น กาหลง ขี้เหล็ก ทรงบาดาล Afzetia xylocarpa มะค่าโมง
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
CAMPANULACEAE |
|
CAMPANULACEAE (CAMP) |
พืชล้มลุกเขตร้อน และเขตอบอุ่น มีน้ำยางขาว ใบเดี่ยวเรียงสลับ ดอกเป็นรูปถ้วย มักมีสี ม่วงหรือขาว เช่น ปีบฝรั่ง พระจันทร์ครึ่งซีก หางไก่ฟ้า Lobelia nicotianaefolia |
พระจันทร์ครึ่งซีก | ปีบฝรั่ง | หางไก่ฟ้า |
CANNACEAE (วงศ์พุทธรักษา) |
|
CANNACEAE (CANNA) |
มีประมาณ 1สกุล 60 ชนิด เป็นไม้ ล้มลุกเขตร้อนโตจากเหง้า ใบคล้ายใบกล้วย มักมีดอกสีสะดุดตา มีกลีบเลี้ยง3กลีบ กลีบดอก3กลีบ กลีบดอกมีลักษณะคล้ายกลีบเลี้ยง ส่วนที่มีสีสันสวยงามคล้ายกลีบดอกคือเกสรเพศผู้ที่ไม่สมบูรณ์ เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์มีเพียง1 รังไข่ใต้วงกลีบ เช่น พุทธรักษา Canna coccinea พุทธรักษา |
|
|
พุทธรักษา |
CAPPARIDACEAE (วงศ์กุ่ม) |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
มีประมาณ46สกุล 900ชนิด ส่วน ใหญ่เป็นไม้ต้น ไม้พุ่ม หายากที่จะเป็นไม้ล้มลุก ใบเดี่ยว เรียงสลับหรือใบประกอบรูปนิ้วมือ หายากที่จะออกตรงข้าม ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงแยกกันหรือติดกันบางส่วน มี4กลีบ กลีบดอกมี4กลีบ จำนวนมากหรือไม่มีเลย ฐานดอกมักยืดยาวเป็นก้านชูเกสรเพศเมีย ผลมีเนื้อเมล็ดมากหรือเป็นฝักแบบผลผักกาด หายากที่ผลเป็นเมล็ดแข็ง เช่นผักเสี้ยน กุ่มน้ำ กุ่มบก ไข่แลน ชิงชี่ Capparis micracantha Capparis siamensis หนามขี้แฮด Maerua siamensisแจง Cappris monantha ชิงชี่
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
CAPRIFOLIACEAE(วงศ์สายน้ำผึ้ง) |
|
CAPRIFOLIACEAE (CAPR) |
ไม้ เขตอบอุ่นของซีกโลกเหนือ มีทั้งไม้พุ่ม ไม้เลื้อย มี2-3ชนิดที่มาจากภูเขาทางเขตร้อน ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามใบรูปไข่ มีทั้งไม้ประดับที่มีดอก หรือผลสวยงาม ดอกมักมีกลิ่นหอม เช่นสายน้ำผึ้ง สายน้ำผึ้งหลวง สะพานก๊น อูนป่า ขาวละมุน |
สายน้ำผึ้ง |
ขาวละมุน |
สะพานก๊น |
อูนป่า |
CARICACEAE (วงศ์มะละกอ) |
|
CARICACEAE (CARI) |
มีประมาณ 4สกุล 55ชนิด ไม้ ต้นขนาดเล็กดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น หายากที่ดอกต่างเพศอยู่ร่วมต้น ใบเดี่ยวเรียงสลับขนาดใหญ่มักมีเส้นใบหยักเป็นรูปนิ้วมือ กลีบเลี้ยงดอกติดกันมี5กลีบ ดอกเพศเมียเป็นหลอดสั้นมาก เกสรเพศผู้10อัน ผลมีเนื้อเมล็ดมาก มีขนาดใหญ่ 5พูเมล็ดมีเยื่อหุ้มเมล็ดหรือไม่มี เช่น มะละกอ |
CARYOPHYLLACEAE (วงศ์คาร์เนชั่น) |
|
CARYOPHYLLACEAE (CARYO) |
พืชล้มลุกที่มักปลูกเป็นไม้ตัดดอก ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอบอุ่นถึงอากาศเย็น ลำต้นมักพองตรงข้อต่อ ใบเรียงแบบตรงข้ามมีเส้นใบขนานกันตามความยาวของใบ ดอกมักเด่นสะดุดตา กลีบดอกแคบหยักเช่น ผีเสื้อ คาร์เนชั่น |
ผีเสื้อ |
CASAURINACEAE | |
CASAURINACEAE (CASUA) |
ไม้ ต้นหรือไม้พุ่มไม่ผลัดใบ ดอกต่างเพศร่วมต้นหรือดอกต่างเพศแยกต้น กิ่งก้านลู่ลง ใบมีลักษณะคล้ายเกล็ดเรียงกันเป็นวงรอลข้อ เชื่อมติดกันมากหรือน้อยแล้วแต่ ดอกแยกเพสไม่มีกลีบเลี้ยงหรือกลีบดอก ช่อดอกเพศผู้คล้ายช่อเชิงลด ดอกเพศเมียอยู่เป็นกลุ่มคล้ายช่อกรวย ใบประดับติดกัน เมื่อผลแก่ใบประดับเปิดออก ผลมีปีกเดียว ได้แก่สนทะเล สนปฏิพัทธ์ สนน้ำค้าง |
สนทะเล | สนปฏิพัทธ์ | สนน้ำค้าง |
CELASTRACEAE (วงศ์มะดูก) |
|||||||||||||||||||||||||||||||
CELASTRACEAE (CELAST) |
มีประมาณ 90 สกุล 1,000 ชนิด กระจายพันธุ์ในประเทศไทย 12 สกุล 60 ชนิด เป็นไม้ต้นหรือไม้พุ่ม ใบเดี่ยวเรียงสลับตรงข้าม ดอกเล็กขนาดเท่ากัน ดอกเป็นช่อกระจุกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงอิสระหรือติดกัน กลีบเลี้ยงหรือกลีบดอก3-5 ซ้อนเหลื่อม มีจานฐานดอก เกสรเพศผู้3-5 รังไข่เหนือส่วนต่างๆของดอกมี5พูผลแตกกลางพู เป็นผลแห้ง ผลปีกเดียวเมล็ดเดียวแข็ง หรือผลมีเนื้อหลายเมล็ดและผลแห้งไม่แตก เมล็ดมักมีเยื่อหุ้มสีสด ตัวอย่างพืชในวงศ์นี้ได้แก่ มะดูก Siphonodon celastrineus ดู่ด้วง Glyptopetalum sclerocarpum เสม็ดทุ่ง (เนื้อเหนียว)Lophopetalum wallichii กำแพงเจ็ดชั้น Salacia chinensis กระทุงลาย (มะแตกเครือ) Celastrus paniculatus ตากวาง Salacia verrucosa มหากาหนัง Euonymus similis
|
||||||||||||||||||||||||||||||
COCHLOSPERMACEAE(วงศ์สุพรรณิการ์) |
|
COCHLOSPERMACEAE (COCHL) |
ไม้ ต้น ไม้พุ่ม หรือไม้กึ่งพุ่มที่มีเหง้า น้ำยางมีสี ใบเดี่ยวเรียงสลับ ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยง 5กลีบ กลีบดอก5กลีบ เกสรเพศผู้จำนวนมาก ผลแห้งแตกเป็น5แฉก เมล็ดใหญ่เกลี้ยง หรือมีขนปกคลุม เช่น สุพรรณิการ์ |
สุพรรณิการ์ดอกลา | สุพรรณิการ์ดอกซ้อน | สุพรรณิการ์ดอกซ้อน |
COMBRETACEAE (วงศ์สมอ) |
|
COMBRETACEAE (COMB) |
ไม้เขตร้อนทั่วโลกมีประมาณ17สกุล 525ชนิดในเมืองไทยมี5สกุล มีทั้งไม้เถาเลื้อย ไม้พุ่มและไม้ต้นที่มีใบเดี่ยว ติดเวียนสลับ มีจุดโปร่งใสเล็กๆ มีต่อมที่โคนใบ หรือก้านใบ กลีบเลี้ยงเรียงชนกัน กลีบดอกแยกจากกัน มีจานฐานดอก ดอกเล็ก ออกเป็นกลุ่ม ผลมีปีก หีือมีเนื้อ เมล็ดเดียวแข็ง ได้แก่ หูกวาง เล็บมือนาง ติ่งตั่ง อวดเชือก เปื๋อย สะแกนา คดสัง ฝาดขาว ฝาดแดง ตัวอย่างพืชในวงศ์นี้ Anogeissus acuminata ตะเคียนหนู |
|
|
|
|
เล็บมือนาง Quisqualis indica |
ตะแบกเลือด Terminalia corticosa | ติ่งตั่ง Calycopteris floribunda | สะแกนา |
ฝาดแดง Lumnitzera littoria | ฝาดขาว Lumnitzera recemosa |
หูกวาง Terminalia catappa |
งวงชุ่ม |
สมอไทย | ตะเคียนหนู | ต้นรกฟ้า | รกฟ้า | พู่อมร Combretum fruiticosum |
กระดุมไม้ใบเงิน | คดสัง | เถาวัลย์แดง | เถาวัลย์เปรียง |
COMMELINACEAE | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
COMMELINACEAE (COMM) |
มี 37 สกุล 600 ชนิด เป็นพืชอวบน้ำ ล้มลุก มีอายุปีเดียวหรือหลายปี พบได้ทั่วไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ลำต้นมีข้อพองโป่ง ทอดตัวไปตามพื้นโดยอาจมีรากแตกออกที่ข้อ ต้นมีขนคลุม ใบเดี่ยว ติดเรียงแบบสลับ ก้านใบแผ่ออกเป็นกาบโอบลำต้นรอบข้อ รูปใบแบบใบหอก ช่อดอก ผักปราบ Commelina benghalensis
|
COMPOSITAE(วงศ์ทานตะวัน) |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
COMPOSITAE (COMP) |
วงศ์ Asteraceae (ไม้วงศ์ดาวเรือง)(เดิมใช้ชื่อวงศ์ Compositae) ประมาณ 1,000 สกุล 20,000 ชนิดเป็นไม้ล้มลุกเกือบทั้งหมด มีไม้พุ่มและไม้ยืนต้นเพียงบางชนิด บางชนิดมีน้ำยางขาวแต่ไม่ข้น ส่วนของพืชเหนือระดับดินมักมีขนอ่อนคลุม ใบเดี่ยวหรือใบประกอบ ติดเรียงแบบสลับหรือตรงกันข้าม หรือเป็นวงรอบข้อ ขอบใบเป็นจักหรือเป็นหยักเว้า ช่อดอก มักมีกลีบประดับ จำนวนมากซ้อนรองรับอยู่ใต้ฐานรองดอก ซึ่งอาจมีสภาพคงทนฐานรองดอกมักขยายและแบบนูนหรือเว้า บางชนิดเป็นรูปกรวยหรือเป็นแท่ง กลีบประดับอาจแยกกันหรือเชื่อมติดกัน ดอกย่อยมีเพศครบหรือมีเพศเดียวอยู่บนช่อดอกเดียวกัน กลีบเลี้ยง มักแปรสภาพไปเป็นเส้นขนนุ่มละเอียด ปรกติมี 5 อัน โคนติดกันหรือแยกกัน กลีบดอก มี 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นหลอดตอนโคน ปลายแผ่ออกเป็นแผ่น ผล มีลักษณะแบบนูน รูปหยดน้ำ ที่โคนผลอาจมีปุยขนติดอยู่เมล็ด มีขนาดใหญ่ ไม่มีอาหารสะสม แต่ใบเลี้ยงสะสมสารประเภทน้ำมัน ตัวอย่างชนิดพืชในวงศ์นี้ Anisopappus chinensis ดาวเรืองภู ดาวเรืองป่า
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
CONNARACEAE(วงศ์ถอบแถบ) |
|||||||||||||||||||
CONNARACEAE (CONN) |
เป็นไม้ ต้นหรือไม้พุ่มหรือไม้เลื้อย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายตี่ มีจำนวนน้อยที่มีใบย่อยเพียง1ใบ ดอกออกเป็นกระจุกแน่นตามซอกใบ หรือเป็นช่อแยกแขนงออกที่ปลายยอด ดอกสมบูรณ์เพศ มีน้อยมากที่จะมีเพศเดียว กลีบเลี้ยงแยกจากกันมี5กลีบ กลีบดอก5กลีบแยกจากกัน เกสรเพศผู้แยกอิสระ หรือติดกันที่โคน อาจมีเป็นหมัน รังไข่เหนือวงกลีบ ผลแตกมีเมล็ด1เมล็ดมีเยื่อหุ้ม เช่น จันนกกด Ellipanthus tomentosus ถอบแถบเครือConnarus semidecandrus
|
||||||||||||||||||
CORNACEAE(วงศ์คางคาก) |
|||||||||||||||
ทั่วโลกมีประมาณ120ชนิด ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอบอุ่นเหนือ เป็นไม้ต้นผลัดใบระยะสั้น กิ่งก้านลู่ลงใบอ่อนสีเขียวอ่อนมีขนสีเงินคล้ายไหมปกคลุมหนาแน่น ใบแก่ด้านล่างมีนวลสีเขียวเทา ดอกเล้กสีเขียวเหลืองดอกสมบูรณ์เพศและดอกตัวผู้แยกต้นผลสีเขียวอ่อนเมื่อสุกสีน้ำตาลอมเหลืองถึงแดงเข้มบางครั้งมีการเชื่อมผลหลายผลที่ฐานเปลือกเหนียวภายในมีเนื้อและเมล็ดที่แบนขนาดใหญ่1เมล็ด เมล็ดมีร่องด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งเป็นปุ่มขึ้นมา ตัวอย่างพืชวงศ์นี้
|
|||||||||||||||
CONVOLVULACEAE(วงศ์ผักบุ้ง) | |||||||||||||||
มี 57 สกุล ประมาณ 1,700 ชนิด เป็นไม้เลื้อยล้มลุก โดยมักพันเลื้อยแบบเวียนซ้าย มักมีน้ำยางขาวในส่วนของพืช บางชนิดเป็นพืชน้ำ บางชนิดเป็นพืชเบียน ใบเดี่ยว บางชนิดใบลดรูปลงเป็นเส้น หรือเป็นใบประกอบ ติดเรียงแบบสลับ ดอกออกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อ ดอกมีเพศครบ รูปทรงดอกมีสัดส่วนสมดุลย์ กลีบ รอง มี 5 กลีบ มักแยกกันหรืออาจติดกันบางส่วนตอนโคนเรียงตัวแบบ quincuncial คือกลีบชั้นในสองกลีบจะถูกกลีบชั้นนอกสองกลีบคลุมไว้มิดชิด ส่วนกลีบที่เหลืออีกกลีบหนึ่งจะวางตัวเหลื่อมสลับระหว่างกลีบชั้นนอกและชั้น ใน กลีบเหล่านี้มีสภาพคงทน Argyreia nervosa ใบระบาด |
|||||||||||||||
มอร์นิ่งกลอรี่ | ใบระบาด | ผักบุ้งรั้ว | ผักบุ้งดอก | ผักบุ้งต้น |
|
|
||||||||||||||||||
|
|
||||||||||||||||||
CRASSULACEAE |
|||||||||||||||||||
CRASSULACEAE (CRASS) |
ไม้ ล้มลุกอวบน้ำ เป็นพืชล้มลุกเขตอบอุ่นและเขตร้อน มีใบและลำต้นอวบน้ำ ใบกระจุกแบบกุหลาบซ้อน เช่น กุหลาบหิน กุหลาบพวงคราม โคมญี่ปุ่น
|
||||||||||||||||||
CRUCIFERAE |
||||
CRUCIFERAE (CRUCI) |
เป็น ไม้ล้มลุกอยู่ในเขตอบอุ่น เป็นพวกวงศ์มัสตาร์ด ดอกมี4กลีบเรียงตรงกันข้าม เกสรเพศผู้มี6สั้น2ยาว4 ฝักแก่แล้วแตกได้ เช่น ผักกวางตุ้ง คะน้า ปูเล่
|
|||
CUPRESSACEAE | |
CUPRESSACEAE (CUP) |
สนในวงศ์นี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Cypress Family ประกอบด้วย 17สกุล 113ชนิดถิ่นกำเนิดในเขตอบอุ่นทั่วโลก มีหลายสกุลที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในเมืองไทย เช่น สกุล Chamaecyparis, Cupressus,Juniperus และ Thuja ลักษณะเป็นไม้ ต้นหรือไม้พุ่มไม่ผลัดใบ มีน้ำยางทุกส่วน โคน(Cone)ต่างเพศอยู่ร่วมต้น หรือต่างเพศอยู่ต่างต้น โคนออกที่ปลายกิ่งเป็นกระจุกและมีเนื้อไม้ ใบออกตรงข้ามแต่ละคู่ตั้งฉากกัน หรือเป็นวงรอบข้อคล้ายเกล็ด สปอร์โรฟิลล์แข็งคล้ายเปลือกไม้ หรือหนาเหมือนแผ่นหนัง หรือมีลักษณะคล้ายผลมีเนื้อเมล็ดมาก ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง โน้มกิ่ง หรือเพาะเมล็ด ได้แก่ สนบลู สนเลื้อย สนแผง |
สนบลู C. psifera cv. Squarosa |
สนดินสอ |
สนบอมบ์ |
สนแผง |
CURCUBITACEAE(ไม้วงศ์แตง) | |||||||||||||||||||
CURCUBITACEAE (CURCU) |
มีประมาณ 110 สกุล ประมาณ 850 ชนิดพันธุ์ เป็นไม้เลื้อยล้มลุกทั้งหมด ไม่มีเนื้อไม้ มีอายุปีเดียวหรือข้ามปี ไม่มีไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น ต้นพืชมีมือพัน หรืออาจเกิดที่ซอกกิ่งก็ได้มือเกาะอาจแตกแขนงออกไปอีกได้ ต้นส่วนที่ยังอ่อนจะมีภาคตัดขวางเป็นห้าเหลี่ยม และมีขนนุ่มหรือขนหยาบคลุม ใบเดี่ยว รูปห้าเหลี่ยมหรือหยักเว้า ผิวใบทั้งสองด้านมักมีขนนุ่มหรือแข็งคลุม ดอกมีขนาดใหญ่เห็นชัดเจน มักมีสีขาวหรือเหลืองสด มีเพศเดียวหรืออาจสมบูรณ์เพศ รูปทรงดอก เป็นรูประฆัง กลีบรอง มี 5 กลีบ ติดกันตอนโคนปลายกลีบแยกเป็นแฉกริ้ว กลีบดอก มี 5 กลีบ ติดกันเป็นหลอดปากผายคล้ายรูประฆัง ติดอยู่บนหลอดของกลีบรอง เนื้อกลีบไม่เรียบ ผล มีเนิ้อผิวของผลอาจเรียบ มีลวดลายบนผิวหรือเป็นร่องแนวสันหรือขรุขระ มักมีคราบขาวคลุม เมล็ด มีรูปร่างแบนนูน รูปหยดน้ำ เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งและขรุขระ เมื่อผลแก่เนื้อภายในจะแห้งและเป็นใยเยื่อรองรับเมล็ดไว้ ตัวอย่างชนิดพืชในวงศ์นี้ได้แก่ ฟัก Benincasa hispida
|
||||||||||||||||||
CYCADACEAE(วงศ์ปรง) | |||||||||||||||||||
CYCADACEAE (CYCAD) |
พืช กลุ่มปรงที่มีลักษณะคล้ายต้นปาล์ม เจริญเติบโตช้า ใบแบบขนนกเป็นก้านยาวเรียงเป็นชั้นวงกลมข้อถี่ ได้แก่ ปรงทะเล ปรงญี่ปุ่น ปรงภูเขา |
||||||||||||||||||
ปรงญ๊่ปุุ่น | ปรงเขา | ปรงทะเล |
CYPERACEAE(วงศ์กก) | |
CYPERACEAE (CYPER) |
ไม้ ล้มลุกที่มักจะงอกในที่ชื้นแฉะที่ลุ่ม ใบเรียงเป็น3แถวใบคล้ายหญ้า หรือเป็นกลุ่มของใบคล้ายหญ้าอยู่บนลำต้นที่มีก้านยาว ได้แก่พวกกกชนิดต่างๆ |
กกรังกา | กกขนาก | กกอียิปต์ |
DAVALLIACEAE(วงศ์เฟินนาคราช) |
|
DAVALLIACEAE (DAVAL) |
ส่วน ใหญ่เป็นพวกเฟินอิงอาศัย บางนิดขึ้นบนดิน ลำต้นเป็นเหง้าเลื้อยไกล มีเกล็ดปกคลุมหนาแน่น ใบอ่อนมีปลายม้วน ใบเดี่ยว หรือใบประกอบแบบขนนก 1-4ชั้น ก้านใบมีรอยต่อกับเหง้า เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง หรือบางคล้ายกระดาษ หรือบางคล้ายเยื่อ เส้นใบแตกง่าม ปลายอิสระ พักตัวโดยทิ้งใบทั้งหมดในฤดูแล้งและงอกใหม่เมื่อได้รับความชื้นในฤดูฝน เช่น เฟินนาคราช |
เฟินนาคราช | เฟินนาคราชฟิจิ |
DILLENIACEAE(วงศ์ไม้ส้้าน) |
|
DILLENIACEAE (DILLEN) |
มี 18 สกุล ประมาณ 530 ชนิด พืช เขตร้อนมีทั้งเป็นไม้ต้น ไม้พุ่ม และไม้เลื้อย ใบเดี่ยวจัดเรียงแบบสลับ เนื้อใบแข็งกระด้าง ผิวใบหยาบ ขอบใบหยักเว้าเป็นจัก เส้นใบนูนเด่นชัด ตรงขนานกัน มีเยื่อก้านใบซึ่งมักร่วงเร็ว หรืออาจติดอยู่กับโคนก้านใบก็ได้ ดอกมีสีขาว เหลือง เป็นส่วนใหญ่ และแดง ดอกมี5กลีบ ออกดอกตลอดสม่ำเสมอ เมล็ด มีลักษณะแข็ง แบนรี มีอาหารสะสมมาก ผิวเมล็ดมีเนื้อเยื่อกระรุ่งกะริ่งหุ้ม ต้นอ่อนในเมล็ดมีขนาดเล็ก ตัวอย่างพืชในวงศ์นี้ ได้แก่ มะตาด ส้านช้าง ส้านชวา รสสุคนธ์ อรคนธ์ |
รสสุคนธ์ขาว |
รสสุคนธ์แดง |
ส้าน |
ส้านหิน |
มะตาด ส้านใหญ่ |
ดอกมะตาด |
ส้านใบเล็ก |
ส้านหิ่ง |
ส้านช้าง ส้านนกเปล้า |
DIOSCOREACEAE |
|
DIOSCOREACEAE (DIOSC) |
พืช วงศ์มันชนิดต่างๆ เป็นเถาเลื้อยที่ไม่มีเนื้อไม้ รากสะสมอาหารเป็นหัว เป็นพืชเขตร้อนและเขตอบอุ่น มีเส้นกลางใบเส้นใบหลักออกจากโคนใบเห็นชัดเจน ดอกมีขนาดเล็กมากสีเขียว ได้แก่ มันนก กลอย |
กลอย |
DIPTEROCARPACEAE(วงศ์ไม้ยาง) |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เนื้อไม้มีชัน หรือน้ำยาง มีกลิ่นเฉพาะตัว พบทั่วไปทั้งในที่แห้งแล้งและในป่าดงดิบ ใบ เดี่ยวออกสลับเส้นแขนงใบมักขนานกันเป็นระเบียบ ดอกหอม สมบูรณ์เพศ วงกลีบเลี้ยงเป็นหลอด กลีบดอกมี5กลีบ มักบิดเวียนเป็นกังหัน เกสรเพศผู้จำนวนมาก ผลแห้งไม่แตก มักมีปีกซึ่งเปลี่ยนมาจากกลีบเลี้ยง มีเมล็ด1เมล็ด ได้แก่พืชกลุ่ม ยาง ตะเคียน พยอม เคี่ยม พันธุ์ไม้ในวงศ์นี้มีประมาณ 15 สกุล 680 ชนิด กระจายพันธุ์ในประเทศไทย 8 สกุล 50 ชนิด ได้แก่ 1. สกุล Dipterocarpus เรียกชื่อว่า ยาง พวกนี้มีปีกยาว เห็นชัด 2 ปีก มีด้วยกันประมาณ 19 ชนิด ชนิดที่ขึ้นในป่าเต็งรังนั้นเรียกชื่อไปเป็นอย่างอื่น เช่น เหียง ( Dipterocarpus obtusifolius ), พลวง ( Dipterocarpus tuberculatus ) กราด ( Dipterocarpus intricatus ) ยางแดง (Dipterocarpus turbinatus) ยางปาย Dipterocarpus alatus ยางนา Dipterocarpus costatus
2. สกุล Anisoptera เรียกชื่อทั่วๆไปว่า กระบาก มีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด พวกนี้มีปีกยาว 2 ปีก ต่างจาก Dipterocarpus ที่ถ้วยรองกลีบดอกของ Anisoptera จะเชื่อมติดกับผล
3. สกุล Shorea เรียกชื่อกันไปต่างๆที่ขึ้นอยู่ตามป่าเต็งรัง คือ เต็ง ( Shorea obtusa ), พะยอม ( Shorea roxburghii ) รัง Shorea siamensis เป็นต้น มีอยู่ด้วยกันประมาณ 20 ชนิด พวกนี้มีปีกยาว 3 ปีก
4. สกุล Cotylelobium มีอยู่เพียงชนิดเดียวคือ เคี่ยม ( Cotylelobium lanceolatum ) มีปีกยาว 2 ปีก ปีกยาวมีเส้น 5 เส้น
5. สกุล Hopea เรียกกันทั่วๆ ไปว่า ตะเคียน เช่น ตะเคียนทอง ( Hopea odorata ), ตะเคียนหิน ( Hpoea ferrea ) มีอยู่ด้วยกันประมาณ 16 ชนิด พวกนี้มีปีกยาว 2 ปีก ปีกยาวมีเส้นอย่างน้อย 7 เส้น
6. สกุล Parashorea มีอยู่ชนิดเดียวคือ ไข่เขียว ( Parashorea strllata ) ปีก 5 ปีก เจริญพ้นตัวผลออกไป โคนกลีบกิ่วเล็กเป็นก้าน 7. สกุล Vatica มีอยู่ด้วยกัน 7 ชนิด คือ พันจำ ( Vatica odorata ) จันทน์กะพ้อ ( Vatica diospyroides ) พวกนี้กลีบเลี้ยงไม่เจริญเป็นปีก แต่เรียงซ้อนสลับกันหรือเชื่อมติดกันเป็นกระทงหุ้มเชื่อมติดกับผล
8. สกุล Balanocarpus มีชนิดเดียว คือ ตะเคียนชันตาแมว ( Balanocarpus heimii ) กลีบเลี้ยงไม่เจริญเป็นปีก กลีบไม่เชื่อมติดกับผล
|
DRACAENACEAE(วงศ์วาสนา) |
|||||||||
DRACAENACEAE (DRAC) |
ไม้ ประดับวงศ์นี้มี4สกุล ได้แก่สกุล คอร์ดิไลน์(Cordyline) หรือหมากผู้หมากเมีย สกุลดราซีนา(Dracaena)หรือวาสนา สกุลพลีโอเมเล(Pleomele)และแซนซิวิเรีย(Sansevieria)หรือลิ้นมังกร พืชวงศ์นี้ปลูกเลี้ยงง่าย ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดดรำไรถึงครึ่งวัน
|
||||||||
EBENACEAE(วงศ์มะพลับ) |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
EBENACEAE (EBENA) |
ส่วนใหญ่อยู่ในเขตศูนย์สูตร มี6สกุลประมาณ500ชนิด เป็นไม้ ต้นหรือไม้พุ่ม ซึ่งมีเนื้อไม้แข็งแกร่งและเป็นสีดำ ใบเรียงสลับ หายากที่ใบออกตรงข้าม เนื้อใบหนาและเหนียวกระด้าง ดอกต่างเพศต่างต้น วงกลีบดอก3-7กลีบ ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยงหยัก3-7กลีบ ติดทนและชยายขนาดเมื่อติดผล ผลมีผิวเหนียวฉ่ำน้ำมีเนื้อมักมีหลายเมล็ด เมล็ดจะมีเปลือกชั้นนอกบางและมีเยื่อเละมีอาหารสะสมเป็นประเภทสารอัลคาลอยด์ ได้แก่ จันเขา Diospyros dasyphylla กล้วย ฤาษ๊ Diospyros glandulosa ตับเต่าต้น Diospyros ehretioides ล่ำตาควาย Diospyros coaetanea พลับเขา Diospyros undulata var.eratericalyx มะพลับ Diospyros areolata จัน Diospyros decandra พลับจีน Diospyros kaki ตะโกสวน มะพลับใหญ่ Diospyros malabarica มะเกลือ Diospyros mollis มะพลับทะเล Diospyros areolata มะเกลือกา Diospyros gracilis มะพลับพรุ Diospyros lanceifolia สั่งทำ Diospyros buxifolia เนียน Diospyros pilosanthera ตะโกนา Diospyros rhodocalyx พลับดง Diospyros bejaudii
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
EHRETIACEA |
|||||||
EHRETIACEAE (EHRET) |
ไม้ ต้นหรือไม้พุ่ม บางครั้งมีหนาม หายากที่เป็นกึ่งไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุก มีเนื้อไม้ ใบเรียงสลับ หายากที่ออกตรงข้าม ดอกเป็นช่อกระจุก ช่อเชิงลดทรงกระบอก หรือเป็นช่อกระจุกแน่น กลีบเลี้ยงเป็นหลอด หรือรูประฆัง บางครั้งบาง มักขยายใหญ่และพอง แผ่แบนเมื่อติดผล วงดอกเป็นหลอดหยัก5พูพบน้อยที่หยักเป็น4หรือ6หรือมากกว่า มีเกสรเพศผู้มากเท่ากับจำนวนกลีบดอกและเรียงสลับกับกลีบดอก ผลมีเมล็ดแข็ง ได้แก่ ชาฮกเกี้ยน ชาดัด คอร์เดีย สุวรรณพฤกษ์
|
||||||
ELAEOCARPACEAE |
||||||||||
ELAEOCARPACEAE (ELAEO) |
ไม้ ต้นใบเดี่ยวเรียงสลับบางครั้งมีจุดอยู่ใต้ใบ ดอกออกตามซอกใบ แบบช่อกระจะ มีดอกเพศเดียวและดอกสมบูรณ์เพศร่วมต้น กลีบเลี้ยง5-6กลีบ จำนวนกลีบดอกเท่ากับจำนวนกลีบเลี้ยง มีเกสรเพศผู้จำนวนมากได้แก่ มะกอกน้ำ ไคร้ย้อย
|
|||||||||
ERICACEAE (วงศ์กุหลาบป่า) |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ERICACEAE (ERIC) |
มีประมาณ 90สกุล 1,700ชนิด ส่วน ใหญ่ขึ้นอยู่ในเขตอากาศหนาวเย็น มีทั้งไม้พุ่มและไม้ต้นขนาดเล็ก เนื้อแข็ง ใบเดี่ยวเรียงสลับหรือตรงกันข้ามหรือเป็นกระจุก เนื้อใบเหนียว ร่วงง่าย หรืออาจติดนาน ไม่ผลัดใบ ดอกมักมีสีสดใสเด่นสะดุดตา เป็นดอกเดี่ยว หรือเป็นช่อ ออกที่ซอกกิ่งหรือปลายยอดมีเพศครบ รูปทรงดอกได้สัดส่วน กลีบรอง มี 4-5 กลีบ ติดกันที่ฐาน ปลายแยกเป็นแฉก มีสภาพคงทน กลีบดอก มี 4-5 กลีบติดกัน ปลายแยกเป็น 4-5 ลอน ตัวอย่างพรรณไม้ในวงศ์นี้ ได้แก่ อาซาเลีย โรโดเดนดรอน กุหลาบพันปี กุหลาบขาว ส้มแปะ ช้ามะยมดอย ประทัดดอย Rhododendron taiensis กุหลาบป่า ตะเกราน้ำ Eriobotrya bengalensis ตาฉี่เคย มะยมภู ดาวราย Craibiodendron stellatum Rhododendron lyi ดอกสามสี Rhodedendron simsii กุหลาบแดง Agapetes hosseana สะเภาลม Rhododendron ludwigianum กุหลาบขาว Rhododendron delavayi คำแดง Lyonia ovalifolia เม้าแดง Gaultheria crenulata ช้ามะยมดอย Agapetes parishii ประทัดดอย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
EUPHORBIACEAE | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
EUPHORBIACEAE (EUP) |
เป็นวงศ์ขนาดใหญ่มีความผันแปรมาก พบทั่วโลกประมาณ8,100ชนิด เป็นไม้เขตร้อน ส่วนใหญ่อยู่ในเขตศูนย์สูตร มีทั้งไม้ต้นผลัดใบหรือไม่ผลัดใบ ไม้เนื้ออ่อนและไม้พุ่ม บางชนิดมีลักษณะคล้ายพวกกระบองเพชร น้ำยางสีขาวเป็นพิษ บางชนิดใบประดับมีสีสันสะดุดตา ดอกไม่เด่นขนาดเล็ก สีเขียว เหลือง ขาว ดอกมักแยกเพศบนต้นเดียวกันหรือแยกต้นได้แก่ คริสต์มาส โกสน โป๊ยเซียน หางกระรอก พญาไร้ใบ ส้มเช้า
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
FAGACEAE(วงศ์ไม้ก่อ) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มี 9 สกุล ประมาณ 600 ชนิด เป็นไม้ยืนต้นหรือไม้พุ่มขนาดใหญ่ บางชนิดไม่ผลัดใบพบตั้งแต่ป่าดิบพื้นราบจนถึงป่าดิบเขาระดับสูง บางชนิดพบในป่าดิบแล้ง ใบเดี่ยว ติดเรียงแบบสลับ มีเยื่อก้านใบ เส้นใบด้านล่างนูนเด่นชัด ขอบใบเป็นหยักหรือเว้าลึก เนื้อใบเหนียว ช่อดอกเพศผู้ ห้อยหัวลง ช่อดอกเพศเมียมีดอกไม่มาก ขึ้นเป็นกลุ่มพวง ตัวอย่างชนิดพรรณไม้ในวงศ์นี้Castanea mollissima เกาลัดจีน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
FLACOURTIACEAE (วงศ์กระเบา) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
FLACOURTIACEAE (FLAC) |
พันธุ์ไม้ในวงศ์นี้มีประมาณ 84 สกุล 1,300 ชนิด กระจายพันธุ์ในประเทศไทย 9 สกุล 40 ชนิด เป็นไม้ ต้นหรือไม้พุ่ม บางครั้งมีหนาม ใบเี่ดี่ยวเรียงสลับ ตรงข้ามหรือวงรอบข้อ ดอกสมมาตรตามรัศมี ดอกสมบูรณ์เพศ หรือดอกเพศเดียว บางครั้งต่างเพศต่างต้น ดอกออกตามซอกใบหรือปลายยอด เป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุก กลีบดอกอาจมีจำนวนมากกว่ากลีบเลี้ยง ผลแห้งแตก ผลมีเนื้อหลายเมล็ด หรือแห้งไม่แตก ได้แก่ไข่ดาว Flacourtia indica ตะขบ ป่า Flacourtia jangomas ตะขบควาย Flacourtia rukam ตะขบไทย Homalium damrongianum พิกุลป่า Homalium tomentosa ขานาง Hydnocarpus anthelminthicus กระเบาใหญ่ Hydnocarpus calvipetalus กระเบา Hydnocarpus ilicifolius กระเบากลัก
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||
GENTIANACEAE(วงศ์ดอกหรีด) |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เขตกระจาย พันธุ์ พบเฉพาะบนภูเขาหินทรายยอดตัด ที่ระดับความสูง 14,100 - 1,500 เมตร ของภูกระดึงและภูหลวง ในเขตจังหวัดเลย ชอบขึ้นตามพงหญ้าเตี้ยๆ ในป่าสนเขาและป่าละเมาะเขาไม้ ล้มลุกขนาดเล็ก ต้นเป็นกระจุกติดผิวดิน หรือมีลำต้นแยกแขนงสั้นๆ เหนือผิวดินเล็กน้อย ใบเดี่ยว ออกซ้อนกันแน่นรอบลำต้น ไม่มีก้านใบ แผ่ใบรูปไข่หรือรูปใบหอก ดอกออกเป็นกลุ่มตรงยอด 2-7 ดอก กลีบดอกติดกันคล้ายรูประฆัง สีฟ้าอมม่วงหรือสีฟ้าอมชมพู ผลแห้ง ขนาดเล็ก รูปไข่กลับ เมื่อแก่แตกตามยาวตัวอย่างพืชในวงศ์นี้ได้แก่ ดอกหรีด Gentiana hesseliana Hoss. var. lakshnakarae หรีดโทน Gentiana hesseliana หรีดเชียงดาว Gentiana leptoclada ssp. australis หญ้าดอกลาย Swertia angustifolia สิงขรา Swertia calcicola ดอกหรีดเขา Gentiana crassa สิงขรา Swertia calcicola ศรีเชียงดาว Swertia chiangdaoensis P,Suksathan หญ้าเหลี่ยม Swertia angustifolia Buchanan - Hamilton ex.D.Don ตากะปอ Swertia calcicola กันเกรา โกงกางเขา Fagraea ceilanica
|
GESNERIACEAE(ไม้วงศ์ใบสักหลาด) | |||||||||||||||||||||||||
GESNERIACEAE (GESN) |
มีประมาณ 120 สกุล 2,000 ชนิดเป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก บางชนิดเป็นไม้เลื้อยหรือขึ้นอยู่บนไม้อื่น อาจมีลำต้นใต้ดิน ใบเดี่ยว ติดเรียงแบบ decussate หรือขึ้นเป็นกลุ่มกระจุกจากระดับดิน ใบมีขนคลุม ฐานใบมักเฉียง พื้นที่ใบทั้งสองข้างไม่เท่ากัน ดอก เป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจุกเกิดที่ซอกกิ่ง ดอกมีขนาดและสีเห็นได้ชัด สมบูรณ์ กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบติดกันที่ฐาน ปลายแยกเป็นแฉก กลีบดอก มี 5 กลีบ เชื่อมรวมกันเป็นรูปกระดิ่ง ระฆัง หรือแบบขอบพาน เกสรตัวผู้ มี 4 อัน ตัวอย่างพืชในวงศ์นี้ได้แก่แอฟริกันไวโอเล็ต, กำมะหยี่หมอคาร์( Pterocosmea kerrii) พรมกำมะหยี่(Episcia cupreata) ระฆังทอง(Chrysothemis pulchella) อั้งเปา(Seemannia latifolia) ว่านไก่แดง(Aeschynanthus hildebrandii), คำหยาด (Chirita micromusa ) ว่านไก่แดง (Aeschynanthus garrettii) เฉวียนฟ้า (Rhychoglossum obliquum) ช้าส้านน้ำ( Rhychoglossumobovatum)
|
||||||||||||||||||||||||
GOODENIACEAE (วงศ์รักทะเล) | |||||||||||||
GOODENIACEAE (GOOD) |
ไม้ ล้มลุก หรือไม้กึ่งไม้พุ่ม ใบเรียงสลับ หายากที่จะออกตรงข้าม ดอกสมบูรณ์เพศ ดอกเดี่ยวหรือแบบช่อแยกแขนง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด มี5กลีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันมี5กลีบ เกสรเพศผู้5 ผลมีเมล็ดแข็ง หรือผลเปลือกแข็ง หรือผลแห้งแตก เมล็ดเล็กได้แก่ รักทะเล(บ่งบง) Scaevola taccada
|
||||||||||||
GRAMINIACEAE(วงศ์หญ้า) |
||||||||||
GRAMINIACEAE (GRAM) |
พืชวงศ์หญ้าที่มีทั้งไม้ล้มลุก และไม้พุ่ม มักงอกจากเหง้าใต้ดิน ส่วนใหญ่ลำต้นตัน บางชนิดมีลำต้นกลวง ได้แก่ อ้อย หญ้า ข้าว ไผ่
|
|||||||||
GUTTIFERAE(วงศ์มังคุด) |
|||||||||||||||||||||||||||||||
GUTTIFERAE (GUTT) |
มีประมาณ 40 สกุล 1,000 ชนิด กระจายพันธุ์ในประเทศไทย 6 สกุล 60 ชนิด ไม้ ต้นและไม้พุ่มเขตร้อนเมื่อลำต้นและผลมีบาดแผลจะมียางเหนียวใสสีน้ำผึ้ง หรือสีเหลืองขุ่นซึมออกมาเป็นเม็ด ๆ ลำต้นมักไม่มีพูพอน แต่บางชนิดพบว่ามีรากค้ำยัน ใบ เดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่สลับ เส้นแขนงใบเรียงชิดเกือบติดกันเป็นแนวจากเส้นกลางใบไปหาขอบใบ เนื้อใบหนา ดอก สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบ กลีบรองดอกมักมี 4 กลีบ และอยู่ตรงข้ามกันเป็นคู่ กลีบดอกมี 0-2-4 กลีบ เกสรเพศผู้มีมาก บางครั้งโคนก้านเชื่อมติดกัน ผลมีเนื้อ1เมล็ด เข่น เกล็ดกระโห้ กระทิง บุนนาค ชะมวง มะดะหลวง ติ้วเกลี้ยง มะดัน ติ้วขน มะพูด ติ้วขาว มังคุด
|
||||||||||||||||||||||||||||||
www.suansavarose.com
22/12/2010