สมาชิก




ลืมรหัสผ่าน
สมัครสมาชิก
 

เมนู

หน้าแรก

รวมรูปภาพ

เว็บบอร์ด

สนทนาคนรักต้นไม้

 

บทความ

หิน-หินเทียม

สารพัดต้นไม้จัดสวน

ไม้ประดับเพื่อการจัดสวน

ปลูกต้นไม้มงคล

เกี่ยวกับเรา

สวนสไตล์ต่างๆ

ต้นไม้ประจำจังหวัด ภูมิสัญญลักษณ์ของเมือง

มหัศจรรย์โลกพฤกษา

ว่าด้วยเรื่อง.....ดิน....และ..ปุ๋ย

พืชจัดสวนมีพิษที่ควรระมัดระวัง

เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็นสวนใหม่

จัดสวนพื้นที่ขนาดใหญ่

จัดสวนด้วยตัวเอง

ชื่อนั้นสำคัญไฉน

การทำบ่อเลี้ยงปลา และระบบกรองรักษาคุณภาพน้ำอย่างง่าย

มุมสวนสวยสำหรับคุณ

ในนี้มีอะไรเยอะแยะ

 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/02/2008
ปรับปรุง 29/10/2024
สถิติผู้เข้าชม 51,942,563
Page Views 58,755,839
 
« October 2024»
SMTWTFS
  12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก1

ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก1


ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-1

For information only-the plant is not for sale.

1 กรรณิการ์/Nyctanthes arbor-tristis 29 ไข่ดาว/Oncoba spinosa 
2 กะตังใบ/Leea indica 30 รวงผึ้ง/Schoutenia glomerata
3 กาหลง/Bauhinia acuminata 31 คอร์เดีย/Cordia sebestina
4 ชงโค/Bauhinia purpurea 32 แปรงล้างขวด/Callistemon viminalis
5 โยทะกา-พญากาหลง/Bauhinia tomentosa. 33 รักทะเล/Scaevola taccada
6 รัตมา/Parkinsonia aculeata 34 โมกบ้าน/Wrightia religiosa.
7 ข้าวหลาม/Goniothalamus marcanii  35 มะตูมแขก/Schinus terebinthifolius 
8 บุหรง/Dasymaschlon dasymaschalum 36 มะเดื่อหอม
9 บุหรงใบอ่อนสีน้ำตาล/Dasymaschalon blumei 37 ลีลาวดีลูกศร/Plumeria pudica
10 บุหงาลำเจียก/Goniothalamus tapis 38 หูกระจงแดง/Terminalia benzoe
11 บุหงาปัตตานี/Goniothalamus sp 39 ทรงบาดาล/Senna surattensis
12 บุหงาเซิง/Friesodielsia desmoides 40 พรวด/Rhodomyrtus tomentosa
13 พวงไข่มุก/Sambucus canadensis 41 พังแหรใหญ่/Trema orientalis
14 มโนรมย์/ Erythrina crista-galli 42 นมแมว/Melodorum siamense
15 เทียนกิ่ง/Lawsonia inermis 43 ฝาดขาว/Lumnitzera racemosa
16 ฝ้ายแดง/Gossypium arboreum  44 ฝาดแดง/Lumnitzera littorea
17 หม่อน/Morus alba 45 สนทราย/Baeckea frutescens
18 รามใหญ่/Ardisia elliptica 46 ช้าแป้น/Callicarpa arborea
19 พิลังกาสา/Ardisia polycephala 47 ดับยาง/Solanum erianthum
20 ส้มกุ้งขน/Ardisia helferiana 48 กลึงกล่อม/Polyalthia suberosa
21 ปลาไหลเผือก/TONGKAT ALI 49 หัสคุณ/Micromelum minutum
22 ไคร้ย้อย/Elaeocarpus grandiflora 50 มันปู/Glochidion wallichianum 
23 ปีบยูนนาน/ Radermachera  Sinica 51 ทองแมว/Gmelina elliptica
24 สร้อยสุวรรณ/Lophanthera lactescens 52 รง/Garcinia lateriflora
25 ส้านชวา/Dillenia suffruticosa 53 คำไทย/Bixa orellana
26 ส้านดอกขาว/Dillenia philippinensis 54 ต่อไส้/Allophylus cobbe
27 ม่วงส่าหรี/Lagerstroemia sp. 55 ระย่อมตีนเป็ด/Rauvolfia sumatrana
28 เกล็ดกระโห้/Clusia rose 56 คำขาว/Rhododendron moulmeinense
57

กุหลาบแดง/Rhododendron simsii

EPPO code---รหัส EPPO คือรหัสคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นสำหรับพืช แมลงศัตรูพืช (รวมถึงเชื้อโรค) ซึ่งมีความสำคัญในการเกษตรและการปกป้องพืช รหัสEPPOเป็นระบบการเข้ารหัสที่กลมกลืนกันซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการชื่อพืชและศัตรูพืชในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบไอที
EPPO (2021) EPPO Global Database (พร้อมใช้งานออนไลน์) https://gd.eppo.in

พืชถิ่นเดียวหรือพืชเฉพาะถิ่น (endemic plants)  คือ พืชชนิดที่พบขึ้นและแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติในบริเวณเขตภูมิศาสตร์เขตใดเขตหนึ่งของโลก และเป็นพืชที่มีเขตกระจายพันธุ์ทางภูมิศาสตร์ค่อนข้างจำกัด ไม่กว้างขวางนัก มักจะพบพืชถิ่นเดียวบนพื้นที่ที่มีลักษณะจำกัดทางระบบนิเวศ เช่น บนเกาะ ยอดเขา หน้าผาของภูเขาหินปูน แอ่งพรุ ฯลฯ

กรรณิการ์/Nyctanthes arbor-tristis

ชื่อวิทยาศาสตร์---Nyctanthes arbor-tristis Linn.(1753)
ชื่อพ้อง---  Has 6 Synonyms.See https://www.gbif.org/species/3683008
---Bruschia macrocarpa Bertol.(1857)
---Nyctanthes dentata Blume.(1851)
---Nyctanthes tristis Salisb.(1796)
---Parilium arbor-tristis (L.) Gaertn.(1788)
---Scabrita scabra L.(1767)
---Scabrita triflora L.(1767)
ชื่อสามัญ---Night Flower Jasmine, Night Blooming Jasmine, Night Jasmine, Coral Jasmine, Tree-of-Sorrow, Tree of Sadness, Queen Of The Night, Indian night jasmine.
ชื่ออื่น---กณิการ์, กรณิการ์, กรรณิการ์ (ภาคกลาง) สะการะตาหรา ;[AYURVEDA: Paarijaata, Shephaali, Shephaalikaa, Mandaara.];[BENGALI: Sephali, Sheoli, Singhar, Shephalika.];[DUTCH: Harshingar, Nachtjasmijn.];[FRENCH: Jasmin de nuit.];[GERMAN: Nachtjasmin, Trauerbaum.];[HINDI: Paarijat, Har–singhar, Shefali];[ITALIAN: Parijata.];[MALAYALAM: Paarijatam]; [MARATHI: Partak, Khurasali, Parijatak.];[MYANMAR: Hseik hpalu, Seik-palu.];[PAKISTAN: Harsingar, Kuri.];[PERSIAN: Gulkamah.];[PORTUGUESE: Açafrão-da-terra.];[SANSKRIT: Parijataka, Parijata, Sephalika, Rajanikasa, Rātarāni.];[SIDDHA/TAMIL: Pavazha mattigai.];[SPANISH: Parijatha.];[SRI LANKA: Sepalika.];[TAMIL: Pavazhamalli.];[TELUGU: Parijatam.];[THAI: Ka nika, Kara nika, Kannika (Central).];[UNANI: Harasingaar.].   
ชื่อวงศ์---OLEACEAE
EPPO Code---NCYAT (Preferred name: Nyctanthes arbor-tristis.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเซียใต้และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้-อินเดีย เนปาล ปากีสถาน ไทย อินโดนีเซีย-สุมาตรา และชวา
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสายพันธุ์ 'arbor-tristis' หมายถึง "ต้นไม้เศร้า"
-ชื่ออีกชื่อเรียกว่า"สะการะตาหรา" แปลว่า ดอกกรรณิการ์ รากศัพท์เดิมมาจากภาษาชวา สะการะ แปลว่า ผกา หรือดอกไม้
-ในอินเดียเรียกว่า Harsingar หรือเครื่องประดับของเทพเจ้า ในภาษาสันสกฤต Rātarāni (ราชินีแห่งรัตติกาล)
Nyctanthes arbor-tristis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์มะลิ (Oleaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ในปีพ.ศ.2296

 

ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นพืชในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนซึ่งพบได้ที่ระดับความสูง จากระดับน้ำทะเลถึง 0-1,500 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็กผลัดใบ ทรงต้นสูงได้ถึง 10 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านเป็นเหลี่ยม เปลือกต้นสีขาว บริเวณแนวสันเหลี่ยมของลำต้นจะมีตุ่มเล็กๆประเป็นแนวตามสันเหลี่ยมของต้น หรือกิ่งด้วย ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ตรงข้ามตามข้อต้น เนื้อใบสีเขียวกระด้าง สากระคายมือ เพราะมีขนละเอียดปกคลุมอยู่ตลอดตามใบและตามยอดกิ่งอ่อน ใบรูปมนรีปลายแหลม ขอบใบเรียบไม่มีจัก ขนาดใบยาว 5-7.5 ซม.ดอกออกเป็นดอกช่อ จะออกตามโคนก้านใบหรือตามปลายกิ่งส่วนยอด ในช่อหนึ่งๆมีแขนงช่อดอกย่อยจำนวนมาก ดอกช่อในช่อดอกย่อยช่อหนึ่งมีดอกได้ ตั้งแต่ 5-8 ดอก แต่ดอกจะผลัดกันบานคืนละดอกเดียวต่อช่อดอกย่อยช่อหนึ่งๆ กลีบดอกกรรณิการ์เป็นสีขาวมีกลีบดอก 6 กลีบ ตอนปลายสุดของกลีบดอกเป็นรูปหยักหางปลา  เมื่อบานเต็มที่ทุกๆกลีบจะบิดเวียนตะแคงขวา ลักษณะคล้ายรูปกังหัน วงในสุดของดอกสีส้มแสดหลอดดอกหรือท่อดอกก็เป็นสีส้มแสดเช่นเดียวกันขนาดของดอกเมื่อบานเต็มที่ประมาณ 1.5 ซม.ดอกบานวันเดียวร่วง
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัด (แสงแดดโดยตรง 6-8 ชั่วโมงต่อวัน) ถึงร่มเงาบางส่วน (แสงแดดส่องถึง 2-4 ชั่วโมงต่อวัน) ดินร่วนอุดมสมบูรณ์ด้วยอินทรียวัตถุ ระบายน้ำดี pH 5.6-7.3
การรดน้ำ---รดน้ำให้ลึกแต่นานๆ ครั้ง ประมาณสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และต้องแน่ใจว่าดินเกือบแห้งก่อนที่จะรดน้ำครั้งต่อไป
การตัดแต่งกิ่ง---ตัดแต่งกิ่งเป็นระยะเพื่อรักษาขนาดและรูปทรง ส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นไม้และยังช่วยกำจัดลำต้นที่เป็นโรคและเสียหายได้
การใส่ปุ๋ย---ปุ๋ยน้ำอเนกประสงค์ทุกๆ 4-6 สัปดาห์ และใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 2 เดือน/ครั้ง (ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก)
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวนมากนัก พืชมีแนวโน้มที่จะถูกโจมตีโดยแมลงหวี่ขาว ไร และเพลี้ยอ่อน เมื่อเกิดโรคหรือแมลงโจมตี สามารถใช้น้ำมันสะเดา น้ำมันยูคาลิปตัส หรือน้ำมันส้มสำหรับการรักษาเบื้องต้น
รู้จักอ้นตราย---ไม่มีข้อมูลความเป็นพิษของพืชชนิดนี้
ใช้ประโยชน์---กรรณิการ์เป็นพืชที่มีประโยชน์และมีค่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับใช้ในการแพทย์แผนโบราณ
-ใช้เป็นยา เปลือกต้นใช้แก้โรคท้องร่วง ใบ แก้ไข้ เป็นยาระบาย แก้โรคปวดข้อ และยาเจริญอาหาร นํ้าคั้นใบกรรณิการ์ผสมน้ำตาลเชื่อว่าให้เด็กกินเป็นยาแก้ตานขโมย
-ในอายุรเวท ใช้ใบสำหรับอาการปวดตะโพกข้ออักเสบและไข้และเป็นยาระบาย
-ใช้ปลูกประดับ ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมมาก มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายเป็นไม้ประดับในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนทั่วโลก  มักจะปลูกใกล้วัดฮินดูในอินเดียและศรีลังกาเช่นเดียวกับในมาเลเซียและอินโดนีเซีย
-อื่น ๆดอกกรรณิการ์ ส่วนที่เป็นหลอดสีส้ม ใช้แต่งสีอาหารที่ปลอดกัยและใช้เป็นสีย้อมผ้าไหม ดอกเป็นแหล่งที่มาของน้ำมันหอม
ความเชื่อ/พิธีกรรม---สำหรับความเชื่อของชาวฮินดูนั้นเชื่อกันว่ากรรณิการ์เป็นดอกไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้บูชาเทพเจ้า หากหญิงสาวสวยมาร้องรำทำเพลงที่ต้นกรรณิการ์ ก็จะทำให้ต้นกรรณิการ์ออกดอกมากมายสวยงาม และหากบ้านเรือนใดปลูกต้นกรรณิการ์ไว้ก็จะนำความสุขความเจริญมาให้กับคนในบ้าน
-ตามประเพณีของชาวฮินดู ดอก Parijat เป็นดอกไม้มงคลเนื่องจากถือเป็นดอกไม้แห่งสรวงสวรรค์ เชื่อกันว่าผู้ที่ครอบครองดอกไม้นี้หมายถึงความรักและไม่เคยเผชิญกับความยากลำบากใด ๆ ตามตำนานโบราณ
-นอกจากนี้ดอกไม้ยังเป็นแบบ unisex เชื่อกันว่าพระกฤษณะจะมอบให้แก่ สัตยภามา ชายาของพระองค์ และพระราชินีรุคมินีองค์อื่น เพื่อเป็นของขวัญที่แสดงถึงความรัก จึงเป็นมงคลสำหรับคู่บ่าวสาวที่จะปลูกต้นนี้ไว้ส่งเสริมความรัก
ระยะออกดอก/ผลแก่ ---กันยายน - ตุลาคม/กุมภาพันธ์ - มีนาคม
ขยายพันธุ์ ---เมล็ด ตอนกิ่ง กิ่งอ่อนปักชำ
**การพูดคุยส่วนตัว-กลิ่นหอมของดอกกรรณิการ์ทำให้คิดถึงสมัยเป็นเด็ก ที่บ้านเดิม อยู่แถวคูเมือง อ.อู่ทอง ปลูกต้นกรรณิการ์อยู่ตรงหัวบันไดบ้าน ตื่นเช้าขึ้นมาต้องไปช่วยคุณยายเก็บดอกกรรณิการ์ที่ร่วงอยู่โคนต้น นำมาตากแดดบนชานบ้านพอแห้งก็เก็บใส่ปี๊บไว้เป็นกระสายยาหรือเข้ายาทำให้หัวใจชุ่มชื่น ก้านดอกสีส้มก็นำมาขยี้แล้วทาริมฝีปากเด็กหญิงแรกเกิด นัยว่าเป็นสาวขึ้นมาจะได้มีริมฝีปากสีสวยเหมือนก้านดอกกรรณการ์ สมัยก่อนบ้านไหนมีหญิงตั้งท้องนี่วิ่งกันวุ่น  เตรียม อัญชัน กรรณิการ์ ไว้วาดคิ้ววาดปาก หาหนามสะ ปลูกคัดเค้าเป็นรั้วกันกระสือ ถ้าเป็นเดี๋ยวนี้มีใครเตรียมทำแบบนั้นคงโดนค้อนตาขาว นี่นับเป็นความทรงจำที่ทำให้ไม่เคยลืมเลยว่ากรรณิการ์หอมแบบไหน สำคัญยังไง*

 

กะตังใบ/Leea indica


ชื่อวิทยาศาสตร์---Leea indica (Burm.f.) Merr.(1919)
ชื่อพ้อง---Has 31  Synonyms
---Aquilicia sambucina L.(1771)
---Leea arborea Sieber ex Miq.(1863)
---Leea sambucina Willd.(1798)
---Leea umbraculifera C. B. Clarke.(1881)
---Staphylea indica Burm. f.(1768)
---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:870443-1#synonyms
ชื่อสามัญ---Common Tree-Vine, Bandicoot Berry
ชื่ออื่น---กะตังใบ (ทั่วไป); คะนางใบ (ตราด); ช้างเขิง (เงี้ยว); ดังหวาย (นราธิวาส); ตองจ้วม, ตองต้อม (ภาคเหนือ); บังบายต้น (ตรัง);[ASSAMESE: Ahina,Kukura-thengia];[BENGALI: Kurkur, Kukur jhiwa, Achila gach, Arengi.];[CHINESE: Huǒ tǒng shù, Yan tuo.];[HINDI: Kikur jihwa.];[INDONESIA: Ki tuwa (Sundanese), Kayu tuwa (Javanese).];[MALAYALAM: Chorianthali];[MALAYSIA: Mali-mali, Merbati padang, Jolok-jolok.];[PAPUA NEW GUINEA: Paikoro, Dadoro, Warawa.];[PHILIPPINES: Mali (Tag.).];[SANSKRIT: Chatri.];[SRI LANKA: Burulla, Gurulla.];[SWEDISH: asiatisk leea.];[THAI: Katang bai (General); Kha nang bai (Trat); Chang khoeng (Shan); Dang wai (Narathiwat); Tong chuam, Tong tom (Northern); Bang bai ton (Trang).];[VIETNAM: C[ur] r[oos]i den.].
ชื่อวงศ์--VITACEAE
EPPO Code---LEEIN (Preferred name: Leea indica.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เนปาล,บังคลาเทศ,อินเดีย,ภูมิภาคอินโดจีน, ออสเตรเลีย และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก
นิรุกติศาสตร์---ชื่อเฉพาะสายพันธุ์ 'indica' จากภาษาละตินสำหรับ 'จากอินเดีย'
Leea indica เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์องุ่น (Vitaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Nicolaas Laurens Burman (1733–1793) นักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์ และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Elmer Drew Merrill (1876–1956) นักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกัน ในปีพ.ศ.2462

 

สถานที่ถ่ายภาพ---สวนมิ่งมงคล จ.สระบุรี
ที่อยู่อาศัยเกิดขึ้นในอินเดีย เนปาล บังคลาเทศ จีนตอนใต้ อินโดจีน คาบสมุทรมลายู ชวา สุมาตรา บอร์เนียว ออสเตรเลียและ แปซิฟิก พบอยู่ในแหล่งลุ่มน้ำ ตามแม่น้ำและลำธาร ในป่าเต็งรังผสมป่าพรุและป่าดิบเขา ขึ้นไปที่ระดับความสูงถึง 1,200 เมตร
ประเทศไทย พบขึ้นตามป่าผลัดใบ ป่าเต็งรังและป่าดิบ พบใน ทุกภาคของประเทศ
ลักษณะ กะตังใบเป็นไม้ต้นขนาดเล็กหรือไม้พุ่มสูงได้ถึง 1-3 เมตร ชอบอยู่ใต้ร่มเงาต้นไม้ใหญ่มีแสงแดดรำไร ลักษณะลำต้น กลมเกลี้ยงอวบน้ำมีขนสั้นๆเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 19 ซม.ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 1-2 ชั้น ใบรูปขอบขนานปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือรูป ลิ่มขอบใบจักฟันเลื่อย หูใบแนบกับก้านใบ ดอกช่อ แบบช่อกระจุกช่อดอกยาวประมาณ 8-10 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก กลีบดอกและเกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ปลายกลีบดอกแยกเป็น5กลีบสีแดงเข้มกลางดอกสีขาว ผลสดมี4-5พู ค่อนข้างกลม สีม่วง ดำเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 - 10 มม. บางครั้งถึง 15 มม. มี 6 เมล็ด ขนาด 5 มม. x 4 มม. [จาก PROSEA]


ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการตำแหน่งแสงแดดเต็มหรือร่มเงาบางส่วน อุณหภูมิ 12-28 0 C ดินอุดมสมบูรณ์และชื้นสม่ำเสมอ
การรดน้ำ---รดน้ำอิสระ เพื่อรักษาดินให้ชุ่มชื้นอย่างสม่ำเสมอในช่วงฤดูปลูก รดน้ำในฤดูหนาวเพื่อรักษาดินให้ชุ่มชื้นเล็กน้อย แต่อย่าให้ดินแห้งสนิท
การตัดแต่งกิ่ง---ตัดลำต้นออกในช่วงต้นฤดูปลูกเมื่อพืชรกรุงรัง เพื่อฟื้นฟูการเจริญเติบโตและรักษาขนาดและรูปทรง
การใส่ปุ๋ย---ใช้ปุ๋ยสูตรสมดุลละลายน้ำเจือจาง ทุกๆ 3-4 สัปดาห์ งดการให้ปุ๋ยในช่วงฤดูหนาวเนื่องจากการเจริญเติบโตมีน้อย และการให้ปุ๋ยในเวลานี้อาจทำให้รากไหม้ได้
ศัตรูพืช/โรคพืช---ใบเหลืองและร่วงหล่น เกิดจากสาเหตุที่เป็นไปได้สามประการ ได้แก่ การรดน้ำที่ไม่ถูกต้อง น้ำมากเกินไปทำให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่า ประการที่สอง คือลมเย็น รักษาอุณหภูมิเฉลี่ยที่ 12 0 C เป็นอย่างต่ำ สาเหตุที่เป็นไปได้ประการที่สามของใบเหลืองและใบร่วง คือการย้ายต้นไม้อย่างกระทันหันก่อนที่จะปรับสภาพให้เข้ากับสภาพการเจริญเติบโตใหม่
รู้จักอ้นตราย---พืชเป็นพิษต่อทั้งคนและสัตว์เลี้ยงหากกินเข้าไป น้ำยางระคายเคืองผิวหนังได้
ใช้ประโยชน์--- พืชที่รวบรวมจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นอาหารและยา มันได้รับการปลูก ในประเทศอินเดียและจีนเพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาโรค  มักปลูกเป็นไม้ประดับและปลูกเป็นปุ๋ยพืชสด
-ใช้กิน ใบอ่อน และยอดอ่อน มีรสชาดฝาดมัน นำมาลวกจิ้มน้ำพริก ผลสุกกินได้
-ใช้เป็นยา ในอายุรเวทใช้ในการรักษากลาก, แผล, หูด, โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ, ท้องร่วง, โรคบิด, การเผาไหม้, โรคฟันผุ, โรคริดสีดวงทวารและไข้
-ในประเทศไทย ใช้ยาต้มรากและลำต้น เป็นยาแก้ท้องร่วง โรคริดสีดวงทวาร และแผลในกระเพาะอาหาร
-วนเกษตร ใช้เป็นปุ๋ยพืชสด
ระยะออกดอก---มีนาคม-สิงหาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง
**การพูดคุยส่วนตัว-ในตลาดต้นไม้นำมาขายเป็นไม้ประดับหลายปีแล้ว เพราะพุ่มสวยดอกสวย บ้างก็ว่าเป็นไม้มงคล เพราะต้นนี้คนกรุงเทพฯเรียกกันว่า ต้น กะ-ตัง บ้านไหนปลูกต้นนี้... บ้านนั้น" มีกะตัง" มงคลนามยังขายดีอยู่เสมอ**

กาหลง/Bauhinia acuminata


ชื่อวิทยาศาสตร์---Bauhinia acuminata L.(1753)
ชื่อพ้อง ---Has 4 Synonyms.See https://www.gbif.org/species/2953747
---Bauhinia linnaei Ali.(1966)
---Casparia acuminata (L.) Heynh.(1846)
---Mandarus acuminata (L.) Raf.(1838)
---Pauletia acuminata (L.) A.Schmitz.(1973)
ชื่อสามัญ---Bell Bauhinia, Dwarf white bauhinia, Dwarf white orchid-tree, Snowy orchid-tree, White mountain ebony
ชื่ออื่น---กาแจ๊ะกูโด (มาเลย์-นราธิวาส); กาหลง (ภาคกลาง); โยธิกา (นครศรีธรรมราช); ส้มเสี้ยว (ภาคกลาง); เสี้ยวน้อย (เชียงใหม่); ;[AYURVEDA: Kaanchnaara, Kovidaara .];[BENGALI: Swet kanchan.];[CHINESE: Bai hua yang ti jia.];[DUTCH: Witte orchideënboom.];[FRENCH: Ebénier de montagne.];[GERMAN: Bergbauhinie.];[INDIA: Kaanchanaara, Kovidaara];[INDONESIA: Panawar saribu, Kupu-kupu.];[ITALIAN: Bauhinia, Ebano montano.];[JAPANESE: Moku-wan-ju.];[MALAYSIA: Bunga perak.];[MYANMAR: Mahahlega-phyu, Maha-hlega-byu, Palan, Swe-daw.];[PHILIPPINES: Bambang (Tag.), alibangbang (แปลว่า "ผีเสื้อ").];[SANSKRIT: Shivamalli.];[SIDDHA/TAMIL: Vellaimandarai.];[SRI LANKA: Sudu kobalila.];[THAI: Ka-chae-ku-do (Malay-Narathiwat); Ka long, Som siao (Central); Yo thi ka (Nakhon Si Thammarat); Siao noi (Chiang Mai).];[TURKISH: Bohinia, Dagh abanoz.];[UNANI: Kachnaal.].
ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIACEAE)
EPPO Code---BAUAC (Preferred name: Bauhinia acuminata.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้-อินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Bauhinia' เพื่อเป็นเกียรติแก่ Jean Bauhin (1541–1613) และ Gaspard Bauhin (1560–1624) สองพื่น้องนักพฤกษศาสตร์ชาวสวิส                                                                                                                            Bauhinia acuminata เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว (Fabaceae หรือ Leguminosae) วงศ์ย่อยราขพฤกษ์ (Caesalpinoideae หรือ Caesalpiniaceae) สกุลชงโค (Bauhinia) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ในปีพ.ศ.2296
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในป่าเมืองร้อนของหลายประเทศ ในประเทศไทยพบขึ้นตามธรรมชาติในป่าเบญจพรรณทุกภาคของประเทศ
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 2-4 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่เกือบกลม โคนใบรูปหัวใจปลายใบเว้าเข้าตามเส้นกลางใบลึกเกือบครึ่งแผ่นใบ ทำให้มองดูคล้ายใบแฝด ขอบใบเรียบ ท้องใบมีขนละเอียดปกคลุม ขนาดกว้าง 9-13 ซม.ยาว10-14 ซม.ดอกออกเป็นช่อตามส่วนยอด ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกกาหลงช่อหนึ่งจะมีประมาณ 5-8 ดอก แต่จะผลัดกันบานทีละ 2-3 ดอก  ดอกมีกลีบสีขาว 5 กลีบเรียงซ้อนเหลื่อมกัน เกสรเพศผู้สีขาวมี5อัน เกสรเพศเมียสีเขียวอยู่กลางดอก ขนาดใหญ่และยาวกว่าเกสรเพศผู้ ขนาดดอกกว้างราว 5 ซม. ฝักแบนยาวราว 10 ซม.เมล็ดอยู่เรียงกันตามช่อง มีฝักละประมาณ10เมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดเต็มถึงร่มเงาบางส่วน ชอบดินที่อุดมสมบูรณ์มีการระบายน้ำดี แต่ให้ความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ ต้องการค่า pH ในช่วง 5.6 - 6.5 อัตราการเจริญเติบโตของพืช ปานกลาง ในพื้นที่ที่มีอากาศเย็น ต้นไม้จะสูญเสียใบและผลัดใบ แม้ว่าหลายสายพันธุ์ในครอบครัว Fabaceae จะมีความสัมพันธ์ทางชีวภาพกับแบคทีเรียในดิน แต่สายพันธุ์นี้บอกว่าไม่มีความสัมพันธ์เช่นนี้ดังนั้นจึงไม่สามารถตรึงไนโตรเจนในบรรยากาศ
การรดน้ำ---ต้องการน้ำปานกลางให้ความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ ทนต่อความแห้งแล้งได้หลายวัน ให้น้ำมากในช่วงฤดูร้อน ลดการรดน้ำลงตั้งแต่ปลายฤดูใบไม้ร่วงเพื่อให้พืชสูญเสียใบทั้งหมดและออกดอกมากมายในปลายฤดูหนาวหรือต้นฤดูใบไม้ผลิ
การตัดแต่งกิ่ง---พรุนกิ่งเบา ๆ หลังจากดอกบานและอีกครั้งในปลายฤดูหนาวเพื่อรักษาทรงพุ่ม ขนาดและรูปทรง
การใส่ปุ๋ย---ให้ปุ๋ยด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก และปุ๋ยที่อุดมด้วยโพแทสเซียม (12-24-12) ในช่วงก่อนออกดอก
ศัตรูพืช/โรคพืช---มีความต้านทานโรคและแมลงได้ดี มักไม่มีโรคและศัตรูพืชรบกวน
รู้จักอ้นตราย---ไม่มีข้อมูลความเป็นพิษของพืชชนิดนี้
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ดอกกาหลงเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง ใช้ดอกรับประทานแก้ปวดศีรษะ ลดความดัน ในประเทศอินเดียมีการใช้เปลือกต้นและยาต้มในการใช้ลดความรุนแรงและโรคหอบหืด เปลือกและใบใช้ในการรักษานิ่วในกระเพาะปัสสาวะ กามโรคและโรคเรื้อน ใช้ใบแปะรักษาโรคผิวหนังในท้องถิ่น
-ในมาเลเซียและอินโดนีเซียใช้รากรักษาอาการไอและหวัด
-ในอินเดียใช้ใบและเปลือกในการรักษาโรคหอบหืด
-ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทรงพุ่มกระทัดรัด ปลูกประดับตามที่พักอาศัย อาคาร ร้านค้าทั่วไป
ความเชื่อ/พิธีกรรม คนไทยจีนโบราณนิยมปลูกกาหลงไว้เป็นต้นไม้ประจำบ้าน เชื่อว่าเป็นต้นไม้ที่ให้คุณกับเจ้าของมาก ในด้านเมตตามหานิยม พ่อค้าแม่ค้าคนเก่าคนแก่ปลูกกาหลงไว้ที่หน้าร้านบ้าง หน้าบ้านบ้างปลูกกันแทบทั้งนั้น เดี๋ยวนี้ก็ยังคงความนิยมอยู่
ภัยคุกคาม--เนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง ประชากรจึงมีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพ ไม่มีภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงจัดไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด' (ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้)
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2017)
ระยะออกดอก---ออกดอกเป็นระยะตลอดปี
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง


ชงโค/Bauhinia purpurea


ชื่อวิทยาศาสตร์---Bauhinia purpurea L.(1753)
ชื่อพ้อง---Has 14 Synonyms.
---Phanera purpurea (L.) Benth.(1852)
---Bauhinia castrata Blanco.(1837)
---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:481605-1#synonyms
ชื่อสามัญ---Purple Orchid Tree, Hong Kong Orchid Tree, Butterfly tree; Camel's foot tree, Pink butterfly tree, Purple butterfly tree, Purple camel's foot.
ชื่ออื่น--- กะเฮอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ชงโค (ภาคกลาง); สะเปซี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); เสี้ยวดอกแดง (ภาคเหนือ); เสี้ยวหวาน (แม่ฮ่องสอน) ;[ASSAMESE: Ronga Kanchan, Tenga-kotora, Kurial, Ronga-kanchan, Og-yok.];[BENGALI: Koiral, Rakta kanchana.];[CHINESE: Yang ti jia.];[CUBA: Bauhinia, Orquídea silvestre, Puente de mono.];[FRENCH: arbre à orchidées, fleurs pourpres.];[HINDI: Kaniar.];[INDIA: Baswanpada, Chambali, Devakanchan, Kachan.];[KANNADA: Basavanpada, Devakanchan.];[MALAYALAM: Chovanna-mandaru, Suvannamandaram.];[MALAYSIA: Tapak kuda.];[MARATHI: Rakta Chandan.];[MYANMAR: Maha-hlega-ni, Maha-hlega-byu, Swe-daw, Swedaw-ni.];[NEPALI: Tanki.];[PAKISTAN: Kachan, Karar, Khairwal.];[PHILIPPINES: Alibangbang.];[SANSKRIT: Devakanchan, Raktakanchan, Raktakovidara.];[SPANISH: Bauhinia roja, Gorro de Napoleón, Mariposa, Palo de orquídeas, Pie de cabra, Pata de vaca.];[TAMIL: Nilattiruvatti.];[THAI: Ka-hoe (Karen-Mae Hong Son); Chongkho (Central); Sa-pe-si (Karen-Mae Hong Son); Siao dok daeng (Northern); Siao wan (Mae Hong Son).];[TRADE NAME: Kachan, Karar, Khairwal.].
ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIACEAE)
EPPO Code---BAUPU (Preferred name: Bauhinia purpurea.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จากอินเดียถึงจีน มาเลเซีย พม่า กัมพูชา สิงคโปร์และไทย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Bauhinia'ได้รับการตั้งชื่อโดย Linnaeus เพื่อเป็นเกียรติแก่ Jean (1541-1613) และ Gaspard (2103-2166) Bauhin ซึ่งเป็นพี่น้องนักพฤกษศาสตร์ชาวสวิส กลีบของใบไม้สองใบเป็นตัวอย่างของพี่น้องสองคน ; ชื่อเฉพาะ 'purpurea' หมายถึงสีม่วงของดอกไม้
Bauhinia purpurea เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว (Fabaceae หรือ Leguminosae) วงศ์ย่อยราขพฤกษ์ (Caesalpinoideae หรือ Caesalpiniaceae) สกุลชงโค (Bauhinia) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ในปีพ.ศ.2296
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน และประเทศอินเดีย และแพร่กระจายในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  ขึ้นปะปนกับไม้ชนิดอื่นๆในป่าโปร่งผสม ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ป่าสะวันนา ป่าชายเลน ป่าเต็งรังและป่าพรุ พบปลูกเป็นไม้ประดับในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของโลกและตอนนี้ สามารถพบได้ในอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง, หมู่เกาะอินเดียตะวันตก, แอฟริกาและบนเกาะในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นพืชกึ่งเขตร้อนถึงเขตร้อนชื้นซึ่งมักพบได้ในระดับความสูง 500 ถึง 2,000 (-3,000) เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบช่วงสั้นๆ ขนาดเล็ก สูงประมาณ 5-10 เมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 ซม.ลำต้นมีลีลางดงาม ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจ ปลายใบเว้าลึกมาก ปลายลอนของใบทู่ มองดูคล้ายใบแฝดติดกัน ขนาดของใบกว้าง 8-15 ซม.ยาว 10-14 ซม.ขอบใบเรียบ ผลัดใบในฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เดือนธันวาคมจะแตกใบใหม่เดือน เมษายน-เดือนพฤษภาคม ดอกออกเป็นช่อจากด้านข้างหรือปลายกิ่ง ช่อโปร่งมีจำนวน 6-10 ดอกต่อช่อ ดอกขนาดใหญ่ มี 5 กลีบเมื่อดอกบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-8 ซม. ผลเป็นฝักยาว 20-25 ซม.เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก ภายในผลมี 10 เมล็ด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12-15 มม.ชงโค มีดอกดกสวยงาม  ดอกสีชมพูปนม่วง และดอกติดต้นทนนานถึง45วัน  
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดเต็ม (แสงแดดโดยตรงต่อเนื่องมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน) ถึงร่มเงาบางส่วน อุณหภูมิระหว่าง 12-30°C ทนอุณหภูมิต่ำสุด (-1°C) ขึ้นได้ในดินทั่วไป ขึ้นอยู่กับความหลากหลายของดินแต่ต้องมีการระบายน้ำที่ดี ค่า pH ในช่วง 5.6 - 6.5 อัตราการเจริญเติบโตของพืช ปานกลาง
การรดน้ำ---ต้องการน้ำปานกลาง ระวังอย่าให้น้ำมากเกินไป สองปีแรกหลังจากปลูกแล้ว การรดน้ำอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญ ปีแรกมีความสำคัญ การให้น้ำสัปดาห์ละครั้งและรดน้ำให้ลึกจะดีกว่าการรดน้ำบ่อยๆ เพียงไม่กี่นาที ทนแล้งน้อยกว่าสายพันธุ์อื่นของ Bauhinia วัสดุคลุมดินสามารถทำให้บริเวณรากเย็นลงและเพื่อรักษาความชุ่มชื้น
การตัดแต่งกิ่ง---กำจัดส่วนที่ตาย เสียหายหรือเป็นโรคออกเสมอ พรุนกิ่งเบา ๆ หลังจากดอกบานและอีกครั้งในปลายฤดูหนาวเพื่อรักษาทรงพุ่ม ขนาดและรูปทรง
การใส่ปุ๋ย---ให้ปุ๋ยด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก และปุ๋ยที่อุดมด้วยโพแทสเซียม (12-24-12) ในช่วงก่อนออกดอก
ศัตรูพืช/โรคพืช---มีความต้านทานโรคและแมลงได้ดี มักไม่ค่อยมีโรคและศัตรูพืชรบกวน
รู้จักอ้นตราย---ไม่มีข้อมูลความเป็นพิษของพืชชนิดนี้
ใช้ประโยชน์--- ต้นไม้มีการใช้งานในท้องถิ่นอย่างกว้างขวางเป็นอาหารยารักษาโรคและสินค้าโภคภัณฑ์ เป็นสายพันธุ์บุกเบิกที่ยอดเยี่ยมและได้รับการปลูก เป็นไม้ประดับผ่านเขตร้อนเป็นจำนวนมาก
-ใช้เป็นอาหาร ใบ ดอกตูมและดอกไม้- ปรุงและกินเป็นผัก ดอกตูมมักจะดองหรือใช้ในแกง ต้นอ่อนฝักอ่อน - สุก กินเป็นผัก
-ใช้เป็นยา  ดอกเป็นยาระบาย รากขับลม แก้ไขและยังใช้เป็นยาสมานแผล
-ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ ใช้จัดสวนและใช้ในงานภูมิทัศน์ ปลูกตามอาคาร บ้านเรือน ที่พักอาศัย สวนสาธารณะ ริมถนน ให้ร่มเงาและดอกสวยงาม การปลูกชงโคไม่ต้องเลือกต้นที่มีขนาดใหญ่มากเลือกต้นอ่อน ศ.กเพียง 3-4" กำลังดี เพราะถ้าต้นแก่เกินไปดอกจะน้อยและเล็ก อายุขัยของชงโคก็ไม่เหมือนต้นไม้ยืนต้นชนิดอื่นๆอยู่ได้แค่ 25-30 ปีก็ไปแล้ว
-ใช้อื่น ๆ เนื้อไม้มีสีขาวนวลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อสัมผัสกับบรรยากาศ เนื้อไม้ละเอียดและทนทาน ใช้สำหรับทำอุปกรณ์การเกษตรและเป็นเชื้อเพลิง เปลือกใช้สำหรับย้อมและฟอก  ใช้ใบไม้และดอกไม้เป็นอาหารสัตว์
ความเชื่อ/พิธีกรรม --- ชาวอินเดียถือว่าเป็นไม้สวรรค์ ขึ้นอยู่ในเทวโลก และถือว่าเป็นต้นไม้ของพระลักษมี
ภัยคุกคาม--เนื่องจากสายพันธุ์นี้ถูกคุกคามจากความเสื่อมโทรมของแหล่งที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการแพร่กระจายและการเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ภัยคุกคามจึงไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อประชากรทั้งหมด
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2012)
ระยะออกดอก---ออกดอกเป็นระยะตลอดปี แต่จะดกมากในเดือนกุมภาพันธุ์
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ (จะออกดอกเมื่อมีอายุ 3-5 ปีจากเมล็ด)


โยทะกา-พญากาหลง/Bauhinia tomentosa.


ชื่อวิทยาศาสตร์---Bauhinia tomentosa L.(1753)
ชื่อพ้อง---Has 10 Synonyms.
---Alvesia bauhinioides Welw.(1859)
---Bauhinia pubescens DC.(1827)
---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:30193-2#synonyms
ชื่อสามัญ---Bell bauhinia, Yellow bauhinia, Yellow tree bauhinia, St. Thomas tree.
ชื่ออื่น---ว่านพญากาหลง, โยทะกา, เสี้ยวดอกเหลือง, ชงโคดอกเหลือง (กรุงเทพฯ) ;[AFRICAANS: Bosbeesklou.];[CHINESE: Huang hua yang ti jia.];[CUBA: Bauhinia, Gorro de Napoleón, Guacamaya americana.];[FRENCH: Fleur du sacré-coeur.];[GERMAN: Gelbe Bauhinie.];[HINDI: Kachnar.];[INDIA: Asundro, Kanjani, Mandarai, Petan, Phalgu, Pita, Kovidaara, Usamaduga.];[SINHALESE: Kaha-petan, Petan.];[SRI LANKA: Kaha pethan, Kat-atti, Triviat putrum.];[SOUTH AFRICA: Geelbeesklou, IsiThibathibana.];[SPANISH: Arbol de Santo Tomás, Cauhinia amarilla, Flor de azufre, Guacamaya americana, Mariposa, Petán.];[THAI: Yo tha ka, Chongkho dok lueang (Bangkok).];[UGANDA: Ogal.];[ZAMBIA: Bush neat's foot (Eng).].
ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIACEAE)
EPPO Code---BAUTO (Preferred name: Bauhinia tomentosa.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปแอฟริกา เอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---แอฟริกาตะวันออกและใต้ -  เอเซีย-อนุทวีปอินเดีย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Bauhinia' ได้รับเกียรติจากพี่น้องชาวสวิสจากศตวรรษที่ 16 Johann และ Caspar Bauhin พวกเขาเป็นพี่น้องฝาแฝดเหมือนกันจึงทำให้เป็นชื่อที่ฉลาดมากเนื่องจากใบแฝดทั้งสองของใบเมื่อพับเข้าหากันจะเหมือนกัน ; ชื่อของสายพันธุ์ 'tomentosa' = ขนหนาแน่น อ้างอิงถึงฝัก
Bauhinia tomentosa เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว (Fabaceae หรือ Leguminosae) วงศ์ย่อยราขพฤกษ์ (Caesalpinoideae หรือ Caesalpiniaceae) สกุลชงโค (Bauhinia) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ในปีพ.ศ.2296


ที่อยู่อาศัย ถิ่นกำเนิดไม่แน่ชัด เกิดขึ้นตามธรรมชาติใน แอฟริกา-โมซัมบิก แองโกลา, สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, เอธิโอเปีย, เคนยา, โซมาเลีย, แอฟริกาใต้, แทนซาเนียและซิมบับเว : เอเซีย-บังคลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา พบที่ระดับความสูง0-1,000เมตร ในประเทศไทยพบโยทะกาขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วประเทศ
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางสูงประมาณ 4-5 เมตร เป็นไม้ใบแฝดออกสลับตามข้อต้น ใบสีเขียว ผิวใบมีขนละเอียดสั้นๆ เมื่อจับใบจะรู้สึกหยาบระคายมือ รูปใบมองคล้ายปีกแมลง ปกติใบมักพับงอเข้าหากัน ขนาดใบกว้างประมาณ 6-8 ซม. ดอกออกเป็นช่อสั้นตามโคนก้านใบบริเวณส่วนยอด กลีบดอกสีเหลืองอ่อน มีกลีบดอก 6 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อมกัน ขนาดดอกเมื่อบานเต็มที่กว้างประมาณ 4-5 ซม. ช่อหนึ่งๆมีดอกประมาณ 8-12 ดอกจะผลัดกันบานคราวละ 2-3 ดอก ผลแคปซูลแบนตรง  7-15 × 1.2-1.5 ซม เมล็ดสีน้ำตาล 6-12 เมล็ด เส้นผ่านศูนย์กลาง 6-8 มม.
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดเต็มถึงร่มเงาบางส่วน ชอบดินที่อุดมสมบูรณ์มีการระบายน้ำดี แต่ให้ความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ ต้องการค่า pH ในช่วง 5.6 - 6.5 อัตราการเจริญเติบโตของพืช ปานกลาง ในพื้นที่ที่มีอากาศเย็น ต้นไม้จะสูญเสียใบและผลัดใบ แม้ว่าหลายสายพันธุ์ในครอบครัว Fabaceae จะมีความสัมพันธ์ทางชีวภาพกับแบคทีเรียในดิน แต่สายพันธุ์นี้บอกว่าไม่มีความสัมพันธ์เช่นนี้ดังนั้นจึงไม่สามารถตรึงไนโตรเจนในบรรยากาศ
การรดน้ำ---ต้องการน้ำปานกลางให้ความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ ทนต่อความแห้งแล้งได้หลายวัน ให้น้ำมากในช่วงฤดูร้อน ลดการรดน้ำลงตั้งแต่ปลายฤดูใบไม้ร่วงเพื่อให้พืชสูญเสียใบทั้งหมดและออกดอกมากมายในปลายฤดูหนาวหรือต้นฤดูใบไม้ผลิ
การตัดแต่งกิ่ง---พรุนกิ่งเบา ๆ หลังจากดอกบานและอีกครั้งในปลายฤดูหนาวเพื่อรักษาทรงพุ่ม ขนาดและรูปทรง
การใส่ปุ๋ย---ให้ปุ๋ยด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก และปุ๋ยที่อุดมด้วยโพแทสเซียม (12-24-12) ในช่วงก่อนออกดอก
ศัตรูพืช/โรคพืช---มีความต้านทานโรคและแมลงได้ดี มักไม่มีโรคและศัตรูพืชรบกวน
รู้จักอ้นตราย---ไม่มีข้อมูลความเป็นพิษของพืชชนิดนี้
ใช้ประโยชน์---พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเป็นแหล่งอาหารยาและสีย้อม บางครั้งปลูกเป็นรั้วป้องกันความเสี่ยงและเป็นไม้ประดับ เนื่องจากระบบรากไม่ก้าวร้าวจึงสามารถปลูกไว้ใกล้กับสระว่ายน้ำท่อระบายน้ำได้
-ใช้กิน ใบอ่อน - ปรุง รสเปรี้ยวสามารถรับประทานเป็นผักใส่ข้าวเพิ่มซุปหรือใช้เป็นเครื่องปรุงกับอาหารอื่น ๆ
-ใช้เป็นยา ดอกไม้ใช้เป็นยาแก้บิดและท้องร่วง ผลไม้เป็นยาขับปัสสาวะ เมล็ดกินเป็นยาชูกำลังและยาโป๊ว
-ใช้ปลูกประดับ ทรงพุ่มกระทัดรัด ปลูกประดับตามที่พักอาศัย อาคาร ร้านค้าทั่วไป เป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง ไม่ชอบที่ลุ่มน้ำขัง เวลาปลูกโยทะกาต้องไว้โคน คือพูนโคนเสียหน่อยเพราะรากเน่าง่าย เฉาตายง่ายมาก
-อื่น ๆ ใบไม้ให้สีย้อมสีเหลือง ไฟเบอร์ที่ได้จากเปลือกสามารถนำไปใช้ทำตะกร้าได้ แก่นไม้เกือบดำ ไม้เนื้อละเอียดหนักและแข็งแรง ใช้ทำจันทันสำหรับกระท่อมโบราณ                                                                                                                      ความเชื่อ/พิธีกรรม---ปลูก3 ต้นด้วยกันตามโบราณท่านว่า บ้านไหนปลูก กาหลง ชงโค โยทะกา ทั้งสามต้นไว้ในบ้านแล้วไซร้ ท่านว่าจะอุดมด้วยทรัพย์มิรู้หมด ฉะนี้ แล ส่วนต้นที่มีดอกสีม่วงติดมาด้วย คือดอกจะมี 2 สี คือสีเหลืองกับสีม่วงเรียกว่า พญากาหลง มีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกันกับโยทะกาลักษณะทั่วไปนิสัยใจคอเหมือนกันหมดยกเว้นดอกมีสีม่วงเพิ่มเข้ามาดังกล่าวนั้น ท่านว่าปลูกไว้คุม กาหลง ชงโค โยทะกา เพื่อให้สร้างอานุภาพแห่งความมั่งมีศรีสุขอีกชั้น
ภัยคุกคาม--เนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง ประชากรจึงมีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพ ไม่มีภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงจัดไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด' (ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้)
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2019)
ระยะออกดอก---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---เมล้ด ตอนกิ่ง


รัตตมา/Parkinsonia aculeata


ชื่อวิทยาศาสตร์---Parkinsonia aculeata L.(1753)
ชื่อพ้อง ---Has 3 Synonyms. See https://powo.science.kew.org/taxon/512242-1   
---Parkinsonia thornberi MEJones.(1908)
---Parkinsonia inermis Spreng.(1825)
---Parkinsonia spinosa Kunth.(1824)
ชื่อสามัญ --Verdi-Badhal, Jerusalem Thorn, Barbados flower-fence, Mexican Palo Verde, Horse-bean, Jelly bean tree, Parkinsonia, Retaima, Sessaban.
ชื่ออื่น--- รัตตแน (ตาก), รัตตมา (เชียงใหม่) ;[ARGENTINA: Cina cina, Retamo rojo, Sina sina.];[BARBADOS: Holy thorn, Royal cashiaw.];[BOLIVIA: Azote de Cristo, Palo de burro, Palo verde.];[BRAZIL: Cina-cina, Espinho de Jerusalem, Rosa da turquia.];[CHINESE: Biǎn zhóu, Bian zhou mu];[COSTA RICA: Sulphato.];[CUBA: Espinillo, Junco marino, Palo de rayo, Pararrayo.];[DOMINICAN REPUBLIC: Cambrón.];[EL SALVADOR: Sulphato.];[FRENCH: Epine de Jerusalem, Genet epineux, Parkinsonie épineuse.];[GERMAN: Jerusalemdorn, Stacheliger Ginsterbaum.];[GHANA: Zugu-bai-tia.];[HINDI: Vilayti Kikar, Ram Babul];[INDIA: Adanti, Bawal, Kikar, Pardeshi baval, Ram baval, Rombawal, Sima tumma, Sima-tumma, Vedi-badhal, Vilayati babul, Vilayati kikar.];[ITALIAN: Ginestra spinosa, Parchinsonia, Spina di Jerusalem.];[MARATHI: Vilaiti-kikkar];[MEXICO: Bacapore, Bagote, Cacaporo, Cahuinga.];[NICARAGUA: Espino negro, Sauce del playa.];[NIGER: Sassabaanii.];[PAKISTAN: Kabuli kikar, Vilayati kikar.];[PORTUGUESE: Espinheiro-de-jerusalém.];[SENEGAL: Barkasoñé, Barkasonyo, Parkasonu.];[SOMALIA: Geed walaayo.];[SPANISH: Cina-cina, Cují extrangero, Flor de Mayo, Palo verde, Retama de Jerusalén, Espanillo, Espina de Jerusalem, Espinillo, Palo de rayo];[SRI LANKA: Belaiti kikar.];[TAMIL: Sinia Tumana.];[TELUGU: Seemathumma.];[THAI: Rattanae (Tak); Rattama (Chiang Mai).];[TURKISH: Sülünağacı.];[URDU: Moti Sem Ka Payr.];[USA: Horsebean.].
ชื่อวงศ์ ---FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)
EPPO Code---PAKAC (Preferred name: Parkinsonia aculeata.)
ถิ่นกำเนิด ---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์ ---เม็กซิโก อเมริกาใต้ ออสเตรเลีย บางส่วนของ ทวีปแอฟริกา เขตร้อน ฮาวายและหมู่เกาะใ มหาสมุทรแปซิฟิก
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Parkinsonia' ให้เกียรติแก่เภสัชกรและนักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ John Parkinson (1567-1650) ; ชื่อเฉพาะสายพันธุ์ 'aculeata' จากภาษาละติน พหูพจน์ของ aculeātus = "มีเหล็กในหรือหนาม"
---ชื่อสามัญ 'Jerusalem Thorn' ไม่ได้อ้างถึงเมืองตะวันออกกลาง แต่เป็นคำภาษาสเปนและโปรตุเกสหมายถึงหันไปทางดวงอาทิตย์
Parkinsonia aculeata เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว (Fabaceae หรือ Leguminosae) วงศ์ย่อยประดู่ (Papilionoideae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ในปีพ.ศ.2296

 

ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในสหรัฐอเมริกาตอนใต้ เม็กซิโกตอนเหนือ หมู่เกาะกาลาปากอสและอเมริกาใต้ตอนเหนือ (โบลิเวีย เปรู ปารากวัย อุรุกวัยและอาร์เจนตินาตอนเหนือ)ที่อื่นที่ได้รับการแปลงสภาพเป็นธรรมชาติได้แก่เขตร้อนและแอฟริกาตอนใต้, ปากีสถานและโอเชียเนีย (เช่นฮาวายและนิวแคลิโดเนีย) ส่วนใหญ่พบอยู่ในหุบเขาทะเลทรายและเขตทุ่งหญ้าทะเลทรายที่ระดับความสูงถึง 1,500 เมตร และในเขตร้อนชื้นที่ระดับความสูงถึง 2,400 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดกลางหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทรงต้นเป็นพุ่มโปร่ง ความสูงของต้นประมาณ 3-5 เมตร แต่ถ้าดินอุดมสมบูรณ์อาจสูงได้ถึง 8 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นสูงสุด 30 ซม เปลือกต้นแตก สีน้ำตาลดำ ก้านใบเป็นช่อเรียวลู่ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น (bi-pinnate) ก้านใบและกิ่งก้านลดขนาดลง ยาว 10-30 มม.และมีหนามแข็งแรง ดอกสีเหลืองประแดงขนาดเล็กยาว 2-3 ซม ออกเป็นช่อที่ซอกใบ รวมกันเป็นกลุ่มๆยาว 5-20 ซม เมื่อลมพัดดอกและใบจะลู่ตามลมเป็นสายสวยมาก ผลเป็นฝักเกลี้ยงสีน้ำตาลส้ม ฝักแบนยาว 3-13 ซม.และกว้าง 5-10 มม เมล็ดอยู่เรียงกันตามช่องบวมรอบเมล็ด มีฝักละประมาณ 1-6 (8) เมล็ด เมล็ดที่ค่อนข้างใหญ่ ยาว 9-15 มม.และกว้าง 3-6 มม.มีสีเขียวมะกอกถึงสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้มหรือสีเทาลายจุด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---รัตมาเป็นไม้กลางแจ้งชอบแดดจัดน้ำปานกลาง ช่วงอุณหภูมิระหว่าง -3 ถึง 36°C ทนทานต่อดินหลากหลายชนิด (ดินทราย ดินเหนียว ดินด่างและดินชอล์ก ฯลฯ) รวมถึงดินที่ขาดธาตุอาหาร ค่า pH ในช่วง 6.5 - 7.5 ซึ่งทนได้ 6 - 8.5 ทนทานต่อดินเป็นกรดมาก  เจริญเติบโตเร็ว สามารถเข้าถึงความสูง 2.5 เมตรภายใน 2 ปีจากเมล็ด
การรดน้ำ---สามารถอยู่รอดได้โดยมีน้ำเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยเป็นระยะเวลานาน สามารถทนต่อความแห้งแล้งได้นานถึง 9 เดือน แต่ไม่ทนต่อสภาพที่เปียกชื้น หากได้รับการรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ พืชจะมีรูปแบบที่ตั้งตรงขึ้นสวยงามมากขึ้น ใบและการออกดอกจะหนาแน่นขึ้น หากไม่มีน้ำ พืชจะเติบโตช้าลงและมีแนวโน้มที่จะคงสภาพเหมือนไม้พุ่มมากกว่า
การตัดแต่งกิ่ง---ไม่จำเป็นต้องตัดแต่งกิ่ง ยกเว้นกิ่งที่ตายและเสียหานจำเป็นต้องตัดทิ้ง การตัดแต่งกิ่งก้านต่ำจะส่งเสริมรูปแบบที่ตั้งตรงมากขึ้น
การใส่ปุ๋ย---ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยใดๆ
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน/รากเน่าอาจเกิดขึ้นจากน้ำมากเกินไป และดินมีการระบายน้ำที่ไม่ดี
รู้จักอ้นตราย---ไม่มีข้อมูลความเป็นพิษของพืชชนิดนี้


ใช้ประโยชน์---ใช้กินได้ ผลไม้ - ดิบ เนื้อเยื่อในเมล็ดมีรสหวานมีน้ำตาลถึง 60% เมล็ดอุดมไปด้วยโปรตีนมีศักยภาพในการใช้เป็นอาหารของมนุษย์
-ใช้เป็นยา ใบ ผล และก้าน ใช้ภายในและภายนอก แก้ไข้ และมาลาเรีย ยาต้มทำให้แท้ง ใช้สารสกัดจากดอกไม้และใบไม้ในแอลกอฮอล์เป็นยาพอกรักษาโรคไขข้ออักเสบ
-ในเม็กซิโก ใบนำมาต้มทำเป็นยาแก้ไข้และโรคลมบ้าหมู
-วนเกษตร ใช้สำหรับการควบคุมการกัดเซาะและการปลูกป่าในพื้นที่ทรายและแห้งแล้ง มีประโยชน์สำหรับการฟื้นฟูดินแดนรกร้างบริเวณที่เป็นลำห้วยและซากเหมืองแร่
-ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับที่มีมูลค่า ดอกไม้จะออกดอกมากมายและยาวนาน
-อื่น ๆ แก่นไม้มีสีน้ำตาลอ่อน  เนื้อไม้มีลักษณะค่อนข้างหยาบหนักปานกลาง และมีความทนทานสูง ขนาดลำต้นไม่เพียงพอที่จะใช้ทำอะไร นอกจากทำเสาแล้วก็ทำฟืน
ภัยคุกคาม--เนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง ประชากรจึงมีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพ ไม่มีภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงจัดไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด' (ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้)
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2019)
ระยะออกดอก---สิงหาคม-กันยายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด, ตอนกิ่ง ปักชำ (เมล็ดสามารถเก็บไว้ได้นานถึงหนึ่งปีโดยไม่สูญเสียการงอกของเมล็ด)
**การพูดคุยส่วนตัว-ที่สำคัญรัตมาเป็นต้นไม้เก่าแก่ชนิดหนึ่งของโลกอีกด้วย เหตุนี้คนที่ชอบของโบราณก็น่าจะมีปลูกไว้ ต้นนี้ไม่เห็นบ่อยนัก คิดเองเออเองว่าน่าจะเป็นเพราะ ตอนกิ่งมาขาย รูปลักษณ์ไม่น่าซื้อ ชื่อไม่รู้จัก กิ่งตอนที่ได้ก็มีแต่ใบเป็นเส้นๆไม่กี่เส้น ดอกดวงก็ไม่มี พอขายยากแม่ค้าก็ไม่เอาแล้ว ส่วนต้นที่ปลูกลงดินก็ไม่มีสวยงามพอที่จะล้อมมาขายได้ เพราะบอกแล้วว่าเป็นต้นไม้โบราณกว่าความงามจะปรากฏ ทรงต้นจะดราม่าได้ต้องใช้เวลานาน รูปที่ได้มานี้ ถ่ายมาจากสวนมิ่งมงคล สระบุรี ตรงลานจอดรถมีปลูกไว้หลายต้น ** 


ข้าวหลาม/Goniothalamus marcanii

ชื่อวิทยาศาสตร์---Goniothalamus tamirensis Pierre ex Finet & Gagnep.(1906)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:73260-1#synonyms
---Goniothalamus marcanii Craib.(1922)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ข้าวหลาม (หนองคาย), จำปีหิน (ชุมพร), นมงัว (ปราจีนบุรี) ;[JAPAN: Kaorāmu don];[THAI: Khao lam (Nong Khai); Champi hin (Chumphon); Nom ngua (Prachin Buri).];[VIETNAM: Giác đế miên].
ชื่อวงศ์---ANNONACEAE
EPPO Code---GJOSS (Preferred name: Goniothalamus sp.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระขายพันธุ์---กัมพูชา ลาว คาบสมุทรมาเลเซีย ไทย และเวียดนาม
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสายพันธุ์ 'tamirensis' ตั้งชื่อตามพื้นที่ในกัมพูชาที่เก็บรวบรวมมา ซึ่งพวกเขาบันทึกว่า “monts Tamir”
Goniothalamus tamirensis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระดังงา (Annonaceae) สกุลปาหนันช้าง (Goniothalamus)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดยJean Baptiste Louis Pierre (1833-1905) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส จากอดีต Achille Eugene Finet.(1863 -1913) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส และ Francois Gagnepain (1866-1952 ) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ในปีพ.ศ.2449

 

ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในประเทศกัมพูชา ลาว คาบสมุทรมาเลเซีย ไทย และเวียดนาม พบในป่าดิบแล้งที่ระดับความสูง 10-500 เมตร เป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของประเทศไทย (endemic plants)
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 3-4 เมตร แตกกิ่งน้อย ทรงพุ่มเลยดูโปร่งบาง เปลือกต้นค่อนข้างนิ่ม สีน้ำตาลเกลี้ยงแต่ กิ่งอ่อนจะมีขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่นและอ่อนนุ่ม กิ่งแก่มีสีดำ ก้านใบมีขนหนาแน่น ยาว 7-8 มม ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับรูปขอบขนาน ขนาด 12-17 x 3.7-4.7 ซม.ผิวใบด้านบนไม่มีขน ด้านล่างมีขนสีแดง ปลายใบเป็นติ่งแหลม ดอกมีสองเพศทั้งเพศผู้และเพศเมียในดอกเดียวกัน (hermaphrodite) ดอกออกที่ซอกใบหรือตามกิ่งใบ กลีบดอกมี 6 กลีบเรียงกัน 2 ชั้น บานทนได้ 2-3 วัน เมื่อบานขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 ซม.ผลเป็นผลกลุ่มขนาด 3 ซม.มีผลย่อย 8-15 ผล รูปทรงรี เมื่อผลสุกแก่จะเป็นสีแดงเข้ม มีเมล็ด 1 เมล็ด ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆตลอดวัน หอมแรงช่วงค่ำ
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดเต็มถึงร่มเงาบางส่วน อุณหภูมิต่ำสุดคือ 10 °C และอุณหภูมิสูงสุดไม่ควรเกิน 29 °C ถ้าเป็นไปได้ ชอบดินที่อุดมสมบูรณ์มีการระบายน้ำดี แต่ให้ความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ ต้องการค่า pH ในช่วง 5.6 - 6.5 อัตราการเจริญเติบโตของพืช ปานกลาง
การรดน้ำ---ต้องการน้ำปานกลาง รดน้ำบ่อย ๆเพื่อให้พื้นดินชื้นเล็กน้อย แต่ต้องหลีกเลี่ยงการรดน้ำมากเกินไป อย่ารดน้ำทันทีหลังจากตัดแต่งกิ่ง เพราะอาจทำให้เชื้อราเข้าทำลายพืชผ่านทางบาดแผลได้
การตัดแต่งกิ่ง---การตัดแต่งเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต ต้องการควบคุมขนาดและรูปลักษณ์ ตัดกิ่งตายหรือกิ่งที่เสียหาย เป็นโรค สามารถทำได้ทุกเมื่อที่ต้องการ ต้นฤดูใบไม้ผลิและปลายฤดูหนาวเป็นเวลาที่ดีที่สุดในการตัดแต่งกิ่งในปริมาณมาก ระวังอย่าตัดแต่งกิ่งเกินหนึ่งในสามของขนาดต้นไม้
การใส่ปุ๋ย--- สามารถใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก่อนหรือหลังการตัดแต่งกิ่ง
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน/ขาดน้ำทำให้ใบร่วง น้ำมากเกินไปสามารถทำให้เกิดโรครากเน่าได้
รู้จักอ้นตราย---ไม่มีข้อมูลความเป็นพิษของพืชชนิดนี้
ใช้ประโยชน์---มีรายงานว่าโมเลกุลที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สกัดจากใบของมันมีฤทธิ์ ในการกลายพันธุ์ในการทดสอบด้วยเซลล์สร้างกระดูกของหนูที่เพาะเลี้ยง
ระยะออกดอกติดผล --- ระหว่างเดือน เมษายน-กรกฏาคม
ขยายพันธุ์--- ด้วยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
**การพูดคุยส่วนตัว การดูแลเลี้ยงดู ไม่ยุ่งยากอะไร จากภาพนี้ ต้นข้าวหลามที่ติดดอกเป็นรูปที่ถ่ายจากบ้านลูกค้าสภาพปลูกในที่มีแสงแดดปานกลางคือไม่ถึงกับร่มรำไรเกินไปหรือแดดจัดไป ความฃื้นในดินพอสมควรไม่แห้งหรือแฉะ เป็นต้นที่เกิดจากการตอนกิ่งแล้วปลูกลงดิน พอถึงฤดูกาลก็จะออกดอกตามอายุของต้นแม่ที่เคยออกดอกมาแล้ว ต้นนี้ถึงจะดูเล็กก็จะออกดอกตามไปด้วยเหมือนกับต้นแม่ที่ตอนกิ่งมา ส่วนอีกต้นที่อยู่ข้างๆเป็นต้นข้าวหลาม ที่ปลูกกลางแจ้งแดดจัด ได้จากการเพาะเมล็ดเลี้ยงลงดินให้โตเร็ว แล้วล้อมมาปลูก ต้นถึงจะสูงใหญ่กว่า แต่ไม่ติดดอกเมื่อถึงฤดูกาล อายุของต้นเพาะเมล็ดจะอยู่ราว 3-4 ปีถึงจะออกดอก ต้นนี้รอไปเลย2ปี

บุหรง/Dasymaschalon dasymaschalum

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Dasymaschalon dasymaschalum (Blume) I.M.Turner.(2007)
ชื่อพ้อง---Has 12 Synonyms.
---Basionym: Unona dasymaschala Blume.(1830)
---Dasymaschalon blumei Finet & Gagnap.(1906)
---See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:72727-1
ชื่อสามัญ---Malayan Annona
ชื่ออื่น---บุหรงใบอ่อนสีน้ำตาล,  กระดังงาเขา (สุราษฎร์ธานี), บุหรง (กรุงเทพฯ);[THAI: Kradang nga khao (Surat Thani); Burong (Bangkok).].
ชื่อวงศ์--- ANNONACEAE
EPPO Code---DZWDA (Preferred name: Dasymaschalon dasymaschalum.)
ถิ่นกำเนิด--- ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย พม่า คาบสมุทรมลายูถึงอินโดนีเซีย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Dasymaschalon' มาจากภาษากรีก "dasys" = ขนหนา และ "maschale" = ซอกหรือรูกลวง อ้างอิงถึงกลีบดอกเชื่อมติดกัน มีช่องกลวง มีขนประปรายหรือหนาแน่น
Dasymaschalon dasymaschalum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระดังงา (Annonaceae) สกุลบุหรง (dasymaschalum)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดยCarl Ludwig von Blume. (1789–1862) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน - เนเธอร์แลนด์  และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Ian Mark Turner (born 1963) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปีพ.ศ.2550
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะอันดามัน, บอร์เนียว, ชวา, มาลายา, นิโคบาร์, สุมาตรา ในประเทศไทยพบขึ้นกระจายตามป่าดิบชื้น ฃายป่าละเมาะและชายทะเลทางภาคใต้ตอนล่าง ที่ระดับความสูง 50-200 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มหรือไม้รอเลื้อยขนาดเล็กสูง 2-3 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลอมดำ มีช่องอากาศสีขาวเป็นจุดๆ เนื้อไม้เหนียว กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม แตกกิ่งจำนวนมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 4-6 ซม. ยาว 9-15 ซม. โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ปลายใบเรียวทู่ ใบด้านบนสีเขียวและมีขนเล็กน้อย ใบอ่อนสีน้ำตาล ดอกออกเดี่ยว ๆที่ปลายกิ่งหรือใกล้ปลายกิ่ง ดอกมีสองเพศทั้งเพศผู้และเพศเมียในดอกเดียวกัน (hermaphrodite) ดอกอ่อนสีเขียวเมื่อบานเปลี่ยนเป็นสีแดง-ม่วงแดง แล้วหลุดร่วงไปทั้งกรวยมีกลิ่นหอม ผลเป็นผลกลุ่มมีผลย่อย 9-12 ผล รูปทรงกระบอกยาว 3-5 ซม.มีเมล็ด 1-6 เมล็ด เปลือกคอดถี่ตามรูปเมล็ด ผลอ่อนสีเขียวอมม่วง เมื่อแก่สีแดง
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดรำไรหรือร่มเงาบางส่วน ดินโปร่งร่วนซุยเก็บความชื้นระบายน้ำและอากาศได้ดี
การรดน้ำ---ได้รับการรดน้ำอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะเมื่อยังเล็ก เมื่อต้นไม้โตเต็มที่และมั่นคงขึ้น ความต้องการน้ำก็จะลดลง
การตัดแต่งกิ่ง---การตัดแต่งเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต ต้องการควบคุมขนาดและรูปลักษณ์ ตัดกิ่งตายหรือกิ่งที่เสียหาย เป็นโรค สามารถทำได้ทุกเมื่อที่ต้องการ ต้นฤดูใบไม้ผลิและปลายฤดูหนาวเป็นเวลาที่ดีที่สุดในการตัดแต่งกิ่งในปริมาณมาก ระวังอย่าตัดแต่งกิ่งเกินหนึ่งในสามของขนาดต้นไม้
การใส่ปุ๋ย--- สามารถใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก่อนหรือหลังการตัดแต่งกิ่ง
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน/ขาดน้ำทำให้ใบร่วง น้ำมากเกินไปสามารถทำให้เกิดโรครากเน่าได้
รู้จักอ้นตราย---ไม่มีข้อมูลความเป็นพิษของพืชชนิดนี้
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกประดับ นำมาปลูกเป็นไม้กระถางหรือปลูกในบริเวณพื้นที่จำกัดได้
-ใช้เป็นยา ต้นไม้นี้มีชื่อเสียงในระบบพืชทางชาติพันธุ์วิทยาและใช้ในการรักษาโรคแบบดั้งเดิมหลายอย่าง เปลือก ใบ และดอกใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ตั้งแต่ไอ หวัด ไปจนถึงปัญหาผิวหนัง
ภัยคุกคาม---เนื่องจากต้นไม้ชนิดนี้มีการกระจายอย่างกว้างขวาง มีประชากรมาก ปัจจุบันไม่พบภัยคุกคามที่สำคัญใดๆ และไม่มีการระบุถึงภัยคุกคามที่สำคัญในอนาคต ถูกประเมินไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'กังวลน้อยที่สุด'
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2018)
ระยะออกดอก--- มิถุนายน-กรกฎาคม
ขยายพันธุ์ ---เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

บุหงาลำเจียก/Goniothalamus tapis


ชื่อวิทยาศาสตร์---Goniothalamus tapis Miq.(1861)
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:73259-1
---Goniothalamus sumatranus Miq.(1861)
---Goniothalamus umbrosus J.Sinclair.(1955)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---บุหงาลำเจียก; [MALAYSIA: Kenarak, Galai (Peninsular), Gertimang (Kelabit, Sarawak), Tongkat bumi (Limbang, Sarawak).];[THAI: Naara (Peninsular), Bu ngaa lam chiak (Bangkok).].
ชื่อวงศ์---ANNONACEAE
EPPO Code---GJOSS (Preferred name: Goniothalamus sp.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ไทย มาเลเซีย สุมาตรา อินโดนีเซีย บอร์เนียว
Goniothalamus tapis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระดังงา (Annonaceae) สกุลปาหนันช้าง (Goniothalamus)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Friedrich Anton Wilhelm Miquel (1811–1871) นักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์ ในปีพ.ศ.
ที่อยู่อาศัย เกิดขึ้นในคาบสมุทรมาเลเซียสุมาตราและบอร์เนียว ในธรรมชาติพบได้ตามป่าดิบชื้นทางภาคใต้ของไทย
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นเนื้อแข็งขนาดเล็ก สูง 2-5 เมตร ใบเดี่ยวรูปขอบขนานถึงรูปไข่ ขนาด  15-27 ซม. x 6-12 ซมโคนใบโค้งมนหรือมีรูปร่างคล้ายลิ่มเล็กน้อยปลายยอดแหลมก้านใบยาว 0.5-0.7 ซม.ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกเป็นคู่ ออกตามซอกใบ ตอนดอกอ่อนจะเป็น สีเขียวเมื่อบานกลีบดอกจะ เปลี่ยนเป็นสีขาวนวลหรือเหลืองอม ชมพู  ดอกบานทนอยู่ได้ 1-2วัน มีกลิ่นหอมแรงเมื่อดอกใกล้โรย ส่วนผลเป็นผลกลุ่ม มีผลย่อย 6-14 ผล รูปกลมรีขนาด 1-1.2 ซม.เปลือกผลเรียบเป็นมัน เมื่อแก่สีม่วงเข้ม มี1เมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดเต็มถึงร่มเงาบางส่วน อุณหภูมิต่ำสุดคือ 10 °C และอุณหภูมิสูงสุดไม่ควรเกิน 29 °C ถ้าเป็นไปได้ ชอบดินที่อุดมสมบูรณ์มีการระบายน้ำดี แต่ให้ความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ ต้องการค่า pH ในช่วง 5.6 - 6.5 อัตราการเจริญเติบโตของพืช ปานกลาง
การรดน้ำ---ต้องการน้ำปานกลาง รดน้ำบ่อย ๆเพื่อให้พื้นดินชื้นเล็กน้อย แต่ต้องหลีกเลี่ยงการรดน้ำมากเกินไป อย่ารดน้ำทันทีหลังจากตัดแต่งกิ่ง เพราะอาจทำให้เชื้อราเข้าทำลายพืชผ่านทางบาดแผลได้
การตัดแต่งกิ่ง---การตัดแต่งเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต ต้องการควบคุมขนาดและรูปลักษณ์ ตัดกิ่งตายหรือกิ่งที่เสียหาย เป็นโรค สามารถทำได้ทุกเมื่อที่ต้องการ ต้นฤดูใบไม้ผลิและปลายฤดูหนาวเป็นเวลาที่ดีที่สุดในการตัดแต่งกิ่งในปริมาณมาก ระวังอย่าตัดแต่งกิ่งเกินหนึ่งในสามของขนาดต้นไม้
การใส่ปุ๋ย--- สามารถใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก่อนหรือหลังการตัดแต่งกิ่ง
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน/ขาดน้ำทำให้ใบร่วง น้ำมากเกินไปสามารถทำให้เกิดโรครากเน่าได้
รู้จักอ้นตราย---ไม่มีข้อมูลความเป็นพิษของพืชชนิดนี้
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกประดับ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามที่พักอาศัยและสวนทั่วไป
พิธีกรรม/ความเชื่อ---ชาวอีบัน (Iban เผ่า Dayak บนเกาะบอร์เนียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) เชื่อกันว่าเมื่อถูกเผาจะขับไล่ยุงเพราะกลิ่นแรงและควันหนาที่สร้างขึ้น เชื่อกันว่าสามารถขับไล่วิญญาณชั่วร้ายได้ ส่วนใหญ่จะเผาในตอนกลางคืนและในวันที่อากาศร้อนและฝนตก
ระยะออกดอก---มีนาคม-สิงหาคม แต่จะดอกดกมากในเดือนมีนาคม-เมษายน และจะออกเป็นระยะไปตลอดปี
การขยายพันธุ์ ---เพาะเมล็ด และตอนกิ่ง


บุหงาเซิง/Friesodielsia desmoides

ชื่อวิทยาศาสตร์---Friesodielsia desmoides (Craib) Steenis.(1964)
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.See all https://www.gbif.org/species/3156676
---Basionym: Goniothalamus desmoides Craib.(1922)
---Oxymitra desmoides Craib.(1925)
ชื่อสามัญ---Wedding Cananga
ชื่ออื่น---เครือติดต่อ (สุราษฎร์ธานี); บุหงาเซิง, บุหงาแต่งงาน (กรุงเทพฯ); สายหยุด (ชุมพร); ส่าเหล้า (สุราษฎร์ธานี)
ชื่อวงศ์---ANNONACEAE
EPPO Code---FRDSS (Preferred name: Friesodielsia sp.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---กัมพูชา ไทย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Friesodielsia' ตั้งตาม Elias Magnus Fries (1794–1878) นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน และ Friedrich Ludwig Emil Diels (1874–1945) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน  
Friesodielsia desmoides เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระดังงา (Annonaceae) สกุล ทุเรียนเทศ (Friesodelsia)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Grant Craib (1882–1933) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Cornelis Gijsbert Gerrit Jan van Steenis (1901–1986) นักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก ในปีพ.ศ.2507
ที่อยู่อาศัย พบที่กัมพูชา ในประเทศไทยพบกระจายห่าง ๆ ทุกภาค ขึ้นใต้ร่มเงาหรือริมลำธารในป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ที่ระดับความสูงไม่เกิน 350 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดเล็กตัดแต่งเป็นพุ่มได้ สูงอยู่ประมาณ  1-2 เมตรหรือจะให้เลื้อยก็เลื้อยได้ไกล 3-5 เมตร เนื่องจากบุหงาเซิงแตกกิ่งก้านจากโคนต้นเป็นจำนวนมาก และมีใบจำนวนมากด้วย เมื่อนำมาตัดแต่งทรงพุ่มก็จะได้ไม้พุ่มสวย ลำต้นบุหงาเซิงเป็นไม้เนื้อแข็งเหนียว เปลือกต้นเป็น สีน้ำตาล ใบสองข้างอยู่ในระนาบเดียวกัน รูปไข่แกมขอบขนาน ยาว 11-15 ซม.ด้านล่างของใบมีนวลสีขาว ดอกvvdตรงข้ามใบหรือซอกใบ ออกเดี่ยว ๆหรือเป็นกระจุก2ดอก สีเหลือง มี 6 กลีบเรียงเป็น 2 ชั้นๆ ละ 3 กลีบ เรียงตัวเป็นรูปสามเหลี่ยม ดอกบานมีขนาด 2-2.5 ซม.บานทนอยู่ได้ 2-3 วัน ผลเป็นผลกลุ่มมีผลย่อย 8-12 ผลทรงรียาว 1.5-2 ซม.เมื่อสุกสีแดงแต่ละผลมี 1-2 เมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม--- บุหงาเซิงเป็นพรรณไม้ที่ลำต้น ใบและ ดอกมีกลิ่นหอมแรง ใกล้เคียงกับต้นส่าเหล้ามาก (ซึ่งจะพูดถึงในเรื่องไม้เลื้อย) ชอบดินร่วนที่มีอินทรียวัตถุมาก ชุ่มชื้นมีการระบายน้ำดี และชอบ อยู่ในที่ร่มรำไรหรือร่มเงาบางส่วน อย่าปลูกกลางแดดจัดใบจะไหม้กรอบไม่สวย ถ้าร่มเกินดอกก็จะน้อย ทรงต้นชะลูดเก้งก้าง
การรดน้ำ---ชอบดินชุ่มชื้นได้รับการรดน้ำอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะเมื่อยังเล็ก เมื่อต้นไม้โตเต็มที่และมั่นคงขึ้น ความต้องการน้ำก็จะลดลง อย่ารดน้ำทันทีหลังจากตัดแต่งกิ่ง เพราะอาจทำให้เชื้อราเข้าทำลายพืชผ่านทางบาดแผลได้
การตัดแต่งกิ่ง---การตัดแต่งเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต ต้องการควบคุมขนาดและรูปลักษณ์ให้เป็นไม้พุ่ม ตัดกิ่งตายหรือกิ่งที่เสียหาย เป็นโรค สามารถทำได้ทุกเมื่อที่ต้องการ ต้นฤดูใบไม้ผลิและปลายฤดูหนาวเป็นเวลาที่ดีที่สุดในการตัดแต่งกิ่งในปริมาณมาก ระวังอย่าตัดแต่งกิ่งเกินหนึ่งในสามของขนาดต้นไม้
การใส่ปุ๋ย--- สามารถใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก่อนหรือหลังการตัดแต่งกิ่ง
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน/ขาดน้ำทำให้ใบร่วง น้ำมากเกินไปสามารถทำให้เกิดโรครากเน่าได้
รู้จักอ้นตราย---ไม่มีข้อมูลความเป็นพิษของพืชชนิดนี้
การใช้ประโยชน์---ปลูกเป็นไม้ประดับ สามารถปลูกเป็นไม้พุ่มหรือไม้เลื้อยและปลูกเป็นไม้กระถาง ออกดอกดกมีกลิ่นหอม
ภัยคุกคาม---ในธรรมชาติพบกระจายพันธุ์อยู่ในป่าดิบชื้นในภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ และปัจจุบันเริ่มมีการกระทบกระเทือนลดจำนวนในถิ่นกำเนิด อาจเป็นเพราะคุณสมบัติเป็นที่ต้องการของตลาดส่วนหนึ่งโดนขุดล้อมมา หรือ การงอกของเมล็ดและการเจริญของต้นอ่อนในถิ่นกำเนิดไม่เป็นไปตามเป้า แต่ยังไงคงไม่สูญหายไปง่ายๆ
ระยะออกดอก---เป็นระยะตลอดปี ออกมากเดือนมกราคม-สิงหาคม
ขยายพันธุ์ ---เพาะเมล็ดปักชำกิ่ง ทาบกิ่ง ตอนกิ่ง


 พวงไข่มุก/Sambucus canadensis


ชื่อวิทยาศาสตร์---Sambucus canadensis L.(1753)
ชื่อพ้อง---Has 55 Synonyms.
---Aralia sololensis Donn.Sm.(1913)
---Sambucus mexicana C.Presl ex DC.(1830)
---Sambucus nigra subsp. canadensis (L.) Bolli.(1994)
---Sambucus oreopola Donn.Sm.(1898)
---Sambucus simpsonii Rehder.(1911)
---More.See all https://www.gbif.org/species/6369819
ชือสามัญ---American elder, American Elderberry, American black elderberry, Canada elderberry, Common elderberry
ชื่ออื่น---พวงไข่มุก (กรุงเทพฯ),ระป่า (ปราจีนบุรี), อูน, อุนฝรั่ง (แพร่);[DUTCH: Amerikaanse vlier.];[FRENCH: Sirop blanc, Sureau blanc, Sureau d'Amérique, Sureau du Canada.];[GERMAN: Kanadischer Holunder, Nordamerikanischer Holunder.];[NETHERLAND: Amerikaanse vlier.];[SOUTH AFRICA: Kanadese vlier.];[SPANISH: Flor sauco, Sauco blanco, Sauco del Canada.];[THAI: phuang khai muk (Bangkok); rapa (Prachin Buri); un, un farang (Phrae).].
ชื่อวงศ์---ADOXACEAE
EPPO Code---SAMCN (Preferred name: Sambucus canadensis.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---อเมริกาเหนือ และอเมริกากลาง  
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Sambucus' อาจมาจาก 'sambuco' คำภาษาอิตาลีที่ แปลว่า 'ไม้แก่' ; ชื่อเฉพาะสายพันธฺุ์ 'canadensis' หมายถึง ประเทศคานาดา
Sambucus canadensis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ Adoxaceae หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ Moschatel familyได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดยCarl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนในปี พ.ศ.2296


ที่อยู่อาศัย เป็นพืชพื้นเมืองไปทางทิศตะวันออกและภาคกลางของอเมริกาเหนือ(แคนาดา สหรัฐอเมริกา และเม็กซิโก) และอเมริกากลาง จากโนวาสโกเชียและแมนิโทบาใต้ ไปฟลอริดาและเท็กซัส ได้รับการแนะนำในอเมริกาใต้ แคริบเบียน เอเชียเขตร้อน และแอฟริกา และออสเตรเลีย ขึ้นอยู่ตามลำธาร รืมแม่น้ำ ชายป่าไม้ พบได้ที่ระดับความสูงประมาณ 200-1,300 เมตร
ลักษณะ ต้นอูนหรือที่รู้จักกันในชื่อทั่วไปว่าพวงไข่มุก เป็นไม้พุ่มผลัดใบแผ่กิ่งก้านสาขา ลำต้นตั้งตรงสูง 2-4 เมตร ทรงพุ่มโปร่ง กิ่งแก่กลวง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นออกตรงข้าม ก้านใบยาว 3-7 ซม ใบย่อย (5-)7-9 แผ่นต่อใบ ยาว 5-12(-14) ซม. กว้าง 2-6(-9) ซม.รูปใบหอกถึงรูปรีหรือรูปไข่แคบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักฟันเลื่อย ผิวด้านบนเกลี้ยงเกลา ด้านล่างมักจะมีขนเล็กน้อยตามเส้นใบ ดอกสีขาวกลิ่นหอมจาง ๆ ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ช่อใหญ่เป็นพุ่มกว้าง ขนาดประมาณ 10-25 ซม. ดอกไม้สีขาว (เกสรเพศผู้สีเหลือง) ดอกมีน้ำมันหอมระเหยและสารที่มีรสขม ผลกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มม. สีม่วงดำเป็นมัน
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการตำแหน่งที่มีแสงแดดหรือร่มเงาบางส่วน ขึ้นได้ในดินหลายชนิด ชอบดินที่อุดมสมบูรณ์ ดินชื้นสม่ำเสมอและเป็นกรดเล็กน้อย มีการระบายน้ำดี ค่า pH ที่เป็นกลางถึงเป็นกรดอ่อนๆ
การรดน้ำ---ต้องการน้ำปริมาณมากทนความแห้งแล้งไม่ได้ ได้รับการรดน้ำอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะเมื่อยังเล็ก เมื่อต้นไม้โตเต็มที่และมั่นคงขึ้น ความต้องการน้ำก็จะลดลง รากของพืชอยู่ใกล้ผิวดินมากคลุมด้วยวัสดุคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นเพื่อให้รากเย็น
การตัดแต่งกิ่ง---สามารถทำให้พุ่มไม้เป็นรูปแบบมาตรฐาน (ต้นไม้ขนาดเล็ก) พืชจะแพร่กระจายโดยการแตกหน่อ (root sucker) และจะเกิดเป็นพุ่มหนาหากไม่ได้เอาหน่อออก มันสามารถเป็นวัชพืช ตัดต้นที่เกิดจากหน่อที่มีอายุมากกว่าสามปีออกเพื่อให้หน่อที่มีอายุน้อยเจริญได้ดีกว่า
การใส่ปุ๋ย---ให้ใส่ปุ๋ยทุกฤดูใบไม้ผลิด้วยส่วนผสมปุ๋ย 10-10-10
ศัตรูพืช/โรคพืช---หนอนเจาะ ไรเดอร์ เพลี้นแป้งและเพลี้ยอ่อน/มีความไวต่อโรคแคงเกอร์ โรคราแป้ง โรคใบจุด  กิ่งก้านของมันไวต่อความเสียหายจากลมแรง
รู้จักอันตราย--- ผลไม้ดิบมีสารอัลคาลอยด์และไซยาโนเจนไกลโคไซด์ ที่เป็นพิษ สารพิษในผลไม้อาจมีความเป็นพิษต่ำมากและถูกทำลายเมื่อผลไม้สุก
ใช้ประโยชน์---ใช้กินได้ ผลสุก นำไปทำแยมและขนมพาย แพนเค้ก และเยลลี่ได้ ในบางประเทศใช้ยอดอ่อนปรุงอาหาร ชงน้ำดื่มและทำไวน์ 
-ใช้เป็นยา เป็นสมุนไพรที่ใช้โดยชนเผ่าพื้นเมืองในอเมริกาเหนือ ดอกแห้งเป็นยาชง ช่วยขับเหงื่อ เปลือกต้นรากเป็นยาขับปัสสาวะ ผลมีสรรพคุณเป็นยาระบาย ขับปัสสาวะและช่วยลดไข้ ดอกไม้จะถูกทำเป็นชาเพื่อลดไข้และสำหรับอาการเจ็บคอและปวดท้อง เปลือกและใบใช้ภายนอกเป็นยารักษาโรคผิวหนังและบรรเทาอาการปวด
-ใช้อื่น ๆ ใบและเปลือกด้านในของหน่ออ่อนถูกใช้เป็นยาขับไล่แมลง ดอกแห้งใช้เพื่อขับไล่แมลงและสัตว์ฟันแทะ ยาต้มของใบสามารถใช้เป็นยาฆ่าแมลง
ศัตรูพืช/โรคพืช---มีความไวต่อโรคแคงเกอร์ โรคราแป้ง จุดใบ หนอนเจาะ ไรเดอร์ และเพลี้ยอ่อน กิ่งก้านของมันไวต่อความเสียหายจากลมแรง
ระยะออกดอก/ติดผล ---มิถุนายน-สิงหาคม/กรกฎาคม-ตุลาคม
ขยายพันธุ์ ---เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ

สราญรมย์/ Erythrina crista-galli

[er-ith-RY-nuh] [KRIS-tuh GAL-ee]

ชื่อวิทยาศาสตร์---Erythrina crista-galli L.(1767)
ชื่อพ้อง---Has 17 Synonyms
---Corallodendron crista-galli (L.) Kuntze.(1891)
---Erythrina compacta W.Bull.(1871)
---Micropteryx crista-galli (L.) Walp.(1851)
---More.See all https://www.gbif.org/species/5349719
ชื่อสามัญ---Brazilian coral tree, Cock's comb coral tree, Cockspur coral tree, Common coral tree, Coral tree, Cry baby, Cry-baby tree, Crybaby tree, Crybabytree, Fireman's cap, Fireman's cap tree
ชื่ออื่น---มโนรมย์, สราญรมย์, ทองหลางดอกแดง, ทองหลางฮ่องกง (กรุงเทพฯ);[AFRIKAANS: Koraalboom.];[ARGENTINA: Ceibo, Seíbo.];[BRAZIL: Corticeira-do-banhado, Mulungu, Samandu.];[CHINESE: Jī guān cì tóng];[FRENCH: Erythrine crête-de-coq.];[GERMAN: Hahnenkammkorallenstrauch, Korallenstrauch.];[ITALIAN: Albero di corallo, Eritrina cresta di gallo.];[JAPANESE: Amerika-deigo.];[PORTUGUESE: Corticeira, Coralina-cristada, Eritrina, Feijoeiro-da-Índia.];[RUSSIA: Eritrina petushinyy greben'.];[SPANISH: Arbol del coral, Eritrina, Gallito, Picos de gallo.];[SWEDISH: Korallbuske.];[THAI: Thong lang hong kong (Bangkok).];[VIETNAMESE: Vông mồng gà (Tiếng Việt).];
ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)
EPPO Code---ERZCG (Preferred name: Erythrina crista-galli.)
ถิ่นกำเนิด ---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---อเมริกาใต้-บราซิล อาร์เจนติน่า อุรุกวัย เอเซีย ออสเตรเลีย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Erythrina' มาจากภาษากรีก “erythros”= สีแดง ตามสีของดอกไม้ ; ชื่อเฉพาะสายพันธุ์ 'crista galli' เป็นคำในภาษาละตินที่มีความหมายว่า "หงอนไก่"
Erythrina crista-galli เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว (Fabaceae หรือ Leguminosae) วงศ์ย่อย ประดู่ (Papilionoideae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนในปี พ.ศ.2310

 

ที่อยู่อาศัย พบใน อเมริกาใต้-บราซิล อาร์เจนติน่า อุรุกวัย เอเซีย ออสเตรเลีย ในพื้นที่ป่าเปิด ป่าทุติยภูมิ ดินชื้นตามหนองน้ำ ทุ่งหญ้าริมแม่น้ำ ปากแม่น้ำ ในประเทศไทยนำเข้ามาเมืองไทยโดย  ม.ร.ว. พันธุ์ทิพย์ บริพัตร
ลักษณะ เป็นไม้ต้นขนาดเล็กผลัดใบ สูงได้ถึง 8-10 เมตร  เรือนยอดกลม ลำต้นและกิ่งก้านมีหนาม  ใบเป็นใบประกอบแบบ มี 3 ใบย่อย ก้านใบมีหนาม ใบรูปไข่ ปลายใบแหลม สีเขียวเข้มเป็นมัน แผ่นใบเป็นคลื่น ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจะที่ปลายกิ่ง ช่อดอกตั้ง ดอกรูปดอกถั่ว สีแดงดอกคล้ายทองหลางฮ่องกง แต่กลีบดอกจะกว้างกว่า ดอกทยอยบาน จากโคนไปหาปลายช่อ ถ้าดอกเป็นสีส้มหรือชมพูจะเรียกขื่อว่า สราญรมย์และถ้าปลูกในที่อากาศเย็นจะติดฝัก
ข้อกำหนดสภาพแวดล้อม---เติบโตได้ดีในภูมิภาคเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ต้องการตำแหน่งที่มีแสงแดดจัด ดินชื้นสม่ำเสมอและระบายน้ำดี สปีชีส์นี้มีความสัมพันธ์ทางชีวภาพกับแบคทีเรียในดินบางชนิดแบคทีเรียเหล่านี้ก่อตัวเป็นก้อนบนรากและตรึงไนโตรเจนในบรรยากาศ ไนโตรเจนบางส่วนนี้ถูกใช้โดยพืชที่กำลังเติบโต แต่บางชนิดก็สามารถใช้โดยพืชอื่น ๆ
การรดน้ำ---ต้องการการรดน้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ดินชุ่มชื้นเล็กน้อย อย่าให้น้ำขัง จำกัดการรดน้ำในฤดูหนาว
การตัดแต่งกิ่ง---ตัดกิ่งและลำต้นแห้งในฤดูใบไม้ผลิ โดยปกติแล้วจะถูกตัดแต่งกลับเพื่อให้อยู่ในระดับความสูงที่จัดการได้
การใส่ปุ๋ย---ใส่ปุ๋ย ในฤดูใบไม้ผลิด้วยปุ๋ยคอก 1 ครั้ง และในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ทุกๆ 20 วันด้วยปุ๋ยสูตรเสมอ ใช้เท่าที่จำเป็น แต่สม่ำเสมอ งดใส่ปุ๋ยในฤดูหนาว
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไวต่อศัตรูพืชบางชนิด เช่น เพลี้ยไฟ แมลงเกล็ด (เกาะตามลำต้นและกิ่งก้าน) และไส้เดือนฝอย/ สำหรับโรคบางชนิด สามารถเกิดโรคเชื้อราได้
รู้จักอ้นตราย---สปีชีส์ของ Erythrina ทุกชนิดมีอัลคาลอยด์พิษจำนวนมากขึ้นหรือน้อยลงแล้วแต่ชนิด สามารถพบได้ในทุกส่วนของพืช แต่จะมีความเข้มข้นมากที่สุดในเมล็ด ควรใช้ความระมัดระวังในการใช้งานของพืชที่เกี่ยวข้องกับการกลืนกิน อัลคาลอยด์เหล่านี้มีลักษณะคล้าย Curare (ที่ได้จาก Strychnos) และอาจทำให้เกิดอัมพาตและเสียชีวิตจากการหายใจล้มเหลว /ใช้ความระมัดระวังเมื่อจับลำต้น เนื่องจากมีหนามที่โค้งงอไปด้านหลัง
ใช้ประโยชน์--- พืชถูกเก็บมาจากป่าเพื่อใช้เป็นยาในท้องถิ่น มักจะได้รับการปลูกเป็นไม้ประดับในเขตอบอุ่นและในเขตร้อนชื้น
-ใช้เป็นยา ยาต้มเปลือกใช้เพื่อรักษาโรคไขข้อและโรคตับอักเสบ การแช่เปลือกใช้น้ำเป็นยาบ้วนปาก รักษาอาการเจ็บคอและใช้ภายนอกสำหรับล้างแผล
-ใช้ปลูกประดับ สำหรับบ้านและสวนสาธารณะได้ดีเยี่ยม จากนี้ยังนิยมปลูกเป็นต้นไม้ริมถนน ทางตอนใต้ของฟลอริดา ใช้ปลูกแบบ Xeriscape สามารถปลูกเป็นไม้กระถางในภาชนะขนาดใหญ่
-อื่น ๆ ไม้มีน้ำหนักเบา เรียบ มีรูพรุน ความทนทานต่ำ ใช้ในการผลิตพื้นและส้นรองเท้า แกะสลัก ฯลฯ
ตำนาน/ความเชื่อ---ตำนานเก่าแก่ของอาร์เจนตินากล่าวว่า ดอก Erythrina crista-galliเป็นวิญญาณของชาวอินเดียชื่อ Anahi ซึ่งพลีชีพกับการตายของทหารยามชาวสเปน จากตำนานได้กล่าวถึงความหมายของ ดอก Erythrina crista-galli ซึ่งแสดงถึง จิตวิญญาณที่บริสุทธิ์และหยิ่งยโสของเผ่าพันธุ์ที่ไม่มีอยู่อีกต่อไป
สำคัญ---สายพันธุ์นี้เป็นต้นไม้ประจำชาติของอาร์เจนตินาและอุรุกวัย
ภัยคุกคาม---เนื่องจากสายพันธุ์นี้ถูกคุกคามจากความเสื่อมโทรมของแหล่งที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการแพร่กระจายและการเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ภัยคุกคามจึงไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อประชากรทั้งหมด ถูกประเมินไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'กังวลน้อยที่สุด'
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2019)
ระยะออกดอก --- ธันวาคม-มกราคม
ขยายพันธุ์ ---เมล็ด ตอนกิ่ง

เทียนกิ่ง/Lawsonia inermis

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Lawsonia inermis L.(1753)
ชื่อพ้อง---Has 12 Synonyms
---Alcanna spinosa (L.) Gaertn.(1790)
---Lawsonia spinosa L.(1753)
---Rotantha combretoides Baker.(1890)
---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:553638-1
ชื่อสามัญ---Henna tree, Mignonette tree, The Egyptian privet, Jamaica-mignonette, Camphire, Henna, Cypress shrub
ชื่ออื่น---เทียนแดง (ภาคกลาง,เลย),เทียนไม้, เทียนกิ่ง, เทียนข้าวเปลือก (ภาคกลาง), เทียนขาว (ภาคกลาง,พิษณุโลก) ;[ARABIC: Hinná, Yoranna; Enah, Fagia, Henna.];[ASSAMESE: Jetuka.];[CAMBODIA: Krâpéén.];[DOMINICAN REPUBLIC: Resedón.];[FRENCH: Henne, Henné, Chypre des anciens; Alcann (local French).];[GERMAN: Hennastrauch.];[HINDI: Mehendi.];[INDIA: Hena, Marithoni, Maruthani, Mehedi, Mendhi, Mendi.];[INDONESIA: Inai, Inai Parasi, Parasi (Sumatran); Pachar kuku (Sundanese); Pacar kuku (Javanese); Inai (General).];[ITALIAN: Alcanna vera, Arbusto della henna.];[KENYA: Bajuni, Mvumanyuki.];[LAOS: Kaaw.];[LESSER ANTILLES: Copiae.];[MALAYALAM: Mailanji.];[MALAYSIA: Hinna, Inai, Pacar Kuku.];[MYANMAR: Dan.];[NIGERIA: Calle, Iyalomo, Laali, Laali funfun, Lali, Lalle, Lalli.];[PAKISTAN: Hena, Mendhi.];[PHILIPPINES: Cinamomo (Tagalog).];[PORTUGUESE: Alfeneiro, Alfenheiro-da-índia, Hena, Hésia.];[SPANISH: Alcana, Alhena, Jenna, Reseda.];[SWAHILI: Mhina, Muhina.];[TAMIL: Marudani, Marithondi, Maruthani.];[TANZANIA: Mhina.];[THAI: Thian daeng (Central, Loei), Thian mai, Thian king, Thian khao plueak (Central), Thian khao (Central, Phitsanulok).];[TRADE NAME: Henna, Mendhi.];[VIETNAM: Lá mòn, Nhuôm móng, Nhuôm móng tay.].
ชื่อวงศ์---LYTHRACEAE
EPPO Code---LAWIN (Preferred name: Lawsonia inermis.)
ถิ่นกำเนิด--- ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย ตอนเหนือของแอฟริกา
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุลเป็นเกียรติแก่ Isaac Lawson (?-1747) แพทย์ทหารชาวสก็อตที่ช่วยจ่ายค่าพิมพ์ Systema Naturae ของ Linnaeus (1735) inermis ; ชื่อเฉพาะสายพันธุ์ 'Inermis' นั้นหมายถึง 'ไม่มีอาวุธหรือไม่มีหนาม' ( Orwa et al., 2009 )"ซึ่งอาจอ้างอิงถึงสปีชีส์อื่นในสกุล Lawsonia ; ชื่อสามัญ 'Henna' มาจากคำภาษาอาหรับสำหรับพืชชนิดนี้
Lawsonia inermis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ตะแบก (Lythraceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนในปี พ.ศ.2296


ที่อยู่อาศัย ต้นกำเนิดไม่เป็นที่รู้จัก หลักฐานทางภาษาศาสตร์สนับสนุนต้นกำเนิดในพื้นที่ Baluchistan (อิหร่าน/ปากีสถาน)ไปจนถึงอินเดียตะวันตก จากนั้นกระจายไปทางตะวันออกสู่ส่วนที่เหลือของอินเดียและอินโดนีเซียและทางตะวันตกสู่ตะวันออกกลาง-จากอาระเบียไปถึงสเปน, มาดากัสการ์, Moluccas, อินโดจีนและญี่ปุ่น ปัจจุบันสายพันธุ์นี้สามารถพบได้ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนมักจะปลูกในสวนภายในบ้านและการผลิตเชิงพาณิชย์ ที่จำกัดอยู่เพียงไม่กี่แห่งในอินเดีย ปากีสถาน อิหร่าน อียิปต์ ลิเบีย ไนเจอร์และซูดาน เติบโตได้ที่ระดับความสูงไม่เกิน 2,000 เมตรส่วนต้นไม้ที่พบเห็นตามธรรมชาติมักพบตามริมลำธาร ริมแม่น้ำที่น้ำท่วมถึงชั่วคราว หรือบนเนินเขาและในซอกหินที่ระดับความสูงถึง 1,350 เมตร มีการระบุว่ารุกรานในคิวบา (Oviedo Prieto et al., 201 ) และสิงคโปร์     (Chong et al., 2009)
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กหลายลำต้นหรือไม้ต้นขนาดเล็กความสูงของต้นประมาณ 2-6 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากเป็นพุ่มกว้าง เปลือกสีน้ำตาลอมเทา กิ่งก้านเมื่อยังอ่อนเป็นรูปสี่เหลี่ยมสีเขียวนวล กิ่งเมื่อแก่จะมีหนาม ใบออกตรงข้าม รูปไข่รูปรีถึงรูปใบหอกขนาด 1.5-5 ซม. x 0.5-2 ซม. ดอกออกเป็นข่อขนาดใหญ่ติดกันเป็นกระจุกยาวโดยจะออกตามปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็กเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 ซม.มีกลิ่นหอม แบ่งเป็นสองสายพันธุ์คือ พันธุ์ดอกขาวและพันธุ์ดอกแดง ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลเป็นแคปซูลทรงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-8 มม คล้ายกับเมล็ดพริกไทย ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกหรือแก่เต็มที่แล้วจะเป็นสีน้ำตาลและแตกออกเป็นสี่ส่วนอย่างไม่สม่ำเสมอ ภายในผลมีเมล็ด32–49 เมล็ดต่อผล ขนาดความยาวของเมล็ด 3 มม สีน้ำตาลเข้ม
ข้อกำหนดสภาพแวดล้อม---เจริญเติบโตได้เร็ว ต้องการแสงแดดเต็มวัน อุณหภูมิที่เหมาะสมในช่วง  11°C - 30 ° C ทนอุณหภูมิต่ำสุด 5° C  ขึ้นได้ดีในดินทุกชนิดที่มีความชื้นปานกลางถึงต่ำ สามารถเติบโตได้ในดินที่ไม่ดีเต็มไปด้วยหินและเป็นทราย ค่า pH 5-7 ทนได้ 4.3 - 8 เทียนกิ่งมีอายุยืนยาวอยู่ได้ถึง 12-25 (สูงสุด 40) ปี (Orwa et al., 2009)
การรดน้ำ---ได้รับการรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ช่วงฤดูร้อนรดน้ำบ่อยกว่าช่วงอื่นๆ ของปี ขึ้นอยู่กับสภาพแสง สถานที่และการรดน้ำต้นไม้อาจต้องรดน้ำทุกสัปดาห์หรือทุกวัน
การตัดแต่งกิ่ง---ตัดแต่งกิ่งในฤดูใบไม้ผลิ เพื่อควบคุมขนาดและรูปทรง การตัดกิ่งตาย กิ่งแห้งหรือกิ่งที่เป็นโรค สามารถทำได้ตลอดเวลา
การใส่ปุ๋ย---ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกปีละ 2 ครั้ง ในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่มีปัญหาศัตรูพืชหรือโรคที่สำคัญ/ในอินเดีย มีรายงานโรครากเน่าดำที่เกิดจากCorticium kolerogaและโรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas lawoniae (Orwa et al., 2009)


ใช้ประโยชน์---ปลูกกันอย่างแพร่หลายเป็นไม้ประดับและต้นไม้ป้องกันความเสี่ยงและปลูกเพื่อผลิตเฮนน่าสีย้อมที่สกัดได้จากใบ- ในยุคกรีกโบราณเฮนน่าเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นพืชสมุนไพรและเครื่องสำอาง
-ใช้เป็นยา ใช้ในการแพทย์แผนโบราณเพื่อการรักษาโรคเกือบทุกชนิด เป็นสมุนไพรฝาดที่มีกลิ่นหอมคล้ายชาที่ควบคุมเลือดและต้านเชื้อแบคทีเรีย ถือได้ว่าเป็นยาชูกำลังที่เปลี่ยนแปลงเส้นประสาทในยาอายุรเวท -การย้อมผมด้วยเฮนน่าจะฆ่าเหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใบถูกนำมาใช้ภายในในการรักษาโรคบิด โรคท้องร่วงและเพื่อส่งเสริมการไหลของประจำเดือน ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปากเพื่อรักษาอาการเจ็บคอ สารสกัดจากใบมีผลต่อการสมานผิวบนผิวหนัง ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา รักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ (รวมถึงโรคเรื้อน) ใช้ใบสดตำพอก เล็บขบและเป็นหนอง
-วนเกษตร ใช้ปลูกในโครงการอนุรักษ์ดิน
-ใช้ปลูกประดับ พุ่มไม้หอมสำหรับสวนผสม สวนเมดิเตอร์เรเนียน และสวนสมุนไพร สามารถตัดและใช้เป็นไม้พุ่มหรือเป็นรั้วป้องกันความเสี่ยงได้
-อื่น ๆ ใช้ในวงการเครื่องสำอางค์ใช้ผงเทียนกิ่งเป็นยาย้อมผมให้เป็นสีน้ำตาลแดงหรือแดงปนส้ม และจะช่วยปกป้องผมจากแสงแดด ใช้น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากดอกไม้ในการทำน้ำหอมกลิ่นของไลแลค ไม้เนื้อละเอียดและแข็ง มันถูกใช้สำหรับการทำวัตถุขนาดเล็กเช่นหมุดเต็นท์และเครื่องมือจับและใช้เป็นเชื้อเพลิง
ความเขื่อ/พิธีกรรม--- เฮนน่าถูกใช้มานานนับพันปีโดยเฉพาะในอินเดียในฐานะเครื่องสำอางและสีย้อมผม มันเป็นหนึ่งในเครื่องสำอางที่เก่าแก่ที่สุดในโลก บันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรของวันที่ใช้งานมานานกว่า 2,500 ปี มันมีความสำคัญอย่างยิ่งในศาสนาอิสลามซึ่งมีการใช้ในพิธีต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งพิธีแต่งงาน เฮนน่าจะถูกใช้ในการวาดลวดลายที่ซับซ้อนบนผิวหนังโดยเฉพาะที่มือและเท้าของเจ้าสาวและแขกรับเชิญในงาน
ระยะออกดอก/ติดผล--- ตลอดปี
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

ฝ้ายแดง/Gossypium arboreum


ชื่อวิทยาศาสตร์---Gossypium arboreum L.(1753)
ชื่อพ้อง---Has 34 Synonyms
---Gossypium indicum Lam.(1786)
---Gossypium nanking Meyen.(1835)
---Gossypium obtusifolium Roxb. ex G.Don.(1831)
---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:559664-1#synonyms
ชื่อสามัญ---Asiatic cotton, Ceylon Cotton , Chinese Cotton , Tree Cotton, Asiatic cotton, Oriental Cotton, Red-Flowered Cotton Tree,
ชื่ออื่น---ฝ้ายแดง (ทั่วไป);[AFRIKAANS: Pamba (Sw).];[ASSAMESE: Kopah, Rui, Tula.];[BENGALI: Kapas tula.];[CHINESE: Shù mián.];[FRENCH: Cotonnier en arbre, Coton arborescent.];[GERMAN: Asiatische Baumwolle, Baumformige Baumwolle.];[HINDI: Diyokapaas, Kaarpaas, Kapaas, Kapaas Kaa Per.];[ITALIAN: Albero Del Cotone, Cotone a Fibra Corta, Cotone Arborescent.];[Japanese: Kotton, Wata.];[JAPANESE: Kotton, Wata.];[KANNADA: Bangaali Hathhi.];[KOREA: Mok hwa.];[MALAYALAM: Cemparutti, Kaattuparutti.];[MEXICO: Algodón de mata.];[PORTUGUESE: Algodoeiro-arbóreo.];[RUSSIA: Khlopchatnik drevovidnyy.];[SANSKRIT: Raksatika.];[SPANISH: Algodón Asiático, Algodonero Arbóreo, Algodonero de Sicilia, Arbol Del Algodón.];[SWEDISH: Trädbomull.];[TAMIL: Parutthi, Semparutti.];[TELUGU: Karpasamu, Paminda Pratti.];[THAI: Fai Daeng (General).].
ชื่อวงศ์---MALVACEAE
EPPO Code---GOSAR (Preferred name: Gossypium arboreum.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเชีย  
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกา
Gossypium arboreum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ชบา (Malvacsae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนในปี พ.ศ.2296
ความหลากหลาย (Variety)
---Gossypium arboreum var. neglectum (Tod.) Watt หรือที่รู้จักในท้องถิ่นว่า"Phuti karpas" เป็นตัวแปรที่ใช้ทำ Dhaka muslin ในอินเดียตะวันออก ปัจจุบันคือบังคลาเทศ ตัวแปรนี้สามารถเติบโตได้เฉพาะในพื้นที่ทางตอนใต้ของDhaka ตามริมฝั่งแม่น้ำMeghna สามารถปั่นเพื่อให้เส้นด้ายแต่ละเส้นสามารถรักษาความต้านทานแรงดึงได้สูงกว่าฝ้ายชนิดอื่นๆ
---Gossypium arboreum var. obtusifolium (Roxb.) Roberty.ต้นกำเนิดในอินเดียและศรีลังกา
---Gossypium arboreum var. sanguineum (Hassk.) Watt. ให้เส้นใยที่แข็งแรงและมีคุณภาพดี


ที่อยู่อาศัยไม่พบในธรรมชาติ ช่วงเดิมของพืชนี้ไม่แน่นอน แต่อาจเป็นแอฟริกาหรือเอเชีย สามารถปลูกได้ในเขตร้อน และเขตร้อนชื้น พบเพาะปลูกเป็นหลักในเอเซียใต้ ซึ่งพบได้ในระดับความสูงถึง 1,600 เมตร ในแอฟริกาตะวันออกเกิดขึ้นจากระดับน้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 1,000 เมตร
ลักษณะ ฝ้ายแดงเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้2-3 เมตรหรืออาจจะถึง 4 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลแดง หรือม่วง ใบเดี่ยว  2-5 × 2–4.5 ซม.เวียนสลับ รูปไข่ ขอบหยักลึก 3-7 แฉก ก้านใบยาว1.5-10 ซม. ก้านใบและเส้นใบสีแดงคล้ำ ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง สีแดงเข้ม หรือ สีเหลืองอ่อน กลางดอกสีม่วงแดงเกือบดำ ใบประดับ 3 ใบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมซ้อนกัน กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ส่วนกลีบดอกบางมี 5 กลีบ วางเรียงเวียนซ้อนกัน ดูสวยงาม โคนกลีบดอกติดกัน เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นหลอดล้อมรอบเกสรเพศเมีย ปลายเกสรเพศเมียแยกเป็นแฉก 5 แฉก ผลเป็นแคปซูลกลมหัวท้ายแหลมขนาด 1.5 - 2.5 ซม.เมื่อแก่แตกได้ เมล็ดกลม สีเขียว คลุมด้วยปุยขนสีขาว ปุยขนที่ติดกับเมล็ดนี้ไม่ได้ทำหน้าที่กระจายพันธุ์ ไม่ฟุ้งกระจายโดนน้ำก็จะยุบหุ้มเมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการแสงแดดจัด ตำแหน่งที่กำบังจากลมแรง ช่วงอุณหภูมิ (18–) 26–36 (–38)°C ดินที่อุดมสมบูรณ์และมีการระบายน้ำดี พืชสามารถทนต่อดินได้หลายชนิดรวมทั้งเกลือในระดับปานกลาง ชอบค่า pH ในช่วง 6-7.2 ซึ่งทนได้ 5.3-8.5 น้ำและความชื้นพอดี อายุอยู่ได้นานหลายปี
การรดน้ำ---ฝ้ายไม่ชอบน้ำมากเกินไปรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ต้นกล้าฝ้ายและต้นที่โตเต็มที่ควรรดน้ำสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เพื่อให้ดินรอบๆ รากอิ่มตัว
การตัดแต่งกิ่ง---คอยหมั่นตัดแต่งกิ่งอยู่เสมอ ดอกจะออกให้เห็นอยู่ตลอด แต่งกิ่งใหม่ได้ดอกใหม่
การใส่ปุ๋ย---ใส่ปุ๋ยน้ำที่อุดมด้วยโพแทช (K) สัปดาห์ละครั้ง
ศัตรูพืช/โรคพืช---หนอนเจาะสมอเป็นหนึ่งในศัตรูพืชที่ร้ายแรงที่สุด ไส้เดือนฝอยปมราก แมลงดูดกินใบ ลำต้น และตาสามารถสร้างความเสียหายได้มาก /โรคที่พบได้บ่อย ได้แก่ โรคใบไหม้ โรคใบจุด โรคข้อดำหรือเน่าที่เกิดจากเชื้อรา
รู้จักอ้นตราย---
ใช้ประโยชน์--- พืชได้รับการเพาะปลูกเพื่อต้องการเส้นใยโดยเฉพาะในอินเดียและแอฟริกา
-ใช้กินได้ เมล็ดมีน้ำมันจำนวนมากซึ่งสามารถใช้แทนน้ำมันมะกอก
-ใช้เป็นยา น้ำจากใบสดใช้รักษาอาการไข้ ใบสดใช้เป็นยาแก้พิษตานซางในเด็กได้ดี รากใช้ขับปัสสาวะ ผงที่บดได้จากเปลือกรากใช้ชงดื่มเป็นยาช่วยบีบมดลูก ทำให้แท้ง และช่วยขับน้ำคาวปลาของสตรี เมล็ดใช้เป็นยารักษาโรคหนองใน
-ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกประดับสวนสาธ่รณะและทั่วไป จะปลูกเดี่ยวๆหรือเป็นกลุ่มก็ได้
-อื่น ๆเส้นใยฝ้ายมีการใช้อย่างกว้างขวางรวมถึงการทำเสื้อผ้า วัสดุสำหรับบรรจุหมอน หมอนอิง ทำเกลียวเชือก พรม ฯลฯ ;สารสกัดจากเซลล์ใบใช้เป็นส่วนผสมในการเตรียมเครื่องสำอางเชิงพาณิชย์เป็นตัวป้องกันผิวหนัง
ระยะออกดอก/ติดผล---ออกดอกกเป็นระยะตลอดปี ออกมากช่วงเดือน สิงหาคม-กุมภาพันธ์
ขยายพันธุ์--- เมล็ด ตอนกิ่ง


  หม่อน/Morus alba

ชื่อวิทยาศาสตร์---Morus alba L.(1753)
ชื่อพ้อง---Has 41 Synonyms
---Morus atropurpurea Roxb.(1832)
---Morus intermedia Perr.(1833)
---Morus multicaulis (Perr.) Perr.(1825)
---Morus tatarica L.(1753)
---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:30051955-2#synonyms
ชื่อสามัญ---Weeping White Mulberry, White Mulberry, Russian mulberry, Black-fruited mulberry, Mulberry bush, Mulberry tree, Silkworm mulberry, Silkworm tree
ชื่ออื่น---หม่อน (ทั่วไป) มอน (อีสาน) ซึมเฮียะ (จีน);[ARABIC: El ttuut, Tuth.];[ASSAMESE: Nuni, Kiskuri, Misturi-goch.];[BENGALI: Tut.];[BULGARIAN: Chernitsia biala.];[CHINESE: Bai sang, Sang shu, Jia sang, Nu sang, Hu sang, Sang Chih.];[DANISH: Morbær (fruit), Morbær (plant).];[DOMINICAN REPUBLIC: Ramón de vaca.];[DUTCH: Moerbei (fruit), Moerbezie (plant).];[FRENCH: Mûre de murier (fruit), Mûrier (plant), Mûrier blanc.];[GERMAN: Maulbeere (fruit), Maulbeerbaum (plant), Weiße Maulbeere.];[HINDI: Shahtoot, Chinni, Tutri, Shatooth.];[ITALIAN: Gelso bianco, Gelso comune, Mora di gelso (fruit).];[JAPANESE: Guwa, Kara guwa, Ma guwa, Kara yama guwa.];[KANNADA: Resh-may-gida.];[KOREAN: Ppong, Ppong na mu.];[LITHUANIA: Baltasis šilkmedis.];[MALAYALAM: Pattunoolpuzhuchedi, Mulbari.];[MALAYSIA: Bebesaran (Indonesia), Bebesaran lampung (Indonesia, Java), Murbei (Bahasa Indonesia).];[NEPALESE: Kimbu.];[PHILIPPINES: Moras (Tag.); Morera (Span.), Amingit (Ig.), Moraya (Ibn.).];[PORTUGUESE: Amora da amoreira (fruit), Amoreira (plant), Amoreira branca.];[ROMANIA: Dud alb.];[RUSSIA: Shelkovitsa belaya, Shelkovitsa plakuchaya.];[SANSKRIT: Tula.];[SPANISH: Mora (fruit), Mora blanca, Mora de árbol, Morera de seda.];[SWAHILI: Mforsadi, Mfurusadi.];[SWEDISH: Vitt mullbär.];[TAMIL: Kambli Chedi, Kamblichedi.];[THAI: Mon (General).];[TURKISH: Beyaz dut.];[UKRAINIAN: Shovkovytsya bila.];[VIETNAMESE: Tằm tang, Dâu-tàm.].
ชื่อวงศ์---MORACEAE
EPPO Code---MORAL (Preferred name: Morus alba.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---แถบเทือกเขาหิมาลัย อินเดียและจีนตอนใต้ ญี่ปุ่น เกาหลี อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Morus' จากภาษาละติน หมายถึง "mulberry tree." ; ชื่อเฉพาะสายพันธุ์ 'alba' จากภาษาละติน 'albus' = “white” 

Morus alba เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ไทร (Moraceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนในปี พ.ศ.2296


ที่อยู่อาศัย พืชเขตร้อนและเขตอบอุ่นสามารถปลูกได้ที่ระดับความสูงระหว่าง 300 - 3,300 เมตร ในประเทศไทยปลูกกันมากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบมีความสูงประมาณได้ถึง 3-7 เมตร เปลือกลำต้นของหม่อนมีสีน้ำตาลอ่อน ใบเดี่ยวสีเขียวเข้ม เป็นรูปใบโพธิ์ ขอบใบหยักฟันเลื่อย อาจเว้าในหม่อนบางพันธุ์ ดอกมีขนาดเล็ก ดอกย่อย มี 4 กลีบ ออกตามซอกใบ ผลเป็นผลรวม ยาว 1–1.5 ซม. เมื่ออ่อนสีเขียวสุกสีม่วงดำ
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---เติบโตได้ดีที่สุดในตำแหน่งที่มีแสงแดดจัด ตำแหน่งที่แสงแดดส่องถึงและในที่ร่มบางส่วน เติบโตได้ในดินที่หลากหลายตั้งแต่ดินร่วนปนทรายไปจนถึงดินเหนียว ที่มีความชื้นพอเพียง ต้องการ pH ในช่วง 5.5 - 7.5 ซึ่งทนได้ 4.3 - 8.3 White mulberry (ชนิดที่พบมากที่สุด) มีอายุยืนยาวถึง 100 ปี แม้ว่าอายุขัยจะอยู่ที่ 25 ถึง 50 ปีสำหรับพันธุ์ภูมิทัศน์
การรดน้ำ---ได้รับการรดน้ำอย่างสม่ำเสมอหลังจากปลูกครั้งแรก เพื่อช่วยสร้างระบบรากที่แข็งแรง แนะนำให้รดน้ำ 2-3 แกลลอนต่อสัปดาห์ในปีแรก เมื่อต้นไม้โตเต็มที่และมั่นคงขึ้น ความต้องการน้ำก็จะลดลง ต้นหม่อนจะค่อนข้างทนแล้ง
การตัดแต่งกิ่ง---ไม่จำเป็นต้องตัดแต่งกิ่งเป็นประจำสำหรับต้นไม้ชนิดนี้ แต่ควรตัดแต่งกิ่งที่เสียหายหรือแตกกิ่งออกเพื่อรักษารูปทรงในช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วงหรือฤดูหนาว
การใส่ปุ๋ย---ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยสูตรเสมอ 10-10-10 หนึ่งครั้งในช่วงปลายฤดูหนาว หลังการตัดแต่งกิ่ง
ศัตรูพืช/โรคพืช---แมลงหวี่ขาว แมลงเกล็ด และเพลี้ยแป้ง แมลงเหล่านี้จะไม่สร้างความเสียหายให้กับต้นไม้ใหญ่มากนัก/ค่อนข้างไม่มีปัญหาโรค แม้ว่าบางครั้งอาจเกิดโรคใบไหม้จากแบคทีเรียและเชื้อรา ควรนำส่วนของพืชที่เป็นโรคออกเมื่อสังเกตเห็น โรคเชื้อรามักไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตและมักไม่ต้องการการรักษา ต้นหม่อนมีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาศัตรูพืชและโรคในสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น
รู้จักอ้นตราย---ใบและผลหม่อนที่ยังไม่สุกมีน้ำยางซึ่งเป็นพิษเล็กน้อยต่อมนุษย์
ใช้ประโยชน์ ต้นไม้มีประโยชน์หลายอย่างให้คุณค่าโดยเฉพาะผลไม้ที่กินได้และใช้เป็นยา มันได้รับการปลูก ในสวนบ้านสำหรับผลไม้ที่กินได้ และมักจะเปลูกเป็นไม้ประดับ  
-ใช้กินได้  ผลสุกรับประทานได้มีรสหวานอมเปรี้ยว ใบอ่อนกินเป็นผัก ใช้ใบที่บดเป็นผงชงเป็นชาดื่ม - ในประเทศอินเดียนิยมทำขนมปัง flatbread, Paratha ซึ่งทำจากส่วนผสมของใบหม่อนแห้งและแป้งสาลี
-ใช้เป็นยา ยอดอ่อนและใบหม่อนตากแห้งใช้ทำชาชงกิน ชาวญี่ปุ่นดื่มน้ำชาจากผงใบหม่อน และรากหม่อนมาเป็นเวลากว่า 60 ปีเชื่อกันว่าจะช่วยรักษาสุขภาพ และเพื่อใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง ต้นหม่อนมีประวัติยาวนานในการใช้ยาในการแพทย์แผนจีน เกือบทุกส่วนของพืชถูกนำมาใช้ ใบมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย, เป็นยาสมานแผล ถูกนำมาใช้ภายในในการรักษาหวัด, ไข้หวัดใหญ่, การติดเชื้อที่ตาและเลือดกำเดาไหล  -สารสกัดจากใบสามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคเท้าช้าง ลำต้นเป็นยาขับปัสสาวะ ปวดไขข้อ ความดันต่ำ ผลไม้มีฤทธิ์บำรุงไต ใช้ในการรักษาปัสสาวะเล็ด, วิงเวียน, หูอื้อ, นอนไม่หลับเนื่องจากโรคโลหิตจาง โรคประสาทอ่อน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ผมหงอกก่อนวัยและอาการท้องผูกในผู้สูงอายุ เปลือกของรากนั้นมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ, ขับเหงื่อ, ขับปัสสาวะ, เสมหะ ใช้ภายในในการรักษาโรคหอบหืด, ไอ, โรคหลอดลมอักเสบ, บวม, ความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เปลือกไม้เป็นยาถ่ายพยาธิตัวตืด -ในบราซิลใช้ลดโคเลสเตอรอลและความดันโลหิตและป้องกันตับ ในกัมพูชามีการใช้ใบเพื่อรักษาโรคตาแดง
-ใช้ปลูกประดับ นิยมนำมาปลูกประดับตามบ้าน ตามสวนทั่วไป เลี้ยงง่ายมีผลออกให้ดูง่าย
-อื่น ๆ นิยมปลูกตามหมู่บ้านเพื่อใช้ใบเป็นอาหารเลี้ยงตัวไหม ในหลายประเทศใบหม่อนเป็นส่วนหนึ่งของอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง เปลือกไม้ใช้ในประเทศจีนเพื่อทำกระดาษ ในอนุทวีปอินเดียไม้ใช้สำหรับงานฝีมืองานตู้และอุปกรณ์กีฬาเช่นไม้ฮอกกี้และไม้เทนนิส -สารสกัดจากรากใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและผลิตภัณฑ์ปลูกผม-ผลไม้อุดมไปด้วยแอนโธไซยานินและมีศักยภาพในการเป็นแหล่งอุตสาหกรรมของสีธรรมชาติเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร มันให้ไซยานินซึ่งมีส่วนช่วยให้สีแดงหรือสีม่วง
ระยะออกดอก/ติดผล--- ตลอดปี
ขยายพันธุ์ --- เมล็ด ปักชำ


รามใหญ่/Ardisia elliptica

ชื่อวิทยาศาสตร์---Ardisia elliptica Thunb.(1789)
ชื่อพ้อง---Has 13 Synonyms
---Ardisia kotoensis Hayata.(1911)
---Ardisia littoralis Andrews.(1811)
---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/586971-1
ชื่อสามัญ---Shoebutton ardisia, Duck's eye, Coralberry, Seashore ardisia, China shrub, Jet berry.
ชื่ออื่น--- ตาไก่ (ภาคใต้); ทุลังกาสา (ชุมพร); ปือนา (มาเลย์-นราธิวาส); ผักจ้ำ, มะจ้ำ (ภาคใต้); รามใหญ่ (ชุมพร); ลังพิสา (ตราด); [AUSTRALIA: China shrub, Duck's eye, Jet berry.];[Bahasa Melayu: Pokok Mempenai.];[BENGALI: Bonjam.];[CHINESE: Lán yǔ shù qǐ, Dong fang zi jin niu];[CUBA: Ardisia.];[FRENCH: Ati popa'a, Ardisie elliptique.];[GERMAN: Schuhknopfardisia.];[HINDI: Dhan-priya.];[INDONESIA: Lempeni];[JAMAICA: Blackberry.];[JAPANESE: Seironmanryou];[KANNADA: Bodinagida.];[MALAYALAM: Kakkanjara, Kolarakku, Kulimundan, Molakka.];[MALAYSIA-SINGAPORE: Mata pelandok, Mata ayam, Mata itek, Penar, Rempenai];[MAORI (Cook Islands): Venevene tinitō, Vine tinitō.];[MARATHI: Bugadi, Dikna.];[NEPALI: Damaai phal.];[PHILIPPINES: Bahagion, Katagpo, Kolen];[PUERTO RICO: Mameyuelo];[RUSSIA: Ardiziya ellipticheskaya.];[SAMOA: Togo vao];[TAHITI: Ati popa‘a, Atiu.];[TAMIL: Kolurucci, Narikandam.];[TELUGU: Adavi mayuri, Kaashi neredu.];[THAI: Ta kai (Peninsular), Thu langkasa (Chumphon), Pue-na (Malay-Narathiwat), Phak cham (Peninsular), Ma cham (Peninsular), Ram yai (Chumphon), Langphisa (Trat).];[USA: Inkberry, Jet berry];[VERNACULAR: ชื่อพื้นถิ่นที่พบบ่อยที่สุดในภาษาอังกฤษคือ shoebutton ardisia.].
ชื่อวงศ์---PRIMULACEAE
EPPO Code---ADAEL (Preferred name: Ardisia elliptica.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดียตอนใต้, ศรีลังกาไปยังหมู่เกาะนิโคบาร์, ไทย, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, นิวกินี
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Ardisia' มาจากภาษากรีก'aradis' หมายถึงจุดอ้างอิงถึงอับเรณูแหลมของไม้ดอกและพุ่มไม้เหล่านี้ ; ชื่อเฉพาะสายพันธุ์ 'elliptica' หมายถึง รูปไข่ โดยอ้างอิงจากรูปร่างใบ
-ชื่อสามัญ shoebutton ardisia อ้างอิงถึงความคล้ายคลึงของผลไม้กับปุ่มรองเท้าสีดำแบบเก่า
-ชื่อสามัญ Duck's-eye หมายถึงความคล้ายคลึงกันของผลไม้สีดำโดยอ้างว่าเป็นดวงตาของฝูงเป็ดที่ซ่อนตัวอยู่ในใบไม้ของพืช
Ardisia elliptica เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์พริมโรส (Primulaceae) สกุล Ardisia  เดิมอยู่ใน วงศ์ Myrsinaceae  ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักในฐานะวงศ์ย่อย Myrsinoideae ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Peter Thunberg (1743–1828) นักพฤกษศาสตร์และนักธรรมชาติวิทยาชาวสวีเดน ในปี พ.ศ.2332

ที่อยู่อาศัย ช่วงพื้นเมืองที่แน่นอนจะถูกถกเถียงกันถึงแม้ว่ามันจะได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ USDA-ARS (2009) รายงานช่วงกำเนิดจากไต้หวันและหมู่เกาะริวกิวของญี่ปุ่นทางตะวันออกเฉียงเหนือถึงปาปัวนิวกินีทางตะวันตกเฉียงใต้ถึงอินเดียทางตะวันตกรวมถึงอินโดนีเซียมาเลเซียฟิลิปปินส์ ไทย ศรีลังกา และเวียดนาม อย่างไรก็ตามมีความไม่แน่นอนอาจจะเป็นทางใต้ของจีนชายฝั่งทะเลพม่าและกัมพูชา พบเกิดขึ้นตามหาดทรายที่อยู่ใกล้ชายฝั่งในสถานที่ต่าง ๆ เช่นตามชายหาด ขอบป่าชายเลน ริมแม่น้ำที่ระดับความสูงไม่เกิน 30 เมตร มักขึ้นตามพื้นที่ป่าชื้นและสวนที่มีร่มเงา มันเติบโตในสวนเป็นไม้ประดับและหลบหนีการเพาะปลูกได้กลายเป็นสายพันธุ์ที่รุกรานในเปอร์โตริโก, เขตร้อนของออสเตรเลีย (ควีนส์แลนด์, ดินแดนทางเหนือ), ฟลอริดาตอนใต้ ในสหรัฐอเมริกา, แคริบเบียน , หมู่เกาะ Mascarene , เซเชลส์ , และในหมู่เกาะแปซิฟิกหลายแห่งเช่นฮาวาย ในประเทศไทยพบได้ทางภาคใต้
ลักษณะ  รามใหญ่เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 4 เมตร กิ่งแขนงรูปทรงกระบอกหรือเป็นเหลี่ยม สีน้ำตาลแกมเทาใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปรีถึงรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3.5-7.5 ซม.ยาว 12.5-25 ซม.ปลายใบแหลมหรือกลม โคนใบรูปลิ่ม เนื้อใบมีจุดโปร่งแสงกระจายทั่วไป ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวแกมชมพูจางๆ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ ดอกไม้มีอับเรณูเป็นช่อ [ไม่มีในสายพันธุ์อื่นของ Aridisia แต่จำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์เพื่อยืนยันสิ่งนี้ (https://www.missouribotanicalgarden.org/PlantFinder/PlantFinderDetails.aspx?taxonid=367876).] ผลไม้รูปกลมมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 - 11 มม.ผลอ่อนสีเขียว แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อสุกและแก่จัดจะเป็นสีดำหรือม่วงเข้มมีเมล็ดแข็งเมล็ดเดียวรูปทรงกลมแป้นเล็กน้อยเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มม.
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่ง แสงทางอ้อม สว่าง แต่ไม่มีแสงแดดส่องถึง ร่มเงาบางส่วนจนถึงร่มเงาเต็ม ทนต่อร่มเงาหนัก ไม่ทนต่อความเย็นจัด ชอบดินที่ชื้น มีการระบายน้ำดี ไม่ทนต่อความแห้งแล้ง สามารถปลูกได้ในดินเหนียว ทนต่อดินเค็ม อายุการใช้งานอยู่ได้ 10-25 (-40) ปี การบำรุงรักษา ปานกลาง
การรดน้ำ---ได้รับการรดน้ำทำให้ดินชุ่มชื้นอย่างสม่ำเสมอ แต่อย่าให้ขังแฉะ
การตัดแต่งกิ่ง---ไม่จำเป็นต้องตัดแต่งกิ่งบ่อยๆ มีการตัดแต่งกิ่งเป็นระยะๆ เริ่มด้วยการตัดกิ่งที่ตายแล้วออกเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของอากาศและสร้างพื้นที่สำหรับการเจริญเติบโตใหม่
การใส่ปุ๋ย---ใส่ปุ๋ยพืชที่สมดุลละลายน้ำเจือจางทุกเดือนในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ปุ๋ยเข้มข้นแรงเกินไปทำให้ปลายใบไหม้
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่มีปัญหาแมลงหรือโรคร้ายแรง/โรครากเน่าอาจเกิดขึ้นได้ จากน้ำมากเกินไป และดินมีการระบายน้ำที่ไม่ดี

 

ใช้ประโยชน์--- พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นอาหารและยารักษาโรค มันมักจะเติบโตเป็นไม้ประดับมีค่า
-ใช้กินได้--- ผลไม้ - ดิบรสเปรี้ยวเล็กน้อยมีแป้งเล็กน้อยแต่ไม่มีรสชาด หน่ออ่อน ดิบหรือสุกดอกไม้และผลไม้ใช้ปรุงเป็นเครื่องปรุง
-ใช้เป็นยา รากใช้เป็นยาเมื่อคลอด ยาต้มของใบช่วยบรรเทาปวด ใบถูกนำมาใช้เพื่อบรรเทาและรักษาแผล                                             -ชาวมาเลย์ใช้ยาต้มจากใบเพื่อเป็นยาแก้ปวดหลัง รักษาอาการปวดหัวใจ และยาต้มที่ทำจากใบใช้รักษาโรคเริมและโรคหัด                         -ในการแพทย์แผนไทย ใช้ผลแก้ท้องร่วงที่มีไข้                                                                                                                        -ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใบใช้รักษาโรคหิดและผลไม้สำหรับหนอนในลำไส้ การใช้งานด้านเภสัชกรรมจากสารสกัดจากพืชที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศจีนเพื่อวัตถุประสงค์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย และมีผลในเชิงบวกต่อการลดลงของเซลล์มะเร็งเต้านม
-อื่น ๆ ไม้สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิง
ระยะออกดอก/ติดผล---กุมภาพันธ์-เมษายน/กันยายน-พฤศจิกายน (ในบางพื้นที่มีดอกและผลตลอดทั้งปี)
ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำลำต้นอ่อน
**ส่วนตัว-รูปต้นรามใหญ่ ถ่ายมาจาก สวนสมุนไพร สมเด็จพระเทพฯ จ.ระยอง ตอนกลางเดือนสิงหาคม ปี 59 ที่นั่น ปลูกรามใหญ่ ไว้เป็นกลุ่ม หลายต้น ได้แต่รูป ต้น ใบ และผล ส่วนดอกของรามใหญ่ ได้มาจากที่อื่น**


พิลังกาสา/Ardisia polycephala

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Ardisia polycephala Wall. ex A.DC.(1834)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:587438-1#synonyms
---Tinus polycephala (Wall. ex A.DC.) Kuntze
ชื่อสามัญ---shoebutton, shoebutton ardisia, shoe-button ardisia
ชื่ออื่น---พิลังกาสา (ทั่วไป); ตีนจำ (เลย); ผักจำ, ผักจ้ำแดง (เชียงใหม่,เชียงราย); พิลังกาสา(ภาคกลาง) ;[THAI:  Pi-lang Gaa-saa (General); Tin cham (Loei); Phak cham, Phak cham daeng (Chiang Mai, Chiang Rai); Phi langkasa (Central).].
ชื่อวงศ์---PRIMULACEAE
EPPO Code---ADASS (Preferred name: Ardisia sp.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้-จีน พม่า ไทยและเวียดนาม
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Ardisia' มาจากภาษากรีก'aradis' หมายถึงจุดอ้างอิงถึงอับเรณูแหลมของไม้ดอกและพุ่มไม้เหล่านี้ ; ชื่อเฉพาะสายพันธุ์ 'polycephala' จากภาษากรีกโบราณ 'poluképhalos'  'poly' แปลว่า 'มากมาย' และ  'cephala' แปลว่า 'หัว' 
Ardisia polycephala เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์พริมโรส (Primulaceae) สกุล Ardisia  เดิมอยู่ใน วงศ์ Myrsinaceae  ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักในฐานะวงศ์ย่อย Myrsinoideae ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Nathaniel Wallich (1786–1854) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก จากอดีต Alphonse Louis Pierre Pyrame de Candolle (1806-1893) นักพฤกษศาสตร์ชาวสวิสลูกชายของ Augustin de Pyrame Candolle (1778–1841) ในปี พ.ศ.2377

ที่อยู่อาศัย เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในเมียนมาร์ ลาว ไทยและจีน (ในมณฑลยูนนาน ) เติบโตในป่าที่ระดับความสูง 900 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ที่ระดับความสูง 400-900 เมต                                                                                                                                                                              ลักษณะ รามใหญ่กับพิลังกาสา ลักษณะคล้ายกัน เนื่องจากเป็นไม้ในวงศ์เดียวกัน ยังมีพันธุ์ไม้ในวงศ์พิลังกาสาอีกต้น เรียกว่า มะจ้ำก้อง ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Ardisia sanguinolenta รูปของมะจ้ำก้องไม่มีเลย ไม่ได้นำมาลง ทั้งต้น ดอก ใบ ผล ลักษณะนิสัย รวมถึงสรรพคุณในทางสมุนไพร คล้ายคลึงกันมาก จากการสังเกตุความแตกต่างทั่วไป ลักษณะใบของรามใหญ่ จะใหญ่กว่า โคนใบจะสอบแคบกว่าพิลังกาสา
พิลังกาสาเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูงได้ถึง 2-3 (-8) เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม เกลี้ยงและบาง ใบกว้าง 4-8.5ซม. ยาว 12-20 ซม.ลักษณะใบรูปไข่ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาแข็งเป็นมันสีเขียวแต่ใบอ่อนจะเป็นสีแดง ดอกเป็นช่อแน่น ดอกย่อยขนาดเล็กเป็นกระจุก สีชมพูแกมขาว ดอกบานเต็มที่จะมี 5 แฉก คล้ายรูปดาว ผลกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7-0.9 ซม.ผลอ่อนเป็นสีแดง เมื่อแก่หรือสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ ผลเนื้อบางมีชั้นหุ้มเมล็ดแข็ง ภายในมี1เมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการแสงแดด 80-100% แต่ไม่ชอบแสงแดดโดยตรง แสงแดดมักจะดีที่สุดคือแสงทางอ้อม สว่าง หรือร่มเงาบางส่วน ทนดินได้หลายชนิด ชอบดินทรายหรือดินเหนียวที่ชื้นและเป็นกรด มีการระบายน้ำดี ไม่ทนต่อความแห้งแล้ง การบำรุงรักษาปานกลาง
การรดน้ำ---ได้รับการรดน้ำทำให้ดินชุ่มชื้นอย่างสม่ำเสมอ แต่อย่าให้ขังแฉะ ลดการให้น้ำน้อยลงในฤดูหนาว
การตัดแต่งกิ่ง---ไม่จำเป็นต้องตัดแต่งกิ่งบ่อยๆ มีการตัดแต่งกิ่งเป็นระยะๆ เริ่มด้วยการตัดกิ่งที่ตายแล้วออกเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของอากาศและสร้างพื้นที่สำหรับการเจริญเติบโตใหม่
การใส่ปุ๋ย---ให้ปุ๋ยพืชในฤดูใบไม้ผลิด้วยปุ๋ยสำหรับพืชที่ชอบกรดเช่น Hollytone หรือ Miracid
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่มีปัญหาแมลงหรือโรคร้ายแรง ระวัง Leafcutter ants และเพลี้ยแป้ง/โรครากเน่าอาจเกิดขึ้นได้ หากน้ำมากเกินไป และดินมีการระบายน้ำที่ไม่ดี

 

ใช้ประโยชน์---ใช้กินได้ ใบมีรสฝาด นิยมกินยอดอ่อนเป็นผัก สารสกัดจากพิลังกาสา มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงและปลอดภัย ใช้ในการผสมอาหาร เครื่องดื่ม ขนม ของขบเคี้ยว ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทชา
 -ใช้เป็นยา ใบ มีรสเฝื่อนร้อน แก้โรคตับพิการ แก้ท้องเสีย แก้ไอ ราก มีรสเฝื่อนเมาเปรี้ยว ตำกับสุราเอาน้ำรับประทาน เอากากพอกปิดแผล ถอนพิษงู แก้กามโรคและหนองใน ดอก มีรสเฝื่อนขม ฆ่าเชื้อโรค เมล็ด แก้ลมพิษ ผล มีรสร้อน ฝาด แก้ไข้ ท้องเสีย แก้ลมพิษ แก้ธาตุพิการ แก้ซาง ต้นใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง แก้โรคเรื้อน กุฏฐัง ใช้เป็นยาฆ่าพยาธิผิวหนัง                                        *** -มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยได้นำผลสุกของพิลังกาสามาทำเป็น “ไวน์พิลังกาสา” และได้นำไวน์นั้นไปตรวจวิเคราะห์ พบว่ามีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin), สารฟีโนลิค (Phenolic) และฟลาโวนอยด์ (Phenolic flavannoid) สูง จึงเหมาะจะส่งเสริมทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพได้ เนื่องจากสารเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันเส้นเลือดตีบและเส้นเลือดอุดตัน ฯลฯ
- ผลของพิลังกาสาสุกจะเป็นสีม่วงเข้มจนเกือบดำ โดยสีม่วงนี้จะมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันไม่ให้อนุมูลอิสระไปทำลายเซลล์ในร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดในสมองอุดตัน นอกจากนี้ยังช่วยยับยั้งเชื้ออีโคไล (E. coli) ในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคท้องร่วงและอาหารเป็นพิษได้
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%b2/ | Medthai
-ใช้ปลูกประดับ นิยมใช้ปลูกเป็นต้นไม้ระดับกลางตกแต่งตามสถานที่ราชการหรือตามสวนสาธารณะทั่วไป
ระยะออกดอก/ติดผล---ตลอดปี
ขยายพันธุ์ ---เมล็ด

ส้มกุ้งขน/Ardisia helferiana

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Ardisia helferiana Kurz.(1873)
ชื่อพ้อง--Has 5 Synonyms.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:587074-1#synonyms    ---Ardisia albiflora Pit.(1930)
---Ardisia crispipila Merr.(1926)
---Ardisia dinhensis Pit.(1930)
---Ardisia villosula Pit.(1930)
---Tinus helferiana (Kurz) Kuntze.(1891)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น--- ส้มกุ้งขน, จีนจำ (ปราจีนบุรี), ก้างปลา, ตาปลา (ตราด), คราม, ครามกุ้ง (ประจวบคีรีขันธ์), แม่ห้าง (อุดรธานี), ตาไก่ (สุราษฎร์ธานี), พระยาราม (ชุมพร), พุมมะราชา (จันทบุรี) ;[CAMBODIA: Chhnôk thma:t ba:t, Chum'pu: préi (chum'pu:="apple-rose", préi="wild", Khmer).];[THAI: Som kung khon, Chin cham (Prachin Buri); Kang pla, ta pla (Trat); Khram, Khram kung (Prachuap Khiri Khan); Mae hang (Udon Thani); Ta kai (Surat Thani); Phraya ram (Chumphon); Phumma racha (Chanthaburi).]; [VIETNAM: Cơm nguội búng, Cây Cơm Nguội.]
ชื่อวงศ์---PRIMULACEAE
EPPO Code---ADASS (Preferred name: Ardisia sp.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---กัมพูชา พม่า ไทย ลาว เวียตนาม
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Ardisia' มาจากภาษากรีก'aradis' หมายถึงจุดอ้างอิงถึงอับเรณูแหลมของไม้ดอกและพุ่มไม้เหล่านี้ ; ชื่อเฉพาะสายพันธุ์ 'helferiana' จากภาษาละตินเพื่อระลึกถึง J. F. Helfer แพทย์และนักสะสมพืช
Ardisia helferiana เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์พริมโรส (Primulaceae) สกุล Ardisia  เดิมอยู่ใน วงศ์ Myrsinaceae  ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักในฐานะวงศ์ย่อย Myrsinoideae ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Wilhelm Sulpiz Kurz (1834-1878) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันในปี พ.ศ.2416



ที่อยู่อาศัย พบตามป่าชายเลนในประเทศไทย กัมพูชา เวียดนาม ลาว และเมียนมาร์ บริเวณชายฝั่งทะเลสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ภาคตะวันออกของประเทศไทย พบไม้พุ่มในป่าพรุ (เปียกชื้นถาวร มีต้นไม้สูงและพื้นเป็นป่าละเมาะต่ำ) และในป่าดิบชื้นในพื้นที่สูงที่ไม่ถูกรบกวน มักเป็นหินและค่อนข้างสูงชัน
**ส้มกุ้งขนเป็นไม้วงศ์เดียวกับพิลังกาสาอีกต้น รูปนี้ถ่ายมาจาก สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพฯ จ.ระยอง เหมือนกัน
ลักษณะ ส้มกุ้งขนเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงได้ 1- 3 เมตร กิ่งก้านมีขนปกปุย หนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีแกมขอบขนานยาว 8-13 ซม. กว้าง 2.5-4.5 ซม.ก้านใบยาว 1 ซม หลังใบมีขนสั้นๆ ท้องใบมีขนที่ยาวและหนาแน่นกว่าโดยเฉพาะที่เส้นกลางใบ ดอกออกเป็นช่อกระจะเชิงหลั่น ออกที่ซอกใบยาว 8-10 ซม. ก้านดอก 1.5-2 ซม.ดอกย่อยมีจำนวนมาก มีขนปกปุย หนาแน่น กลีบดอกสีม่วงแกมชมพูมีจุดประสีม่วงเข้มกระจายทั่วไป ผลสดรูปทรงกลมมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-8 มม. สีม่วงเข้มมีเมล็ด1เมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการร่มเงาบางส่วน หรือใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ ทนดินได้หลายชนิด ชอบดินทรายหรือดินเหนียวที่ชื้นและเป็นกรด มีการระบายน้ำดี ไม่ทนต่อความแห้งแล้ง การบำรุงรักษาปานกลาง
การรดน้ำ---ต้องการน้ำปานกลางได้รับการรดน้ำทำให้ดินชุ่มชื้นอย่างสม่ำเสมอ แต่อย่าให้ขังแฉะ
การตัดแต่งกิ่ง---ไม่จำเป็นต้องตัดแต่งกิ่งบ่อยๆ มีการตัดแต่งกิ่งเป็นระยะๆ เริ่มด้วยการตัดกิ่งที่ตายแล้วออกเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของอากาศและสร้างพื้นที่สำหรับการเจริญเติบโตใหม่
การใส่ปุ๋ย---ใส่ปุ๋ยปีละ 3 ครั้งโดยใช้ปุ๋ยละลายช้า
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผลไม้สุกกินได้ ใบอ่อนกินเป็นผักสดหรือกินเป็นผักลวก ชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง อำเภอบึงโขงหลงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นิยมรับประทานผลสุกในช่วงเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน ส่วนใบอ่อนรับประทานสดหรือเป็นผักต้มในเดือนมีนาคมถึงกันยายน
-ในประเทศกัมพูชา ผลใช้กิน
-ใช้เป็นยา ในเวียตนามใช้รากรักษาโรคไขข้ออักเสบปวดไต ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ใบแก้ตับพิการ ผล บำรุงกำลัง
-หัวหน้าหมอสมุนไพรแห่งศูนย์ศึกษาการพัฒนาคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดจันทบุรีภาคตะวันออกของประเทศไทย รายงานการใช้สมุนไพรพื้นบ้านเพื่อรักษาไข้ โดยปรุงยาต้มจากรากแล้วดื่ม https://en.wikipedia.org/wiki/Ardisia_helferiana
-ปลูกเป็นไม้ประดับ นำมาใช้จัดสวนโดยปลูกเป็นต้นเดี่ยวๆหรือเป็นกลุ่มใหญ่ได้
-อื่น ๆ ไม้ใช้ทำฟืน
ระยะออกดอก/ผลสุก---มกราคม/มีนาคม-มิถุนายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง


ปลาไหลเผือก/TONGKAT ALI


ชื่อวิทยาศาสตร์---Eurycoma longifolia Jack.(1822)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.
---Eurycoma merguensis Planch.(1846)
ชื่อสามัญ---Long Jack, Tongkat Ali, Ali’s umbrella, Ali's walking stick, Malaysian ginseng, Siberian ginseng
ชื่ออื่น---กรุงบาดาล (สุราษฎร์ธานี); คะนาง, ชะนาง (ตราด); ตรึงบาดาล (ปัตตานี); ตุงสอ (ภาคเหนือ); ตุวุเบ๊าะมิง, ตูวุวอมิง (มาเลย์-นราธิวาส); ปลาไหลเผือก (ภาคกลาง); เพียก (ภาคใต้); หยิกบ่อถอง, หยิกไม่ถึง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); ไหลเผือก (ตรัง); เอียนดอน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); แฮพันชั้น (ภาคเหนือ) ;[BAHRAIN: Langir siam];[CAMBODIA: Antong kraham (Central Khmer).];[FRENCH: Canne d'Ali.];[INDONESIA: Malaysian ginseng, Bidara laut, Pasak bumi, Bedaru pahit, Tongkat ali ; Babi kurus (Javanese).];[JAPANESE: Babi kurus];[LAOS: Tho nan];[MALAYSIA: Tongkat ali, Pasak bumi, Penawar pahit, Penawar bias, Bedara merah, Bedara putih, Lempedu pahit, Payong ali, Tongkat baginda, Muntah bumi, Petala bumi (Malay).];[THAI: Krung ba dan (Surat Thani); Kha nang, Cha nang (Trat); Trueng ba dan (Pattani); Tung so (Northern); Tu-wu-bo-ming, Tu-wu-wo-ming (Malay-Narathiwat) ; Pla lai phueak (Central); Phiak (Peninsular); Yik bo thong, Yik mai thueng (Northeastern); Lai phueak (Trang); Ian don (Northeastern); Hae phan chan (Northern).];[VIETNAM: Cây bá bệnh, Hau phat, Bba binh].
ชื่อวงศ์---SIMAROUBACEAE
EPPO Code---EYKLO (Preferred name: Eurycoma longifolia.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินโดจีน หมู่เกาะบอร์เนียวและสุมาตรา
Eurycoma longifolia เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ปลาไหลเผือก (Simaroubaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Jack (1795–1822) นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต ในปี พ.ศ.2365


ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในอินโดจีน (กัมพูชา ลาว มาเลเซีย พม่า ไทย เวียดนาม) หมู่เกาะบอร์เนียว สุมาตราและยังพบในฟิลิปปินส์  มันเติบโตในป่าดงดิบ ชายฝั่งทราย ป่าใต้เขา และป่าชั้นต้นและชั้นรองจนถึงระดับความสูง 1,200 เมตร ในประเทศไทยพบทุกภาค ขึ้นกระจายในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ระดับความสูงจนถึงประมาณ 700 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ ยืนต้นขนาดเล็กสูงได้ถึง 3-10 เมตร ลำต้นไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน มักเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ถึงจะปลูกอยู่กลางแจ้งก็ตาม เป็นการเอนตามธรรมชาติไม่ใช่ด้วยสภาพแวดล้อม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยมีอยู่20-30คู่ แต่ละใบขนาดกว้าง1.2-3 ซม ยาว 5-12 ซม. ออกเป็นกระจุกบริเวณปลายกิ่ง  สีเขียวเข้มด้านล่างมีนวลสีเงิน ยอดอ่อนและใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง ดอกออกที่ซอกใบเป็นแบบดอกช่อ ดอกย่อยขนาดเล็กขนาด 0.5 ซม. กลีบดอกสีม่วงแดง ผลเป็นผลสดขนาด 0.10–0.20 x 0.5–1.2 ซม.รูปยาวรี รูปขอบขนาน ปลายเป็นจงอยสั้นๆ เมื่อสุกเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีแดง บางครั้งแตกออกได้
ข้อกำหนดสภาพแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดเต็ม (6-8ชั่วโมงต่อวัน) หรือร่มเงาบางส่วน ขึ้นได้ในดินหลากหลายชนิด แต่ชอบดินที่มีความเป็นกรดและมีการระบายน้ำดี อัตราการเจริญเติบโตของพืช ปานกลาง
การรดน้ำ---ตัองการน้ำปานกลาง ได้รับการรดน้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ดินชื้นเล็กน้อย
การตัดแต่งกิ่ง---ไม่จำเป็นต้องตัดแต่งกิ่ง อาจตัดกิ่งที่ตาย เสียหายหรือเป็นโรค หรือเพื่อควบคมขนาดและรูปทรงได้ตลอดเวลา
การใส่ปุ๋ย---ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักปีละ 1 ครั้ง
ศัตรูพืช/โรคพืช---ส่วนใหญ่แล้ว พืชค่อนข้างไม่มีปัญหาศัตรูพืชหรือโรคร้ายแรง
ใช้ประโยชน์ ---รากของพืชมีการใช้ในการแพทย์พื้นบ้านของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในยุคปัจจุบันมีการใช้งานทั่วไปเป็นอาหารเสริมเช่นเดียวกับสารเติมแต่งอาหารและเครื่องดื่ม
ใช้ปลูกประดับ---ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับในสวนทั่วไป, ต้นไม้ริมถนน สวนสาธารณะ, สวนขนาดเล็ก, สวนริมทะเล                                     ใช้เป็นยา--- มักใช้เป็นสมุนไพรพื้นบ้าน ใบอ่อนกินดิบแก้ปวดท้อง
-ใช้ราก ลดไข้ ต้านมาลาเรีย ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงหลังคลอดบุตร ลดความวิตกกังวล เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ต้านการก่อเกิดเนื้องอก ลดน้ำตาลในเลือด
-ยาต้มจากรากใช้เป็นยาลดไข้ ลดความดันโลหิตสูง และแก้อาการปวดท้อง ใช้ทำให้อาเจียน ใช้พอกแผล พุพอง สมานแผล
-เปลือกต้นใช้เป็นยาละลายลิ่มเลือดในภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดบุตร
-มีการเผยแพร่ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินโดจีน ในชื่อ "tongkat ali" และ "pasak bumi"โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารสกัดจากน้ำและยาต้มจากราก เป็นยาพื้นบ้านที่รู้จักกันดีซึ่งช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศส่งเสริมการสร้างกล้ามเนื้อและเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชาย นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่ามีคุณสมบัติต้านการอักเสบ, ต้านมาลาเรีย, เป็นยาต้านจุลชีพและสารต้านอนุมูลอิสระ
การปลอมปนและการปนเปื้อนในการค้า---มีหลายกรณีของผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่ามี E. longifoliaเป็นส่วนประกอบอย่างไม่ถูกต้อง เช่นเดียวกับกรณีการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์ E. longifolia ในปี พ.ศ. 2549 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้สั่งห้ามผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเจ็ดชนิดที่อ้างว่ามี E. longifolia เป็นส่วนประกอบหลัก แต่มียาที่ต้องสั่งโดยแพทย์เพิ่มเติมและแม้แต่ยาที่คล้ายคลึงกันของยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ที่ยังไม่ได้ทดสอบความปลอดภัยในมนุษย์
---ในปี 2560 องค์การอาหารและยา (FDA) ประกาศว่ากาแฟที่มีส่วนผสมของ E. longifolia สองยี่ห้อ ถูกเรียกคืนหลังจากพบว่ามีการเจือปนด้วยส่วนผสมออกฤทธิ์จากยาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
---ในประเทศมาเลเซีย มีผลิตภัณฑ์ E. longifolia ที่ขึ้นทะเบียนไว้มากกว่า 200 รายการ อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาในปี 2547 ระบุว่า หลังจากการทดสอบคุณภาพแล้ว 36% ของสิ่งเหล่านี้ปนเปื้อนด้วยปรอทเกินขีดจำกัดที่กฎหมายอนุญาต
สถานะการอนุรักษ์ในท้องถิ่น---พื้นเมืองสิงคโปร์ EN [ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered).] มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์ในป่า (ความเสี่ยงสูงมากต่อการสูญพันธุ์ในธรรมชาติในอนาคต)
ระยะเวลาออกดอก---พฤศจิกายน-มกราคม
ขยายพันธุ์ ---เมล็ดและตอนกิ่ง
**ส่วนตัว-ต้นนี้ไม่มีรูปดอกผลให้ดูเลย ถ่ายมาจากสวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพฯ จ.ระยอง หามาปลูกไม่ง่ายถ้าบังเอิญไปเจอก็อาจไม่ซื้อ เพราะไม่สวย ไม่รู้จัก ต้นไม้หลายต้นที่หายากสูญเสียโอกาสไปไม่น้อย หลายต้นที่นำมาลงในหัวข้อ บางทีก็ไม่ได้ลงเพื่อแนะนำให้เพื่อปลูกประดับหรือไว้ใช้จัดสวน แต่ลงไว้เพื่อให้รู้ **


ไคร้ย้อย/Elaeocarpus grandiflora

[El-lee-oh-kar-PUS] [gran-dih-FLOR-us]


ชื่อวิทยาศาสตร์---Elaeocarpus grandiflorus Sm.(1809)
ชื่อพ้อง---Has 8 Synonyms
---Cerea radicans Thouars.(1805)
---Elaeocarpus lanceolatus Blume.(1825)
---Elaeocarpus radicans (Thouars) Hiern.(1900)
---Perinka grandiflora (Sm.) Raf.(1838)
---More.See all https://www.gbif.org/species/8368501
ชื่อสามัญ---Blue olive berry, Fairy Petticoats, Fringe bells, Lily of the valley tree, Mala, Shiva's tears.
ชื่ออื่น---กาบพร้าว (นราธิวาส); คล้ายสองหู (สุราษฎร์ธานี); ไคร้ย้อย (เชียงใหม่); จิก, ดอกปีใหม่ (กาญจนบุรี); แต้วน้ำ (บุรีรัมย์); ปูมปา (เลย); ผีหน่าย (สุราษฎร์ธานี); มุ่นน้ำ (เพชรบูรณ์); สารภีน้ำ (เชียงใหม่); อะโน (ปัตตานี);[INDONESIA: Anyang-anyang, Ki ambit, Kemaitan.];[MALAYSIA: Ando, Andor.];[MYANMAR: Ye saga.];[PHILIPPINES: Mala (Tag.).];[THAI: Kap phrao (Narathiwat); Khlai song hu (Surat Thani); Khrai yoi (Chiang Mai); Chik, Dok pi mai (Kanchanaburi); Taeo nam (Buri Ram); Pum pa (Loei); Phi nai (Surat Thani); Mun nam (Phetchabun); Saraphi nam (Chiang Mai); A no (Pattani).];[VIETNAM: Côm hoa lớn.].
ชื่อวงศ์---ELAEOCARPACEAE
EPPO Code---EAEGR (Preferred name: Elaeocarpus grandiflorus.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเชีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเชียตะวันออกเฉียงใต้-อินโดจีน
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Elaeocarpus' เป็นการรวมคำในภาษากรีก 'élaia' = มะกอก และ “carpòs” = ผลไม้  ; ชื่อเฉพาะสายพันธุ์ 'grandiflorus' คือการรวมกันของคำคุณศัพท์ภาษาละติน "grandis" = ใหญ่ และ "flos, oris" = ดอกไม้ 
Elaeocarpus grandiflora เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัว วงศ์มะกอกน้ำ (Elaeocarpaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดยJames Edward Smith (1759 - 1828) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2452

 

ที่อยู่อาศัย ช่วงกระจายพื้นเมืองในเอเชียเขตร้อน - กัมพูชา, ลาว, พม่า, ไทย, เวียดนาม, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย พบขึ้นตามที่ลุ่มใกล้น้ำ ตามลำห้วย ลำธาร ตามป่าดิบและขึ้นทั่วไปตามป่าโปร่งและป่าเบญจพรรณ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 50-800เมตร ในประเทศไทยพบทุกภาค
ลักษณะ ไคร้ย้อยเป็นไม้ต้นขนาดเล็กหรือขนาดกลางไม่ผลัดใบ ต้น สูงประมาณ 5-30 เมตร ลักษณะ เรือนยอดแผ่กว้างเป็นพุ่มทึบ ผิวเปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูป ไข่ โคนใบและปลายใบแหลม หนา ด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนประปราย โคนใบสอบปลายใบเว้าเล็กน้อย ขนาดใบกว้าง 2-5 ซม.ยาว 7-19 ซม.ดอก เป็นดอกช่อแบบช่อกระจะตามซอกใบและปลายกิ่ง ห้อยลง ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง5กลีบ กลีบดอก5กลีบ ที่โคนกลีบดอกด้านในจะมีกลุ่มขนเรียงตัวกันอยู่ ดอกตูมสีน้ำตาลปนส้ม เมื่อบานเป็นช่อ สีขาว ผลสดสีเขียวมีเนื้อหุ้มบางๆ รูปกระสวย กว้าง 1.5-2 ซม.ยาว 3-4 ซม. ผิวผลบางเรียบเกลี้ยงแข็งมาก มี 1 เมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---เติบโตได้ดีในที่ที่มีแสงแดดปานกลางถึงร่มเงา ทนทานต่อดินที่ไม่ดี สภาพแห้ง ตลอดจนสภาพแสงน้อยในร่ม ชอบดินที่อุดมสมบูรณ์ชุ่มชื้นและมีการระบายน้ำดี อาจผลัดใบในช่วงเวลาสั้น ๆ ในช่วงที่อากาศหนาวเย็นหรือแห้งแล้ง
การรดน้ำ---ได้รับการรดน้ำอย่างสม่ำเสมอให้น้ำเฉพาะเมื่อดินชั้นบนรู้สึกแห้งเล็กน้อยเมื่อพืชยังเล็ก เมื่อต้นไม้โตเต็มที่และมั่นคงขึ้น ความต้องการน้ำก็จะลดลง
การตัดแต่งกิ่ง---ตัดแต่งกิ่งในฤดูร้อนหลังจากออกดอกหมด เพื่อควบคุมขนาดและรูปทรง การตัดกิ่งที่ตาย เสียหายหรือเป็นโรคตัดได้ตลอดเวลา
การใส่ปุ๋ย---ใช้ปุ๋ยน้ำที่สมดุลได้ทุกๆ 4-6 สัปดาห์เมื่อต้นยังเล็ก งดใส่ปุ๋ยในฤดูหนาว
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่มีปัญหาโรคหรือแมลงศัตรูพืชมากนัก ไวต่อการให้ปุ๋ยมากเกินไปเมื่อปลูกในที่ร่ม การให้น้ำมากเกินไป ทำให้รากเน่าและติดเชื้อราได้
ใช้ประโยชน์--- พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นยา เป็นเรื่องธรรมดาที่จะปลูกไว้เป็นไม้ประดับด้วย
-ใช้เป็นยา ส่วนที่ใช้ เปลือกไม้,ใบและเมล็ด ยาต้มใบเป็นยาชูกำลังและใช้สำหรับรักษาอาการเจ็บปวด เปลือกไม้บดใช้พอกแผล ใบใช้สำหรับรักษาโรคซิฟิลิส ใช้สำหรับโรคของผู้หญิง - ในประเทศอินโดนีเซียผลไม้ใช้สำหรับแก้ปวดบิดและกระเพาะปัสสาวะ เปลือกต้นสำหรับไตอักเสบและเฉพาะที่สำหรับแผล ในมาเลเซียใช้กับสตรีหลังคลอดบุตรเพื่อปรับปรุงการไหลเวียนของโลหิตส่งเสริมการหดตัวของมดลูก, ขับลมและเป็นยาระบาย สารสกัดน้ำจากใบผลไม้และกิ่งไม้ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน
-ใช้ปลูกประดับ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามสวนสาธารณะและสวนทั่วไป
-อื่น ๆ เป็นไม้เนื้ออ่อน ผุง่าย ปลูกเป็นไม้กันดินพังทลายตามชายน้ำ
ระยะออกดอก/ ติดผล---มกราคม-เมษายน/มีนาคม-พฤษภาคม
ขยายพันธุ์ --- เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง  ปักชำ


ปีบยูนนาน/ Radermachera  Sinica

 

ชื่อวิทยาศาสตร์--- Radermachera sinica (Hance) Hemsl.(1905)
ชื่อพ้อง---has 3 Synonyms.See all https://www.monaconatureencyclopedia.com/radermachera-sinica-2/?lang=en
---Radermachera borii C.E.C Fisch.(1940)
---Radermachera tonkinensis Dop.(1926)
---Stereospermum sinicum Hance.(1882)
ชื่อสามัญ---China doll, Serpent tree, Emerald tree, Asian Bell Tree.
ชื่ออื่น---ปีบยูนนาน, ปีบไหหนาน ; [CHINESE: Cai dou shu, Shāncài dòu, Kǔ líng jiù, Jiāngdòu shù, Làjiāo shù, Jiēgǔ liáng sǎn, Sēnmù liáng sǎn, Zhāoyáng huā.];[JAPANESE: Sendan kisasage.];[SPANISH: Árbol serpiente.];[VIETNAM: Rà đẹt hoa trắng, Rà - đẹt tàu, Boọc Bịp hoa trắng,];
ชื่อวงศ์---BIGNONIACEAE
EPPO Code---RADSI (Preferred name: Radermachera sinica.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ภูฏาน, จีน, อินเดีย, พม่า, หมู่เกาะริวกิว, ไต้หวันและเวียดนาม
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Radermachera' อุทิศให้กับนักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์ Jacob Cornelis Matthieu Radermacher (1741-1783); ชื่อเฉพาะสายพันธุ์ 'sinica' หมายถึง "มาจากประเทศจีน"
Radermachera sinica เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์แค (Bignoniaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Henry Fletcher Hance (1827–1886)เป็นนักการทูตชาวอังกฤษที่อุทิศเวลาว่างให้กับการศึกษาพืชจีน และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย William Botting Hemsley (1843-1924) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปีพ.ศ.2448
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดอยู่ในในอัสสัม ภูฏาน จีน (กวางตุ้ง กวางสี กุ้ยโจว และยูนนาน) ญี่ปุ่น (หมู่เกาะริวกิว) เมียนมาร์ คาบสมุทรมาเลเซีย ไต้หวัน เวียดนาม และเบงกอลตะวันตก เกิดขึ้นตามเนินเขาและป่าที่ระดับความสูง 300-800 เมตร
ลักษณะ ปีบยูนานเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงไม่เกิน 5 เมตร ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น-สามชั้น ปลายคี่ (bi-tri-imparipinnate) ยาว 20-70 ซม.กว้าง 18-25 ซม.มีใบรูปไข่แกมรูปไข่แกมขอบใบทั่วไปหรือเรียงซ้อนเล็กน้อย มีปลายใบแหลม ยาว 4-8 ซม. และกว้าง 2-3 ซม.มีสีเขียวเข้มและมันวาวด้านบน ออกดอกเป็นช่อที่ยอดหรือซอกใบที่ปลายกิ่ง รูปร่างดอกเหมือนทรัมเป็ตสีขาวหรือสีเหลืองซีด มีกลิ่นหอมในเวลากลางคืน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-8 ซม.ดอกทยอยบานไม่ค่อยทนจะร่วงง่ายแต่ความที่ดอกดกจึงมักไม่ขาดดอกให้ดู ผลแคปซูลทรงกระบอกเรียวเชิงเส้นโค้ง ยาว 30-70 ซม. กว้างประมาณ 1 ซม. มีเมล็ดมีปีกทรงรีหลายเมล็ด ยาว 2-3 ซม. กว้าง 0.5-1 ซม.(รวมปีก)
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ชอบบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงหรือในที่ร่มบางส่วนและตำแหน่งที่กำบังลม ดินร่วนอุดมสมบูรณ์เป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง  เลี้ยงง่ายโตเร็ว
ศัตรูพืช/โรคพืช---โรคโคนเน่า Phytophthora ลำต้นและรากเน่า โรคใบจุด ในสภาพแวดล้อมที่ปิด มันอาจถูกโจมตีโดยปรสิตได้ง่าย เช่น ไร เพลี้ยอ่อน และเพลี้ยแป้ง
การใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ส่วนที่ใช้รากและใบ แห้งหรือสด ข้อบ่งใช้: ใช้ล้างความร้อนและล้างพิษ ขจัดเลือดชะงักงันและลดอาการบวม  การรักษาเฉพาะที่ของรอยฟกช้ำและกระดูกหัก งูกัด -ใช้สำหรับแก้ไข้
-ใช้ปลูกประดับ ใช้ปลูกเดี่ยวหรือปลูกเป็นกลุ่ม เป็นต้นไม้ให้ร่มเงาขนาดเล็ก พืชอาจปลูกในภาชนะที่เป็น houseplantsสำหรับตกแต่งพื้นที่ภายในที่มีแสงจ้าโดยเฉพาะ แต่ไม่ใช่ในแสงแดดโดยตรง ตกแต่งตามอาคาร บ้านเรือนทั่วไป
ระยะออกดอก---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง เมล็ดใช้ระยะเวลางอก 2-4 สัปดาห์

สร้อยสุวรรณ/Lophanthera lactescens


ชื่อวิทยาศาสตร์---Lophanthera lactescens Ducke.(1925)
ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name.
ชื่อสามัญ---Golden Chain, Golden chain tree, Milky lophanthera
ชื่ออื่น---โซ่ทอง, โซ่ทองคำ, สร้อยสุวรรณ (ทั่วไป);[BRAZIL: Chuva-de-ouro.];[FRENCH: Lophanthera laiteux.];[MALAYSIA: Rantai Emas.];[PERU: Champán.];[PORTUGUESE: Chuva-de-ouro-da-Amazônia, Lanterneira, Lofântera, Lofântera-da-Amazônia.];[THAI: So thong, So thong kham, Soi suwan (General).].
ชื่อวงศ์---MALPIGHIACEAE
EPPO Code---LHALA (Preferred name: Lophanthera lactescens.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---อเมริกาใต้-บราซิล
นิรุกติศาสตร์---ชื่อของสกุล 'Lophanthera' มาจากคำภาษากรีกที่รวมกันว่า "λόφος" (lophos) = กระจุกผม และ "anthera" มาจากภาษากรีก "ἄνθος" (anthos) = เกสรเพศผู้ ดอกไม้ โดยอ้างอิงถึงปีกตามยาวที่พบในตำแหน่งรอบนอก ของ อับเรณูแต่ละอัน; ชื่อของสปีชีส์ 'lactescens' เป็นกริยาปัจจุบันของกริยาภาษาละติน “lactesco” = การเปลี่ยนน้ำนม โดยอ้างอิงถึงน้ำยางสีขาวที่เล็ดลอดออกมาจากเปลือก
Lophanthera lactescens เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์โนรา(Malpighiaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Adolpho Ducke (1876 – 1959) นักกีฏวิทยา นักพฤกษศาสตร์และนักชาติพันธุ์วิทยาชาวเยอรมันในปี พ.ศ.2468

ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในประเทศบราซิล (Acre and Pará) ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตหวงห้ามในป่าที่อุดมสมบูรณ์ส่วนใหญ่ตามแนวลำธารน้ำที่ระดับความสูงต่ำ
ลักษณะ ไม้ใหญ่ยืนต้นกึ่งผลัดใบ สูงได้ถึง 20 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 30-40 ซม.ใบออกเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ก้านใบยาว 3-4 ซม. ใบจะออกถี่ที่ปลายยอด ทำให้เกิดร่มเงาดีมาก ลักษณะใบของโซ่ทองคำเป็นใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 24 ซม. และกว้าง 12-16 ซม.ปลายใบและโคนใบแหลม เนื้อใบค่อนข้างหนาและแข็ง ดอกออกเป็นช่อใหญ่สีเหลืองห้อยเป็นระย้า ช่อดอกยาวประมาณ 50-80 ซม. ดอกจะทยอยบานตามลำดับจากบนลงล่าง ผล schizocarp ผลแห้งที่เมื่อสุกจะแบ่งออกเป็นสาม mericarps สีเทามีเมล็ดรูปร่างเหมือนลูกแพร์สีดำเพียงเมล็ดเดียว ยาว 3 มม. และกว้าง 2 มม
ข้อกำหนดสภาพแวดล้อม---ต้องการแดดจัดหรือมีร่มเงาเล็กน้อย ดินอุดมสมบูรณ์มีความเป็นกรดอ่อนถึงเป็นด่างอ่อน ความชื้นในดินสม่ำเสมอต่อเนื่อง ไม่ชอบแฉะ ไม่ชอบน้ำขัง อัตราการเจริญเติบโต รวดเร็วปานกลาง สามารถเข้าถึงความสูง 2-3 เมตร ภายใน 2 ปี จากเมล็ดพันธุ์
การรดน้ำ---ต้องการน้ำปานกลาง ได้รับการรดน้ำอย่างสม่ำเสมอให้น้ำเฉพาะเมื่อดินชั้นบนรู้สึกแห้งเล็กน้อยเมื่อพืชยังเล็ก เมื่อต้นไม้โตเต็มที่และมั่นคงขึ้น ความต้องการน้ำก็จะลดลง
การตัดแต่งกิ่ง---ในฤดูร้อนหลังจากดอกบานแรกผ่านไป เพื่อควบคุมขนาดและรูปทรง ตัดกิ่งที่ตาย เสียหายหรือเป็นโรคได้ตลอดเวลา
การใส่ปุ๋ย---ใช้ปุ๋ยน้ำที่สมดุลได้ทุกๆ 4-6 สัปดาห์เมื่อต้นยังเล็ก เมื่อต้นไม้โตเต็มที่ ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักปีละ 1 ครั้งหลังตัดแต่งกิ่ง งดใส่ปุ๋ยในฤดูหนาว
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่ค่อยมีโรคหรือแมลงรบกวนร้ายแรง ระวังหนอนเจาะลำต้น/รากเน่าโคเน่าอาจเกิดจากน้ำมากเกินไป หรือดินมีการระบายน้ำไม่ดี
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกประดับ เป็นไม้ประดับที่มีความสวยงามมากที่สุดต้นหนึ่ง เนื่องจากใบที่อุดมสมบูรณ์และช่อดอกที่ยาวและออกดอกอยู่ยาวนาน เริ่มแพร่กระจายในประเทศเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนเท่านั้น ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การเติบโตอย่างรวดเร็วนั้นเป็นผลดีต่อการจัดสวนในสวนสาธารณะและสวนหย่อมโดยจัดเป็นกลุ่มหรือเป็นแถวและเหมาะอย่างยิ่งสำหรับปลูกเป็นต้นไม้ริมถนนซึ่งพิสูจน์ได้ว่าเหมาะสมสำหรับจุดประสงค์นี้ในเมืองที่มีมลพิษ
-วนเกษตร มีความเหมาะสมในการเป็นสายพันธุ์ที่ใช้ในการปลูกป่าในพื้นที่เสื่อมโทรมด้วย
-ใช้เป็นยา ใบและเปลือกถูกนำมาใช้โดยประชากรพื้นเมืองในการแพทย์แผนโบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นยาแก้ไข้ในการรักษาโรคมาลาเรีย
-อื่น ๆ ไม้มีขนาดเล็กหนักปานกลางแข็งพอสมควรไม่ทนต่อการโจมตีของปลวก ใช้ในการก่อสร้างเช่นคาน, จันทันและวัสดุบุผิว
ระยะออกดอก/ผลแก่ --- กุมภาพันธ์-พฤษภาคม/กันยายน-ตุลาคม
ขยายพันธุ์ --เมล็ด ตอนกิ่ง เมล็ดใช้เวลาในการงอก 2-6 สัปดาห์
 **ส่วนตัว- โซ่ทองคำหรือสร้อยสุวรรณไม้ต้นนี้เข้ามาประมาณปี 52 เป็นไม้ต้นหนึ่งที่ยิ่งโหญ่โต ยิ่งสวยงาม เพราะดอกจะออกดกมากขึ้น มันจะเหลืองเต็มต้น ชื่อโซ่ทองคำนี่ก็ชนะใจแล้ว ที่เห็นออกดอกมาน้อยนี่อยู่ในเครื่องล้อมในร้านต้นไม้ยังไม่ได้ปลูกลงดิน ดอกจึงออกจะดูน้อยไปหน่อย แต่ว่าถ้าปลูกลงดินแผ่กิ่งก้านออกดอกฟูแล้วจะสวยกว่าในรูปนี้มาก**


ส้านชวา/Dillenia suffruticosa

[Dil-le-nia] [suf·-fru-ti-cosa]

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Dillenia suffruticosa (Griff.ex Hook.f. & Thomson) Martelli.(1886)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all https://www.gbif.org/species/101351509
---Basionym: Wormia suffruticosa Griff. ex Hook.f. & Thomson.(1872)
ชื่อสามัญ---Malayan dillenia, Simpoh, Shrubby dillenia, Shrubby simpoh, Wormia
ชื่ออื่น--ส้านดอกเหลือง, ส้านชวา, ส้านยะวา (กรุงเทพฯ);[BRUNEI: Simpor, Simpur.];[CAMBODIA: Plo sbat.];[FRENCH: Baboul, Graine bourrique, Pomme d'éléphant.];[GERMAN: Simpurstrauch.];[INDONESIA: Abuan, Simpoh.];[MALAYSIA: Simpoh air or  CB leaf, Simpor bini, Simpoh gajah, Simpoh Ayer, Simpoh Paya  (Malay); Abuan (Semai); Bu'ua (Bidayuh); Buan (Iban); Buan, Dungin, Simper ayer, Simpoh, Simpor, Simpor bini, Simpor rimba, Tambakau (Borneo).];[SRI LANKA: diyapara, godapara, para.];[THAI: San chawa, San yawa (Bangkok).].
ชื่อวงศ์---DILLENIACEAE
EPPO Code---DLNSU (Preferred name: Dillenia suffruticosa.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเชียตะวันออกเฉียงใต้,ศรีลังกา, คาบสมุทรมาเลเซีย, สุมาตรา, ชวา, บอร์เนียว ฮาวาย และสิงคโปร์
นิรุกติศาสตร์---ชื่อของสกุล 'Dillenia' เพื่อเป็นเกียรติแก่ นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน Johann Jacob Dillen Dillenius (1684 - 1747)  ; ชื่อเฉพาะสายพันธุ์จากภาษาละติน 'suffruticosa' =  
Dillenia suffruticosa เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ส้าน (Dilleniaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Griffith (1810–1845) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษจากอดีตSir Joseph Dalton Hooker (1817-1911) นักพฤกษศาสตร์นักชีววิทยาและศัลยแพทย์ชาวอังกฤษและThomas Thomson (1817–1878)ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Ugolino Martelli (1860–1934) นักพฤกษศาสตร์ นักชีววิทยา และนักเห็ดรา(mycologist)ชาวอิตาลี ในปีพ.ศ.2429
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย (กาลิมันตันและสุมาตรา), มาเลเซียและสิงคโปร์ เติบโตในแหล่งที่อยู่อาศัยต่าง ๆ ตามชายป่า ป่าโกงกางในพื้นที่แอ่งน้ำตามริมฝั่งลำธาร ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล ถึงประมาณ 500 (-700)เมตร และยังปลูกที่อื่นในฐานะที่เป็นไม้ประดับเช่นในศรีลังกา เซเชลส์ และในหมู่เกาะแคริบเบียน มันเป็นวัชพืชที่รุกรานอย่างมากในศรีลังกา
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 5-10 เมตรแตกใบตั้งแต่โคน ต้นตอนเล็กดูจะเหมือนเป็นไม้กอเตี้ย เปลือกของลำต้นสีม่วงดำ ลักษณะของใบใหญ่ ยาวประมาณ 25 ซม.กว้าง 6-20 ซม ขอบใบจักตื้นโคนใบเปลี่ยนรูปเป็นกาบหุ้มใบ ก้านใบยาว1,5-5 ซม. แผ่นใบสีเขียวสดเป็นมัน ผิวใบสากพอประมาณ ดอกออกที่ยอดเป็นช่อ ช่อละ 4-5 ดอก ก้านช่อดอกยาว 5-10 ซม.ดอกใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลาง 8-13 ซม. กลีบดอกรูปไข่ขอบหยัก มี 5 กลีบ สีเหลืองสดใสไม่มีกลิ่น กลีบเลี้ยงสีเขียวเนื้ออวบห้ากลีบ พืชไม่ผลิตน้ำหวาน ดอกบานต่อเนื่องทีละครั้งวันเดียวแล้วโรย ดอกไม้จะบานทุกวันเริ่มตั้งแต่ 03.00 น.และบานเต็มที่หนึ่งชั่วโมงก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ดอกไม้จะเคลื่อนที่ในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเจริญเติบโตของผลไม้ (ชี้ขึ้นเมื่อดอกเริ่มออกผล) เมื่อดอกได้รับการผสมเกสรแล้ว กลีบดอกจะร่วงหล่น โดยปกติประมาณ 16.00 น. เมื่อตกค่ำกลีบเลี้ยงจะเริ่มพับกลับ ผลที่กำลังพัฒนาจะดูเหมือนดอกตูมมาก เมื่อเวลาผ่านไปกลีบเลี้ยงจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ผลเป็นแคปซูลวงรีรูปไข่สีชมพูเข้ม ยาว2-2.5 ซม.กว้าง 1-1.5 ซม.ผลแก่แตกออกในเวลาประมาณตี 3 มีลักษณะเป็นดาวสีชมพูขอบขาว มีเมล็ดสีดำที่ถูกปกคลุมด้วยเนื้อเยื่อสีแดงเข้ม ในทางเทคนิคเรียกว่า Aril กระจายออกมา (ผลใช้เวลา 5 สัปดาห์ในการพัฒนา)
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม--ต้องการแสงแดดจัดถึงร่มเงาบางส่วน ขึ้นได้ในดินทุกประเภท ตั้งแต่ดินทรายถึงดินเหนียวที่มีความชื้นสม่ำเสมอและมีการระบายน้ำดี pH 6.1-7.3 อัตราการเจริญเติบโตปานกลาง สามารถมีอายุยืนยาวได้ถึง 50-100 ปี
การรดน้ำ---ต้องการน้ำปานกลาง การรดน้ำต้องสม่ำเสมอและมีปริมาณมากในฤดูร้อน เว้นช่วงในฤดูหนาว
การตัดแต่งกิ่ง---ตัดแต่งกิ่งเพื่อรักษาขนาดและรูปทรงตัดแต่งหลังออกดอกหมด และเพื่อการเจริญเติบโตใหม่ การตัดแต่งกิ่งที่ตาย กิ่งที่เสียหายหรือเป็นโรคสามารถทำได้ตลอดเวลา
การใส่ปุ๋ย---ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปีละ 1 ครั้งหลังการตัดแต่งกิ่ง
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่ค่อยมีโรคหรือแมลงรบกวน /การให้น้ำมากเกินไปอาจทำให้รากเน่าได้ และจะทิ้งใบถ้าไม่มีแสงแดดเพียงพอ
รู้จักอันตราย---ไม่เป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงและมนุษย์
ใช้ประโยชน์--- พืชที่เก็บเกี่ยวจากป่าส่วนใหญ่เป็นผลไม้ที่ใช้เป็นอาหารและยา
-ใช้กิน ผลมีรสหวานอมเปรี้ยวรับประทานได้
-ใช้เป็นยา ส่วนที่ใช้  ผลไม้ ใบไม้ เปลือกไม้
-ใบและเปลือกต้นเป็นยาระบายและสมานแผล ใช้น้ำส้มของผลไม้ผสมกับน้ำตาลใช้เป็นยาแก้ไอ
-ในซาบาห์ใบอ่อนหรือเปลือกลำต้นทุบและนำไปใช้วางบนส่วนที่บวมและบนแผลที่มีเลือดออกไม่หยุด
-การศึกษาแนะนำคุณสมบัติต้านจุลชีพ, ต้านการอักเสบ, ยาแก้ปวด, ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด
-ใช้เป็นไม้ประดับ เป็นสายพันธุ์ที่ค่อนข้างหายากในการเพาะปลูกนอกเขตกำเนิด แต่มีค่าประดับและภูมิทัศน์ที่ยอดเยี่ยม ใช้ในสวนสาธารณะและในสวน อาคาร บ้านพักอาศัย ปลูกเป็นกลุ่ม หรือปลูกเดี่ยวๆแยกได้หรือเป็นต้นไม้ริมถนน สามารถปลูกในภาชนะขนาดใหญ่สำหรับการตกแต่งทั่วไป
-วนเกษตร เป็นสายพันธุ์บุกเบิกเพื่อฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม
-Simpoh Airส่งรากแก้วที่ลึกมากไปยังแหล่งน้ำใต้ดิน ต้นไม้ถูกใช้เพื่อตรวจจับน้ำ เพราะมันมักจะเติบโตใกล้น้ำ
-อื่น ๆ ไม้ในการก่อสร้างสำหรับพื้นเพดานและกรอบสำหรับเฟอร์นิเจอร์และวัตถุในชีวิตประจำวัน ยาต้มผลไม้ใช้สำหรับทำความสะอาดเส้นผม สีย้อมสีแดงได้จากเปลือกไม้
-ในบรูไน ใช้เนื้อผลไม้สระผม  
ระยะเวลาออกดอก--- ตลอดปี
ขยายพันธุ์--- เมล็ด ตอนกิ่ง

ส้านดอกขาว/Dillenia philippinensis

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Dillenia philippinensis Rolfe.(1884)
ชื่อพ้อง---Has 5 Synonyms.
---Dillenia catmon Elmer.(1915)
---Dillenia indica Blanco.(1837)
---More.See all https://www.gbif.org/species/5383895
ชื่อสามัญ---Philippine Simpoh, Philippine Katmon, Philippine dillenia.
ชื่ออื่น---ส้านดอกขาว (ทั่วไป);[FRENCH: Katmon.];[PHILIPPINES: Katmon kalambug, Kalambok, Kambug, Katmon, Palali.];[RUSSIAN: Dilleniya filippinskaya.];[THAI: San dok khao (General).].
ชื่อวงศ์---DILLENIACEAE
EPPO Code---DLNPH (Preferred name: Dillenia philippinensis.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ – ฟิลิปปินส์
นิรุกติศาสตร์---ชื่อของสกุล 'Dillenia' เพื่อเป็นเกียรติแก่ นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน Johann Jacob Dillen Dillenius (1684 - 1747)  ; ชื่อเฉพาะสายพันธุ์จากภาษาละติน 'philippinensis' = จากฟิลิปปินส์หมายถึงประเทศต้นทาง
Dillenia philippinensis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ส้าน (Dilleniaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Robert Allen Rolfe (1855–1921) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปีพ.ศ.2447
ความหลากหลาย (Varieties)
---Dillenia philippinensis var. philippinensis
---Dillenia philippinensis var. pubifolia Merr.(1923)
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในประเทศฟิลิปปินส์ พบในป่าชั้นรอง ในที่โล่งกว้างที่ระดับความสูงไม่เกิน 1,000 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้วงศ์เดียวกันกับส้านชวา แต่ดอกเป็นสีขาว ขนาดของดอกและใบจะใหญ่กว่าส้านฃวา ส้านดอกขาวเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูงได้ถึง  6-15 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มหนาแน่นทรงกลมกว้าง เปลือกต้นเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กน้อยสีน้ำตาลแดงเกือบดำ ใบคล้ายใบส้านชวา เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเป็นคู่ รูปรีหรือรูปขอบขนานแกมรี ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นซี่ฟันและเส้นใบขนานที่เด่นชัด ยาว 10-25 ซม.กว้าง 6-12 ซม.สีเขียวเข้ม ก้านใบยาว 3-5 ซม.ช่อดอกแบบ Racemose ดอกย่อยมีตั้งแต่ 4-5 ดอก หรือมีมากได้ถึง 18 ดอก ดอกสีขาวขนาดใหญ่ ใจกลางสีม่วงแดง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เป็นรูปไข่กลับ กลีบดอก 5 กลีบ เป็นรูปช้อน แต่ละกลีบแยกจากกัน กลีบดอกค่อนข้างหนา เป็นสีขาว ดอกบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-15 ซม.ผลรูปกลมแป้นขนาด 5 - 6 ซม.ผลสุกเป็นสีส้มหรือสีแดง แตกเป็น 6 แฉก ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลดำ 1-5 เมล็ด ยาว 0.5 ซม. และกว้าง 0.3 ซม.ที่ปกคลุมด้วยเยื่อสีแดง ซึ่งรู้จักกันในทางเทคนิคว่า Aril
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งที่มีแสงแดดจัด ชอบดินเหนียวปนทราย น้ำปานกลาง ความชื้นในดินสม่ำเสมอ ทนอุณหภูมิต่ำสุด15 °C อัตราการเจริญเติบโตของพืช ปานกลาง
การรดน้ำ---ปล่อยให้ดินชั้นบนแห้งไปบางส่วนค่อยรดน้ำ การรดน้ำต้องสม่ำเสมอและมีปริมาณมากในฤดูร้อน เว้นช่วงในฤดูหนาว
การตัดแต่งกิ่ง---ตัดแต่งกิ่งเพื่อรักษาขนาดและรูปทรงตัดแต่งหลังออกดอกหมด และเพื่อการเจริญเติบโตใหม่ การตัดแต่งกิ่งที่ตาย กิ่งที่เสียหายหรือเป็นโรคสามารถทำได้ตลอดเวลา
การใส่ปุ๋ย---ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอเดือนละ 1 ครั้ง ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปีละ 1 ครั้งหลังการตัดแต่งกิ่ง
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่ค่อยมีโรคหรือแมลงรบกวนมากนัก ระวังเพลี้ยแป้ง/การให้น้ำมากเกินไปอาจทำให้รากเน่าได้ และจะทิ้งใบถ้าไม่มีแสงแดดเพียงพอ
รู้จักอันตราย---ไม่เป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงและมนุษย์
ใช้ประโยชน์--- พืชที่เก็บเกี่ยวจากป่าส่วนใหญ่เป็นผลไม้ที่ใช้เป็นอาหารและยา
-ใช้กิน ผลไม้มีเนื้อนุ่มเนื้อสีเขียว กินได้มีรสชาติคล้ายแอปเปิ้ลสีเขียวและเปรี้ยว ใช้สำหรับทำซอสปรุงรสและแยม ใช้กับปลาปรุงรส ผลไม้เมื่อปรุงแล้วใช้เป็นผัก  น้ำผลไม้ใช้เป็นเครื่องดื่มเย็น
-ใช้เป็นยา ส่วนที่ใช้  ผลไม้ ใบไม้ เปลือกไม้ -ใบและเปลือกต้นเป็นยาระบายและสมานแผล ใช้น้ำส้มของผลไม้ผสมกับน้ำตาลใช้เป็นยาแก้ไอ ยาต้มผลไม้ใช้สำหรับแก้ไอและเจ็บหน้าอก ในซาบาห์ใบอ่อนหรือเปลือกลำต้นทุบและนำไปใช้วางบนส่วนที่บวมและบนแผล - การศึกษาแนะนำคุณสมบัติต้านจุลชีพ, ต้านการอักเสบ, ยาแก้ปวด, ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด
-ใช้เป็นไม้ประดับ เป็นสายพันธุ์ที่ค่อนข้างหายากในการเพาะปลูกนอกเขตกำเนิด แต่มีค่าประดับและภูมิทัศน์ที่ยอดเยี่ยม ใช้ในสวนสาธารณะและในสวน อาคาร บ้านพักอาศัย ปลูกเป็นกลุ่ม หรือปลูกเดี่ยวๆแยกได้หรือเป็นต้นไม้ริมถนน สามารถปลูกในภาชนะขนาดใหญ่สำหรับการตกแต่งทั่วไป
-อื่น ๆ ไม้ในการก่อสร้างสำหรับพื้นเพดานและกรอบสำหรับเฟอร์นิเจอร์และวัตถุในชีวิตประจำวัน ยาต้มผลไม้ใช้สำหรับทำความสะอาดเส้นผม สีย้อมสีแดงได้จากเปลือกไม้
ภัยคุกคาม---เนื่องจากใกล้จะมีคุณสมบัติที่มีความเสี่ยงที่จะถูกคุกคามโดยไม่มีมาตรการอนุรักษ์อย่างต่อเนื่องหรือใกล้สูญพันธุ์และ/หรืออาจมีคุณสมบัติในอนาคตอันใกล้ ถูกจัดวางไว้ในThe IUCN Red List ประเภท 'ความเสี่ยงใกล้ถูกคุกคาม'
สถานะการอนุรักษ์---NT - Near Threatened - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2019)
ระยะเวลาออกดอก--- ตลอดปี
ขยายพันธุ์--- เมล็ด ตอนกิ่ง

ม่วงส่าหรี/Lagerstroemia hybrid.

[la-ger-STREEM-ee-a]

ชื่อวิทยาศาสตร์--- Lagerstroemia hybrid.
ชื่อสามัญ---Hybrid Crape myrtle, Hybrid Crepe myrtle
ชื่ออื่น---ม่วงส่าหรี, ตะแบกม่วง [THAI:Mouang sa ri, Tabaek mouang.].
ชื่อวงศ์---LYTHRACEAE
EPPO CODE: 1LAEG (Prefered name: Lagerstroemia.)
ถิ่นกำเนิด---ไม่ทราบที่มาแน่ชัด
เขตกระจายพันธุ์---เขตอากาศร้อนชื้นทั่วโลก
นิรุกติศาสตร์---ชื่อของสกุล 'Lagerstroemia' ตั้งชื่อตาม Carl Magnus von Lagerström (1691-1759) เป็นผู้ประกอบการชาวสวีเดนและผู้อำนวยการบริษัท อินเดียตะวันออก ของสวีเดนซึ่งเป็นผู้จัดหาต้นไม้ที่เขาเก็บมา ให้นักธรรมชาติวิทยา Carl von Linnaeus (1707-1778)
-ชื่อม่วงส่าหรี หรืออีกชื่อที่เรียกคือ ตะแบกม่วง คงเป็นเพราะ ลักษณะของดอกคล้ายกับดอกยี่เข่งกับดอกตะแบกปนกัน คือกลีบดอกของม่วงสาหรีจะยู่ยี่คล้ายดอกยี่เข่งแต่ดอกจะใหญ่คล้ายดอกตะแบก
Lagerstroemia hybrid.เป็นลูกผสมของสายพันธุ์พืชดอกในครอบครัววงศ์ตะแบก (Lagerstroemia)
*ความเป็นมา ในปี 1956 John L. Creech ได้รวบรวมเมล็ดพันธุ์ Lagerstroemia fauriei ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่อยู่ในที่ค่อนข้างเย็นกว่า ในป่าบนภูเขาเหนือเมืองคุริโอะ จังหวัดยาคุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น และได้รับการแนะนำ(เพาะปลูก)ให้รู้จักกับสหรัฐอเมริกาโดย New Crops Research Branch ของ USDA พืชที่เลี้ยงจากเมล็ดญี่ปุ่นปลูกที่สวนรุกขชาติแห่งชาติสหรัฐอเมริกาในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และพบว่าปราศจากการรบกวนจากโรคราแป้ง โรคราน้ำค้างที่เป็นปัญหาร้ายแรงในเครปไมร์เทิล ในปี พ.ศ. 2505 สวนรุกขชาติแห่งชาติสหรัฐอเมริกาได้เริ่มโครงการขยายพันธุ์และคัดเลือกต้นไมร์เทิลเครปอย่างกว้างขวางภายใต้การดูแลของ Donald R. Egolf นักเพาะพันธุ์ไม้ยืนต้นที่โดดเด่น ภายใต้โครงการนี้ L. fauriei ถูกผสมข้ามกับ L. indica 'Pink Lace' ในปี พ.ศ. 2507 ห้าสิบเปอร์เซ็นต์ของต้นกล้าลูกผสมที่เกิดขึ้นไม่แสดงความอ่อนแอต่อโรคราแป้ง อย่างไรก็ตาม ข้อดีด้านภูมิทัศน์ของประชากรต้นกล้ายังไม่ปรากฏชัดจนกระทั่งอีกห้าปีต่อมา เมื่อเปลือกของพวกมันเริ่มลอกออกเพื่อเผยให้เห็นลำต้นที่มีสีน้ำตาลอบเชยไปจนถึงสีครีมอ่อน 'Natchez' ได้รับการคัดเลือกจากต้นกล้ากลุ่มนี้ในปี พ.ศ. 2512 สำหรับการขยายพันธุ์และการประเมินในอนาคต ได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการและเผยแพร่ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2521 'Natchez' แสดงถึงความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการต่อสู้เพื่อแนะนำความต้านทานต่อโรคราแป้ง *https://landscapeplants.oregonstate.edu/plants/lagerstroemia-hybrid

ลักษณะ เป็นไม้พุ่มหรือเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 3 -4  เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้างกลม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรีแกมรูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบเกือบมน เนื้อใบค่อนข้างหนา ดูเหมือน ใบอินทนิลน้ำ เป็นสีเขียวสด  ดอก ออกเป็นช่อแน่นขนาดใหญ่ ที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก สีของดอกเป็นสีม่วงเข้ม ดอกย่อยประกอบด้วยกลีบดอก 5-6 กลีบ กลีบดอกหยักเป็นริ้วคลื่น ตรงกลางดอกประกอบด้วยเกสรสีเหลืองจำนวนมาก ดอกตูมจะมีสีขาว-ครีม เวลามีดอกจะออกดอกดกพร้อมกันเต็มต้น
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม--ต้องการตำแหน่งแสงแดดเต็มที่ ชอบดินโปร่งร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ไม่ต้องการค่า pH ของดิน มากเกินไป แต่ชอบดินที่เป็นกลางหรือเป็นกรดเล็กน้อยมากกว่าดินที่เป็นด่าง นอกจากนี้ยังต้องหลีกเลี่ยงดินที่อุดมสมบูรณ์มาก เนื่องจากจะทำให้มีใบมากกว่าดอกไม้ที่ต้องการ เป็นต้นไม้ที่ดูแลง่าย ทนแล้งและทนร้อน อัตราการเจริญเติบโต เร็ว
การรดน้ำ---ต้องการน้ำปานกลาง การรดน้ำปกติ รดน้ำให้ชุ่มลึกสัปดาห์ละครั้ง อย่าให้น้ำมากเกินไป
การตัดแต่งกิ่ง---ดอกออกบนกิ่งใหม่ ควรตัดแต่งกิ่งในช่วงปลายฤดูหนาวหรือต้นฤดูใบไม้ผลิ การตัดแต่งกิ่งที่ตาย กิ่งที่เสียหายหรือเป็นโรคสามารถทำได้ตลอดเวลา
การใส่ปุ๋ย---ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย อาจใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักปีละ 1 ครั้ง หลังการตัดแต่งกิ่ง
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องศัตรูพืช/โรคราน้ำค้างเป็นปัญหาร้ายแรง หลีกเลี่ยงการรดน้ำบนใบไม้ให้รดน้ำที่รากแทน การทำให้ใบไม้เปียกในระหว่างการรดน้ำทำให้เกิดโรคราแป้ง การรักษาด้วยยาฆ่าเชื้อราทั่วไปเป็นประจำทุกปีสามารถลดความเสี่ยงของพืชที่ติดเชื้อได้
รู้จักอันตราย---ไม่เป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงและมนุษย์
การใช้ประโยชน์----ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ ในภูมิทัศน์และการจัดสวน สามารถปลูกเป็นไม้พุ่มหรือเป็นไม้ต้นขนาดเล็กได้ หรือปลูกเป็นไม้กระถางในภาชนะขนาดใหญ่
ระยะออกดอก---ฤดูร้อน
ขยายพันธุ์---ตอนกิ่ง                                                                                                                                                  **การพูดคุยส่วนตัว รูปดอกสีแดงเป็นอีกหนึ่งลูกผสมที่ได้ติดมือมาทีหลัง**


เกล็ดกะโห้/Clusia rosea

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Clusia rosea Jacq.(1760)
ชื่อพ้อง---Has 6 Synonyms.
---Birolia alba Raf.(1838)
---Clusia retusa Poir.(1804)
---Clusia rosea var. colombiana Cuatrec. (1950)
---Elwertia retusa Raf.(1838)
---More.See all https://www.gbif.org/species/5421060
ชื่อสามัญ ---Autograph Tree, Balsam Apple, Balsam Fig, Fat Park Tree, Pitch Apple, Scotch-Attorney, Cupey, Copey clusia, Star of Night, Florida clusia, Scotch-attorney.
ชื่ออื่น---เกล็ดกะโห้, เกล็ดกะโห้ด่าง (ทั่วไป);[CARIBEAN: Copey, Cupey.];[GERMAN: Balsamapfel, Rosafarbener balsamapfel.];[PUERTO RICO: Cupey.];[SINHALESE: Gal Goraka, Gal Idda.];[SPANISH: Copey rosado (Spain).];[SRI LANKA: Gal Idda, Gal Goraka.]; [SWEDISH: Narrfikkus.];[SWEDISH: Narrfikkus.];[THAI: Klet kaho, Klet kaho dang (General).];[USA: Florida clusia.].
ชื่อวงศ์---GUTTIFERAE (CLUSIACEAE)
EPPO Code---CUFRO (Preferred name: Clusia rosea.)
ถิ่นกำเนิด---ปานามา เวเนซูเอล่า และหมู่เกาะเวสอินดิส
เขตกระจายพันธุ์---บาฮามาส คิวบา เปอร์โตริโก ฟลอริดา เขตร้อนของทวีปเอเซีย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Clusia' ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ Carolus Clusius (1526-1609) นักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์ ; ชื่อเฉพาะสายพันธุ์ 'rosea' จากภาษาละติน 'rosa' = ดอกกุหลาบ อ้างอิงถึงดอกไม้
 Clusia rosea เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์มังคุด (Guttiferae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Nikolaus Joseph von Jacquin (1727-1817) นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาการแพทย์, เคมีและพฤกษศาสตร์ ชาวเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ.2303

ที่อยู่อาศัย พืชพื้นเมืองของเม็กซิโก ฟลอริดา อเมริกากลาง แคริบเบียนและอเมริกาใต้ เติบโตที่ระดับความสูงต่ำกว่า 1,000 เมตร และกระจายไปยัง เกาะกวมและฮาวาย ถูกระบุว่าเป็นหนึ่งในพืชสวนที่รุกรานมากที่สุดของฮาวายและยังมีการรายงานในบราซิล สิงคโปร์ ศรีลังกา และประเทศเขตร้อนอื่น ๆ ในฐานะพืชรุกราน
ลักษณะ เกล็ดกระโห้เป็นไม้วงศ์เดียวกันกับ มังคุด กระทิง และสารภี ดอกใหญ่ดีแต่ไม่หอม เติบโตเป็นพืช hemiepiphyte อาศัยอยู่บนโขดหินหรือต้นไม้อื่น ๆมีรากอากาศจำนวนมาก ในช่วงเริ่มต้นชีวิตของมันเติบโตบนพืชโฮสต์อื่นและในที่สุดก็ฆ่าโฮสต์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 2-9 เมตร ทรงพุ่มโปร่งเนื้อไม้เหนียว ใบหนาเหนียวคล้ายแผ่นหนัง กว้าง 3.5-14 ซม ยาว 8-16 ซม.ก้านใบยาว 1-2 ซม.ดอกเดี่ยวหรือออกดอกเป็นกระจุก 1-3 ดอก กลีบเลี้ยงถาวร  4-6 กลีบ ยาว 1-2 ซม. กลีบดอก 6-8 กลีบสีขาวหรือสีชมพูอมม่วง บานอยู่ได้ 2-3 วันแล้วโรย ผลสีเขียวอมน้ำตาลเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-8 ซม.เปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อแก่แล้วแตกออก ภายในมีเมล็ด ที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงสด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งที่มีแสงแดดเต็ม (6-8ชั่วโมง/วัน) แสงแดดครึ่งวันเช้า (4 ชั่วโมง/วัน) ต้นไม้เหล่านี้สามารถรับแสงทางอ้อมได้ดีที่สุดในระดับปานกลางถึงสว่าง หรือร่มเงาบางส่วน อุณหภูมิเหมาะสมในช่วง 15°C ถึง 30°C ทนอุณหภูมิต่ำสุด (-1°C)ชอบความชื้นปานกลางถึงสูง แต่ค่อนข้างทนต่อความชื้นได้หลากหลายระดับ ทนต่อสภาพดินได้หลายประเภท ชอบดินร่วน มีการระบายน้ำดี อัตราการเจริญเติบโตปานกลาง
การรดน้ำ---ต้องการน้ำปานกลาง ชอบดินที่ชื้นตลอดเวลา ปล่อยให้ดินชั้นบนแห้งเล็กน้อยระหว่างการรดน้ำ ดินจะได้ไม่อิ่มตัวด้วยน้ำมากเกินไป ในฤดูหนาวควรรดน้ำให้น้อยลง สามารถทนต่อความแห้งแล้งได้ในช่วงสั้นๆ
การตัดแต่งกิ่ง---ตัดแต่งกิ่งปีละ 2 ครั้ง ในต้นฤดูใบไม้ผลิเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต และในฤดูใบไม้ร่วงเพื่อรักษาขนาดและรูปทรง
การใส่ปุ๋ย---ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ (16-16-16) ละลายน้ำเจือจางเดือนละ 1 ครั้ง หรือใส่ปุ๋ย 3 ครั้งต่อปี ใช้ปุ๋ยที่สมดุล เช่น สูตร 10-10-10 ในฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน และฤดูใบไม้ร่วง สามารถเลือกใช้ได้ระหว่างปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเม็ด หรือปุ๋ยละลายช้า
ศัตรูพืช/โรคพืช---ค่อนข้างต้านทานศัตรูพืช แต่บางครั้งศัตรูพืชในร่มที่ดูดน้ำเลี้ยงอาจทำให้เกิดปัญหาได้  /ไม่มีโรคอะไรเป็นพิเศษ ความเสี่ยงที่สุดคือโรครากเน่า โคนเน่าเนื่องจากการรดน้ำมากเกินไป โรคใบจุดอาจเกิดขึ้นได้
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกประดับ  Clusia rosea เป็นไม้ประดับที่ปลูกในแอฟริกาใต้ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 โดยทั่วไปจะปลูกในลานจอดรถของศูนย์การค้า โรงเรียน คอนโดมิเนียมและพื้นที่อยู่อาศัย สามารถปลูกเป็นไม้กระถางตกแต่งภายในได้ เป็นพืชทนเค็มได้ และจะไม่เสียหายจากละอองเกลือ คลื่นพายุ และลมเค็มจากทะเล ทำให้เป็นตัวเลือกการจัดสวนสำหรับสวนริมทะเลและชายหาด อีกทั้งการตัดแต่งพุ่มไม้อย่างสม่ำเสมอและปลูกเป็นแนวรั้วป้องกันความเป็นส่วนตัวที่สมบูรณ์แบบสำหรับกำบังลม และเสียงรบกวน
รู้จักอันตราย---เป็นพิษเล็กน้อยต่อคนและสัตว์เลี้ยงหากกลืนกิน ผลไม้เป็นพิษต่อมนุษย์ กินไม่ได้
ภัยคุกคาม--เนื่องจากสายพันธุ์นี้ถูกคุกคามจากความเสื่อมโทรมของแหล่งที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการแพร่กระจายและการเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ภัยคุกคามจึงไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อประชากรทั้งหมด ถูกประเมินไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'กังวลน้อยที่สุด'
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2020)
ระยะออกดอก---ปลายฤดูใบไม้ผลิหรือต้นฤดูร้อน *แต่บางครั้งสามารถออกดอกได้ตลอดเวลาของปี ( Little, 1979 )
ขยายพันธุ์--- เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ
**การพูดคุยส่วนตัว-เกล็ดกระโห้ที่เห็นทั่วไปมี 2 ต้นคือต้นที่มีใบสีเขียวทั้งใบ กับต้นที่มีใบด่าง (3รูปบน) คือต้นเกล็ดกระโห้ที่มีใบด่างปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ไว้ในที่ร่มรำไร ส่วนรูปล่างที่เป็นรูปผลเป็นต้นเกล็ดกระโห้ใบสีเขียวทั้งหมดที่ปลูกกลางแดดลงดิน ปลูกแล้วควรมีหลักผูกจับลำต้นให้ตรงและคอยแต่งกิ่งให้โปร่งจะออกดอกดกให้ดูดีตลอดปี **


ไข่ดาว/Oncoba spinosa

[on-KO-ba] [spy-NO-suh]

ชื่อวิทยาศาสตร์---Oncoba spinosa Forssk.(1775)
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:111964-1#synonyms
---Lundia monacantha Schumach. & Thonn.(1827)
---Oncoba monacantha (Schumach. & Thonn.) Steud.(1841)
ชื่อสามัญ---Bridge of the desert, Fried Egg Tree, African Dog Rose, Snuff Box Tree, Wild white rose.
ชื่ออื่น---ไข่ดาว (ทั่วไป);[AFRIKAANS: Snuifkalbassie; Umshungu, Umthongwana, Umthongwane, Isingongongo, Ishunug elikhulu (isiZulu); Mothotse (Northern Sotho); Mbhovo.(Setswana); Umtfogwane, umthongwana (siSwati); Muthudzwi (Tshivenda); Muyebe (Rundi); Musonbo (Luba-Katanga).];[CONGO: Nti nsansi.];[KINYA RWANDA: Mushumbi.];[THAI: Khai dao (General).].
ชื่อวงศ์---FLACOURTIACEAE
EPPO Code---ONKSP (Preferred name: Oncoba spinosa.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปแอฟริกา
เขตกระจายพันธุ์---ทรอปิคอลแอฟริกา - เซเนกัล โซมาเลีย แองโกลา  แซมเบีย, ซิมบับเวและ แอฟริกาใต้
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Oncoba' มาจากภาษาอาหรับ“onkub”สำหรับสายพันธุ์แอฟริกาเหนือ  ; ชื่อสปีชีส์  'spinosa' หมายถึง กระดูกสันหลัง หูใบที่เปลี่ยนรูปเป็นหนาม หรือก้านใบ เกล็ดเล็ก ๆ หรือเป็นรยางค์คล้ายใบที่โคนก้านใบ
Oncoba spinosa เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระเบา (Flacourtiaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Peter Forsskal (1732–1763) นักธรรมชาติวิทยาและนักสำรวจชาวสวีเดน ในปี พ.ศ.2318

 

ที่อยู่อาศัย แพร่หลายมากในเขตร้อนของทะเลทรายซาฮารา มันเติบโตในแถบกว้างตั้งเซเนกัล ซูดานถึงโซมาเลีย, ทางใต้ไปทางเหนือของแองโกลา, แซมเบีย, ซิมบับเว และทางตะวันออกเฉียงเหนือของแอฟริกาใต้ ส่วนใหญ่อยู่ใน Mpumalanga และต่อไปทางเหนือตามแม่น้ำ Zambezi พบได้ตั้งแต่บริเวณพุ่มไม้ไปจนถึง ป่าริมฝั่งแม่น้ำ ป่าผลัดใบในหลายระดับความสูง จากระดับน้ำทะเลใกล้ถึง 600-1,800 เมตร เป็นต้นไม้ที่ได้รับการคุ้มครองในแอฟริกาใต้
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นกึ่งผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลางหรือเป็นไม้พุ่มหลายลำต้น ปกติมักสูงไม่เกิน 5 เมตร แต่อาจสูงได้ถึง 9 เมตร ลำต้นค่อนข้างอ่อน มีหนามเล็ก ๆตามลำต้นและกิ่งก้าน แตกกิ่งน้อย กิ่งเหนียวและแตกออกยืดยาว ใบรูปรีหรือรูปไข่แกมขอบขนานยาว 7-18 x 3-8 ซม.ขอบใบหยักละเอียดโคนใบแหลมและมีหนามแหลม ยาวประมาณ 2-4 ซม.ใบแข็งเป็นมันสีเขียวเข้ม ก้านใบยาวประมาณ 6-12 มม.ดอกเดี่ยวออกที่ปลายยอดสีขาวอมเหลืองอ่อน กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 3 ซม. เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ช่วงต้นฝนดอกจะออกมากหน่อยดอกบานอยู่ 2 วันแล้วร่วง ส่งกลิ่นหอมอ่อน ๆ ดอกจะออกซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน 2-3 เดือน ผลรูปไข่กลมหรือทรงกลมยาวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง สูงสุดไม่เกิน 8 ซม.ผลอ่อนสีเขียว มีเปลือกแข็งที่เมื่อแก่กลายเป็นสีน้ำตาลแดง มีเมล็ดจำนวนมากรูปไข่แบน สีน้ำตาลมันวาวขนาด ยาว 6-7 มม.กว้าง 3-4 มม.ฝังอยู่ในเนื้อแห้งสีเหลือง


Picture 1: https://treesa.org/oncoba-spinosa/
Picture 2: https://treesa.org/oncoba-spinosa/skukusa-knp-31/
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดเต็ม (6-8ชั่วโมงต่อวัน) ชอบดินปนทรายและดินร่วน การระบายน้ำดี ทนต่อความเย็นจัด อุณหภูมิต่ำสุด (-15°C) และระบบรากไม่รุกราน อัตราการเจริญเติบโต ปานกลาง การเติบโตในช่วงแรกจะช้า แต่จะเร็วขึ้นหลังจาก 9 ถึง 12 เดือน สามารถเติบโตได้ 0.50-1 เมตรต่อปี
การรดน้ำ---ต้องการน้ำปานกลาง รดน้ำปกติ 2-3วัน/ครั้ง อย่าให้น้ำมากเกินไป
การตัดแต่งกิ่ง---ไม่จำเป็นต้องตัดแต่งกิ่ง แต่รูปร่างและสุขภาพของต้นไม้อาจเสียหาย และดูค่อนข้างรุงรังและไม่เป็นระเบียบ การตัดแต่งกิ่งทุกปีหรือทุกสองปีในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ หรืออาจรอจนกว่าดอกบานทั้งหมดจะร่วงหล่น เพื่อกระตุ้นการออกดอกและเพื่อรักษารูปลักษณ์ที่สวยงาม การตัดแต่งกิ่งที่ตายหรือไม่แข็งแรงสามารถทำได้ตลอดเวลา
การใส่ปุ๋ย---สามารถใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหม้กก่อนหรือหลังการตัดแต่งกิ่ง ปีละ 1-2 ครั้ง
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน/รากเน่าอาจเกิดขึ้นได้หากให้น้ำมากเกินไป หรือดินมีการระบายน้ำไม่ดี
รู้จักอ้นตราย---พืชมีหนามแหลม ใช้ความระมัดระวังอย่างมากในการจัดการ

ใช้ประโยชน์--- พืชที่เก็บเกี่ยวจากป่าใช้เป็นอาหารและยาปลูกเพื่อให้ผลไม้ในแอฟริกาและอินเดีย และ ปลูกเป็นไม้ประดับมีค่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับดอกไม้สีขาวขนาดใหญ่ซึ่งมีกลิ่นหอม
-ใช้กิน ผลดิบรสเปรี้ยวรสชาดค่อนข้างเหมือนทับทิมหรือแอปเปิ้ลเขียว ไม่อร่อย มันมักจะถูกมองว่าเป็นอาหารความอดอยากกินเฉพาะในเวลาที่ขาดแคลน ส่วนน้ำมันที่ใช้บริโภคได้นั้นมาจากเมล็ด
-ใช้เป็นยา พืชมักใช้ในยาแผนโบราณ มันมีชื่อเสียงอย่างมากในคองโกในฐานะยาครอบจักรวาลสำหรับโรคภัยไข้เจ็บทั้งหมดในไอวอรี่โคสต์พืชมีชื่อเสียงที่ดีในฐานะที่เป็นยาโป๊
-ผลไม้รวมกับเนย Karite (Vitellaria Paradoxa) ใช้ในการรักษาอาการปวดท้องและเบื่ออาหาร ยาต้มกิ่งก้านใบใช้เป็นยาล้างแผล รากเป็นยาแก้อักเสบและบำรุงกำลัง ยาต้มใช้รักษาโรคบิดปวดศีรษะและกระเพาะปัสสาวะ
-ใบประกอบด้วยSalicin (กลูโคไซด์แอลกอฮอล์ที่มีรสขมซึ่งเกี่ยวข้องกับแอสไพริน) กลูโคไซด์นี้สามารถใช้เป็นยาต้านการอักเสบ อย่างไรก็ตามอาจทำให้เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนังได้  
-ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ ต้นไข่ดาวเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กก็จริง แต่ก็ปลูกเลี้ยงลงกระถางขนาดใหญ่ได้ ขนาดรอบวงของลำต้นไม่ใหญ่นักและลำต้นก็ค่อนข้างอ่อน ในกระถางจะเลี้ยงได้สูงประมาณ 2 เมตร ถ้าปลูกลงดินจะสูงได้ถึง 5 เมตร การปลูกลงดินควรหาหลักมาจับยึดลำต้นและกิ่งหลักไว้ ยึดให้ตรง จะได้ไข่ดาวที่มีทรงพุ่มสวยในอนาคต ความต้องการน้ำน้อย เหมาะกับสวน Xeriscape
-ใชอื่น ๆ ไม้สีน้ำตาลอ่อนแข็งแตกง่ายและขัดงาได้ดี แต่ชิ้นส่วนมักไม่ใหญ่พอที่จะมีมูลค่าทางการค้า
-ผลไม้มีเปลือกแข็งเมื่อถูกทิ้งไว้ให้แห้งโดยมีเมล็ดอยู่ภายในจะทำให้เขย่าแล้วมีเสียงดัง ใช้ทำเป็นกำไลและปลอกแขน ยึดติดกับข้อเท้า สำหรับนักเต้นเพื่อเพิ่มจังหวะเมื่อแสดง
-กล่าวกันว่าเมล็ดพืชมีน้ำมันอบแห้งที่เหมาะสำหรับเคลือบเงา แต่ยากเกินไปที่จะสกัดเพื่อให้มีความสำคัญทางการค้า
พิธีกรรม/ความเชื่อ---ในคองโกถือเป็นเครื่องป้องกันอิทธิพลชั่วร้ายและวิญญาณ ห้ามตัดส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชโดยไม่ทำการอธิบายเหตุผลและความคาดหวังให้กับพืช
ภัยคุกคาม--เนื่องจากสายพันธุ์นี้ถูกคุกคามจากความเสื่อมโทรมของแหล่งที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการแพร่กระจายและการเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ภัยคุกคามจึงไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อประชากรทั้งหมด การประเมินล่าสุดใน IUCN Red List อยู่ใน ประเภท 'กังวลน้อยที่สุด'
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2005)
ระยะออกดอก/ติดผล ---กันยายน-มกราคม/เมษายน-กรกฎาคม
ขยายพันธุ์----เมล็ด  ตอนกิ่ง


รวงผึ้ง/Schoutenia glomerata King subsp. peregrina

ชื่อวิทยาศาสตร์---Schoutenia glomerata ssp. Peregrina (Craib) Roekm.& Hartono (1965)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all https://www.gbif.org/species/8342713
---Basionym: Schoutenia peregrina Craib.(1925)
ชื่อสามัญ---Yellow Star
ชื่ออื่น--- กะสิน, กาสิน (นครพนม, สกลนคร),ดอกน้ำผึ้ง, น้ำผึ้ง, รวงผึ้ง (ภาคเหนือ); สายน้ำผึ้ง (ภาคกลาง); [THAI: Dok nam phueng, Nam phueng, Ruang phueng (Northern); Sai nam phueng (Central).];
ชื่อวงศ์---MALVACEAE
EPPO Code---1SNFG (Preferred name: Schoutenia.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ไทย กัมพูชา
นิรุกติศาสตร์ (Etymology)---ชื่อสกุล 'Schoutenia' ตั้งชื่อ ตามนักสำรวจชาวดัตช์ Willem Cornelisz Schouten (1567-1625) ; ชื่อเฉพาะสายพันธุ์ 'glomerata' มาจากคำคุณศัพท์ภาษาละติน "Glomeratus" ซึ่งแปลว่าหนาแน่นและกลมอ้างอิงถึงการจัดกลุ่มแน่นของดอกไม้ หมายถึงช่อดอก  
Schoutenia glomerata subsp.peregrina เป็นชนิดย่อย (subsp) ของ Schoutenia glomerata สายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ชบา (Malvaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Grant Craib (1882–1933) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Roekm และ Hartonoในปีพ.ศ.2508
ความสำคัญ ต้นรวงผึ้งมีความสำคัญคือเป็นพรรณไม้ประจำรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องด้วยดอกรวงผึ้งมีสีเหลืองซึ่งเป็นสีประจำวันพระราชสมภพ และผลิดอกช่วงวันพระราชสมภพพอดี เมื่อพระองค์เสด็จฯ กอปรพระราชกรณียกิจตามสถานที่ต่างๆ ก็จะทรงปลูกต้นรวงผึ้งพระราชทานไว้เพื่อเป็นตัวแทนแห่งพระองค์ท่านและเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ราษฎร

 

ที่อยู่อาศัย ในประเทศไทยพบกระจายห่าง ๆ ทางภาคเหนือตอนล่างที่นครสวรรค์ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สกลนคร ขึ้นตามริมแม่น้ำและที่ราบลุ่มที่น้ำท่วมถึง ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 200 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง *รูปต้นรวงผึ้งต้นนี้ถ่ายเมื่อ ก.ค 59 กำลังออกดอกพอดี* ต้นนี้ความสูงกำลังสวย ความสูงของต้นรวงผึ้งโดยทั่วไป สูงประมาณ 5-8 เมตร เปลือกต้นเป็นสีเทาเข้ม แตกกิ่งก้านเยอะ ทำให้ดูทรงพุ่มทึบใบขนาดกว้าง ประมาณ 3-5 ซม.ยาว 4-12 ซม.ออกระนาบเดียวกันรูปใบมนรี หรือขอบขนานปลายแหลมฐานป้าน ขอบใบเรียบ ใบแก่ค่อนข้างหนาสีเขียวเข้มและเป็นมันด้านบน ด้านล่างใบสีจะอ่อนกว่า ขนสีน้ำตาลรูปดาวหลุดลอกง่ายดอกสมบูรณ์เพศขนาดบวกลบ 1.3 ซม.สีเหลืองเข้มออกเป็นช่อกระจุกตามกิ่งข้างตามซอกใบ มักจะบานพร้อมกัน กลีบรองดอกมี 5 กลีบ ไม่มีกลีบดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมากแต่ ดอกมักไม่ติดผล ผลกลมเป็นแบบแห้งไม่แตก ขนาด 0.5–1 ซม.ช่วงออกดอกนานราว 1 สัปดาห์ ดอกแต่ละดอกบาน 2 วันแล้วโรยส่งกลิ่นหอมแรงตลอดวัน เวลาดอกบานจะมีผึ้งมาตอมเป็นจำนวนมาก ระยะเวลาออกดอก1สัปดาห์/1ปี/1ครั้ง เท่านั้น 

ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้นรวงผึ้งจะต้องปลูกกลางแจ้งเพราะชอบแดดจัด สามารถปลูกได้ในทุกสภาพดิน ทั้งดินที่แห้งแล้งและดินที่ชื้นในสภาพดินแห้งต้นรวงผึ้งจะออกดอกเต็มต้น แต่ถ้าได้น้ำมากก็จะออกดอกประปราย ไม่ดกเท่าที่ควร เนื่องจากดอกมักไม่ติดผล เทียบสัดส่วนกับจำนวนดอกแล้วต่างกันลิบลับ อาจต้องขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง อย่างเดียว และจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนเร่งรากช่วยให้รากงอกเร็ว *ซึ่งกิ่งกระโดงที่แตกจากโคนต้นจะมีการเจริญเติบโตได้ดีที่สุด สำหรับต้นที่ปลูกด้วยกิ่งตอนจะให้ดอกเมื่อปลูกไปแล้วประมาณ 5 ปี แต่สำหรับต้นที่เพาะจากเมล็ดอาจต้องใช้เวลามากกว่านั้น โดยเฉพาะการเจริญเติบโตช่วง 5 ปีแรกจะค้อนข้างช้า หากได้รับการดูแลที่ดีอาจให้ดอกชุดแรกในปีีที่ 7-8 http://academicparo5.dnp.go.th/
การรดน้ำ---ต้องการน้ำน้อย รดน้ำปกติอาทิตย์ละ 1ครั้ง อย่าให้น้ำมากเกินไป
การตัดแต่งกิ่ง---ไม่จำเป็นต้องตัดแต่งกิ่ง หรืออาจรอจนกว่าดอกบานทั้งหมดจะร่วงหล่น เพื่อกระตุ้นการออกดอกและเพื่อรักษารูปลักษณ์ที่สวยงาม การตัดแต่งกิ่งที่ตายหรือไม่แข็งแรงสามารถทำได้ตลอดเวลา
การใส่ปุ๋ย---ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหม้กก่อนหรือหลังการตัดแต่งกิ่ง ปีละ 1-2 ครั้ง
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน/รากเน่าอาจเกิดขึ้นได้หากให้น้ำมากเกินไป หรือดินมีการระบายน้ำไม่ดี
รู้จักอ้นตราย--- ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นพิษของพืชชนิดนี้
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกเพื่อความสวยงามและเพื่อความเป็นศิริมงคล
-อื่น ๆกลิ่นหอมของดอกรวงผึ้ง ช่วยกระตุ้นระบบประสาท ทำให้ผ่อนคลาย และ หลับง่ายขึ้น
*พิธีกรรม/ความเชื่อ--- เป็นไม้มงคลเหมาะสำหรับคนธาตุไฟ* https://www.royalparkrajapruek.org/Knowledge/view/25
*ภัยคุกคาม--- เนื่องจากป่าบุ่งป่าทามได้ถูกทำลายไปจนเกือบหมดต้นตามธรรมชาติที่ยังหลงเหลืออยู่พบตามหย่อมป่าที่ถูกปล่อยทิ้งใกล้ริมแม่น้ำน่านในเขตจ.นครสวรรค์ และที่ริมแม่น้ำสงคราม ในเขต อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร และอ.ศรีสงคราม จ.นครพนมเท่านั้น
สถานะการอนุรักษ์---ปัจจุบันเป็นพืชที่หายากมาก มีสถานะภาพใกล้จะสูญพันธุ์ในธรรมชาติอย่างยิ่ง *http://academicparo5.dnp.go.th
ระยะเวลาออกดอก/ติดผล --- ระหว่าง กรกฏาคม-สิงหาคม/กันยายน-ตุลาคม
ขยายพันธุ์ --- เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

คอร์เดีย/Cordia sebestina

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Cordia sebestina L.(1753)
ชื่อพ้อง---Has 12 Synonyms.
---Cordia juglandifolia Jacq.(1760)
---Cordia laevis Jacq.(1797)
---Lithocardium laeve (Jacq.) Kuntze.(1891)
---Sebestena repanda Raf.(1838)
---More.See all https://www.gbif.org/species/5341289
ชื่อสามัญ ---Broad-leaf cordia, Cordia, Geiger Tree, Geranium Tree, Scarlet Cordia, Orange Geiger Tree, Aloe-wood, Largeleaf Geigertree,Texas Olive, Sebesten Plum Tree, Sea Trumpet, Spanish Cordia.
ชื่ออื่น-- หมันแดง (ทั่วไป), คอร์เดีย (กรุงเทพ);[BENGALI: Raktarag, Kamla Buhal.];[CZECH: Kordiovité.];[FRENCH: Bois râpe.];[GERMAN: Scharlachkordie, Scharlach-Kordie, Sebestenenbaum.];[HAWAII: Kou.];[HINDI: Lal Lasora,Bohari.];[HINDI: Bohari, Lal Lasora.];[KANNADA: Challekendala.];[PORTUGUESE: Córdia-de-flores-laranjas, Sebesteira-verdadeira.];[RUSSIAN: Kordiya sebestena.];[SPANISH: Arbol nomeolvides, Anacahuita, Joaquin, Siricote blanco.];[TAMIL: Accinaruvili.];[TELUGU: Virigi.];[THAI: Man daeng (General); Kho dia (Bangkok).];[USA: Largeleaf geigertree.].
ชื่อวงศ์---BORAGINACEAE
EPPO Code---CRHSE (Preferred name: Cordia sebestina.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---อเมริกากลาง - ปานามา ฮอนดูรัส เบลีซ เม็กซิโก; แคริบเบียน - จาเมกา, เฮติ, สาธารณรัฐโดมินิกัน, คิวบา, ถึงฟลอริดา
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Cordia' ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน Euricius Cordus (1486 –1535) และลูกชายของเขา Valerius Cordus (1515 –1544) ; ขื่อเฉพาะสายพันธุ์ 'sebestina' จากเปอร์เซีย 'sebestan' ซึ่งเป็นชื่อสามัญของ Cordia myxa ซึ่งมีผลไม้สีขาวด้วย ( Puccio, 2020 )
-ชื่อสามัญ 'Geiger Tree' ถูกตั้งชื่อในปี 1830 โดย John James Audubon (ผู้มีชื่อเสียงในการวาดภาพนก) ตามชื่อ John Geiger (นักบินท่าเรือผู้กอบกู้สมบัติที่จมอยู่นอกชายฝั่ง Key West) ซึ่ง Audubon อาศัยอยู่และวาดภาพด้วย
Cordia sebestina เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์หญ้างวงช้าง (Boraginaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนในปี พ.ศ.2296
ความหลากหลาย (Varieties)
---Cordia sebestena var. sebestena.
---Cordia sebestena var. caymanensis (Urb.) Proctor.(1977)

 

ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางชายฝั่งตอนเหนือของอเมริกาใต้ ยูคาทาน หมู่เกาะอินเดียตะวันตกและฟลอริด้าพบในเขตแห้งแล้งบนดินทรายมักเกิดขึ้นตามแนวชายฝั่งทะเลที่ระดับความสูงไม่เกิน 185 เมตร  มีรายงานว่าปลูกที่ระดับความสูงถึง 1900 เมตร ( Barajas-Meneses et al., 2005 ; พืชเขตร้อนที่มีประโยชน์, 2020 )
ลักษณะ คอร์เดียหรือเรียกอีกชื่อว่าหมันแดงเป็นไม้พุ่มขนาดกลางหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 8-10 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล ใบรูปไข่ปลายใบแหลม ความยาวของใบ 15-20 ซม.กว้าง 7.5-10 ซม.ใบสากคาย ดอกออกเป็นช่อใหญ่และมักมีช่อย่อยออกมาเบียดกัน ออกที่ปลายกิ่งรูปกรวยปากบาน สีแสดสดใส มีผลยาวไม่เกิน 4 ซม.สีเขียวเมื่อสุกเป็นสีขาว เนื้อในนุ่ม
ข้อกำหนดสภาพแวดล้อม---ตำแหน่งที่มีแสงแดดจัด หรือร่มเงาบางส่วน สายพันธุ์นี้มีความทนทานต่อความเค็มของดินและสเปรย์เกลือได้ดี สามารถเติบโตได้ในดินทุกชนิด แต่มันจะเติบโตได้ดีที่สุดในดินทรายปนทรายที่แห้งและมีการระบายน้ำดี ค่า pH ของดินตั้งแต่ 5.5 ถึง 8.5 ทนแล้ง ทนน้ำท่วม และน้ำกร่อย การบำรุงรักษาต่ำ
การรดน้ำ---รดน้ำเป็นประจำหลังปลูกและในช่วงหน้าแล้ง
การตัดแต่งกิ่ง---ให้ตัดแต่งต้นไม้ในขณะที่มันเติบโตเพื่อเลือกลำต้นเดียว หากไม่ตัดแต่ง พืชสามารถพัฒนาลำต้นหลายลำต้นที่อ่อนแอ และแตกได้ในที่สุด ตัดกลับในฤดูใบไม้ผลิ (ปลายเดือนมีนาคมหรือต้นเดือนเมษายน) เพื่อให้มีขนาดตามที่ต้องการ และเล็มปลายกิ่งได้ทุกเมื่อในช่วงอากาศอบอุ่นเพื่อส่งเสริมให้ออกดอกดก
การใส่ปุ๋ย---อย่าใส่ปุ๋ยจนกว่าจะถึง 6 เดือนหลังจากการปลูก จากนั้นใส่ปุ๋ยปีละสามครั้ง - หนึ่งครั้งในฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน และฤดูใบไม้ร่วง ด้วยปุ๋ยเม็ดสูตรสมดุล เสริมด้วยกระดูกป่น (P )เพื่อส่งเสริมการออกดอกมาก
ศัตรูพืช/โรคพืช---มักไม่ได้รับผลกระทบจากศัตรูพืชมากนัก ระวัง ด้วงเต่ายักษ์ (Tortoise beetle) ซึ่งสามารถทำให้เกิดการผลัดใบได้เป็นครั้งคราว/ไวต่อรากเน่ามาก ดังนั้นควรรดน้ำเมื่อจำเป็นเท่านั้น
รู้จักอ้นตราย---ไม่มีข้อมูลยืนยันความเป็นพิษของพืชชนิดนี้
ใช้ประโยชน์---ใช้กินได้ ผลไม้ ดิบหรือสุก ถือว่ากินได้โดยบางคน กลิ่นหอมแต่รสชาติไม่ดี ค่อนข้างเป็นเส้น ๆและไม่ค่อยหวาน  
-ใช้เป็นยา การใช้ยาที่รายงานสำหรับสปีชีส์นี้เป็นสารทำให้ผิวนวล มันถูกใช้ในการรักษาไข้ โรคหวัด หลอดลมอักเสบ อาการไอและไข้หวัดใหญ่
-ใบใช้เป็นยาในคิวบา และมักถูกใช้เป็นยาที่เกี่ยวกับลำไส้และกระเพาะอาหารและสำหรับผลกระทบของหลอดลม
-ใช้ในหมู่เกาะ Lucayan สำหรับปัญหาระบบทางเดินอาหาร (ลดการย่อยอาหารและเพิ่มความอยากอาหาร)
-ใช้ปลูกประดับ นิยมนำมาใช้จัดสวน เนื่องจากพุ่มสวย ดอกมีสีสดใส ออกดอกต่อเนื่อง ตลอดทั้งปี เลี้ยงง่าย แข็งแกร่ง เพิ่มความสวยงามและสีสันให้กับสวนริมชายฝั่งหรือพื้นที่ในเมือง ต้นไม้สามารถปลูกได้ในภาชนะขนาดใหญ่
-ใช้อื่น ๆ เปลือกไม้แก่นสีน้ำตาลมีเนื้อละเอียดแข็งและหนัก ใช้เฉพาะสำหรับช่างไม้ ใบใหญ่ที่หยาบใช้ขัดผิว
ภัยคุกคาม--เนื่องจากสายพันธุ์นี้ถูกคุกคามจากความเสื่อมโทรมของแหล่งที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการแพร่กระจายและการเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ภัยคุกคามจึงไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อประชากรทั้งหมด ถูกประเมินไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'กังวลน้อยที่สุด
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2014)
ระยะออกดอก/ติดผล--ตลอดปี
ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง


แปรงล้างขวดช่อห้อย/Callistemon viminalis

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Callistemon viminalis (Sol. ex Gaertn.) G.Don ex Loudon.(1830)
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms
---Basionym: Metrosideros viminalis Sol. ex Gaertn.(1788)
---Melaleuca viminalis (Sol. ex Gaertn.) Byrnes.(1984)     
ชื่อสามัญ---Weeping Bottle Brush, Red Bottlebrush, Drooping- Bottlebrush, Bottle brush tree, Creek bottlebrush, Red cascade.
ชื่ออื่น--แปรงล้างขวดช่อห้อย (ทั่วไป) ;[AFRIKAANS: Treur botteborsel.];[CZECH: myrtovité.];[FINNISH: Norjalamppuharja];[GERMAN: Trauer-Zylinderputzer];[HINDI: Cheel.];[MANIPURI: Barap lei.];[MALAYSIA: Kayu Putih (Malay).];[PAKISTAN: Bursh.];[PORTUGUESE: Calistemo, Calistemo-vermelho, Escova-de-garrafa-pendente.];[THAI: Praeng lang khuat cho hoi (General).].
ชื่อวงศ์---MYRTACEAE
EPPO Code---CLXVI (Preferred name: Callistemon viminalis.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปออสเตรเลีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศออสเตรเลีย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Callistemon' มาจากภาษากรีก “kali” = สวย และ “stemon” เกสรเพศผู้ ตามลักษณะก้านชูอับเรณู ; ชื่อเฉพาะสายพันธุ์ คำคุณศัพท์ viminalis มาจากภาษาละติน vimen = "กิ่งอ่อนโยน"อ้างอิงถึงกิ่งของสายพันธุ์นี้
Callistemon viminalis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ชมพู่ (Myrtaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Daniel Solander (1733–1782) นักพฤกษศาสตร์และนักธรรมชาติวิทยาชาวสวีเดน จากอดีต Joseph Gaertner (1732- 1791) นักพฤกษศาสตร์และนักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมันและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย George Don (1798–1856) นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต จากอดีต John Claudius Loudon (1783 – 1843) นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต ในปีพ.ศ.2373
มี 2 ชนิดย่อย (Subspecies) ที่ยอมรับ ;-
---Callistemon viminalis subsp. viminalis.(1830). เป็นไม้พุ่มหลายลำต้นหรือต้นไม้เล็ก ๆ สูงถึง 15 เมตรและมักจะออกดอกตลอดปี
---Callistemon viminalis subsp. rhododendron (Craven) Udovicic & R.D.Spencer.(2012).ต้นไม้ต้นเดียวที่เติบโตสูง 35 เมตร เกิดขึ้นเฉพาะในเขต Injune ในรัฐควีนส์แลนด์ ออกดอกในเดือนกันยายน-ตุลาคม
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในประเทศออสเตรเลีย (ควีนส์แลนด์ นิวเซาธ์เวลส์) เติบโตตามลำธารและแม่น้ำมักจะอยู่ในสถานการณ์ป่าเปิดแต่บางครั้งบนลำธารที่ไหลผ่านป่าฝนจากระดับน้ำทะเลใกล้ถึง 900 เมตร.
ลักษณะ ความสูงประมาณ 6-7 เมตร เป็นไม้ที่มีเรือนยอดแคบและกิ่งลู่ลงและพริ้วลมอย่างต้นหลิว เปลือกต้นสีน้ำตาลแตกเป็นร่องลึก กิ่งอ่อนมีขนปกคลุมทั่วไป ใบก็มีลักษณะคล้ายใบหลิว คือมีใบขนาดเล็กเรียวยาวรูปหอกปลายใบแหลม ขนาดของใบกว้าง 0.5 ซม.และยาวประมาณ 4 ซม.ดอกของแปรงล้างขวดเป็นสีแดงสดออกติดกิ่งเป็นช่อยาว ปลายกิ่งจะโน้มย้อยห้อยลง มีก้านเกสรเป็นเส้นยาวประมาณ 2 ซม.ออกเป็นพู่เรียงติดกัน สลับช่องระหว่างใบต่อใบ ช่อดอกหนึ่งยาวประมาณ 4 ซม.ในเกสรของดอกไม้นี้มีรสหวานมาก ผลแคปซูลแห้งแล้วแตก เมล็ดมีขนาดเล็กยาวประมาณ 1-1.5 มม. แปรงล้างขวดเป็นไม้ที่มีดอกหลายสีเช่น ชนิดสีเหลือง สีชมพูและสีขาว แต่ที่นิยมปลูกในเมืองไทยมี 2 ชนิดคือสีแดงและสีชมพู
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---เป็นไม้กลางแจ้งจ้องการแสงแดดจัด ขึ้นง่ายในดินเกือบทุกชนิด มีความทนทานต่อสภาพความแห้งแล้งได้ดี
ประโยชน์ ---ใช้เป็นยา ใช้เป็นยาขับปัสสาวะและบรรเทาปัญหาทางเดินปัสสาวะ สำหรับผู้หญิงใช้เป็นยาชำระล้างทำความสะอาดทางเดินปัสสาวะจากการมีประจำเดือนมากเกินไปหรือตกขาวเยื่อเมือกเป็นระดูขาว ใช้สำหรับปัสสาวะเล็ดและปัสสาวะรดที่นอนในเด็ก ในจาเมกา ยาต้มใช้เป็น ชาร้อนรักษากระเพาะและลำไส้อักเสบ ท้องร่วงและการติดเชื้อที่ผิวหนัง-ใช้ในจาไมกา ในการแพทย์พื้นบ้านเพื่อรักษาโรคติดเชื้อในลำไส้
-ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นต้นไม้ที่มีนิยมปลูกกันมากด้วยที่ทรงต้นอ่อนช้อยสวยงามมาก นิยมปลูกไว้ริมสวนน้ำด้วยทรงต้นที่สวยงามและกิ่งที่โน้มห้อยย้อยลงกับดอกที่มีสีสดใส
ระยะเวลาออกดอก--- เป็นระยะ ๆเกือบตลอดปี
ขยายพันธุ์---ตอนกิ่งและเพาะเมล็ด

รักทะเล/Scaevola taccada

ชื่อวิทยาศาสตร์---Scaevola taccada (Gaertn.) Roxb.(1814)
ชื่อพ้อง---Has 28 Synonyms
---Lobelia frutescens Mill.(1768)
---Scaevola sericea G.Forst.(1791)
---Scaevola frutescens (Mill.) K.Krause.(1912)
---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:384339-1#synonyms
ชื่อสามัญ---Half Flower, Sea Fanflower, Cardwell cabbage, Native Cabbage, Pipe Bush, Sea Lettuce, Beach Naupaka.
ชื่ออื่น--- บงบ๊ง (มาเลย์-ภูเก็ต); บ่งบง (ภาคใต้); รักทะเล (ชุมพร); โหรา (ตราด); [AUSTRALIA: Beach cabbage, Beach scaevola, Carwell cabbage, Pipetree.];[BAHAMAS: Asian scaevola, Hawaiian seagrape, White inkberry.];[CHINESE: Cǎo hǎi tóng.];[CUBA: Sevola];[CZECH: Vějířovka takada.];[FIJI: Veveda.];[FRENCH: Manioc marron bord de Mer, Veloutier vert, Vouloutye.];[FRENCH POLYNESIA: Naupata.];[GERMAN: Fächerstrauch, Naupaka.];[GUAM: Nanasu.];[INDONESIA: Ambong-ambong.];[JAPANESE: Kusato bera.];[MALAYSIA: Akar Pahit, Ambong-ambong, Buas-buas Laut, Embun-embun, Merambong, Pelampong (Malay); Babakoan, Dudulan, Gagabusan (Bahasa Indonesia).];[RUSSIAN: Scevola takkada.];[SAMOA: To`ito`i.];[SPANISH: Zeavola.];[THAI: Hora (Trat); Bong-bong (Malay-Phuket); Bong bong (Peninsular); Rak thale (Chumphon).];[TONGA: Ngahu.];[USA/HAWAII: Naupaka kahakai.].
ชื่อวงศ์---GOODENIACEAE
EPPO Code---SWLTA (Preferred name: Scaevola taccada.)
ถิ่นกำเนิด---อินโด-แปซิฟิก
เขตกระจายพันธุ์---มาดากัสการ์ อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Scaevola' ตั้งตาม Mucius Scaevola วีรบุรุษชาวโรมันช่วงก่อนคริสต์ศักราช ที่ถนัดซ้าย และมาจากภาษากรีก “scaevus” ซึ่งหมายถึง "ถนัดซ้าย" หรือ "อึดอัด" ซึ่งอธิบายลักษณะทางสัณฐานวิทยาของดอกไม้ ( Wagner et al., 1990 )
Scaevola taccada เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์รักทะเล (Goodeniaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Joseph Gaertner (1732- 1791) นักพฤกษศาสตร์และนักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมัน และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย William Roxburgh (1751-1815) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต ในปีพ.ศ.2357

 

ที่อยู่อาศัย เกิดขึ้นตามธรรมชาติบนชายฝั่งเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนตามแนวมหาสมุทรอินเดียในจีนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในหมู่เกาะแปซิฟิกรวมถึงฮาวาย เป็นวัชพืชทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม ในฟลอริดา มีการระบุว่าเป็นสายพันธุ์ที่รุกรานประเภทที่ 1 ซึ่งกำหนดเป็นพืชที่บุกรุกและทำลายชุมชนพืชพื้นเมือง ( Florida Exotic Pest Plant Council, 2011 ) สายพันธุ์นี้ยังถือว่ารุกรานในเบอร์มิวดา บาฮามาส และหมู่เกาะอินเดียตะวันตกบางเกาะ
ลักษณะ รักทะเลเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กชอบขึ้นอยู่ตามหาดทรายชายทะเล แต่จะไม่พบในป่าชายเลน รักทะเลมีความสูงของต้นสูงไม่เกิน 5 เมตร รากแผ่กว้าง แตกต้นใหม่ได้ตามราก เปลือกต้นเรียบ มียางสีขาว กิ่งอ่อนอวบน้ำเป็นสีเขียว กิ่งแก่และลำต้นมีเนื้อไม้ ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับ ดก หนา มันวาว มีใบหนาแน่นตามปลายกิ่ง แผ่นใบรูปไข่กลับ ขนาดของใบกว้างประมาณ 5-10 ซม. ยาวประมาณ 12-15 ซม. เกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย โคนใบสอบเรียว ปลายใบกลม ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ เป็นช่อแบบกระจุก ออกตามซอกใบใกล้ปลายยอด มีดอกน้อย ประมาณ 2-3 ดอก ดอกไม้มีสีขาวมักมีเส้นสีม่วง ยาว 0.8 - 1.2 ซม.และมีกลิ่นหอม มีรูปร่างไม่ปกติ มีกลีบดอกทั้ง 5 กลีบอยู่ด้านหนึ่งของดอก ทำให้ดูเหมือนขาดไปครึ่งหนึ่ง เหมือนเป็นรูปพัด ดอกไม้บานทั้งกลางวันและกลางคืนเป็นเวลาประมาณ 5 วัน ผลสดเป็นสีขาวขุ่น เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน มีจุกและมีสัน ขนาดผลประมาณ 1-2 ซม.ภายในผลมีเมล็ดแข็งประมาณ 1-2 เมล็ด
ข้อกำหนดสภาพแวดล้อม---ต้องการตำแหน่งที่มีแดดจัด (6-8 ชั่วโมง/วัน) หรือร่มเงาบางส่วน เติบโตได้ดีที่สุดในดินปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง pH 5.5-6.0 และมีการระบายน้ำที่ดี ทนความเค็ม ทนลม ทนแล้งได้ดี อัตราการเจริญเติบโต เร็ว  พืชสามารถกำจัดออกได้ยากเมื่อเกิดขึ้นแล้ว (ชิ้นส่วนของลำต้นใต้ดินที่แตกออกสามารถเจริญเติบโตใหม่ได้ง่าย)  
การรดน้ำ---รดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ปริมาณน้ำเล็กน้อยแต่พวกเขาไม่ใช่พืช xeriscape ที่แท้จริง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรดน้ำเป็นครั้งคราว พืชที่ปลูกในดินชื้นแฉะอาจเกิดโรคเชื้อราได้ หรืออาจมีอาการรากเน่า รอจนหน้าดินแห้งให้รดน้ำ พืชที่ร่วงโรยจะฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากการให้น้ำ ควรลดการให้น้ำลงบ้างในฤดูหนาว ช่วงพักตัว
การตัดแต่งกิ่ง---ตัดแต่งกิ่งในช่วง ฤดูใบไม้ร่วง / ฤดูหนาว เพื่อให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและกระตุ้นให้พืชเติบโตในลักษณะการแตกแขนง แทนที่จะพัฒนาลำต้นที่ยาวและผอม
การใส่ปุ๋ย---ใส่ปุ๋ยสูตรสมดุลเพียงเล็กน้อย เดือนละ 1 ครั้งในช่วงฤดูปลูก
ศัตรูพืช/โรคพืช---มักไม่ได้รับผลกระทบจากศัตรูพืช หรือโรคร้ายแรง แต่พืชที่เครียดจากความแห้งแล้งเป็นเวลานานอาจดึงดูดเพลี้ยไฟ และเพลี้ยแป้งอาจสร้างความรำคาญเป็นครั้งคราว หลีกเลี่ยงการฉีดพ่นยาฆ่าแมลง เนื่องจากพืชเหล่านี้เป็นแหล่งน้ำหวานที่สำคัญสำหรับผีเสื้อ/ Mycosphaerella scaevolaeเป็นเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคใบจุด ติดเชื้อผ่านช่องเปิดตามธรรมชาติในใบ (ปากใบ) การติดเชื้อส่งผลให้มีจุดสีเหลือง (chlorotic) ขนาดใหญ่บนใบซึ่งพัฒนาเป็นสีน้ำตาลและเป็นเนื้อตายตามอายุ (Daly and Hennessy, 2007).

 

ใช้ประโยชน์--- พืชเป็นยาแผนโบราณที่ใช้กันอย่างแพร่หลายนอกจากนี้ยังให้อาหารและวัสดุสำหรับใช้ในท้องถิ่น มันถูกรวบรวมมาจากป่าโดยทั่วไปมักจะได้รับการปกป้องเมื่อมีการถางที่ดินและบางครั้งก็ปลูกในแผนการควบคุมการกัดเซาะในฟลอริดา
-ใช้กินได้ ผลไม้ กินเป็นครั้งคราว ใบอ่อนปรุงเป็น potherb
-ใช้เป็นยา มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในการแพทย์แผนโบราณตลอดช่วงพื้นเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการรักษาสภาพผิว ผลสุกใช้ในการแพทย์พื้นบ้านเพื่อล้างตาและในการรักษาโรคติดเชื้อที่ตา ยาต้มใช้ในการรักษาโรคเหน็บชาและโรคซิฟิลิสในบางครั้งเช่นเดียวกับโรคบิด รากถือว่ารักษาโรคมะเร็ง  ถูกใช้ภายนอกเพื่อรักษาผลกระทบกับผิว ใช้เปลือกต้นสำหรับฝี อาการปวดประจำเดือนและกระดูกร้าว ลำต้นใช้สำหรับรักษาอาการปวดท้อง ใช้ในยาแผนโบราณโพลินีเซียและเอเชียในฐานะยาลดไข้ ต้านการอักเสบ, สารกันเลือดแข็งตัวและเป็นยาคลายกล้ามเนื้อ สารสกัดได้แสดงกิจกรรมต่อต้านไวรัส สรรพคุณเด่นในทางเป็นยาที่ไม่อาจไม่กล่าวถึง คือแก้อาการที่เกิดจากการกินอาหารทะเลเป็นพิษโดยนำรากของรักทะเลต้มน้ำดื่มแก้อาการ
-ใช้ปลูกประดับ รักทะเลออกดอกและผลตลอดปี ทำให้นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกเป็นไม้พุ่มคลุมดิน บังลม หรือปลูกจำนวนมาก และสามารถปลูกเป็นไม้กระถาง
-วนเกษตร ในบางประเทศที่รักทะเลกระจายพันธุ์และเติบโตอย่างรวดเร็วถือว่ารักทะเลเป็นวัชพืชรุกราน คุณสมบัตินี้จึงปลูกเป็นพืชเบิกนำในพื้นที่ใหม่ที่เป็นดินทรายได้ดี รักทะเลเป็นพืชชายฝั่งที่ทนต่อสภาวะเค็มได้ดีเยี่ยม สามารถยึดเกาะดินอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อช่วยควบคุมการกัดเซาะชายฝั่ง
-อื่น ๆแก่นเล็ก ๆ สีขาวหิมะขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 มม. ขึ้นไปบางครั้งก็ถูกตัดเป็นเกล็ดเหมือนกระดาษบาง ๆ แล้วนำไปทำเป็นดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นผีเสื้อและวัตถุอื่น ๆ
-ไม้จากฐานของลำต้นโตเต็มที่ใช้เป็นตะปู สลัก เดือย ในการต่อเรือโบราณ
-เมล็ด ใช้สำหรับทำพวงมาลัย (มาลัยแบบดั้งเดิม) ในบางเกาะของมหาสมุทรแปซิฟิก
ระยะเวลาออกดอก---ตลอดปี
ขยายพันธุ์ ---เมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ เมล็ดใช้ระยะเวลาในการงอก มักเกิดขึ้นภายในหนึ่งเดือน แต่โปรดอดใจรอ เพราะอาจใช้เวลานานถึง 60 วัน
สถานที่ถ่ายภาพ---*การพูดคุยส่วนตัว ต้นรักทะเลพวกนี้ ถ่ายมาจาก สวนป่าในกรุง ถนน สุขาภิบาล2 อ่อนนุช บริเวณด้านหน้าติดถนน ปลูกเป็นแถวยาวปนกับต้นปอทะเลและต้นโพทะเล

โมกบ้าน/Wrightia religiosa.

[RITE-ee-a] [re-lij-ee-OH-suh]


ชื่อวิทยาศาสตร์---Wrightia religiosa (Teijsm. & Binn.) Benth. ex Kurz.(1877)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all https://powo.science.kew.org/taxon/82877-1#synonyms
---Echites religiosus Teijsm. & Binn.(1864)
ชื่อสามัญ---Sacred Buddhist, Wondrous Wrightia, Wild Water Plum, Water Jasmine, Lady's earrings.
ชื่ออื่น---หลักป่า (ระยอง), โมกซ้อน โมกลา โมกบ้าน (ภาคกลาง), โมก โมกบ้าน โมกดอกหอม โมกกอ (ไทย), ปิดจงวา (เขมร-สุรินทร์);[CHINESE: Wu guan dao diao bi, Sui mui, Sui-mei (Cantonese).];[SANSKRIT: Kutaja.];[SINGAPORE; Shui Mei.];[SINHALESE: Idda mal.];[THAI: Mok, Mok ban, Pid chong wa, Lak pa.];[VIETNAM: Mai chiếu thủy, Mai chấn thủy, Mai truc thủy, Lòng mức miên.].
ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE
EPPO Code---WRIRE (Preferred name: Wrightia religiosa.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จีนตอนใต้ พม่า ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม มาเลเซีย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Wrightia' ตั้งชื่อตาม Dr. William Wright (1740 - 1827) ซึ่งเป็นแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต ; ชื่อเฉพาะสายพันธุ์ 'religiosa' = เกี่ยว กับศาสนา
Wrightia religiosa เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ตีนเป็ด (Apocynaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย (Johannes Elias Teijsmann (1808–1882) นักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์ และ Simon Binnendijk (1821–1883) นักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์.) ได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย George Bentham (1800-1884) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ จากอดีต Wilhelm Sulpiz Kurz (1834-1878) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันในปี พ.ศ.2413

 

ที่อยู่อาศัย พบใน จีน (กวางตุ้ง ), อินโดจีน, มาเลเซียรวมทั้งฟิลิปปินส์ มักพบขึ้นตามป่าละเมาะที่ชื้น และตามป่าดงดิบ
ลักษณะ โมกเป็นไม้พุ่มขนาดกลางไม่ผลัดใบและอายุยืนนานสูงประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นทรงกระบอก ผิวเรียบ เปลือกสีน้ำตาลดำ มีจุดเล็กๆ สีขาวประทั่วต้นกิ่งก้านบาง แตกแขนงย่อย มักมีกิ่งก้านสั้นด้านข้างจำนวนมาก มีขนสั้นเล็กน้อย ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว ก้านใบ 2-4 มม.ใบรูปไข่หรือวงรีแคบขนาด 2.5-7.5 X 1.5-3 ซม. มีขนตามเส้นกลางใบ เส้นใบด้านข้าง 5-7 คู่ เนื้อใบบางสีเขียว ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ช่อหนึ่งมีประมาณ 4-8 ดอก ดอกมีกลิ่นหอมเย็น (ในตอนค่ำจะมีกลิ่นหอมแรงกว่าตอนกลางวัน) มีทั้งดอกชั้นเดียวที่เรียกว่า “โมกลา” และชนิดที่มีกลีบดอกเรียงซ้อนกันเรียกว่า “โมกซ้อน” ดอกย่อยเป็นสีขาว กลีบดอกมี 5-16 กลีบ รูปไข่ โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ กลางดอกมีเกสรติดกับหลอดท่อดอก ก้านชูดอกยาวเป็นเส้นเล็ก เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 ซม ผลเป็นฝักคู่ โคนฝักเชื่อมติดกัน ปลายฝักแหลม ผิวฝักเรียบ ขนาดของฝักยาวประมาณ 5-6.5 นิ้ว เมื่อฝักแก่แล้วจะแตกออกเป็น 2 ซีก ภายในฝักมีเมล็ดจำนวนมาก ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปกระสวย ที่ปลายเมล็ดมีขนปุยสีขาว ช่วยทำให้ปลิวลมไปได้ไกล โดยชนิดดอกลาจะติดฝักได้ดีกว่าชนิดดอกซ้อน
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---แสงแดดเต็มถึงร่มเงาบางส่วน (แสงแดดวันละสี่ถึงหกชั่วโมง) มีความไวต่อความเย็น อุณหภูมิต่ำกว่า 18°C ต้นไม้อาจผลัดใบในฤดูหนาว เติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ยกเว้นดินทราย ชอบดินที่เป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง  pH 5.6-7.5 อัตราการเติบโต รวดเร็ว
การรดน้ำ---ชอบน้ำมากและรดน้ำทันทีเมื่อหน้าดินแห้ง
การตัดแต่งกิ่ง---ในต้นฤดูใบไม้ผลิ ตัดปลายยอดอย่างหนักทุก ๆ สองสามปีเพื่อรักษารูปทรงที่ดี
การใส่ปุ๋ย---ชอบปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง ใส่ปีละครั้ง สามารถใช้ปุ๋ยเม็ดแบบละลายช้าได้
ศัตรูพืช/โรคพืช---อาจมีตะกรัน เพลี้ยแป้ง หรือเพลี้ยรบกวนในบางครั้ง แต่ควบคุมได้ง่ายด้วยยากำจัดศัตรูพืช /ใบเหลืองอาจเป็นปัญหาทั่วไปที่เกิดจากการให้น้ำมากเกินไปหรือให้ปุ๋ยน้อยเกินไป
รู้จักอ้นตราย---ไม่มีข้อมูลยืนยันความเป็นพิษของพืชชนิดนี้


ใช้ประโยชน์---พืชนี้ได้รับการปลูกฝังในหลายส่วนของโลกเพื่อใช้เป็นยา และยังมักปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นไม้ประดับ
-ใช้กิน ("สามใบเผ็ด เจ็ดใบหวาน"เรื่อง ของคนสมัยก่อนหลอกเด็กให้เคี้ยวใบโมกให้ท่านดูเป็นเรื่องรื่นเริงบันเทิงใจ แสดงความผูกเอาไว้ ใครที่เคยโดนหลอกให้เคี้ยวใบโมกมาแล้วคงจำรสชาติใบโมกได้ดี ว่ากันว่ารสชาติใบโมกนี่ ใครโดนหลอกให้เคี้ยว ไม่ว่าสามใบ เจ็ดใบจะน้ำตาไหลพรากนองอาบหน้า เพราะรสเผ็ดและรสขื่นร้อนลึกๆในคอ ขากรรไกรแข็งขยับปากและกลืนน้ำลายไม่ลงเลยทีเดียวเชียว) จาก---หนังสือ ดอกไม้ และประวัติไม้ดอกเมืองไทย ชุดธรรมชาติศึกษา โดย ท่านอาจารย์วิชัย อภัยสุวรรณ 2532 จะเห็นว่าข้อความที่ท่านอาจารย์เล่าแสดงให้เห็นถึงความผูกพันระหว่างผู้คนกับต้นโมกมานานแล้ว
-ใช้เป็นยา รากใช้เข้าส่วนผสมยารักษาโรคผิวหนัง ใบโมกใช้เป็นสมุนไพรขับน้ำเหลือง เปลือกช่วยรักษาโรคไต ดอกเป็นยาระบาย
-ใช้ปลูกประดับ มีหลายชนิดทั้งอย่างดอกลาดอกซ้อน  โมกลายใบเขียวด่างขาว, โมกด่างใบด่างเหลือง สำหรับโมกด่างและโมกลายนำมาเสียบยอดโดยใช้โมกป่าเป็นตอ ส่วนตัดช่อก็คือเลือกตัดแต่งเฉพาะปลายกิ่งให้เป็นช่อกำหนดฟอร์มไว้ และกำหนดความสูงของต้นได้ว่าจะใช้กี่เมตร นิยมนำมาปลูกประดับเป็นไม้จัดสวนนิรันดร์...ใช้คำนี้ได้ยังไง... ก็เพราะคนไทยนิยมปลูกโมกเป็นไม้ประดับตามบ้านมานานมากแล้ว เพราะสามารถนำมาตัดแต่งเป็นพุ่ม เป็นไม้แถว หรือไม้ดัดก็ได้อย่างสวย เคยเห็นโมกที่เป็นไม้แคระ บอนไซ (Bonzai) สวยมากเพราะมีดอกเต็มต้นให้ดูด้วย ไม้บอนไซที่เป็นโมกยังมีราคาแพงอีกด้วย แล้วก็เลี้ยงง่ายภายในระยะเวลาอันสั้น มากกว่าไม้บอนไซอื่น
พิธีกรรม/ความเชื่อ---คนไทยโบราณเชื่อว่าเพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อยู่อาศัย ควรปลูกต้นโมกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ   ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ บ้านใดปลูกต้นโมกไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความสุขความ บริสุทธิ์เพราะโมกหรือโมกข์หมายถึงผู้ที่หลุดพ้นด้วยทุกข์ทั้งปวง  นอกจากนี้ยังช่วยคุ้มครองปกป้องภัยอันตรายเพราะต้นโมกบางคนเรียกว่าต้น พุทธรักษาดังนั้นเชื่อว่าต้นโมกสามารถคุ้มกันรักษาความปลอดภัยทั้งปวงจากภาย นอกได้เช่นกัน และยังเชื่ออีกว่าส่วนของเปลือกต้นโมกสามารถใช้ป้องกันอิทธิฤทธิ์ของพิษ สัตว์ต่างๆ ได้
ระยะเวลาออกดอก---ตลอดปี
ขยายพันธุ์--- เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ การขยายพันธุ์ใช้วิธีเพาะเมล็ดจะเป็นต้นไม้ที่มีอายุยืนนาน แต่ถ้าเป็นต้นที่ได้จากการตอน จะมีอายุไม่ถึง 10 ปีก็จะลาจากเจ้าของไปก่อน


มะตูมแขก/Schinus terebinthifolius

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Schinus terebinthifolia Raddi.(1820)
ชื่อพ้อง---Has 14 Synonyms.
---Rhus heptaphylla Hiern.(1896)
---Sarcotheca bahiensis Turcz.(1858)
---Schinus mellisii Engl.(1881)
---Schinus terebinthifolius var.damaziana Beauverd.(1905)
---Schinus terebinthifolia var. glazioviana Engl.(1876)
---More.See all https://www.gbif.org/species/3660419
ชื่อสามัญ---Brazillian pepper tree, Broadleaf pepper tree, Christmasberry-tree, Pepper tree, Florida holly
ชื่ออื่น---มะตูมซาอุ, สะเดามาเลย์, สะเดาบาเรนห์ (ทั่วไป) ;[AFRIKAANS: Brasiliaanse peperboom.];[ARGENTINA: Chichita.];[BAHAMAS: Christmas-berry tree.];[BRAZIL: Abacaíba, Aguaraíba, Araguaraíba, Aroeira.];[CUBA: Copal, Falso copal, Racimos de rubí.];[DUTCH: Roze peper.];[FIJI: Warui.];[FRENCH: Baie rose, Encent, Faux poivrier, Poivre marron, Poivre rose, Poivrier d'Amérique, Poivrier du Bresil.];[GERMAN: Brasilianischer Pfefferbaum.];[ITALIAN: Albero del pepe brasiliano.];[PARAGUAY: Molle-i.];[PORTUGUESE: Aroeira, Aroeira-branca, Aroeira-da-praia, Aroeira-do-sertão, Aroeira-mansa, Aroeira-pimenteira, Aroeira-precoce, Aroeira-vermelha.];[RUSSIAN: Brazil'skiy perets, Shinus fistashkolistnyy.];[SOUTH AFRICA: Brasiliaanse peperboom.];[SPANISH: Bálsamo de misiones, Cerezo de Navidad, Copal, Falsa pimienta, Molle de curtir, Pimienta de Brasil, Turbinto.];[SWEDISH: Brasilianskt pepparträd.];[THAI: Ma toom sa -u, Sadao ma lay, Sadao ba ren (General).];[TRADE NAME: Brazilian pepper tree.];[USA: Bahamian holly, Christmasberry tree, Florida holly.];[USA/HAWAII: Naniohilo; Wilelaiki.].
ชื่อวงศ์---ANACARDIACEAE
EPPO Code---SCITE (Preferred name: Schinus terebinthifolia.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---อเมริกากลาง อเมริกาใต้-อาร์เจนตินา ปารากวัย อุรุกวัย และ บราซิล ตะวันออกกลาง เอเซีย.
นิรุกติศาสตร์--ชื่อสกุล 'Schinus' มาจากชื่อกรีก 'schinos' สำหรับต้นไม้สีเหลืองอ่อน ซึ่งสกุลนี้มีลักษณะคล้ายกับที่ต้นไม้คายน้ำสีเหลืองอ่อน ; ชื่อเฉพาะสายพันธุ์ 'terebinthifolia' = น้ำมันสนและใบไม้ อ้างอิงสำหรับใบไม้ที่มีกลิ่นหอม
Schinus terebinthifolia เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์มะม่วงหิมพานต์หรือวงศ์มะม่วง (Anacardiaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Giuseppe Raddi-(1770–1829) นักพฤกษศาสตร์ชาวอิตาลี ในปี พ.ศ.2363
มีสองสายพันธุ์ย่อยคือ--
---Schinus terebinthifolia var. acutifolia Engl.(1876) ผลสีชมพู
---Schinus terebinthifolia var. terebinthifolia ผลสีแดง

 

ที่อยู่อาศัย มะตูมแขกรู้จักกันอีกชื่อว่า มะตูมซาอุ มีถิ่นกำเนิด ในอเมริกาใต้เขตร้อน (อาร์เจนตินา บราซิลและอุรุกวัย) แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ถือเป็นวัชพืชที่ร้ายแรงในแอฟริกาใต้และสหรัฐอเมริกา (เช่นแคลิฟอร์เนียฟลอริดาและฮาวาย)และเป็นที่รู้จักแพร่หลายในสเปน โปรตุเกส ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และแปซิฟิก แคริบเบียนและหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย พบได้ตามทางน้ำและริมถนนในเขตเมืองเขตป่าเปิดโล่งพื้นที่ที่ถูกรบกวนพื้นที่ของเสียและพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่ง พบได้ในระดับความสูง10-1,500 เมตร ในประเทศไทยนำเข้ามาปลูกในไทยสมัยที่แรงงานไทยไปทำงานอยู่แถวตะวันออกกลางและได้นำต้นนี้กลับมาปลูกที่บ้านเจริญงอกงามดี
นี่คือสายพันธุ์ที่รุกรานอย่างมากซึ่งพิสูจน์แล้วว่าเป็นวัชพืชที่ร้ายแรงในแอฟริกาใต้ฟลอริดาและฮาวาย มันยังเป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่เกาะแคริบเบียนและมหาสมุทรอินเดีย อัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วความอดทนต่อสิ่งแวดล้อมกว้าง การผลิตเมล็ดที่อุดมสมบูรณ์อัตราการงอกสูงความอดทนของต้นกล้าที่งอกใต้ร่มเงาความดึงดูดของตัวแทนกระจายทางชีวภาพ allelopathy ที่เป็นไปได้และความสามารถในการสร้างพุ่มหนาทึบ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นฐานข้อมูล Global Invasive Species และได้รับการคัดเลือกให้อยู่ใน 100 อันดับแรกของ alien species ที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วที่สุดในโลก และไม่แนะนำให้ปลูกอีกต่อไปเนื่องจากมีลักษณะที่รุกรานอย่างรุนแรง ในบางพื้นที่ เช่น รัฐฟลอริดา การครอบครองและปลูกพืชชนิดนี้ถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
ลักษณะ มะตูมแขกเป็นไม้พุ่มแผ่กิ่งก้านสาขา หรือต้นไม้ขนาดเล็ก มีระบบรากตื้น กิ่งก้านสามารถตั้งตรง เอนเอียง หรือเกือบเหมือนเถาวัลย์ ทั้งหมดอยู่บนต้นเดียวกัน สูงได้ถึง 7-10 เมตร มีลำต้นขนาด 10-30 ซม.เปลือกต้นสีเทาเรียบหรือเป็นร่องตามแนวยาวแคบ ๆ กิ่งอ่อนสีน้ำตาลอ่อนมีขนละเอียด กิ่งอ่อนกว่าถูกปกคลุมด้วยจุดสีขาวขนาดเล็ก มีกิ่งก้านมาก  ก้านใบยาว 20-30 มม บวมที่โคนที่เชื่อมต่อกับก้าน ใบเป็นประกอบแบบขนนกปลายคี่ ยาว 7.5–15 ซม. ใบย่อยรูปไข่หรือรูปขอบขนาน ยาว 2.5–5 ซม.และกว้าง 1.3–2 ซม.ขอบใบเป็นหยักคล้ายหนามใบพื้นผิวด้านบนเป็นสีเขียววาว ด้านล่างสีเขียวหม่น ใบอ่อนสีแดง ใบเมื่อนำมาถูขยี้มีกลิ่นหอมแรงคล้ายใบมะกรูด ดอกแยกเพศเป็นต้นเพศผู้และต้นเพศเมีย อยู่คนละต้น ดอกออกที่ซอกใบและปลายกิ่งเป็นช่อยาว 2.5-12.5 ซม.สีขาว ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียลักษณะคล้ายกัน ผลกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-5 มม.มีเมล็ดเดี่ยวรูปไข่สีน้ำตาลอ่อนขนาดน้อยกว่า 3 มม. ผลเมื่อยังอ่อนมีสีเขียวและเปลี่ยนเป็นสีแดงสดเมื่อแก่ผลเมื่อแก่จัดเปลือกจะแห้งติดเมล็ดคล้ายพริกไทย มีรสเผ็ดร้อน ทุกส่วนของต้นไม้ชนิดนี้มีน้ำมันและน้ำมันหอมระเหย
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---เติบโตได้ดีในดินทุกชนิดที่มีค่า pH 6.1-7.8 แสงแดดเต็มที่ แต่ทนอยู่ในที่ร่มได้เป็นเวลานาน
การรดน้ำ---ให้น้ำเมื่อหน้าดินแห้ง ให้น้ำปานกลางตลอดทั้งปี เป็นไม้ที่ปลูกง่ายและทนแล้งได้ดี
การตัดแต่งกิ่ง---ไม่ต้องการการตัดแต่งกิ่ง
การใส่ปุ๋ย---ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่มีปัญหาแมลงหรือโรคร้ายแรง
รู้จักอ้นตราย---พืชก่อให้เกิดภูมิแพ้สูง อาจทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงได้ ตาบวม ผื่นคัน และปัญหาระบบทางเดินหายใจ

 

ใช้ประโยชน์---ต้นไม้ถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นยาเครื่องปรุงและแหล่งที่มาของวัสดุ
-ใช้กินได้ใบและยอดอ่อนกินเป็นผักสด ผลไม้ได้รับความนิยมอย่างสูงในฐานะเครื่องปรุงรสในยุโรปซึ่งใช้แทนพริกไทยดำ และเป็นเครื่องเทศที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอเมริกาใต้และอเมริกากลาง ในตุรกีและแอฟริกาใต้ ใช้กับอาหารคาวปรุงกับผักและปลา ใช้กับอาหารหวาน เช่น ใช้ในการอบบิสกิตและในขนม ใช้สด แต่ส่วนใหญ่จะใช้หลังจากการอบแห้งและดองในน้ำเกลือ ผลไม้หลังการอบแห้งจะถูกทำให้เป็นผงและทำเป็นเครื่องดื่มทั่วทั้งอเมริกาใต้ ชาวพื้นเมืองของ Andes ทำเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ chichi de molle จากผลไม้สุกสด
-ใช้เป็นยา แทบทุกส่วนของต้นไม้ ใบไม้ เปลือก ผลไม้ เมล็ด เรซิ่นและโอเลโอซิน (หรือยาหม่อง) ถูกใช้เป็นยาจากชนพื้นเมืองทั่วเขตร้อน ใช้เป็นยาสมานแผล ต้านเชื้อแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ กระตุ้นระบบย่อยอาหาร บำรุงกำลัง ต้านไวรัสและรักษาแผล ในเปรูมีการใช้ SAP เป็นยาระบายอ่อน ๆ และยาขับปัสสาวะและทุกส่วนของพืชจะถูกใช้ภายนอกสำหรับการแตกหักและเป็นยาฆ่าเชื้อเฉพาะที่ โอเลอรีนจะถูกใช้ภายนอกเป็นยารักษาแผลเพื่อหยุดเลือดและสำหรับอาการปวดฟัน ใช้ภายในสำหรับโรคไขข้อและเป็นยาถ่าย ในแอฟริกา ใต้มีการใช้ใบทำเป็นชาเพื่อรักษาโรคหวัด ใช้ยาต้มใบเพื่อรักษาความดันโลหิตสูงภาวะซึมเศร้าและการเต้นของหัวใจผิดปกติ
-วนเกษตร ใช้เพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ที่เสื่อมโทรม ป้องกันการกัดเซาะเพื่อรักษาเสถียรภาพของเนินทรายชายฝั่ง บางครั้งก็ปลูกเป็นรั้ว
-ใช้ปลูกประดับ เนื่องจากผลมีสีสวยสดและออกได้ทั้งปี จึงนิยมนำไปปลูกเป็นไม้ประดับ ใช้เป็นพืชสวนในหลายประเทศ มันถูกปลูกเป็นทั้งต้นไม้ประดับและต้นไม้ให้ร่มเงา
-ใช้อื่น ๆไม้เป็นสีเหลืองเข้มเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อสัมผัส มีความหนาแน่นสูงแข็งและง่ายต่อการใช้งานด้วยคุณสมบัติเชิงกลที่ยอดเยี่ยมและมีความทนทานตามธรรมชาติ เหมาะสำหรับการทำเฟอร์นิเจอร์ชั้นดีซึ่งมีมูลค่าสูงในบราซิล -เปลือกเป็นแหล่งของแทนนิน -ผลเบอร์รี่สีแดงสดและใบใช้ในการทำพวงมาลัยคริสต์มาส  เป็นแหล่งน้ำหวานและละอองเรณูที่สำคัญสำหรับน้ำผึ้งในสหรัฐอเมริกาและฮาวาย ผลิตอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับแพะ น้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากเมล็ดใช้ไล่แมลงวัน
ระยะเวลาออกดอก--- ตลอดปี
ขยายพันธุ์ --- เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ
สถานที่ถ่ายภาพ--- โครงการป่าในกรุง ของ ปตท. อ่อนนุช เดือนตุลาคม 2559

มะเดื่อหอม

 

(ชื่อเรียกทางการค้า)

       ไม่กล้าเอ่ยชื่อวิทยาศาสตร์และชื่อวงศ์ มีท่านผู้รู้ว่า ไม่ได้อยู่ในวงศ์ไทร MORACEAE มันไม่ใช่มะเดื่อ แต่อยู่ในวงศ์ตำแย URTICACEAE  ซึ่งดูตามลักษณะใบและดอกก็ไม่ใช่ต้นไม้วงศ์ไทรเพราะต้นมะเดื่อหอมต้นจริงดอกใบไม่เหมือนต้นนี้เลย แต่มีรูปของมะเดื่อหอมที่เป็นชื่อทางการค้าอยู่ ก็เลยนำมาลง เขาว่าดอกหอมแต่ก็หอมใครหอมมันชอบก็ว่าหอมไม่ชอบก็ว่าเหม็นพิสูจน์ด้วยตัวเอง
 ถ้าค้นหาในกูเกิ้ล คำว่า "มะเดื่อหอม ชื่อวิทยาศาสตร์"จะเจอแต่ว่า hirta ficus ซึ่งไม่ใช่ต้นนี้ สำหรับต้นนี้ไม่เจอเลย น่าจะเป็นไม้ที่ชอบแดดจัด น้ำจัด ดูได้จากลักษณะภายนอกโดยรวม คือใบใหญ่ หนาค่อนข้างแข็ง สีเขียวเข้มเป็นมัน ซึ่งเป็นลักษณะของใบที่ลดการคายน้ำ ดอกออกในซอกใบตามกิ่ง ออกรวมเป็นกระจุก ชอบดินที่มีอินทรีย์วัตถุ โตเร็ว ต้นนี้ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่งมา

ลีลาวดีลูกศร/Plumeria pudica

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Plumeria pudica Jacq.(1760)
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.See all https://www.gbif.org/species/3614691
---Plumeria caracasana J.R.Johnst.(1908)           
---Plumeria cochleata S.F.Blake.(1918)
ชื่อสามัญ---Bridal Bouquet, Fiddle leaf Plumeria, White Frangipani, Wild Plumeria, Bonairian oleander.
ชื่ออื่น---ลีลาวดีใบลูกศร, ลั่นทมหัวลูกศร, ลั่นทมใบหอก, [BENGALI: Naag champa]:[PORTUGUES: Jasmim-do-caribe.];[TAMIL: Naavilla arali].
ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE
EPPO Code---PLIPU (Preferred name: Plumeria pudica.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---กระจายพันธุ์ในเขตร้อน
Plumeria pudica เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ตีนเป็ด (Apocynaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Nikolaus Joseph von Jacquin (1727-1817) นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาการแพทย์, เคมีและพฤกษศาสตร์ ชาวเนเธอร์แลนด์ ในปีพ.ศ.2303
ที่อยู่อาศัย พืชพื้นเมืองปานามา ,โคลอมเบียและเวเนซุเอลา ที่ระดับความสูง 150-250 เมตร
ลักษณะ *ไม้พุ่ม สูง 2-2.5 เมตร เรือนยอดรูปไข่ แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้าง ผิวสีเขียวอมเทา บริเวณแผลที่ก้านใบหลุดร่วงจะมีปุ่มนูน ทุกส่วนของลำต้นมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปช้อน กว้างประมาณ 8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 23 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม โคนสอบเรียวยาว ขอบเรียบ ใบหนา เป็นมัน แผ่นใบด้านบนสีเขียว ใต้ใบสีเขียวอ่อน เส้นกลางใบนูนเด่นชัด ดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุก ออกตามซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกสีขาว มี 8-16 ดอก ก้านดอกยาว 1-1.5 เซนติเมตร กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปรี  ผลเป็นฝักคู่ รูปรียาว ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่สีแดงถึงสีดำและแตกเป็นสองซีก ภายในฝักมีเมล็ด 25-100 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบน มีปีกติดที่ด้านใดด้านหนึ่งของเมล็ด* (ข้อมูลพันธุ์ไม้ระบบฐานข้อมูลเกษตรดิจิทัล)
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ไม้ต้นนี้ชอบแดดจัดกลางแจ้ง น้ำพอประมาณ ทนทานไม่ต้องการ การเอาใจใส่ดูแลมากมาย อยากให้โตทันใจ ขุดล้อมต้นใหญ่ขนาดที่ต้องการมาปลูก จะติดง่าย ถ้าล้อมมาปลูกใหม่ๆไม่ต้องให้น้ำเยอะ ปักหลักจับยึดให้มั่น อย่าให้ต้นไหวด้วยแรงลม วันนึงรดน้ำให้ชุ่มพอ**ส่วนตัว-บางทีการปลูกต้นไม้สำหรับมือใหม่หัดปลูก ก็มีปัญหานะ ที่ใครว่าง่ายๆ เจอแล้วก็อาจว่าไม่ง่าย น้ำพอประมาณ นี่ก็ไม่รู้ว่าพอคือพอขนาดไหนและขนาดไหนที่เรียกว่าน้ำเยอะ ขนาดไหนที่เรียกว่าน้ำน้อย เอาเป็นว่าจำไว้อย่างหนึ่งก็พอคือปลูกไปแล้วอย่ากังวลคอยสังเกตุห่างๆ กังวลแล้วพลังงานความเครียดถ่ายสู่ต้นไม้ ต้นไม้ก็จะเครียดไปด้วยจ้า**
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกประดับ **ส่วนตัว-ชอบดอกไม้สีขาวก็ไม่ควรลืมต้นนี้ เลี้ยงก็ง่าย ตายก็ยาก ดอกดกสีขาวสะอาดตา พรรณไม้ดอกสีขาวส่วนใหญ่จะหอมเพื่อมีกลิ่นไว้ล่อแมลงแต่ต้นนี้ไม่มีความหอมเอาซะเลย ลีลาวดีลูกศร หรือลีลาวดีใบลูกศร หรือลั่นทมใบศร แล้วแต่จะเรียก แต่ชื่อทั้งหมดบ่งชี้ว่า ต้องมีอะไรสักอย่างหรือหลายอย่างที่เหมือน ลั่นทม ซึ่งก็ได้ชื่อมาตามลักษณะใบซึ่งเป็นลักษณะเด่น คือโคนใบสอบแคบ ปลายใบคล้ายรูปลูกศร ดอกสีขาวสะอาดรูปลักษณะดอกก็ไปคล้ายดอกลั่นทม แถมอยู่ในวงศ์เดียวกันอีกก็เป็นอันว่าได้ชื่อไปตามนั้น **
ภัยคุกคาม--เนื่องจากสายพันธุ์นี้ถูกคุกคามจากความเสื่อมโทรมของแหล่งที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการแพร่กระจายและการเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ภัยคุกคามจึงไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อประชากรทั้งหมด ถูกประเมินไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'กังวลน้อยที่สุด'
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2019)
ระยะเวลาออกดอก --- ตลอดปี
ขยายพันธุ์--- เมล็ด ตอนกิ่ง ติดตา เสียบยอด


หูกระจงแดง/Terminalia benzoe

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Terminalia sp.
ชื่อพ้อง---No synonyms are record for this name.
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---หูกระจงแดง, ป้องภัย(ชื่อการค้า)
ชื่อวงศ์---COMBERTACEAE
EPPO Code---TEMSS (Preferred name: Terminalia sp.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---อเมริกาใต้
**ส่วนตัว-หูกระจงแดง หรือแผ่บารมีสีแดง ในรูปที่เห็นถ่ายมาจากร้านต้นไม้ซอยพระเงิน ปลูกอยู่ในกระถางขนาดใหญ่ ไม่ค่อยพบบ่อยนัก ส่วนใหญ่ที่เห็น จะเป็นต้นเล็กอยู่ในถุงเพาะสีดำ ซึ่งความงามยังไม่ปรากฏ
ลักษณะ หูกระจงแดง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงได้ประมาณ 5-10เมตร ลำต้นตั้งตรง เรือนยอดรูปไข่ หนาทึบ เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่อง แตกกิ่งในแนวราบเป็นชั้นๆ ลักษณะใบเรียวยาวแผ่นใบสีแดงอมม่วงปนสีเขียวคล้ำเล็กน้อย เส้นกลางใบสีแดงเข้ม ใบไม่ร่วงง่ายเหมือนหูกระจง ทำให้ไม่ต้องห่วงว่าจะต้องมานั่งกวาดใบไม้ทุกวัน ระบบรากก็ไม่ทำลายกำแพงเหมือนหูกระจง ปลูกไว้กลางแจ้งแดดจัด เลี้ยงจากต้นเล็กจะได้ทรงต้นสวยกว่าเพราะได้แดดทั่วถึงการแตกกิ่งเวียนจะเป็นระเบียบ จะแผ่บารมีได้ทุกทิศทาง นำมาใช้จัดสวนได้สีสันระดับสายตา ข้อเสียมีอยู่อย่างเดียว...แพง...**
ระยะเวลาออกดอก ---สิงหาคม-พฤศจิกายน
ขยายพันธุ์---- เมล็ด ตอนกิ่ง


ทรงบาดาล/Senna surattensis

[SEN-nuh] [sur-rat-EN-sis]

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Senna surattensis (Burm.f.) H.S.Irwin & Barneby.(1982)
ชื่อพ้อง---Has 7 Synonyms  
---Bassionym: Cassia surattensis Burm.f.(1768)  
---Cassia fastigiata Vahl.(1794)
---Cassia suffruticosa J.Koenig ex Roth.(1821)
---Cassia surattensis subsp. suffruticosa (J.Koenig ex Roth) K.Larsen &S.S.Larsen.(1974)
---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/911423-1#synonyms
ชื่อสามัญ---Scrambled Eggs Bush, Scrambled Eggs Tree, Glossy Shower, Golden Senna, Glaucous Cassia, Sunshine Tree, Bushy Cassia, Foetid cassia, Sickle senna, Sulphur flowered Senna, Singapore shower tree.
ชื่ออื่น---ขี้เหล็กบ้าน (ภาคเหนือ), ขี้เหล็กหวาน (ขอนแก่น), ทรงบาดาล (ภาคกลาง) ;[ASSAMESE: Medeluwa.];[CHINESE: Huang huai jue ming.];[GERMAN: Rührei-Kassie.];[INDONESIA: Kembang kuning.];[KANNADA: Adavi thangadi, Bettadavare, Hannorpe.];[LAOS: Dok sake, Sak heng.];[MALAYSIA: Gelenggang];[MARATHI: Motha Farvad.];[THAI: Khi lek ban (Northern); Khi lek wan (Khon Kaen); Song ba dan (Central).];[USA/HAWAII: Kalamona, Kolomona.].
ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINOIDEAE)
EPPO Code---SJNSU (Preferred name: Senna surattensis.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อันดามัน อัสสัม บังคลาเทศ อินเดีย พม่า มัลดิฟส์ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ตอนเหนือของออสเตรเลีย แอฟริกา
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Senna' มาจากภาษาอาหรับ “sanā” ซึ่งเรียก  Senna alexandrina Mill.; ชื่อสายพันธุ์ 'Surattensis' คือคำคุณศัพท์ภาษาละติน "surattensis, e" = ของ Surat เมืองและอำเภอของรัฐคุชราตของอินเดียโดยอ้างอิงถึงแหล่งกำเนิดแห่งหนึ่ง
Senna surattensis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว (Fabaceae หรือ Leguminosae) วงศ์ย่อยราขพฤกษ์ (Caesalpinoideae หรือ Caesalpiniaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Nicolaas Laurens Burman (1733–1793) นักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์  และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Howard Samuel Irwin Jr.(1928 –2019)นักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกัน และ Rupert Charles Barneby (1911 –2000) นักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกัน ในปีพ.ศ.2525

   

ที่อยู่อาศัย สายพันธุ์มาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - มีถิ่นกำเนิดในอินเดียและศรีลังกา กระจายจากอินเดียถึงโพลินีเซียและออสเตรเลียตอนเหนือ ปลูกในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของโลก (Mascarene, จีนตอนใต้, ไต้หวัน, ญี่ปุ่นตอนใต้, หมู่เกาะฮาวาย, แคริบเบียน)  พบตามป่าไม้สักและมักจะพบรอบการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในระดับความสูงไม่เกิน 300 เมตร ปัจจุบันถูกจำแนกเป็นสายพันธุ์ที่รุกรานในหลายประเทศในเอเชียและแปซิฟิกรวมถึงสิงคโปร์ ไต้หวัน เฟรนช์โปลินีเซีย ไมโครนีเซียรวมถึงฮาวาย
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 4.5 ม. และแผ่กว้าง 3.5 ม. หลังจากผ่านไป 10-20 ปี ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ยาว 8-18 ซม ออกสลับ ใบย่อย 5-10 คู่ รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ยาว 2-5 ซม. กว้าง 0.8-2 ซม.โคนใบและปลายใบมน หลังใบเรียบท้องใบมีขนประปราย ดอกสีเหลือง 10 ถึง 15 ดอก ออกเป็นช่อจากซอกใบด้านบน ยาวประมาณ 3 - 6 ซม. ก้านดอกยาวประมาณ 2.5 - 5 ซม. ผลอ่อนสีเขียวเป็นฝักแบนเรียบ 4-10 x 0.8-1.8 ซม.แก่แล้วเป็นสีน้ำตาลเข้มจะแตกอ้าออกตามแนวตะเข็บฝัก มีเมล็ด 15-20 เมล็ด ขนาด 5-7 x 2.5-4 มม.สีดำมันเงา
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องใช้ตำแหน่งที่มีแสงแดดจัดหรือได้รับแสงแดดเต็มหกชั่วโมงหรือมากกว่าทุกวัน ชอบดินร่วนซุย ดินชื้น หรือดินปนทราย จะทนต่อดินได้เกือบทุกชนิดที่ระบายน้ำดี ค่า pH อยู่ในช่วง 7.6 to 7.8 (mildly alkaline) 7.9 to 8.5 (alkaline) อาจเป็นไม้กึ่งผลัดใบหรือใบร่วงหมดทั้งต้นขึ้นอยู่กับว่าฤดูหนาวได้รับความเย็นเพียงใด
การรดน้ำ---ต้องการน้ำปานกลาง ปล่อยให้ดินแห้งเล็กน้อยระหว่างการรดน้ำ อย่าให้น้ำมากเกินไป
การตัดแต่งกิ่ง---ตัดแต่งกิ่งในช่วงปลายเดือนมีนาคมหรือต้นเดือนเมษายน
การใส่ปุ๋ย---ใส่ปุ๋ยปีละ 3 ครั้ง ใช้ปุ๋ยเม็ดอเนกประสงค์ที่มีคุณภาพ (เสริมด้วยกระดูกป่นเพื่อส่งเสริมการออกดอก) ในฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน และฤดูใบไม้ร่วง
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่ค่อยมีโรคหรือแมลงรบกวน
รู้จักอ้นตราย---ไม่มีใครรู้จัก
ใช้ประโยชน์--- พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นอาหารและยารักษาโรค มันได้รับการปลูกเป็นไม้ประดับทั่วเขตร้อน
-ใช้กินได้ ใบอ่อนกินเป็นผัก
-ใช้เป็นยา ยาต้มจากรากใช้ต้านโรคหนองใน ใบใช้ในการรักษาโรคบิด ดอกไม้เป็นยาถ่าย
-ใช้เป็นไม้ประดับ ทรงต้นสวย ออกดอกตลอดปี  ปลูกง่าย ถนนหลายสายในกรุงเทพฯ รอบนอกจึงปลูกข้างถนนริมทางเรียงรายอยู่หลายสาย ทำให้เห็นได้อยู่ทั่วไป เป็นไม้ประดับที่ได้รับความนิยมปลูกประดับสถานที่เช่นในฮาวาย ไต้หวันและฮ่องก งเนื่องจากความทนทานต่อมลพิษจากซัลเฟอร์ไดออกไซด์ แม้ว่าหลายสายพันธุ์ในครอบครัว Fabaceae จะมีความสัมพันธ์ทางชีวภาพกับแบคทีเรียในดิน แต่สายพันธุ์นี้บอกว่าไม่มีความสัมพันธ์ดังกล่าวดังนั้นจึงไม่สามารถตรึงไนโตรเจนในบรรยากาศ
สำคัญ----ต้นทรงบาดาลเป็นต้นไม้ที่มีความเป็นมงคลคือเป็นหนึ่งในไม้มงคล 9 ชนิด ที่ใช้ในพิธีวางศิลาฏกษ์และปลูกบ้าน
ระยะเวลาออกดอก--- ตลอดปี ออกดอกดก---มีนาคม-เมษายน
ขยายพันธุ์---ตอนกิ่ง---เมล็ด
สถานที่ถ่ายภาพ---ถนน 2 ข้างทาง เส้นทางลัด ออเงิน-สายไหม


พรวด/Rhodomyrtus tomentosa

[roh-doh-MIR-tus] [toh-men-TOH-suh]

ชื่อวิทยาศาสตร์---Rhodomyrtus tomentosa (Aiton) Hassk.(1842)
ชื่อพ้อง---Has 4 Synonyms.See all https://www.gbif.org/species/3179997
---Basionym: Myrtus tomentosa Aiton.(1789)
---Cynomyrtus tomentosa (Aiton) Scriv.(1916)
---Myrtus canescens Lour.(1790)
---Rhodomyrtus tomentosa (Aiton) Wight
ชื่อสามัญ---Rose myrtle, Downy rose-myrtle, Downy myrtle, Isenbery bush, Hill gooseberry, Hill guava, Ceylon hill cherry, Isenberg-bush.
ชื่ออื่น---กาทุ (ชุมพร); กามูติง (มาเลย์-ภาคใต้); กามูติงกายู (มาเลย์-ปัตตานี); ง้าย (ส่วย); ซวด (จันทบุรี); โทะ (ภาคใต้); ปุ้ย (เขมร-ภาคตะวันออก); พรวด (ตราด); พรวดกินลูก (ปราจีนบุรี); พรวดผี (ระยอง); พรวดใหญ่ (ชลบุรี); มูติง (มาเลย์-ภาคใต้) ;[AUSTRALIA: Ceylon hill cherry; Ceylon hill gooseberry.];[CAMBODIA: Sragan (Central Khmer).];[CHINESE: Tao jin niang, Kong nim, Giltlan, Gangrenzi.];[FRENCH: Feijoa, Feijoarte-grosseille, Myrte-grosseille, Myrte tomenteux.];[GERMAN: Filzige Rosenmyrte.];[HONG KONG: Barley bues.];[INDONESIA: Harendong sabrang, Kamunting.];[JAPANESE: Ten'ninka, Ten'nin hana, Suninhwa.];[MALAYALAM: Thavittumarom, Thaontay, Kirattan, Cherukotlampazham, Thavattukoyya, Koratta.];[MALAYSIA: Karamunting, Kemunting, Lidah Katak Laut.];]PORTUDUESE: Rodomirto.];[SPANISH: Guayabillo forastero.];[TAMIL: Thavittu Koya.];[THAI: Ka thu (Chumphon); Ka-mu-ting (Malay-Peninsular); Ka-mu-ting-ka-yu (Malay-Pattani); Ngai (Suai); Suat (Chanthaburi); Tho (Peninsular); Pui (Khmer-Eastern); Phruat (Trat); Phruat yai (Chon Buri); Phruat kin luk (Prachin Buri); Phruat phi (Rayong); Mu-ting (Malay-Peninsular).];[USA/HAWAII: Downy myrtle, Downy rose myrtle, Ratberry.];[VIETNAM: Sim.].
ชื่อวงศ์---MYRTACEAE
EPPO Code---RHDTO (Preferred name: Rhodomyrtus tomentosa.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จีน, ญี่ปุ่นตอนใต้, อินเดีย, ศรีลังกา, พม่า, ไทย, กัมพูชา, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์
นิรุกติศาสตร์----ชื่อสกุล 'Rhodomyrtus' มาจากภาษากรีก “rhodo”= แดง และ “myrtos” =พืชวงศ์ Myrtaceae อ้างอิงตามลักษณะดอกที่ส่วนมากมีสีแดง ;ชื่อสายพันธุ์ 'tomentosa' = ขนที่แบนและเป็นด้านที่ปกคลุมด้านล่างของใบและกลีบเลี้ยง
Rhodomyrtus tomentosa เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ชมพู่ (Myrtaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Aiton (1731–1793) นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Justus Carl Hasskarl (1811-1894)นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ในปีพ.ศ. 2385
รวม 2 Infraspecifics ที่ยอมรับ
---Rhodomyrtus tomentosa var. parviflora (Alston) A.J.Scott.(1978)
---Rhodomyrtus tomentosa var. tomentosa

 

ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงพม่า กัมพูชา จีน (ฝูเจี้ยน กวางตุ้ง กวางสี กุ้ยโจว หูหนาน เจียงซี มณฑลยูนนานและเจ้อเจียงและฮ่องกง) อินเดีย อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์, สุลาเวสี, ศรีลังกา, ไต้หวัน, ไทยและเวียดนาม พบในแหล่งธรรมชาติที่ถูกรบกวนและเปิดซึ่งมักอยู่ใกล้ชายฝั่ง เติบโตที่ระดับความสูง 300-1300 เมตร หรือเกิดขึ้นในป่าดิบเขาและทุ่งหญ้าที่ระดับความสูง 1,800 - 2,700 เมตร
บทสรุปของการรุกราน ในถิ่นกำเนิดในเอเชีย มันถูกระบุว่าเป็นวัชพืชในประเทศมาเลเซียและประเทศไทย ลักษณะหลายประการ รวมทั้งความนิยมในการเพาะปลูก ความสามารถในการสร้างพืชเชิงเดี่ยวหนาแน่น ผลไม้ที่กระจายตัวของนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ความสามารถในการทนต่อสภาพเยือกแข็งและสภาพน้ำเค็มเล็กน้อย การผลิตและการงอกของเมล็ดสูง อัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว และความสามารถในการขยายพันธุ์หลังเหตุการณ์ไฟไหม้ ทำให้สายพันธุ์นี้เป็นผู้รุกรานที่รุนแรง ( Csurhes and Hankamer, 2011).
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มความสูงอยู่ประมาณ1-3 เมตร กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีขาว เปลือกนอกสีน้ำตาลอ่อนผิวลอกได้เป็นแผ่น ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ใบรูปรีถึงรูปขอบขนาน ยาว 5-8 ซม. กว้าง 1.5–4 ซม.หลังใบเกลี้ยงมันวาวท้องใบมีขนสีขาวเป็นปุย ปลายใบทู่โคนใบสอบ ก้านใบยาว 0.4–1 ซม.  ดอกออกตามซอกใบและปลายกิ่งเป็นทั้งดอกเดี่ยวและแตกเป็นกลุ่ม3ดอก กลีบเลี้ยงยาว 3-4 มม.กลีบดอก5กลีบสีชมพู ผลแก่สีม่วงคล้ำถึงดำรูปกลม ขนาด1-1.5ซม.มีขนสีขาวปกคลุมรอบผล มีเมล็ดแบนยาว 2–3มม.ประมาณ40–45เมล็ด   
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องใช้ตำแหน่งที่มีแดดจัด ในดินที่เป็นกรดอ่อนๆ และเป็นกลางที่ระบายน้ำได้ดี แต่ปราศจากความชื้น และสามารถเจริญเติบโตได้ในดินที่เป็นกรดจัดและดินเค็ม ค่า pH อยู่ในช่วง 4 - 6 มีความทนทานต่อดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ พืชสามารถทนต่อน้ำท่วมเป็นครั้งคราว ทนต่ออุณหภูมิที่ลดต่ำลงถึง -6°c เป็นครั้งคราว การบำรุงรักษา ปานกลาง
การรดน้ำ---ต้องการน้ำปานกลาง ปล่อยให้ดินแห้งเล็กน้อยระหว่างการรดน้ำ ดินจะได้ไม่อิ่มตัวด้วยน้ำมากเกินไป
การตัดแต่งกิ่ง---ตัดแต่งกิ่งทันทีหลังจากสิ้นสุดการออกดอก
การใส่ปุ๋ย---ใช้ปุ๋ยที่ละลายน้ำได้ ทุก 2 สัปดาห์ด้วยปุ๋ยละลายน้ำเจือจางสูตรสมดุล (16-16-16) หรือสูตรสำหรับพืชดอกที่มีปริมาณฟอสฟอรัสสูง (12-24-12) หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยมากกว่าเดือนละครั้งในช่วงฤดูหนาว
ศัตรูพืช/โรคพืช---จุดเปลี่ยนสีบนใบพืชเป็นหนึ่งในปัญหาโรคที่พบบ่อยที่สุด จุดเหล่านี้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับเชื้อรา
ใช้ประโยชน์--- พืชที่ปลูกมักจะอยู่ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนทั้งในฐานะที่เป็นไม้ประดับและผลไม้ที่กินได้
-ใช้กินได้  ผลดิบกินสดหรือทำเป็นพายเยลลี่ ผลสุกกินได้มีรสชาดหวานหอม ค่อนข้างฝาดก่อนที่จะสุกเต็มที่ ในเวียดนามผลไม้ใช้ทำไวน์ที่เรียกว่า rượu sim เยลลี่ในน้ำเชื่อมและผลไม้แช่อิ่ม
-ใช้เป็นยา  ผลไม้ถูกใช้เป็นยารักษาโรคบิดและท้องร่วง ยาต้มจากรากหรือใบกับเหล้า รักษาโรคท้องร่วง ปวดท้องและเป็นยาหลังคลอด ใบที่บดแล้วจะใช้ใส่แผล
-วนเกษคร ในภาคใต้ของจีนได้รับการทดสอบในการบูรณะเพื่อเป็นพืชพี่เลี้ยงให้ร่มเงาแก่พืชพื้นเมืองที่เติบโตช้ากว่า เป็นสายพันธุ์ที่ทนไฟซึ่งใช้ในการปลูกเป็นแนวป้องกันไฟ
-ใช้ปลูกประดับ เป็นไม้ประดับที่ได้รับความนิยมในสวน เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ใช้ปลูกเพื่อดอกไม้ที่สวยงามและผลที่กินได้
ภัยคุกคาม--เนื่องจากสายพันธุ์นี้ถูกคุกคามจากความเสื่อมโทรมของแหล่งที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการแพร่กระจายและการเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ภัยคุกคามจึงไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อประชากรทั้งหมด ถูกประเมินไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'กังวลน้อยที่สุด'
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2019)
ระยะออกดอก/ติดผล---กุมภาพันธุ์-มีนาคม/พฤษภาคม-กรกฏาคม
ขยายพันธุ์ ---เมล็ด ปักชำ
สถานที่ถ่ายภาพ--- สวนพฤกษศาสตร์ จ.ระยอง


พังแหรใหญ่/Trema orientalis

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Trema orientalis (L.) Blume.(1856)
ชื่อพ้อง---Has 41 Synonyms.
---Basionym: Celtis orientalis L.(1753)
---Celtis guineensis Schumach. & Thonn.
---Sponia orientalis (L.) Decne.
---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:856758-1#image-gallery
ชื่อสามัญ --- Charcoaltree, Indian charcoal-tree, Indian nettle tree, Pigeon wood, Oriental trema, Gunpowder tree, Peach cedar, Rhodesian elm, Woolly-cedar.
ชื่ออื่น ---กีกะบะซา, บาเละอางิง (มาเลย์-นราธิวาส); ขางปอยป่า, ปอแฮก (ภาคเหนือ); ตะคาย (ภาคกลาง); ตายไม่ทันเฒ่า, พังแกรใหญ่, พังแหรใหญ่ (ยะลา); ปอ (เชียงใหม่); ปะดัง(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน); พังแหร (แพร่) ;[AFRIKAANS: Huphout.];UmVumvu, UmVangazi, UPhakane (Xhosa); UmSekeseke, UmBhangabhanga, Ifamu, Iphubane, Isikhwelamfene, Ubathini, Umbokhangabokhanga, Umcebekhazana, Umdindwa, Umvangazi (Zulu); UmBalalaqane (Sw); Mpukupuku (Tso); Modutu (Northern Sotho), Makuru-kuru (Venda).];[ASSAMESE: Phakdima, Jopang, Sobai-goch.];[BENGALI: Chickan, Chikan, Jiban, Jibon.];[CHINESE: Shān huáng má, Yi se shan huang ma.];[FRENCH: Andaraise, Bois d'andrèze, Tréma de Guinée, Ttréma nain, Tréma vert.];[HINDI: Jivanti, Parvati, Kshayanashini, Pranak.];[INDONESIAN: Aanggerung, Kuray, Lenggung.];[JAPANESE: Urajiro enoki.];[KANNADA: Gurklu.];[KENYA: Muhethu, Poponet, Musakala.];[KHMER: Srô:l.];[LAO: Po, Hu.];[MALAYALAM: Ratthi, Pottaamaram, Aarni, Pottaama ,Amarathi.];[MALAYSIA: Menarong, Mengkirai, Randagong.];[MARATHI: Gol, Kapshi, Khargol.];[PHILIPPINES: Du-ung(Sul.); Hagod, Anabiong, Hanadiong, Hanagdon, Malarurung (Tag.).];[PORTUGUESE: Cânhamo-da-montanha.];[SANSKRIT: Jivani, Jivanti, Pranaka.];[SRI LANKA: Gedumba.];[SWAHILI: Mgendagenda, Mpesi, Msasa, Mzunguzungu.];[TAMIL: Ambaratthi, Chenkolam];[TELUGU: Morali, Boggu Chettu.];[THAI: Ki-ka-ba-sa, Ba-le-a-nging (Malay-Narathiwat); Khang poi pa, po haek (Northern); Ta khai (Central); Tai mai than thao, Phang krae yai, Phang rae yai (Yala); Po (Chiang Mai); Pa-dang (Karen-Mae Hong Son); Phang rae (Phrae).];[TONGAN: Mululwe.];[VIETNAMESE: Hu dai, Hu las nhor.].  
ชื่อวงศ์ --- CANNABACEAE
EPPO Code---TREOR (Preferred name: Trema orientalis.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปแอฟริกา
เขตกระจายพันธุ์---แอฟริกาผ่านตะวันออกกลาง อนุทวีปอินเดีย จีนตอนใต้ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ถึง ออสเตรเลีย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Trema' มาจากภาษากรีก=  หลุม อ้างอิงถึงเมล็ด ; ชื่อเฉพาะสายพันธุ์ 'orientalis' จากภาษาละติน = สำหรับตะวันออกหรือตะวันออก ; ชื่อสามัญ 'Pigeon Wood' มาจากความจริงที่ว่านกพิราบมักจะทำรังหรือเกาะอยู่บนต้นไม้เหล่านี้
Trema orientalis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กัญชา (Canabaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Carl Ludwig von Blume. (1789–1862) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน - เนเธอร์แลนด์ ในปีพ.ศ.2399

 

ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและตอนใต้ของแอฟริกา (รวมถึงมาดากัสการ์) เอเชีย (คาบสมุทรอาหรับ จีน เอเชียตะวันออก เอเชียเขตร้อน) และออสเตรเลีย เติบโตในพื้นที่โล่งกว้าง ร้าง ป่าทึบ ป่าชั้นสองที่อุดมสมบูรณ์และพบได้ทั่วไป ที่ระดับความสูงต่ำ ปานกลาง ในบางแห่งพบที่ระดับความสูงถึง 2,000 เมตร ในประเทศไทยมักพบขึ้นตามที่โล่งแจ้ง ป่าเบญจพรรณ และตามชายป่าดงดิบ ที่ระดับความสูง 600-1,500 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ต้นขนาดเล็กผลัดใบหรือไม่ผลัดใบขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ ต้นสูง 4-10 เมตร เปลือกต้นสีเทาอ่อนมีจุดประสีขาว (คล้ายจุดไม้ก๊อก) เปลือกชั้นในเป็นสีเขียวสด ใบเดี่ยว รูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง 3-5 ซม. ยาว 7-12 ซม. ผิวใบด้านบนหยาบ ด้านล่างสีซีดมีขนนุ่มหนาแน่น ขอบใบจักรฟันเลื่อย ดอกสีเขียว ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อสั้นๆ ที่ซอกใบ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ในต้นเดียวกัน (Monoecious) กิ่งเดียวกันหรือต่างกิ่งแต่แยกช่อโดยดอกเพศผู้จะมีจำนวนดอกมากกว่า 20 ดอก ส่วนช่อดอกเพศเมียจะมีดอกประมาณ 15-20 ดอก ดอกย่อยมีกลีบรวม 5 กลีบ มีขน ดอกเพศผู้ช่อแน่นและแตกแขนงยาวได้ถึง 2.5 ซม.ดอกมักเป็นคู่ มีก้านของช่อข้างล่างโค้งลง ชั้นกลีบเลี้ยงแยกเป็น 4-5 พู ไม่ซ้อนกัน ขนาดประมาณ 1.5 มม.ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ตรงข้ามกับพูกลีบเลี้ยง 4-5 อัน ส่วนดอกเพศเมียก็คล้ายกัน แต่ช่อจะโปร่งกว่า มีเกสรเพศเมียแยก 2 กิ่ง รังไข่ไม่มีก้านชู ผลเป็นผลสด มีลักษณะกลมแข็ง ขนาดประมาณ 2-4 x 3-5 มม. ผลเป็นสีเขียวเข้ม เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำหรือสีม่วงดำ มีเมล็ดเดียว แข็งกลม ขนาด 3-4 มม.
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการตำแหน่งแสงแดดจัด ต้องการดินร่วนปนทราย แต่ขึ้นได้ในดินทุกชนิด pH ในช่วง 5.5 - 6.5 ทนได้ 4.5 - 7.5 สามารถเจริญเติบโตได้ในดินที่เป็นด่างจัดและดินเค็ม พืชสามารถอยู่รอดได้ในอุณหภูมิที่ลดลงถึง -2°c
การรดน้ำ---ต้นไม้มีระบบรากที่กว้างขวางที่ช่วยให้สามารถอยู่รอดได้เป็นเวลานานในฤดูแล้ง
การตัดแต่งกิ่ง---ไม่จำเป็นต้องตัดแต่งกิ่ง
การใส่ปุ๋ย---ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่ค่อยมีโรคหรือแมลงรบกวน
รู้จักอ้นตราย---ไม่มีใครรู้จัก
ใช้ประโยชน์ -ใช้กินได้ ในแอฟริกา ใบและผลไม้ใช้กินได้ ใบอ่อนกินเป็นผัก
-ใช้เป็นยา ส้วนที่ใช้ ผลไม้, ใบ, เปลือก, ลำต้น, กิ่งไม้และเมล็ด -เปลือกต้น เคี้ยวอมไว้นาน 30 นาที แก้ปากเปื่อย แก่นหรือราก ฝนนํ้ากินเป็นยาเย็นแก้ร้อนในกระหายนํ้า -ใช้ในยาแผนโบราณในแอฟริกาตะวันออกและตะวันตก ในแทนซาเนียและมาดากัสการ์ -ใบและเปลือกใช้สำหรับรักษาอาการไอหอบหืด หลอดลมอักเสบ ปวดฟัน เจ็บคอ นอกจากนี้ยังใช้สำหรับโรคหนองใน ไข้เหลืองและยาแก้พิษต่อพิษ เปลือกแช่ใช้สำหรับโรคบิด  เป็นหนึ่งใน 33 ชนิดของพืชที่ใช้สำหรับการรักษาความดันโลหิตสูง
-วนเกษตร ต้นไม้ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว นิยมปลูกเป็นไม้เบิกนำ เป็นสายพันธุ์บุกเบิกที่สามารถเติบโตได้บนดินที่ไม่ดีและสามารถนำมาใช้เพื่อสร้างพื้นที่ป่าใหม่ได้โดยการให้ร่มเงาและป้องกันต้นกล้าไม้เนื้อแข็ง T. orientale สามารถตรึงไนโตรเจนและสามารถปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินสำหรับพืชชนิดอื่นได้
-อื่น ๆ เนื่องจากเป็นไม้เนื้ออ่อน ไม่ทนทาน ปลวกชอบ จึงใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างสิ่งชั่วคราว แห้งแล้วแข็ง ใช้ทำฟืนและถ่านได้ดี
- สัตวแพทย์ ยาต้มใบใช้ในการถ่ายพยาธิสุนัข
-ในประเทศฟิลิปปินส์ ใบไม้ฝักและเมล็ดใช้เป็นอาหารสัตว์ ให้อาหาร วัว แพะ และควาย ปริมาณเส้นใยสูงและสารพิษจำกัดการใช้ใบป่นในอาหารสัตว์ ข้อจำกัดนี้สามารถแก้ได้โดยการแยกโปรตีนออกจากใบ
-ไฟเบอร์ เหมาะสำหรับการผลิตกระดาษและเยื่อกระดาษ กระดาษมีความต้านทานแรงดึงและทนทานการพับได้ดี
-เป็นต้นไม้ที่เป็นที่ต้องการที่จะมีอยู่ใกล้หมู่บ้านเพื่อดึงดูดฝูงนกพิราบขนาดใหญ่ที่มาทำรังและพักพิงซึ่งจะถูกล่าเป็นอาหาร จึงได้ชื่อสามัญ Pigeon wood
ระยะออกดอก/ติดผล---มีนาคม-สิงหาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด ระยะเวลางอกของเมล็ด 14 ถึง 39 วัน


นมแมว/Uvaria siamensis

 

ชื่อวิทยาศาสตร์----Uvaria siamensis (Scheff.) L.L.Zhou, Y.C.F.Su & R.M.K.Saunders (2009)
ชื่อพ้อง-----Has 7 Synonyms
---Rauwenhoffia siamensis Scheff.(1885 publ. 1881)
---Melodorum siamense (Scheff.) Bân.(1974)
---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:77101199-1
ชื่อสามัญ--None (Not recorded)
ชื่ออื่น---นมแมว (ภาคกลาง) ; [Thai: Nom maew (Central).]
ชื่อวงศ์---ANNONACEAE
EPPO Code---UVASS (Preferred name: Uvaria sp.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ไทย อินโดจีน คาบสมุทรมลายู
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'uvaria' มาจากภาษาละติน 'uva' หมายถึงองุ่นอ้างอิงถึงผลไม้ที่กินได้ของบางชนิดในสกุลคล้ายกับองุ่น ; ชื่อเฉพาะสายพันธุ์ 'siamensis' = 'จากสยาม' [ประเทศไทย].
Uvaria siamensis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระดังงา (Annonaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Rudolph Herman Christiaan Carel Scheffer( 1844–1880) นักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์ ได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Linlin Zhou (fl.2003) นักพฤกษศาสตร์ชาวจีน และ Yvonne Chuan Fang Su (fl 2004)นักพฤกษศาสตร์ชาวจีน และ Richard M. K. Saunders (born 1964) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปีพ.ศ.2552

 

ที่อยู่อาศัย พบที่พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และคาบสมุทรมลายู ในไทยพบทุกภาค ขึ้นกระจายตามชายป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าโปร่ง ความสูงถึงประมาณ 300 เมตร เป็นพืชเฉพาะถิ่นที่พบเฉพาะในป่าดิบชื้นทางภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทยมักพบขึ้นในป่าดิบ ตามชายป่าชื้น และตามป่าเบญจพรรณ
ลักษณะ นมแมวเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย แต่เลื้อยไปได้ไกล2-5 เมตร เป็นไม้อายุยืนยาว ถ้าตัดแต่งให้เป็นพุ่มก็จะได้ไม้พุ่มใหญ่ความสูงอยู่ 1-2 เมตร  เปลือกต้น กิ่งก้าน สีน้ำตาลคล้ำ กิ่งอ่อนมีขน รูปดาว ขึ้นอยู่หนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6.5ซม.ยาวประมาณ 10-22.5 ซม. ออกเรียงสลับ รูปขอบขนานหรือแกมรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างหนาชอบแสงแดดปานกลางถึงร่มรำไร ปลูกใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ได้ ถ้าแดดจัดใบจะแข็งกรอบ ดอกจะออกน้อย ดอกนมแมวออกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 1-3 ดอก ดอกมี 6 กลีบ สีเหลืองอมเขียว ขนาดใหญ่ประมาณ 1-2 ซม. ออกดอกตลอดทั้งปี ผลเป็นผลกลุ่ม มีผลย่อยประมาณ8-15ผล ผลอ่อนสีเขียวรูปทรงกลมหรือรูปไข่กว้างประมาณ 0.5-0.8ซม. ยาว 0.6-0.8 ซม. (ดูรูปที่2ซ้ายมือ) เปลือกนิ่ม เมล็ดเล็กสีดำ ผลสุกสีเหลือง มีรสหวานกินได้
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดปานกลางถึงร่มรำไร ทนต่อร่มเงา ดินร่วนซุยเก็บความชื้นระบายน้ำและอากาศได้ดี เป็นพืชที่ค่อนข้างไม่มีปัญหาและต้องการการดูแลเพียงเล็กน้อย
การรดน้ำ---ต้องการน้ำปานกลาง หน้าดินต้องแห้งเล็กน้อยระหว่างการรดน้ำ
การตัดแต่งกิ่ง---ตัดแต่งกิ่งเพื่อรักษาขนาดและรูปทรงตัดแต่งหลังออกดอกหมดเพื่อการเจริญเติบโตใหม่ การตัดแต่งกิ่งที่ตาย กิ่งที่เสียหายหรือเป็นโรคสามารถทำได้ตลอดเวลา
การใส่ปุ๋ย---ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปีละ 1 ครั้งหลังการตัดแต่งกิ่ง
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่ค่อยมีโรคหรือแมลงรบกวน
รู้จักอ้นตราย---ไม่เป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงและมนุษย์
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน *ส่วนตัว นมแมวเป็นไม้ดั้งเดิมพันธุ์ไทยแท้ต้นหนึ่งของไทยอยู่คุ่บ้านแต่โบราณเป็นนานมา กลิ่นความหอมของดอกนมแมวทำเป็นแป้งร่ำน้ำปรุง ขนมอบเทียน คือมันหอมมาก เป็นต้นไม้ต้นโปรดต้นหนึ่งเลยเชียว สมัยก่อนขนมกรุบกรอบขบเคี้ยวหายาก เป็นเด็กเจอลูกตะขบ ลูกนมแมว ลูกพิกุล ลูกกระทกรก นี่จับใส่ปากอร่อยหมด
-ใช้เป็นยา สรรพคุณเป็นสมุนไพร ราก แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ แก้ผอมแห้งเนื่องจากอยู่ไฟไม่ได้ แกไข้หวัด แก้ไข้ทับระดู เนื้อไม้ แก้ไข้หวัด ไข้ทับระดู
-สุดท้ายนอกจากต้นนมแมวที่ว่าเป็นไม้โบราณแล้วความน่าปลูกที่สำคัญของต้นนมแมวอยู่ที่ ทนแล้ง ทนน้ำท่วม
ระยะเวลาออกดอก --- ได้ตลอดทั้งปี แต่จะให้ดอกดกที่สุดในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคม-เดือนตุลาคม
ขยายพันธุ์ --- เพาะเมล็ดและตอนกิ่ง


ฝาดขาว/Lumnitzera racemosa

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Lumnitzera racemosa Willd.(1803)
ชื่อพ้อง---Has 19 Synonyms
---Lumnitzera rosea Gaudich.(1829)  
---Petaloma alba Blanco.(1837)
---Petaloma albiflora Zipp. ex Span.(1841)
---Petaloma alternifolia Roxb.(1832)
---Problastes cuneifolia Reinw.(1828)
---More.See all https://www.gbif.org/species/6435171
ชื่อสามัญ ---Butterfly-poll, White-flowered mangrove, White-flowered Black Mangrove, White Teruntum.
ชื่ออื่น ---กะลูง (ชุมพร); ขวาด (สมุทรสาคร); ฝาด (ภาคกลาง, ภาคใต้); ฝาดขาว (ภาคกลาง); ลำแพน, ลำแพนหิน (ตราด) ;[BENGALI: Kirpa.];[CHINESE: Lan li.];[JAPANESE: Hirugimodoki.];[MALAYALAM: Kadakandal, Katakkantal.];[MALAYSIA: Geriting Puteh (Sabah); Teruntum putih, Teruntum, Teruntum Bunga Putih (Malay); White Teruntum (English).];[PHILIPPINES: Kulasi, Solasi.].[SINGHALESE: Bariya, Beriya.];[TAMIL: Tipparathai.];
[TELUGU: Thanduga, Kadavi, Kadivi, Podapa,Than.];[THAI: Ka lung (Chumphon); Khwat (Samut Sakhon); Fat (Central, Peninsular); Fat khao (Central); Lam phaen, Lam phaen hin.];[VIETNAM: Cọc vàng, Rừng ngập mặn.].
ชื่อวงศ์ ---COMBRETACEAE
EPPO Code---LUWRA (Preferred name: Lumnitzera racemosa.)
ถิ่นกำเนิด ---ทวีปแอฟริกา เอเชีย ถึงออสเตรเลีย
เขตกระจายพันธุ์ ---แอฟริกาตะวันออก ไปจนถึงแปซิฟิกตะวันตก รวมฟิจิและตองกา และทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Lumnitzera' ตั้งเป็นเกียรติแก่ นักพฤกษศาสตร์ชาวฮังการี Štefan Lumnitzer (1750-1806) ; ขื่อสายพันธุ์ 'racemosa' มาจากภาษาละติน =จัดเรียงเป็นกระจุก อ้างอิงกับรูปร่างของช่อดอก
Lumnitzera racemosa เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์สมอ (Combretaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Ludwig Willdenow ( 1765–1812 ) นักพฤกษศาสตร์และเภสัชกรชาวเยอรมัน ในปี พ.ศ.2346
Includes 2 Accepted Infraspecifics
---Lumnitzera racemosa var. lutea (Gaudich.) Exell.(1951)
---Lumnitzera racemosa var. racemosa (Autonym)

 

ที่อยู่อาศัย พบที่แอฟริกาตะวันออก มาดากัสการ์ จีนตอนใต้ อินเดีย ศรีลังกา บังกลาเทศ พม่า กัมพูชา เวียดนาม ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ภูมิภาคมาเลเซีย นิวกินี ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะแปซิฟิก และออสเตรเลีย ต้นฝาดขาวในธรรมชาติมักขึ้นเป็นกลุ่ม อยู่บนบริเวณดินเลนค่อนข้างแข็งหรือที่ราบหาดเลนในพื้นที่น้ำท่วมถึง ป่าโกงกางที่เหลืออยู่ตามชายฝั่งทะเลปากแม่น้ำ เป็นพืชในเขตร้อนชื้น ซึ่งพบได้ที่ระดับความสูงไม่เกิน 70 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ต้นกึ่งไม้พุ่มขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง ลำต้นตั้งตรงเนื้อแข็งและแตกกิ่งก้านสาขามาก สูงได้ถึง 10 เมตร เปลือกต้นขรุขระสีน้ำตาลเข้ม มีรากแก้วหยั่งลึกลงดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้นเป็นรากหายใจแต่ไม่มาก มันไม่มีราก pneumatophore (รากที่โผล่ขึ้นมาจากน้ำหรือโคลนซึ่งช่วยให้การไหลเวียนของออกซิเจนไปยังส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำ) เช่นเดียวกับพืชอื่น ๆ ของป่าชายเลน ใบเดี่ยวออกเวียนสลับหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ยาว 3-7 ซม. กว้าง 2-3 ซม.อวบน้ำ เนื้อใบหนามันคล้ายแผ่นหนังทั้งสองด้าน แผ่นใบแคบ รูปไข่กลับ ขอบใบหยักเล็กน้อยและปลายใบมน มีรอยบากเล็กๆ ที่ปลายยอด (“emarginated” leaf).สีเขียวอ่อน ดอกออกเป็นช่อคล้ายช่อกระจุกบริเวณปลายกิ่งหรือง่ามใบ ดอกขนาดเล็ก ตั้งตรง มีกลีบเลี้ยงสีเขียวคล้ายหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว เกสรเพศผู้ 5-10 อัน ดอกมีกลิ่นหอม ผลแคปซูลทรงแจกัน ยาว 1.5 - 2 ซม. รูปทรงรี ด้านข้างแบนเล็กน้อย มีเหลี่ยมมน เป็นสันตื้น ๆ 2-3 สัน ก้านผลยาวประมาณ 1 มม. ผิวผลเกลี้ยงสีเขียวอมเหลืองเป็นมัน มีเมล็ดเดียวในแต่ละผล รูปรีแกมรูปขอบขนาน ผลไม้สามารถลอยได้และช่วยให้กระจายตัวได้ง่ายโดยใช้น้ำ (การพัฒนาของต้นกล้าไม่ได้เริ่มต้นในขณะที่ผลไม้ยังติดอยู่กับต้นไม้)
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการตำแหน่งที่มีแสงแดดเต็ม (มากกว่า6ชั่วโมงต่อวัน) หรือร่มเงาบางส่วน เติบโตได้ดีที่สุดในดินที่อุดมสมบูรณ์ ค่า pH ในช่วง 6.5 - 7 ทนได้ 6 - 7.5 ทนต่อสภาพแวดล้อมที่มีความเค็มสูงของน้ำและดิน อัตราการเจริญเติบโตของพืช เติบโตอย่างรวดเร็ว
การรดน้ำ---ต้องการน้ำจำนวนมาก
การตัดแต่งกิ่ง---ตัดแต่งกิ่งต้นไม้เพื่อรักษาขนาดและรูปทรง เพื่อการเจริญเติบโตใหม่ การตัดแต่งกิ่งที่ตาย กิ่งที่เสียหายหรือเป็นโรคสามารถทำได้ตลอดเวลา
การใส่ปุ๋ย---ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปีละ 1 ครั้งหลังการตัดแต่งกิ่ง
ศัตรูพืช/โรคพืช--มักไม่ได้รับผลกระทบจากศัตรูพืชมากนัก
ใช้ประโยชน์--- บางครั้งต้นไม้ถูกเก็บมาจากป่าเพื่อใช้ ไม้และแทนนินในเปลือกไม้
-ใช้เป็นยา คุณสมบัติต้านการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรีย สารต้านอนุมูลอิสระ ใบลดความดัน ยางจากลำต้นผสมกับน้ำมันมะพร้าวใช้เป็นยาแก้คัน ใช้รักษาโรคเบาหวาน
-วนเกษตร ใช้เป็นสายพันธุ์บุกเบิกป่าชายเลน
-ใช้ปลูกประดับ ความทนทานต่อน้ำกร่อยหรือน้ำจืดทำให้ต้นไม้เหมาะสำหรับปลูกริมฝั่งน้ำและพื้นที่ชื้นในสวนสาธารณะ นำมาปลูกเพื่อประดับใช้ในการจัดสวนริมน้ำได้
-ใช้อื่น ๆ เปลือกไม้เป็นแหล่งของแทนนิน (ประมาณ 19%) เนื้อไม้มีความแข็งแรงและทนทานมาก มันถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์หลายอย่าง ใช้สำหรับทำเสา เสาบ้าน สะพาน แผ่นไม้กระดาน-ในกัมพูชา ไม้เป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับการทำถ่าน
ภัยคุกคาม--เนื่องจากสายพันธุ์นี้ถูกคุกคามจากความเสื่อมโทรมของแหล่งที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการแพร่กระจายและการเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ภัยคุกคามจึงไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อประชากรทั้งหมด ถูกจัดวางไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด'
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2010)
ระยะเวลาออกดอก/ติดผล---พฤศจิกายน – เมษายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด
สถานที่ถ่ายภาพ--- โครงการป่าในกรุง อ่อนนุช และที่สวนสมุนไพร สิรีรุกขชาติ อุทยานธรรมชาติวิทยา ม.มหิดล ศ

ฝาดแดง/Lumnitzera littorea

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Lumnitzera littorea (Jack) Voigt.(1845)
ชื่อพ้อง---Has 13 Synonyms.
---Basionym: Pyrrhanthus littoreus Jack.
---Bruguiera littorea Steud.(1840)
---Laguncularia coccinea Gaudich.(1829)
---Laguncularia haenkei Endl.(1836)
---Laguncularia pedicellata Steud.(1840)
---Laguncularia purpurea Gaudich.(1829)
---Lumnitzera coccinea (Gaudich.) W. & A.(1834)
---Petaloma coccinea Blanco.(1837)
---More.See all https://www.gbif.org/species/5421047
ชื่อสามัญ---Bird-poll, Red Teruntum, Red-flowered Black Mangrove
ชื่ออื่น---ตำเสาทะเล (ภาคใต้); ฝาดแดง (ภาคกลาง, ภาคใต้) ;[CHINESE: Hong lan li.];[MALAYSIA: Barat-barat, Teruntum tanah, Teruntum Merah (Malay); Geriting Merah (Sabah).];[THAI: Tam sao thale (Peninsular); Fat daeng (Central, Peninsular).];[VIETNAM: Phan bo loai, Coc bo].
ชื่อวงศ์---COMBRETACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เอเซียเขตร้อน ตอนเหนือของออสเตรเลีย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Lumnitzera' ตั้งเป็นเกียรติแก่ นักพฤกษศาสตร์ชาวฮังการี Štefan Lumnitzer (1750-1806)
Lumnitzera littorea เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์สมอ (Combretaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Jack (1795–1822)นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Joachim Otto Voigt  (1798–1843) เป็นนักพฤกษศาสตร์และศัลยแพทย์ชาวเดนมาร์ก-เยอรมัน ในปีพ.ศ.2388

 

ที่อยู่อาศัย เกิดขึ้นในเอเชียใต้รวมถึงบรูไนดารุสซาลาม, จีน, ไต้หวัน, อินโดนีเซีย, อินเดีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ไทย, เวียดนาม (สามที่ตั้ง: เกาะ Dao Pho Quoc, Can Dao Island และ Can Gio Biosphere Reserve) นอกจากนี้ยังมีการกระจายอย่างกว้างขวางไปทั่วหมู่เกาะแปซิฟิกรวมถึงปาปัวนิวกินีหมู่เกาะโซโลมอน นิวแคลิโดเนียและไมโครนีเซีย ขีดจำกัด กลางมหาสมุทรแปซิฟิกคือ Tuvaru และ Kiribati และขีดจำกัด ใต้คือตองกา พบในป่าเปิด ป่าโกงกางที่เหลืออยู่ตามชายฝั่งทะเล เป็นพืชเขตร้อนชื้นที่ลุ่มซึ่งพบได้จากระดับน้ำทะเลถึง25 เมตร
ลักษณะ ฝาดแดงเป็นไม้ ต้นสูง10-20เมตร โดยทั่วไปไม่พบต้นที่มีขนาดใหญ่ ขึ้นตามขอบป่าชายเลนที่เปิดโล่ง และขึ้นเป็นกลุ่มบริเวณปากแม่น้ำที่มีดินเลนแข็ง ฝาดแดงมีรากหายใจคล้ายภูเขา เปลือกนอกแตกเป็นร่องลึกตามยาวสีน้ำตาลคล้ำ เปลือกในสีแดงเข้มหรือส้ม  ใบเดี่ยวเรียงค่อนข้างแน่นที่ปลายกิ่ง รูปขอบขนานขนาดกว้าง 1-3 ซม.ยาว 3-9 ซม.โคนใบสอบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบถึงหยักมนเล็กน้อย เนื้อใบอวบน้ำด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมันด้านล่างใบสีอ่อนกว่า  ดอกออก เป็นกลุ่มคล้ายช่อเชิงลดไม่มีก้านสีแดง ออกที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกย่อย 5-15 ดอก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น5แฉก ผลรูปกระสวยป่องกลางและมีสันตามยาวขนาด0.4-0.5x1.2-1.8 ซม.เปลือกผลเป็นคอร์กหนาผิวเกลี้ยงผลแก่สีน้ำตาลแดง ก้านผลยาวประมาณ 5 มม. มีเมล็ดแข็งเมล็ดเดียว
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการตำแหน่งที่มีแสงแดดเต็ม (มากกว่า6ชั่วโมงต่อวัน) หรือร่มเงาบางส่วน เติบโตได้ดีที่สุดในดินที่อุดมสมบูรณ์ ค่า pH ในช่วง 6.5 - 7 ทนได้ 6 - 7.5 ทนต่อสภาพแวดล้อมที่มีความเค็มสูงของน้ำและดิน อัตราการเจริญเติบโตของพืช เติบโตอย่างรวดเร็ว
การรดน้ำ---ต้องการน้ำจำนวนมาก
การตัดแต่งกิ่ง---ตัดแต่งกิ่งต้นไม้เพื่อรักษาขนาดและรูปทรง เพื่อการเจริญเติบโตใหม่ การตัดแต่งกิ่งที่ตาย กิ่งที่เสียหายหรือเป็นโรคสามารถทำได้ตลอดเวลา
การใส่ปุ๋ย---ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปีละ 1 ครั้งหลังการตัดแต่งกิ่ง
ศัตรูพืช/โรคพืช--มักไม่ได้รับผลกระทบจากศัตรูพืชมากนัก
ใช้ประโยชน์--- พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่น สายพันธุ์นี้มีดอกสีแดงสดที่สวยงามมากและมีไว้สำหรับประดับในประเทศไทยและสิงคโปร์
-ไม้สีน้ำตาลเหลืองนั้นหนักและละเอียด เนื้อไม้ใช้ได้ทนทานมากสำหรับงานในน้ำ เช่นทำเสาและพาย ใช้ในท้องถิ่นสำหรับการสร้างเรือและใช้เป็นเชื้อเพลิง
ภัยคุกคาม--เนื่องจากสายพันธุ์นี้ถูกคุกคามจากความเสื่อมโทรมของแหล่งที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการแพร่กระจายและการเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ภัยคุกคามจึงไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อประชากรทั้งหมด ถูกจัดวางไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด'
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2010)
ระยะเวลาออกดอก---พฤศจิกายน – เมษายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด
 **การพูดคุยส่วนตัว-รูปต้นฝาดแดงพวกนี้ (2ภาพบน) ถ่ายไว้นานแล้วสมัยหนึ่งแพงมาก ปลูกไว้หน้าร้านค้าคู่กันกับฝาดขาวอย่างแพร่หลาย เชื่อกันว่าเป็นมหานิยมอะไรทำนองนี้ นำมาปลูกใส่กระถางแช่ไว้ในน้ำ กาลเวลาผ่านไปฝาดขาว-ฝาดแดง ก็จืดจางแล้วก็ก็มีต้นไม้มหามงคลต้นอื่นๆมาแทนที่**


สนทราย/Baeckea frutescens

[BAY-kee-uh] [froo-TESS-enz]


ชื่อวิทยาศาสตร์---Baeckea frutescens L. (1753)
ชื่อพ้อง ---Has 10 Synonyms
---Baeckea chinensis Gaertn. (1788)
---Cedrela rosmarinus Lour. (1790)  
---Baeckea sinensis Gaertn. (1788)
---More.See all https://www.monaconatureencyclopedia.com/baeckea-frutescens-2/?lang=en
ชื่อสามัญ---China Maki, False Ru, Cucur Atap, Chuchur Atap, Timor Tasek, Ujung Atap, Da Eng
ชื่ออื่น---ก้านถินแดง, สนนา (ปัตตานี, สุราษฎร์ธานี); จอแลงอาต๊ะ, ปอโฮ่งรุห์ (มาเลย์-นราธิวาส); สนทราย, สนเทศ (ปัตตานี); สนสร้อย (นครศรีธรรมราช); สนหอม (จันทบุรี); เสียวน้อย (อุบลราชธานี);[CAMBODIA: Moreck Ansai (Central Khmer).];[CHINESE: Gǎng sōng .];[INDONESIA: Cucur atrap; Ujung Atap, Jung Rabat, Kayu Rachak (Javanese); Junjung Atap, Tutup Atap, Ijar Atap (Bangka); Si Gamei-gamei (Sumatran); Sawajane (Sulawesi), wile-wile (Baliem).];[MALAYSIA: Cucur Atap, Curan Atap, Hujung Atap, Cina Maki.];[THAI: Son Naa, Son Saai (peninsular); Son Hom (South-Eastern).];[VIETNAM: Thanh Hao, Cây chổi sể, Choi tren, Choi xue thanh hao.].
ชื่อวงศ์---MYRTACEAE
EPPO Code--- BEKFR (Preferred name: Baeckea frutescens.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์--- จีน ฮ่องกง อินโดจีน มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี ออสเตรเลีย
นิรุกติศาสตร์--- ชื่อสกุล 'Baeckea' ตั้งตามนักพฤกษศาสตร์ชาวและแพทย์ชาวสวีเดน Abraham Bäck (1713-1795) เพื่อนของ Carl Linnaeus ; ชื่อสายพันธุ์ 'frutescens' จากภาษาละติน =  "กลายเป็นพุ่มหรือเป็นพุ่ม" อ้างอิงถึงลักษณะของพืช
Baeckea frutescens เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ชมพู่ (Myrtaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนในปี พ.ศ.2296
ที่อยู่อาศัย เติบโตในทุ่งหญ้าโล่งกว้างตั้งแต่จีนตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงออสเตรเลียตะวันออก (จีน ฮ่องกง พม่า ไทย ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี ออสเตรเลีย) ในออสเตรเลีย พืชชนิดนี้จะเติบโตในบริเวณใกล้ชายฝั่งไปจนถึงทางใต้จนถึงพอร์ตแมคควารี ในประเทศไทยพบได้ทางภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทางภาคใต้ ตามป่าไม้ผลัดใบ ป่าหญ้า ป่าชายหาด ป่าเสม็ดที่เป็นทุ่งหญ้า ตามยอดเขาที่เป็นหินทรายทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามที่โล่งบนยอดเขาทางภาคใต้ หรือในดินปนทรายตามแนวชายฝั่งทั่วไป ที่ระดับความสูงจนถึงประมาณ 1,800 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ต้นจำพวกสน แตกกิ่งก้านสาขาเป็นจำนวนมาก ความสูงของต้นประมาณ 5-15 เมตร ล้ำต้นเป็นสีเทาอมน้ำตาล เปลือกแตกเป็นขุย ลักษณะของกิ่งมักลู่ลง กิ่งมีสีน้ำตาลอ่อน เรียวยาว ใบสีเขียวถึงเขียวแกมเทา เรียงตรงข้ามขนาดเล็กและแคบมากเหมือนเข็มยาวประมาณ 5-10 มม.และกว้างประมาณ 0.5 มม.เท่านั้น ใบไม้ที่ถูกบดขยี้จะให้กลิ่นหอมของยาง ดอกไม้ (Bisexual Flowers) ออกเดี่ยว ๆในซอกใบ กว้าง 3.5–5 มม.ก้านดอกยาว 1–2 มม.กลีบเลี้ยง 5 กลีบเป็นรูปสามเหลี่ยมมน กลีบดอกทั้งห้าสีขาวกลีบดอกมีต่อมน้ำมัน มีเกสรเพศผู้ 7-13 อัน ผลเป็นแคปซูลแห้งเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 มม.มีเมล็ดเชิงมุมเล็กๆ 6-8 เมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการแสงแดดเต็ม (ไม่ต่ำกว่า8ชั่วโมง/วัน) ถึงร่มเงาบางส่วนและดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี ไม่ชอบดินทราย สามารถทนอุณหภูมิต่ำสุดได้ถึง -6 °C อัตราการเจริญเติบโตปานกลาง
การรดน้ำ---น้ำปานกลาง ปล่อยให้หน้าดินแห้งก่อนให้น้ำครั้งต่อไป
การตัดแต่งกิ่ง---ตัดแต่งกิ่งเพื่อรักษาขนาดและรูปทรงตัดแต่งหลังออกดอกหมด และเพื่อการเจริญเติบโตใหม่ การตัดแต่งกิ่งที่ตาย กิ่งที่เสียหายหรือเป็นโรคสามารถทำได้ตลอดเวลา
การใส่ปุ๋ย---ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปีละ 1 ครั้งหลังการตัดแต่งกิ่ง
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่ค่อยมีโรคหรือแมลงรบกวน
ใช้ประโยชน์---มีการเก็บเกี่ยวใบเพื่อใช้เป็นยาและทำชาสดชื่นและมีการแลกเปลี่ยนในบางพื้นที่
-ใช้กินได้ ดอกและใบถูกทำเป็นชาสมุนไพร มันเป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและผงที่ใช้ในระหว่างการคลอดบุตร
-ใช้เป็นยา ทุกส่วน ยกเว้นราก มีน้ำมันหอมระเหยใช้สำหรับการนวดในกรณีที่เป็นโรคไขข้อ- ทุกส่วน ยกเว้นราก ใช้ต้านเชื้อแบคทีเรีย สารสกัดจากพืชมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่มีฤทธิ์ต้าน Streptococcus mutans ที่ทำให้เกิดโรคฟันผุในทุกระดับความเข้มข้น -ใช้ลดไข้และ ขับปัสสาวะ รักษาโรคไข้หวัดใหญ่ ปวดหัว, หัด, อาการจุกเสียด, ปวดท้อง, อาการอาหารไม่ย่อย, ดีซ่าน, โรคบิดและตกเลือด รอบประจำเดือนผิดปกติ ใช้ภายนอก ใบรักษาแผลพุพอง  ชาวจีนใช้ใบเป็นยาแก้ลมแดดและมีไข้ ในมาเลเซียและอินโดนีเซีย ใช้เป็นส่วนผสมของยาแผนโบราณที่ให้กับสตรีระหว่างการคลอดบุตร และมีการใช้แบบดั้งเดิมสำหรับการรักษาโรคมาลาเรียในอินโดนีเซีย
-ใช้ปลูกประด้บ ไม้พุ่มไม้ประดับที่ปลูกได้ในสวนในเขตภูมิอากาศแบบเขตร้อน กึ่งเขตร้อน และเขตอบอุ่น การใช้ภูมิทัศน์ ใช้กับสวนสาธารณะ, สวนทั่วไป, สวนขนาดเล็ก และสามารถใช้ทำบอนไซได้
-อื่น ๆ เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลแดง มีความแข็งแรงทนทาน แต่มักมีขนาดเล็กไม่เหมาะสมแก่การใช้งาน - กิ่งก้านใช้เป็นไม้กวาด - น้ำมันที่ได้จากการกลั่นสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นคล้ายลาเวนเดอร์ ใช้ทำธูปและสบู่
- มีการใส่ใบไม้ในเสื้อผ้าเพื่อป้องกันแมลง
- B. Frutescens L. เป็นหนึ่งในน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพในการเป็นสารกำจัดแมลง การกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากใบแห้งมีฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำยุงลายตายมากกว่าน้ำมันหอมระเหยจากใบสด
ภัยคุกคาม--เนื่องจากต้นไม้ชนิดนี้มีการกระจายอย่างกว้างขวาง มีประชากรมาก ปัจจุบันไม่พบภัยคุกคามที่สำคัญใดๆ และไม่มีการระบุถึงภัยคุกคามที่สำคัญในอนาคต สายพันธุ์นี้จึงได้รับการประเมินไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด'
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2019)
ระยะออกดอก---ส่วนใหญ่ออกดอกในฤดูร้อน
ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำ แยกต้น  (เมล็ดใช้เวลาในการงอกประมาณ 2 เดือน)

ช้าแป้น/Callicarpa arborea

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Callicarpa arborea Roxb.(1820)
ชื่อพ้อง---Has 4 Synonyms.See all https://powo.science.kew.org/taxon/861250-1#synonyms
---Aganon umbellata Raf.(1838)
---Callicarpa magna Schauer.(1847)
---Callicarpa tectonifolia Wall.(1829)
---Callicarpa villosissima Ridl.(1920)
ชื่อสามัญ---Beautyberry tree, Long leafed beauty berry.
ชื่ออื่น---กะตอกช้าง (ยะลา); ขลุ่ย (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่); ช้าแป้น (สระบุรี); ดือดะดาปู (มาเลย์-นราธิวาส); ตาโมงปะสี (ยะลา); เตน (เลย); ทับแป้ง (สระบุรี); เปอควุย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ผ้า (เชียงใหม่, ภาคกลาง); ผ้าลาย (ภาคใต้); ฝ้า, ฝ้าขาว (ภาคเหนือ); พ่า (ภาคกลาง); พ่าขาว (ภาคเหนือ); มะผ้า (แม่ฮ่องสอน); และทุ่ง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); สักขี้ไก่ (ลำปาง); เสี้ยม (จันทบุรี); หูควาย (ตรัง, ภาคเหนือ); หูควายขาว (สุราษฎร์ธานี); หูควายใหญ่ (ชุมพร) ;[ASSAMESE: Bonmola, Dieng lakhlot, Gunmola, Khoja, Machkaita, Machpeluka, Makhisali.];[BENGALI: Boromala];[CHINESE: Mù zǐ zhū, Nányáng zǐ zhū, Mǎ tà pí, Bái yè zǐ shù.];[HINDI: Ghiwala, Kumhar];[KANNADA: Kaval.];[MALAYALAM: Pezhu, Peezh, Alasoo, Peru, Aalam.];[NEPALI: Guren];[PHILIPPINES: Atimla, Magilig (Tagalog).];[SANSKRIT: Kumbha, Katabhi, Kumbhi.];[TAMIL: Pelaimaram, Kumpi, Avima, Kampi.];[TELUGU: Kumbhi.];[THAI: Katok chang (Yala); Khlui (Karen-Chiang Mai); Cha paen, Thap paeng (Saraburi); Due-da-da-pu (Malay-Narathiwat); Ta mong pasi (Yala); Poe-khwui, Lae-thung (Karen-Mae Hong Son); Ten (Loei); Pha (Central, Chiang Mai); Pha lai (Peninsular); Fa, Fa khao, Pha khao (Northern); Pha (Central); Ma pha (Mae Hong Son); Sak khi kai (Lampang); Hu khwai (Northern, Trang); Hu khwai yai (Chumphon); Hu khwai khao (Surat Thani); Siam (Chanthaburi).];[VIETNAM: Phà ha, Tu hú gỗ.].
ชื่อวงศ์---LAMIACEAE (LABIATAE)
EPPO Code---CLISS (Preferred name: Callicarpa sp.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
เขตกระจายพันธุ์---ปากีสถาน อินเดีย พม่า คาบสมุทรอินโดจีน จีนตอนใต้ ฮ่องกง คาบสมุทรมาเลย์ สุมาตรา สุลาวาสี
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Callicarpa' มาจากภาษากรีก "kallíkarpos" “kalli” สวย และ “karpos” ผล ซึ่งแปลว่า "อุดมไปด้วยผลไม้ที่สวยงาม" ; ชื่อเพาะสายพันธุ์ 'arborea' เป็นคำคุณศัพท์ภาษาละติน 'arboreus' อ้างอิงถึง ต้นไม้ - เหมือน , ไม้
Callicarpa arborea เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระเพรา (Lamiaceae หรือ Labiatae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Roxburgh (1751-1815) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต ในปี พ.ศ.2363


ที่อยู่อาศัย เติบโตในป่าฝน ป่าเบญจพรรณบนเนินเขา ที่ระดับความสูง 1,000 - 2,500 เมตร ในประเทศไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น และป่าชายหาด ความสูงถึงประมาณ 1,800 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มและไม้ต้นขนาดเล็กผลัดใบหรือกึ่งผลัดใบ สูงประมาณ 5-15 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมครีม เรียบหรือมีร่องเล็กๆ ยอดอ่อน กิ่ง ก้านใบ และก้านช่อดอก มีขนรูปดาวหนาแน่น สีน้ำตาลแกมเหลือง ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบรูปไข่กลับ หรือมนรีถึงขอบขนาน 5-20 x 1.5-5 ซม.ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบหรือมีซี่แหลมตื้นๆประปราย ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอด ช่อดอกยาวประมาณ 0.5-1 ซม.กว้างได้ถึง 12 ซม ก้านช่อยาว 3-7 ซม.ใบประดับ รูปไข่แคบ ๆ ยาว 1–3 มม.กลีบดอกเล็กสีชมพูหรือม่วงอ่อน ยาว 3–4 มม. แบ่งเป็น 4 แฉกกลม ยาว 1–1.5 มม.เกสรเพศผู้มี 4 อันเป็นหลอดยาว 4 – 6 มม. ยื่นออกมา 2–3 มม. อับเรณูเป็นวงรี ยาว 1–1.5 มม.มีต่อมสีเหลืองจำนวนมาก ผลรูปกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มม.เมื่อสุกสีม่วงอ่อนถึงม่วงแดง มีชั้นกลีบเลี้ยงรองที่ฐาน เนื้อผลบาง ชั้นหุ้มเมล็ดแข็ง 4 หน่วยแต่ละหน่วยมี 1 เมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการตำแหน่งที่มีแสงแดดจัดหรือมีร่มเงาบางส่วน แสงแดดที่มากเกินไปจะทำให้ใบไหม้เกรียม ชอบดินร่วนซุยชื้นที่อุดมไปด้วยอินทรียวัตถุและมีการระบายน้ำที่ดี ชอบค่า pH ของดินที่เป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง สามารถทนต่อดินได้เกือบทุกชนิด รวมถึงดินเหนียว ยกเว้นดินที่ขาดสารอาหารอย่างรุนแรง สภาพความชื้น 50% ขึ้นไป ไม่ทนต่อความเย็นจัดหรือความแห้งเป็นเวลานาน การบำรุงรักษา น้อยมาก
การรดน้ำ---รดน้ำต้นไม้เป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศร้อนและแห้ง
การตัดแต่งกิ่ง---ตัดแต่งต้นไม้ ในช่วงปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูใบไม้ผลิเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตใหม่และรักษารูปทรง
การใส่ปุ๋ย---ใช้ปุ๋ยสูตรสมดุลในช่วงฤดูปลูก ในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ หลังการตัดแต่งกิ่งปุ๋ยที่พืชต้องการควรมีโพแทสเซียมสูงและไนโตรเจนต่ำ
ศัตรูพืช/โรคพืช---ระวังทากและหอยทาก/โรครากและลำต้นเน่า ใบจุด อ่อนแอต่อโรคราแป้ง และโรคราสนิม ซึ่งเกิดจากเชื้อราและแบคทีเรียที่เข้าสู่พืชทางบาดแผล การป้องกันปัญหาเหล่านี้คือการรักษาพืชให้แข็งแรงและหลีกเลี่ยงการกระทบกระทั่งกัน
รู้จักอ้นตราย---มักกล่าวกันว่า พืช Callicarpaเป็นพิษ แต่นี่เป็นเรื่องในตำนาน ผลสุกไม่มีพิษต่อคนหรือสัตว์เลี้ยง เช่น แมวและสุนัข อย่างไรก็ตามควรรับประทานผลเบอร์รี่ดิบในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น
ใช้ประโยชน์ -ใช้กิน ผลกินสดได้แต่ไม่อร่อย ผลมีรสฝาด นิยมนำมาปรุงเป็นแยมหรือหมักเป็นไวน์
-ใช้เป็นยา เปลือกต้นเป็นยาขับลมช่วยย่อยและบำรุงกำลัง ใช้ยาต้มใบทำความสะอาดเพื่อรักษาโรคผิวหนัง รากเป็นยาสมานแผลและห้ามเลือด มันถูกใช้เป็นยาต้มเพื่อรักษาเลือดออกภายใน -นำมาใช้ภายนอก รากผงแห้งจะใช้ในการรักษาบาดแผล, แผลที่มีเลือดออก  รากเคี้ยวเพื่อรักษาฝีที่ลิ้น
-ในเวียตนามใช้รากเป็น ยาสำหรับเลือดกำเดาไหล เลือดออกในทางเดินอาหาร สมานผิว บรรเทาอาการไขข้ออักเสบ ปวดเมื่อย และแก้ปวด
-วนเกษตรใช้เป็นสายพันธุ์บุกเบิกในโครงการปลูกป่าในประเทศไทยเพื่ออนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร
-อื่น ๆไม้แตกง่ายใช้งานไม่ทนในที่โล่งแจ้ง ส่วนมากใช้ทำฟืน ใบใช้เลี้ยงสัตว์เวลาขาดแคลน
ภัยคุกคาม--เนื่องจากต้นไม้ชนิดนี้มีการกระจายอย่างกว้างขวาง มีประชากรมาก ปัจจุบันไม่พบภัยคุกคามที่สำคัญใดๆ และไม่มีการระบุถึงภัยคุกคามที่สำคัญในอนาคต สายพันธุ์นี้จึงได้รับการประเมินไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด'
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2018)
ระยะออกดอก/ติดผล ---พฤษภาคม-ตุลาคม/ตุลาคม-ธันวาคม
ขยายพันธุ์--- เมล็ด ปักชำ


ดับยาง/Solanum erianthum


ชื่อวิทยาศาสตร์---Solanum erianthum D.Don.(1825)
ชื่อพ้อง---Has 10 Synonyms
---Solanum adulterinum Buch.-Ham. ex Wall.(1831)
---Solanum verbascifolium L.(1753)
---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:819125-1#synonyms
ชื่อสามัญ---Common nightshade, Potato tree, Velvet Nightshade, China Flowerleaf, Mullein Nightshade, Indian Currant Tomato, Big Eggplant, Tobacco Tree.
ชื่ออื่น---ขากะอ้าย, ขาตาย, หูควาย (ภาคใต้); ฉับแป้ง (สุโขทัย-อุตรดิตถ์); ดับยาง (ภาคกลาง); ฝ่าแป้ง (ภาคเหนือ); มะเขือดง (ขอนแก่น); มั่งพะไป, ลิ้มเม่อเจ้อ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); สะแป้ง (สิงห์บุรี); ส่างโมง (เลย) ;[AUSTRALIA: Wild tobacco tree, Potato tree, Tobacco tree.];[BAHAMAS: Salve-bush.];[CHINESE: Jia yan ye shu.];[CUBA: Ajicón, Prendedera, Tabaco cimarrón.];[DOMINICAN: Friega platos, Tabacón, Tabacuelo.];[FRENCH: Amourette marron, Tabac marron.];[HAITI: Amorette, Samourette male, Tabac marron.];[HINDI: Ban Tamakhu.];[INDIA: Vidari.];[INDONESIA: Daun salawar, Tembako utan (Malay, Moluccas), Teter (Javanese, Sundanese).];[JAMAICA: Wild susumber.];[JAPAN: Tabakugii, Yanbaru-nasubi.];[LAOS: Kok Sa pèng, Sang mong phèng, Sang mong peng, Sang mou.];[MALAYALAM: Erichunda, Malachunda, Chunda.];[MALAYSIA: Daun telinga kerbau, Terong belah, Terong raya (Peninsular).];[MARATHI: Kutri.];[MEXICO: Berenjena, Berenjena macho, Samacanteca.];[MYANMAR: Daung-satpya.];[PAKISTAN: Kala mewa, Thasau-rangman; Mikir.];[PAPUA NEW GUINEA: Kumboomba (Lesu, New Ireland); Epiap (Gunantuna, New Britain).];[PHILIPPINES: Malatalong (Tagalog); Liuangkag (Bukidnon); Ungali (Bisaya).];[POLISH: Maria mole amarga.];[PORTUGUESE: Capoeira-branca, Couvetinga, Fruta-de-guara, Fumeira, Fumo-bravo (BR).];[PUERTO RICO: Berenjena de paloma, Tabacón afelpado.];[SANSKRIT: Vidari.];[SPANISH: Lava-plato, Salvadora.];[TAMIL: Aanai Sundaikaai, Anai-c-cuntai, Malai-c-cuntai.];[THAI: Kha ka ai, Kha tai, Hu khwai (Peninsular); Chap paeng (Sukhothai, Uttaradit); Dap yang (Central); Fa paeng (Northern); Ma khuea dong (Khon Kaen); Mang-pha-pai, Lim-moe-choe (Karen-Mae Hong Son); Sa paeng (Sing Buri); Sang mong (Loei).];[VIETNAM: Ca hoi, Co sa lang, Ngoi.];[WEST AFRICA: Ewuro ijebu, Ijebu kogbin, Openiniwuni.].
ชื่อวงศ์---SOLANACEAE
EPPO Code---SOLER (Preferred name: Solanum erianthum.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---อเมริกากลาง อเมริกาใต้ แคริบเบียน เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Solanum' ไม่ชัดเจน แต่ก็อาจมาจากคำภาษาละตินว่า “sol” ซึ่งหมายถึง “ดวงอาทิตย์” ซึ่งหมายถึงความสัมพันธ์กับแสงแดด หรือจากคำภาษาละติน “solare” ซึ่งหมายถึง “ปลอบโยน” , คำภาษาละติน "solamen" หมายถึง "การปลอบโยน" หรือคำภาษาอัคคาเดียน "sululu" ซึ่งหมายถึง "ความสุข" โดยอ้างอิงถึงผลกระทบของยาเสพติดของSolanum บาง ชนิดหลังจากการกลืนกิน ( Smith, 1971 ; Wiart, 2006 ; Quattrocchi, 2012 ; NZPCN, 2014 ). ;ชื่อสายพันธุ์ 'erianthum' มาจากคำภาษากรีก “eryon”= “ ปุย”และ“ anthos” หมายถึง“ ดอกไม้” ซึ่งหมายถึง trichomes (ขน) ที่หนาแน่น บนดอกไม้
Solanum erianthum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววง์มะเขือ (Solanaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย David Don (1799-1841) นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต ในปีพ.ศ.2368


ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา (ทางใต้ ของ ฟลอริดาและหุบเขาริโอแกรนด์ ตอนล่าง ของเท็กซัส) เปอร์โตริโกและหมู่เกาะเวอร์จิน, คิวบา, โดมินิกัน, เฮติ, จาเมกา, ตรินิแดด, และบางส่วนของอเมริกาใต้และแคริบเบียน ไปสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลีย พบขึ้นตามที่โล่งกว้างริมถนน ชายป่า ทุ่งหญ้าชื้นหรือแห้งแล้ง ทุ่งนาหรือตามริมฝั่งแม่น้ำพบที่ระดับความสูง 0 - 1,500 เมตร ในเขตร้อนของเอเชียพบที่ระดับความสูง 300-2,100 เมตร การแพร่หลายไปทั่วโลก ถือว่าเป็นการแปลงสัญชาติไม่ถือเป็นวัชพืชหรือรุกราน
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือต้นไม้ขนาดเล็ก สูง 2-8 เมตร ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางสูงสุด 20 ซม. เปลือกสีเทาหรือสีน้ำตาลเรียบ ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปไข่หรือรูปรี ขนาด 15-25 x 5-10 ซม.ปลายใบแหลมโคนใบมนป้าน ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 4 ซม มีขนนิ่ม ออกดอกที่ปลายยอดและปลายกิ่ง ดอกเป็นดอกช่อแยกแขนงสีขาว ก้านช่อดอกยาว 5 ซม.ก้านดอกยาว 1 ซม.ดอกตั้งตรงเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.1–1.8 ซม.กลีบสีขาวมีขนหนาแน่นด้านนอก เกสรเพศผู้มี 5 อัน อับเรณูสีเหลือง ผลกลมมีเนื้อ คล้ายมะเขือเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.8 ซม.มีขนรูปดาวบนผิวด้านนอก ผลแก่สีเหลืองหม่นถึงส้ม มีเมล็ดรีหลายเมล็ดอัดแน่น เมล็ด ยาว 1.4-2 มม. กว้าง 1.1-1.6 มม.
-ส่วนอื่นๆ ของพืชถูกปกคลุมด้วย trichomes (ขน) เช่นเดียวกับดอกไม้ รวมทั้งผลเบอร์รี่ ใบ ปลายลำต้นและก้านใบ รากที่หักจะมีกลิ่นเหมือนมันฝรั่งสุก ในขณะที่ trichomes (ขน) บนใบ ลำต้น และก้านใบจะส่งกลิ่นคล้ายกับน้ำมันดินเมื่อถู
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---เติบโตได้ดีที่สุดในแสงแดดจัดหรือในที่ร่มบางส่วน ชอบดินที่มีการระบายน้ำดี แต่พบว่ามีการเติบโตในดินหลายประเภทตั้งแต่ดินภูเขาไฟทาลัสไปจนถึงที่ราบลุ่มที่เปียกจนถึงหินปูนปะการังแห้ง ไม่ต้องการความชื้นเพิ่มเติม พืชดูดซับน้ำส่วนใหญ่ผ่านทางระบบรากมากกว่าทางใบ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการให้ความชื้นแก่พืชคือการรดน้ำในดิน การบำรุงรักษาต่ำ
การรดน้ำ---ชอบให้ดินแห้งระหว่างการรดน้ำและควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ 1-2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ สามารถทนต่อความแห้งแล้งในช่วงเวลาสั้น ๆ
การตัดแต่งกิ่ง---ตัดในฤดูใบไม้ร่วงเพื่อควบคุมขนาด ; เพื่อกระตุ้นการแตกแขนง ให้เด็ดยอดที่งอกใหม่ล่าสุดที่ปลายออก แล้วก้านจะแตกออกเป็นสองส่วน
การใส่ปุ๋ย---ใส่ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ ชอบปุ๋ยที่ละลายช้าอุดมไปด้วยโพแทช (P) ซึ่งส่งเสริมการออกดอก เสริมด้วยปุ๋ยอินทรีย์น้ำเจือจางทุก 2 สัปดาห์
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่ค่อยมีโรคหรือแมลงรบกวน /การให้น้ำมากเกินไปอาจทำให้รากเน่าได้
รู้จักอ้นตราย---ผลสดเป็นพิษต่อมนุษย์ ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะตะคริวและคลื่นไส้
การใช้ประโยชน์---ใบและรากสามารถใช้สดหรือแห้งและเก็บไว้ในภาชนะที่มีอากาศถ่ายเทเพื่อใช้ในภายหลัง
-ใช้กิน ผลไม้ปรุงสุกกินได้ ทางตอนใต้ของอินเดียจะกินเมื่อปรุงสุกและเตรียมเป็นแกง
-ใช้เป็นยา ได้รับการพิจารณาว่าเป็นยาที่มีศักยภาพสำหรับขับไล่สิ่งสกปรกทั้งหมดออกทางปัสสาวะ ใบทุบถูกนำมาใช้เป็นยาพอกเพื่อรักษาริดสีดวงทวาร ใช้ใบอุ่นเป็นครีมทาบริเวณหน้าผากเพื่อรักษาอาการปวดศีรษะ น้ำใบใช้เป็นน้ำยาล้างแผลในปาก  -สรรพคุณทางยาของพืชในเอเชียแปซิฟิกรวมถึงการรักษาโรคบิดในฟิลิปปินส์และไต้หวัน บรรเทาอาการปวดลำไส้ในไต้หวันและมาเลเซีย
-ในหมู่เกาะโซโลมอนใช้เป็นยาแก้พิษและยารักษาแผลในปาก
-ในปาปัวนิวกีนีใช้ภายในเพื่อรักษาอาการปวดท้อง ใช้ภายนอกเพื่อรักษาอาการระคายเคืองผิวหนังและผื่นคัน  
-ในแอฟริกาตะวันตกมีการใช้ยาต้มใบเป็นยาขับปัสสาวะ รักษาโรคมาลาเรีย โรคเรื้อน กามโรคและกระตุ้นการทำงานของตับ  
-ในโออาซากา เม็กซิโกเป็นที่รู้กันว่าพืชนี้ใช้เป็นยาแก้ปวดในช่องปาก ใช้สำหรับอาการปวดท้องและเป็นยาต้านจุลชีพที่ผิวหนัง
-ใช้ปลูกประดับ ปลูกเป็นไม้ประดับในทะเลแคริบเบียน
-วนเกษตร ใช้เป็นสายพันธุ์บุกเบิกสามารถเติบโตบน พื้นที่ ทำเหมือง ที่เสื่อมโทรม ก่อนพืชชนิดอื่นและเป็นพืชที่ให้ร่มเงาที่ยอมรับได้สำหรับกาแฟที่ปลูกในที่ร่ม
-อื่น ๆในฟิลิปปินส์ใช้ใบอ่อนเพื่อกำจัดไขมันออกจากจาน
-ในประเทศอินเดียในหมู่ชนเผ่าในเขต Madurai ของรัฐทมิฬนาฑู นำไปใช้ทาเพื่อหลีกเลี่ยงปลิงกัด พืชชนืดนี้มีชื่อเสียงในด้านการรักษาควายเมื่อพวกมันอยู่ในน้ำนานเกินไปพวกมันจะถูกปลิงซึ่งรบกวนพวกมันที่ระดับรูจมูก สิ่งเหล่านี้พวกเขาจะบรรเทาด้วยน้ำที่ทำจากผลไม้และใบไม้บด
สิ่งปลอมปนและสารทดแทน---อัลคาลอยด์สเตียรอยด์ (เช่น diosgenin และ tigogenin) สิ่งเหล่านี้ยังใช้เป็นวัสดุเริ่มต้นสำหรับการสังเคราะห์ฮอร์โมนสเตียรอยด์
ระยะเวลาออกดอก/ติดผผล---เกือบตลอดทั้งปี
ขยายพันธุ์---เมล็ด ใช้ระยะ เวลาการงอก 17 ถึง 383 วัน


กลึงกล่อม/Polyalthia suberosa

[pol-ee-AL-thee-uh] [sub-er-OH-suh]

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Polyalthia suberosa (Roxb) Thwaites.(1864)
ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:74734-1#synonyms
---Basionym: Uvaria suberosa Roxb.(1795)
---Guatteria suberosa Dunal.(1817)
---Phaeanthus malabaricus Náves.(1880)
ชื่อสามัญ---Polyalthia plant, Corky debbar tree
ชื่ออื่น---ไคร้น้ำ (อุตรดิตถ์); กระทุ่มกลอง, กระทุ่มคลอง, กลึงกล่อม, ชั่งกลอง, ท้องคลอง (ราชบุรี); กำจาย (นครสวรรค์); จิงกล่อม (ภาคใต้); ช่องกลอง (กาญจนบุรี); น้ำนอง (ภาคใต้-ปัตตานี); น้ำน้อย (เลย); ผักจ้ำ,มะจ้ำ (ภาคเหนือ); มงจาม (อ่างทอง) ;[ASSAMESE: Habida-Cha, Debadaru.];[BANGLADESH: Jam debharu, Ham jam.];[BENGALI: Barachali, Kukurjam.];[CHINESE: Mei wei mu, Shin guan yin, Lao ren pi, Ji zhao shu, An luo.];[INDIA: Cham-khirni, Gua koli.];[PHILIPPINES: Baling-manok, Duhat-duhatan, Duhat-matsing, Lanutan, Tagputagpuan (Tag.); Duyat-nasi (Pamp.); Munat (Iik.).];[SINHALESE: Kalati.];[TAMIL: Kalatti.];[THAI: Khrai nam (Uttaradit); Kra thum klong, Kra thum khlong, Klueng klom, Chang klong, Thong khlong (Ratchaburi); Kam chai (Nakhon Sawan); Ching klom (Peninsular); Chong klong (Kanchanaburi); Nam nong (Peninsular, Pattani); Nam noi (Loei); Phak cham, Ma cham (Northern); Mong cham (Ang Thong).].
ชื่อวงศ์---ANNONACEAE
EPPO Code---QLHSB (Preferred name: Polyalthia suberosa.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
Polyalthia suberosa เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระดังงาหรือวงศ์น้อยหน่า (Annonaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Roxburgh (1751-1815) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย George Henry Kendrick Thwaites (1812-1882) นักพฤกษศาสตร์และนักกีฏวิทยาชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2407


ที่อยู่อาศัย พบใน ศรีลังกาและอินเดียเข้าสู่จีนตอนใต้และไหหลำและแผ่นดินใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อินโดจีน) คาบสมุทรมาเลเซียและฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ภาคใต้ พบได้ค่อนข้างน้อยกว่าภาคอื่น ๆ  มักพบขึ้นตามที่โล่ง  ตามป่าเปิด ป่าเบญจพรรณ พื้นที่โล่งบริเวณชายป่า  ที่ราบลุ่มที่มีน้ำท่วมเป็นครั้งคราว หรือตามฝั่งแม่น้ำลำคลอง มีการปลูกเลี้ยงเป็นพืชสมุนไพร
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 2-4 เมตร ไม่ผลัดใบ ลักษณะทรงต้นและเรือนยอดเป็นรูปรีหรือทรงกระบอก แตกกิ่งก้านสาขาจากโคนต้น เปลือกแตกเป็นร่องขรุขระ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ก้านใบยาว 2-3 มม. มีขนสีน้ำตาล แผ่นใบรูปขอบขนานกว้าง 2-4 ซม.ยาว 5-11 ซม. โคนใบสอบเบี้ยวเล็กน้อย ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเป็นมันท้องใบจะมีสีเขียวนวล เส้นแขนงใบมีข้างละ 7-8 เส้น ก้านใบสั้น ยาว 2-3 มม. ดอกเป็นดอกเดี่ยวเป็นดอกกะเทย ออกตามกิ่ง หรือตรงข้ามใบใกล้ปลายกิ่งยาว 8-10 มม.ก้านดอกเรียวยาว 1.5-2.5 ซม.กลีบเลี้ยง 3 กลีบ แผ่ออก รูปไข่ แหลม ประมาณ. 2 x 1 มม. ด้านนอกมีขน ด้านในเกลี้ยง กลีบดอกเรียง 2 ชั้น ๆละ 3 กลีบ กลีบดอกชั้นนอกรูปไข่ถึงรูปขอบใบหอก แหลม เว้าเล็กน้อย ประมาณ. 6 x 4-5 มม.เปลือกนอกหนานุ่ม มีขนนุ่ม ด้านในเกลี้ยง ดอกมีสีเหลืองอ่อนมีกลิ่นหอม ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียวออกเป็นผลกลุ่มมีหลายผลอยู่บนแกนตุ้มกลม ก้านช่อผลยาว 3-5 ซม.มี 25-35 ผล แต่ละผลกลมขนาด 4- 5 มม.ก้านเรียว ยาว 0.5-1 ซม.ผิวเรียบสีเขียวเมื่อแก่สีแดง-สีม่วงดำ มีเมล็ด 1-2 เมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการตำแหน่งแสงแดดรำไร น้ำปานกลาง ดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี
การรดน้ำ---รดน้ำอย่างเพียงพอทุกๆ 2 สัปดาห์ในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง
การตัดแต่งกิ่ง---ตัดแต่งกิ่งเพื่อรักษาขนาดและรูปทรงตัดแต่งหลังออกดอกหมด และเพื่อการเจริญเติบโตใหม่ การตัดแต่งกิ่งที่ตาย กิ่งที่เสียหายหรือเป็นโรคสามารถทำได้ตลอดเวลา
การใส่ปุ๋ย---ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยยหมักปีละ 1 ครั้ง ก่อนหรือหลังการตัดแต่งกิ่ง
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่ค่อยมีโรคหรือแมลงรบกวน/ขาดน้ำทำให้ใบร่วง น้ำมากเกินไปสามารถทำให้เกิดโรครากเน่าได้
รู้จักอ้นตราย---ไม่มีข้อมูลความเป็นพิษของพืชชนิดนี้
ใช้ประโยชน์----ใช้กินได้ ยอดอ่อน ผลอ่อน ใช้กินเป็นผักสด ผลสุกมีรสหวานกินได้ เด็ก ๆ ชอบกิน
-ใช้เป็นยา เปลือกไม้ถือว่าเป็นยาแก้ไข้ ยาสมานแผล ยาแก้ปวดและยาระบาย เมล็ด ขับปัสสาวะ และยากล่อมประสาท ยาพื้นบ้าน- ยาต้มจากรากสดใช้เป็นยาทำแท้ง-ในบังคลาเทศเปลือกใช้เป็นยาแก้ปวด ยาแก้ไข้และยาระบาย - ในรัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดียมีการต้มเปลือกเปลือกรากบดผสมกับพริกไทยใช้รักษาอาการไข้หลังคลอด-ใบและกิ่ง มีฤทธิ์ต้านเอชไอวีและต้านเชื้อแบคทีเรียในหลอดทดลอง
-ใช้ปลูกประดับเป็นต้นไม้ให้ร่มเงาในอาคาร บ้านพักอาศัย และปลูกเป็นไม้ประดับสวนทั่วไป
-ใช้อื่น ๆไม้มีความทนทานและใช้สำหรับงานช่างไม้ เสากระโดงและเรือ- เป็นพืชใช้เลี้ยงครั่ง
ระยะเวลาออกดอก/ติดผล --- กันยายน-มีนาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง

หัสคุณ/Micromelum minutum

ชื่อวิทยาศาสตร์---Micromelum minutum (G.Forst.) Wight & Arn.(1834)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:774392-1#synonyms
---Basionym: Limonia minuta G.Forst.(1786)
ชื่อสามัญ---Lime Berry, Red Lime-berry, Cluster Berry, Micromelum.
ชื่ออื่น---หมุย, สมุย, สมัด, สมัดน้อย, สหัสคุณ, หัสคุณไทย, หมุยขน ;[ASSAMESE: Gobar-Buti, Khilaguti-goch ,Padra-Guta, Bonduk guti goch];[AUSTRALIA: Aboriginal name: Dilminyin (Yolgnu Matha); Kimiar margibur (Meriam).];[BENGALI: Ban-kunch.];[CHINESE: Dà guǎn.];[INDONESIA: Ki mangkok, Mentanen, Pakan Kupu-Kupu, Sesi.];[MALAYSIA: Cemumar, Chemama, Cherek, Kematu, Semeru.];[PHILIPPINES: Tulibas tilos, Piris, Makabangon, Basar-basar.];[SAMOA: Tulibas Tilos, Talafalu, Chememar.];[SINGHALESE: Wal-karapincha];[TAMIL: Kakaipalai];[THAI: Mui khon (Peninsular), Samui, Saam sok, Sabaek.];[VIETNAM: Kim xương.].
ชื่อวงศ์---RUTACEAE
EPPO Code---MCMMI (Preferred name: Micromelum minutum.)
ถิ่นกำเนิด----ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเชีย ออสเตรเลียและหมู่เกาะแปซิฟิก
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Micromelum' จากภาษาละติน 'mikros' = เล็ก, เล็กน้อย, 'melum' มาจากภาษาละติน 'malum' อันตราย, การบาดเจ็บ. ; ชื่อเฉพาะสายพันธุ์ 'minutum' เป็นคำคุณศัพท์ภาษาละติน =  ลดลง                                                                       Micromelum minutum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ส้ม (Rutaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Johann Georg Adam Forster (1754 –1794) นักธรรมชาติวิทยา (พฤกษศาสตร์ กีฏวิทยาและมานุษยวิทยา) ชาวเยอรมัน และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Robert Wight (1796–1872)นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต และ George Arnott Walker Arnott (1799–1868)นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต ในปีพ.ศ.
Includes 3 Accepted Infraspecifics
---Micromelum minutum var. ceylanicum B.C.Stone.(1985)
---Micromelum minutum var. curranii (Elmer) Tanaka.(1932)
---Micromelum minutum var. minutum.

  

ที่อยู่อาศัย ขึ้นกระจายอยู่ในศรีลังกา, นิโคบาร์และอันดามัน พม่า, ไทย, อินโดจีน, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, นิวกีนี, ออสเตรเลีย, หมู่เกาะในมหาสมุทาแปซิฟิก พบขึ้นตามป่าดงดิบเขา ป่าทึบและป่าดิบชื้น ตามลำธาร และตามป่าโปร่งทั่วไป รวมถึงป่าดงดิบแล้งและป่ามรสุม และจากระดับน้ำทะเลถึงระดับความสูง 600 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นหรือไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ต้นสูง 4-6 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นไม่เกิน 20 ซม.dbh ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้นสีเทา ส่วนลำต้นเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องตื้นตามยาว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายใบคี่ (imparipinnate) ออกเรียงสลับยาว 10-30 ซม.มีใบย่อยประมาณ 7-15 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-4 ซม. และยาวประมาณ 3-7 ซม.ฐานใบไม่สมมาตร แผ่นใบเป็นสีเขียวอ่อน เนื้อใบบาง มีต่อมน้ำมันเล็ก ๆ จับดูแล้วจะรู้สึกเหนียว หลังใบเกือบเรียบถึงมีขนสั้น ๆ ส่วนท้องใบมีขนบาง ๆ ใบมีกลิ่นหอมเหมือนการบูร มีรสหอมร้อน ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง 5 แฉกยาว 0.1-0.2 มม.กลีบดอกยาวประมาณ 2.5-3 มม. สีเขียวอ่อนหรือสีขาวแกมเหลืองมีกลิ่นแรง เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะม้วนไปด้านหลังเล็กน้อย เกสรเพศผู้มี 10 อันแบบไดมอร์ฟิคยาว 5 อัน สั้น 5 อัน ผลรูปกลมรีขนาด 9 x 7 มม. ออกเป็นพวงโต ผิวผลเรียบใส ฉ่ำน้ำ ผลเป็นสีเขียวอ่อน มีขนปกคลุม เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้มหรือสีแดง มี 1-3 เมล็ด เมล็ดมีขนาด 6-7 x 4-5 มม.
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัดหรือในที่ร่มรำไร ขึ้นได้ดีในดินทุกชนิดทนทานต่อดินส่วนใหญ่ที่มีความชื้นสม่ำเสมอและการระบายน้ำดี
การรดน้ำ---ต้องการน้ำปริมาณมาก อย่าปล่อยให้หน้าดินแห้งเป็นเวลานาน
การตัดแต่งกิ่ง----ตัดแต่งกิ่งเพื่อรักษาขนาดและรูปทรงตัดแต่งหลังออกดอกหมด และเพื่อการเจริญเติบโตใหม่ การตัดแต่งกิ่งที่ตาย กิ่งที่เสียหายหรือเป็นโรคสามารถทำได้ตลอดเวลา
การใส่ปุ๋ย---ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ให้ปุ๋ยต้นไม้ทุก 1 ถึง 2 เดือนในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน และทุก 2 ถึง 3 เดือนในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่ค่อยมีโรคหรือแมลงรบกวน
รู้จักอ้นตราย---ไม่มีข้อมูลความเป็นพิษ

 

ใช้ประโยชน์--- พืชมีมูลค่าส่วนใหญ่สำหรับ ใช้เป็นยา ถูกเก็บเกี่ยวโดยทั่วไปจากป่าและซื้อขายกันในท้องถิ่น พืชใช้เป็นส่วนผสมของอาหารเสริมสมุนไพรที่มีการซื้อขายในประเทศมาเลเซียและตะวันออกกลาง
- ใช้กิน หน่ออ่อนใช้กินได้ ในภาคเหนือของประเทศไทย ยอดอ่อนรับประทานได้ ส่วนใบใช้ชงเป็นยาขับระดูและแก้ไข้
- ใช้เป็นยา ใช้เป็นยาแผนโบราณในฟิจิ มาเลเซียและอินโดนีเซีย ใช้สำหรับแก้ไข้และรักษากลาก ในประเทศจีนเพื่อรักษาโรคบิดและโรคไขข้อ สารประกอบมีฤทธิ์ทางสรีรวิทยารวมถึงสารต้านการแข็งตัวของเลือด สารต่อต้านมะเร็งและสารต่อต้านแบคทีเรีย
-ใช้ปลูกประดับ ใช้ปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงาในสวนสาธารณะ และสวนทั่วไป สายพันธุ์นี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสวนสัตว์ป่า สามารถปลูกเป็นไม้กระถางขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ (เส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 30 ซม.)
-อื่น ๆ เนื้อไม้มีน้ำหนักเบาทนทาน ใช้สำหรับการก่อสร้างที่เบาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ แต่มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจเล็กน้อย
-เป็นพืชอาศัยของผีเสื้อ Orchard Swallowtail ( Papilio aegeus ) และ Fuscous Swallowtail ( Papilio fuscus ) ที่สวยงาม ดอกไม้ที่มีกลิ่นแรงมักเป็นที่สนใจของผีเสื้อหลายชนิด ดึงดูดผึ้งและแมลงมากมาย
ภัยคุกคาม--เนื่องจากสายพันธุ์นี้ถูกคุกคามจากความเสื่อมโทรมของแหล่งที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการแพร่กระจายและการเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ภัยคุกคามจึงไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อประชากรทั้งหมด ถูกจัดวางไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด'
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2020)
ระยะออกดอก/ติดผล---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---เมล็ด หว่านสดสามารถงอกได้ใน 10 - 41 วัน


มันปู/Glochidion wallichianum


ชื่อวิทยาศาสตร์---Glochidion wallichianum Müll.Arg.(1863)
ชื่อพ้อง---Has 6 Synonyms.
---Phyllanthus wallichianus (Müll.Arg.) Müll.Arg.(1865)
---Glochidion glomerulatum var. wallichianum (Müll.Arg.) Chakrab. & M.Gangop.(1995)
---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/349701-1#synonyms
ชื่อสามัญ--None (Not recorded)
ชื่ออื่น--- นกนอนทะเล, ยอดเทะ (ยอดกะทิ) , ชุมเส็ด, พุงหมู, สมเส็ด ; ปรืององ, มันปูใบเล็ก (ภาคใต้); มันปู(ตรัง) ; [MALAYSIA: Ubah-ubah (Malay).];[THAI: Prue-ngong, man pu bai lek (Peninsular); Man pu (Trang).];
ชื่อวงศ์---PHYLLANTHACEAE
EPPO Code---GOCSS (Preferred name: Glochidion sp.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ไทย อินเดีย ศรีลังกา เวียดนาม และมาเลเซีย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Glochidion' จากภาษากรีก 'glochis' จุดยื่นหรือหนามบนหัวลูกศร และ 'idion' เล็กหรือน้อย ซึ่งอ้างอิงถึงส่วนยื่นของอับละอองเรณูแบบแหลม ; ชื่อเฉพาะสายพันธุ์ 'wallichianum' เป็นเกียรติแก่ Nathaniel Wallich (1786–1854) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก
Glochidion wallichianum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงมะขามป้อม (Phyllanthaceae) รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Johannes Muller Argoviensis (1828-1896) นักพฤกษศาสตร์ชาวสวิส ในปีพ.ศ.2406


ที่อยู่อาศัย พบได้ในป่าดิบ ที่ราบเชิงเขา ที่ราบลุ่ม ขึ้นกระจัดกระจายตามท้องถิ่นทั่วไป ชาวบ้านนำมาปลูก บริเวณบ้าน หรือบริเวณสวนใกล้บ้าน ที่ะดับความสูง 75–450 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ต้น สูงประมาณ 15 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นถึง 30 ซม.dbh ใบเป็นใบเดี่ยว ขนาดความกว้างของใบมีประมาณ 3.5-5.5 ซม. ยาวประมาณ 5-14 ซม.ออกแบบเรียงสลับ รูปไข่ขอบใบเรียบ ก้านใบมีความยาวประมาณ 3-5 มม มีเส้นแขนงใบประมาณ 5-7 คู่ ปลายใบแหลม โคนใบมัน หน้าใบสีเขียว ออกมันเล็กน้อย หลังใบเขียวอ่อนกว่า ใบอ่อนและก้านอ่อนมีสีเขียว หรือสีเขียวอมแดง ดอกออกเป็นช่อ ช่อดอกประกอบด้วยเกสรเพศผู้มากถึง 7 ดอก (และเกสรเพศเมียอีกสองสามดอก) หรือดอกเกสรเพศเมียมากถึง 15 ดอก ดอกสีเขียวถึงขาว ผลเป็นรูปทรงกลมแป้นเว้าด้านบนตรงกลาง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 ซม. และสูงประมาณ 1.2-1.5 ซม. ผลแก่มีสีชมพูไปจนถึงสีแดง ภายในผลจะแบ่งออกเป็น 10-12 พู เมื่อแห้งจะแตกออก และมีเมล็ดรูปร่างค่อนข้างกลมอยู่ภายในขนาด 2.2–2.4 x 2–2.2 x 1.8–2 มม.ประมาณ 10-12 เมล็ดโดยมีเยื่อหุ้มสีแดงติดอยู่ที่ปลายของแกนผล
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดตลอดวัน ชอบดินปนทรายร่วนอุดมสมบูรณ์ มีการระบายน้ำดึ ความชื้นในดินสม่ำเสมอ  เลี้ยงง่าย การบำรุงรักษา ต่ำ อัตราการเจริญเติบโต เร็ว
การรดน้ำ---ชอบให้ ดิน แห้งระหว่างการรดน้ำและควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ในช่วงฤดูหนาว รดน้ำเฉพาะเมื่อพืชแสดงอาการเหี่ยว
การตัดแต่งกิ่ง---ตัดแต่งกิ่งเพื่อรักษาขนาดและรูปทรงตัดแต่งหลังออกดอกหมด และเพื่อการเจริญเติบโตใหม่ การตัดแต่งกิ่งที่ตาย กิ่งที่เสียหายหรือเป็นโรคสามารถทำได้ตลอดเวลา
การใส่ปุ๋ย---ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ปีละ 1 ครั้ง เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ดีหลังการตัดแต่งกิ่ง
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่ค่อยมีโรคหรือแมลงรบกวน
รู้จักอ้นตราย---ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นพิษของพืชชนิดนี้
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้กินดิบและปรุงในลักษณะเดียวกับผักพื้นบ้านอื่นๆ ใช้กินเป็นผักสดกับน้ำพริก หรือกินกับขนมจีน มันปูยอดสีขาว รสมัน อร่อย ถ้ามันปูที่ยอดสีแดง จะมี รสฝาด
-ใช้เป็นยา สรรพคุณทางยา ราก ลำต้น แก้ร้อนใน เป็นยาบำรุง
ระยะเวลาออกดอก/ติดผล ---มีนาคม-ตุลาคม
ขยายพันธุ์---ตอนกิ่ง, เมล็ด แยกต้นเล็กไปปลูก


ทองแมว/Gmelina elliptica

[g-MEL-in-uh] [ɪ-ˈLɪp tɪk-ka]

ชื่อวิทยาศาสตร์---Gmelina elliptica Sm.(1810)
ชื่อพ้อง---Has 5 Synonyms.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:862937-1#synonyms   
---Gmelina asiatica f. inermis Moldenke.(1984)
---Gmelina integrifolia W.Hunter.(1909)
---Gmelina tomentosa H.R.Fletcher.(1938)
---Gmelina tonkinensis Moldenke.(1940)
---Gmelina villosa Roxb.(1820)
ชื่อสามัญ---Badhara-bush, Asiatic beechberry, Oval-leafed gmelina, Common bulang, Parrot's beak.
ชื่ออื่น---กระเบี้ยเหลือง (ศรีสะเกษ); คางแมว (ภาคกลาง, ภาคใต้); จิงจาย (นราธิวาส , นครศรีธรรมราช); ทองแมว, ทำเมีย (กาญจนบุรี); ทองแมว กันจาน (สระบุรี); นมแมว, ส้มแมว (ราชบุรี, ภาคใต้); ปูฉัง (สตูล); บูฉัง (พังงา); จิงจ้อ (ปัตตานี);[INDONESIA: Bulang, Bulangan, Pongranga, Wareng.];[MALAYSIA: Bulangan, Belongeh, Pukang matahari (Peninsular); Bulang, Belongoh, Bulang hutan, Bulang gajah, Bulang kecil, Pukang Mata Hari.];[PALAU: A kulb ne par reth, Kaingebard ra belau.];[PHILIPPINES: Mulawin-aso (Tagalog.); Puhang, Taluñgud, Taluñgun (Sulu.); Bulbuol, Taluñgun, Kaluñgun,Tantuñgun (Panay Bisaya).];[SPANISH: Rais madre de Dios.];[THAI: Krabia lueang (Si Sa Ket); Khang maeo (Central, Peninsular); Ching chai (Narathiwat); Thong maeo (Kanchanaburi); Nom maeo (Ratchaburi, Peninsular).];[VIETNAM: Tu hú lá bầu dục].
ชื่อวงศ์---LAMIACEAE (LABIATAE)
EPPO Code---GMEEL (Preferred name: Gmelina elliptica.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---หมู่เกาะอันดามัน ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
นิรุกติศาสตร์--- ชื่อสกุลมาจากภาษาละติน 'Gmelina' เพื่อเป็นเกียรติแก่ Johann Gottlieb Gmelin (1709-1755) นักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมัน ; ชื่อสายพันธุ์ 'elliptica' จากภาษาละติน "วงรี" อ้างอิงถึงรูปร่างของใบ
Gmelina elliptica เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระเพรา (Lamiaceae หรือ Labiatae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย James Edward Smith (1759 - 1828) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปีพ.ศ.2353


ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะอันดามัน, บอร์เนียว, กัมพูชา, จีน (ยูนนาน), ชวา, เกาะซุนดาน้อย, มาเลเซีย, หมู่เกาะมาลูกุ, พม่า, หมู่เกาะนิโคบาร์, ฟิลิปปินส์, สุลาเวสี, สุมาตรา, ประเทศไทยและเวียดนาม เติบโตตามแนวชายฝั่ง ระยะขอบของป่าตามริมฝั่งแม่น้ำและตามริมถนน และในพื้นที่เปิดโล่งอื่น ๆที่ระดับความสูง 0-600 เมตร ในประเทศไทยส่วนมากพบทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ ขึ้นตามชายป่าดิบชื้น และป่าชายหาด ความสูงระดับต่ำ ๆ
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 2-4 เมตร บางครั้งอาจสูงถึง 12 เมตรและเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นถึง 25 ซม.ปลายกิ่งมักห้อยลง ตามกิ่งอ่อนมีขนอุย ลำต้นอ่อนเปลือกต้นจะเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วเปลือกต้นด้านนอกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีหนามแข็งยาว 0.5-2 ซม.ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่หรือรูปรี ยาว 3-10 ซม. และกว้าง 3-5 ซม.ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือเกือบกลม แผ่นใบบาง หลังใบด้านบนมีขนขึ้นสั้นนุ่ม ส่วนท้องใบด้านล่างมีขนอุยแกมขนสั้นขึ้นหนานุ่ม สีเขียวเข้มด้านบนใบ สีเขียวเทาด้านล่าง และมีต่อมสีเขียวเล็กๆ ที่ฐานใบ ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งห้อยลง แบบช่อแยกแขนงขนาดเล็กสีเหลืองยาวประมาณ 10 ซม. มีขนสั้นหนานุ่ม มีใบประดับเป็นรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม ดอกเป็นสีเหลือง มีดอกย่อยประมาณ 17-42 ดอก ผลเป็นผลสดแบบมีเนื้อ ฉ่ำน้ำ รูปกระสวยยาวประมาณ 2 ซม.และเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 ซม.ก้านผลยาวประมาณ 4-6 มม.ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองมีเมล็ด 2 เมล็ด ส่วนมากมีเมล็ดเดียวที่เจริญ
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการแสงแดดเต็ม (ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน) หรือร่มเงาบางส่วน ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนปนทรายหรือดินเหนียวปนทราย หรือหินปูน ที่มีความชื้นสม่ำเสมอและมีการระบายน้ำดี ค่า pH ของดิน 6.1 ถึง 6.5 (เป็นกรดเล็กน้อย)
การรดน้ำ---ต้องการน้ำปานกลาง อย่าปล่อยให้ดินแห้งสนิท การรดน้ำต้องสม่ำเสมอและมีปริมาณมากในฤดูร้อน เว้นช่วงในฤดูหนาว
การตัดแต่งกิ่ง---ตัดแต่งกิ่งเพื่อรักษาขนาดและรูปทรง และเพื่อการเจริญเติบโตใหม่ ตัดแต่งหลังออกดอกหมด การตัดแต่งกิ่งที่ตาย กิ่งที่เสียหายหรือเป็นโรคสามารถทำได้ตลอดเวลา
การใส่ปุ๋ย---ควรใส่ปุ๋ยสำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไป (ปุ๋ยสูตรเสมอ) อย่างน้อยเดือนละครั้ง ยกเว้นในฤดูหนาว
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่ค่อยมีโรคหรือแมลงศัตรูพืชรบกวน  
รู้จักอ้นตราย---พืชมีหนามแหลม ใช้ความระมัดระวังอย่างมากในการจัดการ
ใช้ประโยชน์--- พืชนี้เก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้เป็นยาในท้องถิ่น และปลูกในเขตร้อนเป็นไม้ประดับ ใบและผลไม้ถูกนำมาใช้ในการแพทย์แผนโบราณสำหรับโรคที่หลากหลาย
-ใช้เป็นยา ส่วนที่ใช้ ผลและใบ ในคาบสมุทรมาเลเซียพืชใช้พอกสำหรับปวดหัวและผสมกับมะนาวใช้เป็นยาพอกสำหรับอาการบวม -รากจะถูกขูดและหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผสมกับปัสสาวะของเด็กเล็กใช้ในการรักษาอาการปวดหัว โรคที่เกี่ยวกับผิวหนังและโรคไขข้อ รากผสมกับมะนาวเพื่อรักษาอาการบวมและโรคโลหิตจาง รากนำไปใช้กับหนังศีรษะเพื่อป้องกันผมร่วง
-ผลไม้ผสมกับมะนาวและกระเทียมที่ใช้ในร่างกายเพื่อรักษาท้องมาน ผลไม้ที่บดเล็กน้อยจะใช้เป็นครีมบำรุงรอบดวงตา
-ใบต้มใช้สำหรับเหงือกอักเสบ
-ยางจากใบหรือผลไม้ใช้เป็นยาหยอดหูแก้ปวดหู
-ในประเทศไทยเปลือกของ Uvaria spp. และ Gmelina elliptica ใช้รักษาอาการคลื่นไส้และอาเจียนในระหว่างตั้งครรภ์
-ตำรายาพื้นบ้านอีสาน ประเทศไทยจะใช้รากทองแมว นำมาผสมกับรากก้านเหลือง รากกระเจียน และรากต่อไส้ ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงเลือด ขับน้ำคาวปลาหลังคลอด แก้อาการปวดเมื่อย
-ใช้ปลูกประดับ เหมาะปลูกเป็นไม้พุ่ม ในสวนสาธารณะ, สวนขนาดเล็กและสวนทั่วไป, ปลูกได้ตามชายฝั่งทะเล ทนไอเค็ม
-อื่น ๆเนื้อไม้แข็ง
ภัยคุกคาม--เนื่องจากสายพันธุ์นี้ถูกคุกคามจากความเสื่อมโทรมของแหล่งที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการแพร่กระจายและการเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ภัยคุกคามจึงไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อประชากรทั้งหมด ถูกจัดวางไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด'
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2019)
ระยะออกดอก/ติดผล ---เมษายน-สิงหาคม
ขยายพันธุ์--- เมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ


รง/Garcinia hanburyi


ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Garcinia hanburyi Hook.f. (1875)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2816884
---Garcinia morella var. pedicellata T.Hanb.(1863.)
ชื่อสามัญ---Gum Cambodge tree, Gamboge, Hanbury's garcinia, Siam gamboge
ชื่ออื่น---รง,รงทอง (จันทบุรี,ตราด); [AYURVEDA: Kankushtha; Kaalakushtha, Tamaala.];[CHINESE: Téng huáng, Téng huáng shù).];[EGYPT: Jarsinya hanburaa.];[GERMAN: Gummi-gutti];[PORTUGUESE: Gambogo, Gamboge-do-sião.];[SWEDISH: Gummiguttaträd];[TAIWAN: Téng huáng zhōngwén.];[THAI: Rong, Rong thong (Chanthaburi, Trat), Ton rong.];[UNANI: Usaar-e-revand.]; [VIETNAM: Đằng hoàng, Vàng nghệ, Trân huỳnh].
ชื่อวงศ์--- CLUSIACEAE (GUTTIFERAE)
EPPO Code---GANHA (Preferred name: Garcinia hanburyi.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้-ไทย ลาว กัมพูชา เวียตนาม
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Garcinia' เป็นชื่อที่ Linnaeus อุทิศให้กับแพทย์ชาวฝรั่งเศส นักพฤกษศาสตร์ และนักธรรมชาติวิทยา Laurent Garcin (1683-1752) ซึ่งปลูกสมุนไพรในอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย อิหร่าน และอาระเบีย; ชื่อเฉพาะสายพันธุ์ 'hanbury' เป็นชื่อที่ Linnaeus อุทิศให้กับ Thomas Hanbury (1832-1907) ผู้ใจบุญชาวอังกฤษ นักธุรกิจในประเทศจีน ผู้ก่อตั้ง Hanbury Gardens ที่มีชื่อเสียงใน Mortola di Ventimiglia
Garcinia hanburyi เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์มังคุด (Clusiaceae หรือ Guttiferae) สกุลส้มแขก (Garcinia) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Sir Joseph Dalton Hooker (1817-1911) นักพฤกษศาสตร์ นักชีววิทยาและศัลยแพทย์ ชาวอังกฤษ ในปีพ.ศ.2318
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดจากป่าดิบชื้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะจากประเทศไทย กัมพูชา ลาว และเวียดนาม เติบโตในป่าฝน พื้นที่ชุ่มน้ำ ที่ระดับความสูง 800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ในประเทศไทยพบเป็นไม้สวนทางภาคตะวันออก-จันทบุรีและภาคใต้
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็กสูง 12-15 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 20 ซม. เปลือกสีเทาเรียบหนา 4-6 มม.ทุกส่วนมียางเหนียวสีเหลือง ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปไข่ กว้าง4-6ซม.ยาว 8-14 ซม.สีเขียวเข้มมันลื่นโคนใบสอบปลายใบแหลม ใบหนาดอกช่อออกเป็นกระจุกเล็กๆที่ซอกใบ ดอกอาจเป็นดอกเพศเดียว (อาจเป็นดอกเพศผู้ หรือดอกเพศเมียก็ได้) หรือดอกกะเทย; ดอกเพศผู้ค่อนข้างเล็กกว่า และมากกว่าดอกเพศเมียและดอกกะเทย กลีบเลี้ยงคล้ายหนัง รูปรี ยาว 4-6 มม.กลีบดอกรูปไข่สีเหลืองและมีกลิ่นหอม ยาว 6-7 มม. ผลเป็นผลสดอุ้มน้ำแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ค่อนข้างกลม แข็ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-4 ซม. มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ เมล็ดเป็นรูปไข่มี 1-4 เมล็ด ขนาด 15-20 มม.


Pictures by : https://sadita.vn/chi-tiet-tin/dang-hoang-garcinia-hanburyi-369-10957.html
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการแสงแดดเต็ม (แสงแดดโดยตรงไม่น้อยกว่า 4-6 ชั่วโมงต่อวัน) หรือแสงแดดรำไร (แสงแดดโดยตรงน้อยกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมงในตอนเช้า) ขึ้นได้ในดินทุกชนิดค่อนข้างทนต่อดินประเภทต่างๆ ชอบดินที่ชื้น (จะแตกต่างกันไปตามชนิดของดิน) มีการระบายน้ำดี ค่า pH ที่เหมาะสม 6.1-6.5 สามารถเจริญเติบโตได้ในดินที่เป็นกรดมาก อัตราการเจริญเติบโต ปานกลาง
การรดน้ำ---ต้องการน้ำปานกลาง การรดน้ำต้องสม่ำเสมอและมีปริมาณมากในฤดูร้อน  ในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังปลูก ให้รดน้ำ 3 วันครั้งเท่านั้น หลังจากนั้นให้น้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และทุก ๆ 2 สัปดาห์ในช่วงฤดูหนาว
การตัดแต่งกิ่ง---ตัดแต่งกิ่งเพื่อรักษาขนาดและรูปทรงและเพื่อการเจริญเติบโตใหม่ ตัดแต่งหลังออกดอกและออกผลหมด การตัดแต่งกิ่งที่ตาย กิ่งที่เสียหายหรือเป็นโรคสามารถทำได้ตลอดเวลา
การใส่ปุ๋ย---ใส่ปุ๋ยอเนกประสงค์สูตรเสมอทุก 2 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปีละ 1 ครั้งหลังการตัดแต่งกิ่ง ปุ๋ยที่ดีที่สุดคือปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติที่มีเชื้อราไมคอไรซาและแบคทีเรียที่มีประโยชน์
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่ค่อยมีโรคหรือแมลงรบกวน
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ยางที่ได้จากลำต้นเป็นยาถ่ายที่รุนแรงใช้สำหรับการรักษาพยาธิตัวตืดใช้สำหรับแผลติดเชื้อ ปวดบวม
-ใช้อื่น ๆไม้ มีสีซีดหรือสีน้ำตาลอมเหลืองมีลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ มีเนื้อละเอียดและหนักพอสมควร ใช้งานได้ง่ายต้องใช้การขัดอย่างดี บางครั้งใช้สำหรับงานตกแต่งภายใน
-ต้นไม้มีค่าเพราะยางที่เรียกว่า gamboge ได้จากพืชชนิดนี้ในน้ำยางสีเหลืองประกอบด้วยเรซิน 70 – 80% ยางเหนียว 15 – 25% กรดที่มีมากคือกรดgambogic มักจะถูกเรียกว่า Siam gamboge เป็นสารสีเหลืองทองที่หลั่งออกมาจากแผลในเปลือกใช้สำหรับเคลือบเงา, สีและหมึก มันถูกใช้เป็นเม็ดสีในสีน้ำ
-โดยปกติจะไม่กรีดต้นไม้ก่อนอายุ 20 ปี เมื่อลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 ซม. มีการทำรอยบากเป็นเกลียวที่ลำต้นใต้กิ่งที่ต่ำที่สุด และเก็บสารหลั่งไว้ในภาชนะไม้ไผ่[303 ] ทุก ๆ 3 วัน เนื้อหาจะถูกเทลงในส่วนของก้านไม้ไผ่ขนาดเล็ก (ยาวประมาณ 75 ซม.) ซึ่งยางเรซินจะจับตัวเป็นก้อนในเวลาประมาณหนึ่งเดือนหรือนานกว่านั้น ภาชนะที่ทำด้วยไม้ไผ่จะถูกทุบให้แตกและเอาไส้ออกด้วยแท่งทรงกระบอก (ท่อ gamboge) ซึ่งเป็นรูปแบบปกติในการค้า บางครั้งก็ปั้นเป็นก้อนและอัดเป็นเค้ก กัมเรซิน (gum-resin) ที่ได้จากพืชชนิดนี้มักเรียกว่า Siam gamboge (เพื่อแยกความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกันจากเปลือกของ G. Morella ซึ่งเรียกว่า Indian gamboge) สปีชีส์นี้มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด และสปีชีส์นี้ได้รับการปฏิบัติในอดีตในฐานะความหลากหลาย (variety) ของ G. Morella
รู้จักอันตราย---ยางที่ได้จากต้นได้ถูกนำมาใช้เป็นยาในอดีต อย่างไรก็ตามปริมาณที่มากอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้กับมนุษย์อีกต่อไป
ระยะออกดอก/ติดผล---พฤศจิกายน - ธันวาคม/กุมภาพันธ์ - เมษายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด (ในสกุลนี้ส่วนใหญ่จะงอกช้าแม้ว่าจะหว่านสดก็ตาม มักใช้เวลา 6 เดือนขึ้นไปในการงอก)


คำไทย/Bixa orellana

[BIKS-uh] [or-Ril- lā-ǹā]


ชื่อวิทยาศาสตร์---Bixa orellana L.(1753)
ชื่อพ้อง ---Has 14 Synonyms.
---Bixa americana Poir.(1804)
---Bixa odorata Ruiz & Pav. ex G.Don.(1831)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-22274
ชื่อสามัญ ---Achiote, Anatto tree, Lipstick plant, Lipstick tree
ชื่ออื่น---คำเงาะ, คำแงะ, คำไทย, คำแฝด (กรุงเทพฯ); คำยง (เขมร); คำแสด (กรุงเทพฯ); จำปู้, ชาด (ภาคใต้); ชาตี (เขมร); ซิติหมัก (เลย); มะกายหยุม (ภาคเหนือ); ส้มปู้ (เขมร-สุรินทร์); แสด (ภาคเหนือ); หมากมอง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ;[ASSAMESE: Latkon-jorat, Jolandhar, Hat-ronga];[BENGALI: Latkan];[BOLIVIA: Urucú, Urucú del monte, Urucú silvestre.];[BRAZIL: Açafroa, Açafroeira-da-terra, Urucuzeiro.];[CHINESE: Hong mu];[DUTCH: Analto, Orleaanboom.];
[HINDI: Sinduri, Latkan];[FIJI: Nggesa, Nggisa, Qesa.];[FRENCH: Annato, Orelana, Rocou, Rocouyer, Roucou.];[GERMAN: Achote; Annottastrauch, Bischofsmütze, Orleanbaum, Orleanstrauch.];[INDONESIA: Galinggem, Galuga (Java); Paparada, Rapoparada, Simba, Tuwa (Sulawesi); Batang, Delinggem, Gelinggem, Kassumbo, Kesumba (Sumatra).];[JAPANESE: Hiryu-sida, Okenoki.];[KANNADA: Rangamali.];[MADAGASCAR: Vahinamalona.];[MALAYALAM: Kurannumannal.];[MARATHI: Sendri.];[MYANMAR: Thinbaw-tidin];[NETHERLANDS: Analto, Orleaanboom.];[PERU: Atolé.];[PHILIPPINES: Achuete, Echuete, Sotis.];[PORTUGUESE: Anato, Urucuzeiro, Urucu, Açafrão do Brasil, Açafroa-da-Bahia.];[SPANISH: Achiolte (Spain), Bija, Chaya, Onoto.];[SWAHILI: Mzingifuri.];[SURINAME: Kowssewee; Noucou.]; [TAMIL: Sappiravirai.];[THAI: Kham ngo, Kham ngae, Kham thai, Kham faet, Kham saet (Bangkok); Kham yong, Cha-ti (Khmer); Cham-pu, Chat (Peninsular); Si ti mak (Loei); Ma kai yum (Northern); Som-pu (Khmer-Surin); Saet (Northern); Mak-mong (Shan-Mae Hong Son).];[TONGA: Loa.];[USA/HAWAII: ‘Alaea, ‘Alaea la‘au, Kūmauna.];[VENEZUELA: Onotillo, Onoto.];[Vernacular: Doaloa rice (Pohnpeian).]
ชื่อวงศ์---BIXACEAE
EPPO Code---BIXOR (Preferred name: Bixa orellana.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---อเมริกาใต้---อาร์เจนตินา, ปารากวัย, บราซิล, โบลิเวีย, เปรู, เอกวาดอร์, โคลัมเบีย, เวเนซุเอลา, กียานัส;---อเมริกากลาง- ปานามาไปยังเม็กซิโก
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Bixa' มาจากคำในภาษาอะบอริจินของTaíno ตั้งโดย Linnaeus ;ชื่อเฉพาะ 'orellana' นั้นได้รับเพื่อเป็นเกียรติแก่นักสำรวจ ชาวสเปน Francisco de Orellana Bejarano Pizarro y Torres de Altamirano (1511–1546)) ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่ได้สำรวจเส้นทางตลอดความยาวของแม่น้ำอะเมซอน ซึ่งครั้งหนึ่งรู้จักกันในชื่อ Rio de Orellana ; ชื่อสามัญ 'achiote' มาจาก คำ Nahuatl (Aztec หรือ Mexicano เป็นภาษาหรือตามคำจำกัดความ เป็นกลุ่มของภาษาในตระกูลภาษา Uto-Aztecan) 'āchiotl' สำหรับไม้พุ่ม
Bixa orellana หรือที่เรียกว่า Achiote เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์คำแสดหรือ Bixaceaeได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนในปี พ.ศ.2296


ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อนซึ่งตั้งแต่สมัยโบราณสีย้อมสีแดงที่สกัดจากเมล็ดของมันได้รับการเสริมด้วยพลังสัญลักษณ์ (แสดงถึงชีวิตนิรันดร์, ดวงอาทิตย์, ไฟและเลือด, ความยิ่งใหญ่และอำนาจ) Bixa orellanaกลายเป็นที่นิยมทั่วโลกและในปัจจุบันมีการแพร่กระจายโดยการเพาะปลูกในเขตร้อนของอเมริกาตอนกลาง ทางเหนือและใต้ เช่น เม็กซิโก บราซิล กัวเตมาลาและประเทศที่มีอากาศร้อนทั่วโลก ในแอฟริกามีการเพาะปลูกในเชิงพาณิชย์ในเกือบทุกประเทศ มันได้กลายเป็นสัญชาติในประเทศเคนยาและแทนซาเนีย ในธรรมชาติพบได้ตามป่าเบญจพรรณชื้น ป่าดิบแล้ง แนวชายฝั่งทะเล จากระดับน้ำทะเลใกล้ถึงระดับความสูงประมาณ 2,200 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มสูงหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูงได้ถึง 4-5 เมตร ทรงต้นเป็นพุ่มกลมแตกกิ่งก้านมากเปลือกลำต้นเรียบสีน้ำตาลปนเทา ใบเดี่ยวขนาด 7-16 x 4-10 ซม ออกเรียงเวียนรอบต้น รูปไข่หรือรูปหัวใจ โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบบางเกลี้ยง นุ่ม ก้านใบยาว 4-7 ซม.ดอกออกเป็นช่อตั้งเป็นช่อเชิงหลั่น หรือช่อแยกแขนงบริเวณปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมี 8-50 ดอก ก้านดอกมีเกล็ดหนาที่ปลายยอด มีต่อมขนาดใหญ่ 5-6 ต่อม กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ รูปขอบขนาน ยาว 1-1.2 ซม. มีลายเป็นเกล็ดสีน้ำตาลอมแดง กลีบดอก 4-7 กลีบ รูปขอบขนานขนาด 2-3 x 1-2 ซม.สีขาวแกมชมพูหรือสีชมพูอ่อน หรือแต่งแต้มสีม่วงมีกลิ่นหอม ก้านมีเกล็ด เกสรเพศผู้จำนวนมาก ยาว 1.6 ซม.อับเรณูสีม่วง; เกสรเพศเมียยาว 1.6 ซม. ประกอบด้วยรังไข่ 1 เซลล์ มีหนาม ผลเป็นแคปซูลรูปไข่ เรียงเป็นกระจุกคล้ายฝัก ยาว 1.3-4.5 ซม. และ 1 กว้างประมาณ 3-4 ซม.รูปสามเหลี่ยม ปลายแหลม มีขนสีแดงเข้มทึบยาวปกคลุม คล้ายผลเงาะ เมื่อแก่เต็มที่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ฝักจะแห้ง แข็ง และปริออก ทำให้เห็นเมล็ด แต่ละแคปซูลหรือฝักประกอบด้วยเมล็ดรูปกรวย 30–45 เมล็ด ขนาดประมาณ 5 มม. หุ้มด้วยขี้ผึ้งบางๆ สีแดงเลือดหมู ประมาณ 30 วันนับจากเริ่มออกดอก แคปซูลจะปรากฏบนต้นไม้และ 90 วันต่อมาจะสุกและแห้ง
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการแสงแดดจัด สามารถปลูกได้ในที่ร่มรำไร (ป่าโปร่ง) อุณหภูมิในช่วง 28°C - 38°C ชอบดินที่เป็นกลางถึงเป็นด่างเล็กน้อย ค่า pH ในช่วง 5.5 - 7.5 ทนได้ 4.5 - 8.5 ชอบดินชื้นและทนแล้งได้ เป็นพืชที่ดูแลง่าย มันจะเติบโตเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่เมื่อปลูกในดินที่ลึกและอุดมสมบูรณ์ไปด้วยวัตถุอินทรีย์ ต้นไม้สามารถเริ่มมีผลเมื่ออายุเพียง 2 ปี ผลผลิตสามารถดำเนินต่อไปได้นานถึง 15-20 ปี
การรดน้ำ---รดน้ำปกติ ต้องการน้ำปานกลาง รดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ชอบดินชื้นและทนแล้งได้
การตัดแต่งกิ่ง---สามารถตัดแต่งกิ่งให้มีขนาดเล็กและเป็นพุ่ม หรือปล่อยให้เติบโตเป็นต้นไม้ขนาดเล็ก หากต้องการปลูกเป็นไม้พุ่มเพื่อกระตุ้นการแตกแขนง ให้เด็ดยอดที่งอกใหม่ล่าสุดที่ปลายออก แล้วก้านจะแตกออกเป็นสองส่วน การตัดแต่งกิ่งที่ตาย กิ่งที่เสียหายหรือเป็นโรคสามารถทำได้ตลอดเวลา
การใส่ปุ๋ย---ใช้ปุ๋ยเม็ดอเนกประสงค์สูตรเสมอทุก 2 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักปีละ 2 ครั้งในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิและปลายฤดูใบไม้ร่วง
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่มีปัญหาแมลงหรือโรคร้ายแรง
รู้จักอ้นตราย---พิษ: สารคล้ายขี้ผึ้งที่มีฤทธิ์เป็นอัมพาตต่อปรสิตในลำไส้ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีอยู่ในเยื่อหุ้มเมล็ด Bixin ที่สกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ด

ใช้ประโยชน์--- เป็นพืชที่มีความสำคัญต่อชีวิตของคนในท้องถิ่นโดยให้ความสำคัญกับอาหารและวัสดุที่หลากหลาย
-ใช้กินได้ เมล็ดมีรสจืดใช้เป็นเครื่องปรุงในจานต่าง ๆ  เมล็ดทั้งหมดนำไปบดกับเครื่องปรุงรสอื่น ๆ ซึ่งให้รสชาติที่เด่นชัดกว่า เมล็ดมีคุณค่าทางโภชนาการสูงประกอบด้วยน้ำมันไขมันจำนวนเล็กน้อย (5%) และโปรตีนประมาณ 13% ผลิตภัณฑ์หลักที่ได้รับจากBixa orellanaเป็นสีย้อมอินทรีย์ที่มีอยู่ในเปลือกหุ้มเมล็ดซึ่งเรียกว่า 'annatto' ในภาษาอังกฤษ 'rocou' ในภาษาฝรั่งเศส 'achiote' ในภาษาสเปนและ 'orlean' ในภาษาเยอรมัน เนื่องจากความสามารถในการละลายของไขมันจึงถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อเพิ่มสีเหลืองหรือสีส้มให้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่นเนยชีสมาการีน ไอศกรีม เนื้อสัตว์ ขนม, ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ ข้าวและเครื่องปรุงรสต่าง ๆเป็นสีย้อมที่ไม่ก่อมะเร็งและไม่เป็นอันตราย  
-ใช้เป็นยา แม้จะมีวัฒนธรรมและประเพณีที่แตกต่างกันในบรรดาประเทศต่าง ๆในอเมริกาใต้และตอนกลาง แต่การใช้เพื่อเป็นยาหลายอย่างก็ยังคงเหมือนเดิมเช่นใช้เป็นยาลดไข้  ยาโป๊ว, แก้เบาหวานและขับไล่แมลง พืชถูกใช้ในอเมริกาใต้เพื่อรักษาโรคมาลาเรีย น้ำมันส่งเสริมการรักษาบาดแผลที่ผิวหนัง
-ยาต้มจากเปลือกใช้สำหรับรักษา โรคหลอดเลือดหัวใจตีบและโรคหอบหืด ใช้ยาต้มใบเป็นยารักษาโรคบิดและเพื่อลดการอาเจียนในระหว่างตั้งครรภ์
-ยอดสดจะแช่ในน้ำซึ่งจะใช้เป็นยาล้างตาสำหรับตาอักเสบ
-ใบสามารถเลือกได้ตามต้องการและใช้สดหรือแห้ง
-น้ำนมจากก้านใบจะถูกแช่ในน้ำร้อนกับเหล้ารัมแล้วใช้ในการกำจัดสารคัดหลั่งออกจากเปลือกตาที่หุ้มห่อเพื่อรักษาโรคเกล็ดกระดี่ --รากย่อยอาหารและขับปัสสาวะ ยาต้มนำมารับประทานเพื่อควบคุมโรคหอบหืด
-การแช่รากในน้ำและเหล้ารัมใช้ในการรักษาโรคกามโรค เนื้อผลไม้ถูกนำมาใช้ถูบนผิวหนังเพื่อป้องกันผิวถูกแดดเผา
-สีย้อมที่ได้จากเยื่อหุ้มเมล็ดใช้เป็นยาแก้พิษจากกรดพรัสซิก (prussic acid) ที่เกิดจากการรับประทาน Manihot esculenta (มันสำปะหลัง) ที่ผ่านการปรุงไม่ดี
-ต้นไม้ถูกนำมาใช้ในอายุรเวทซึ่งเป็นแนวทางการแพทย์พื้นบ้านของอินเดียโดยเชื่อว่าส่วนต่างๆ ของพืชมีประโยชน์ในการบำบัด


-ใช้ปลูกประดับ มักจะปลูกเป็นไม้ประดับสวนในบ้าน,สวนสาธารณะ สำหรับทรงพุ่มที่สวยงาม ดอกสีขาว-ชมพูกับผลสีแดงสด
-ใช้อื่น ๆ กระพี้มีสีขาวและแก่นไม้สีน้ำตาลอ่อนหรือสีเหลือง ไม้เนื้ออ่อนน้ำหนักเบา (ความถ่วงจำเพาะ 0.4) มีรูพรุนอ่อนแอและไม่คงทน ลำต้นและกิ่งก้านใช้เป็นเชื้อเพลิง
-ใช้เป็นอาหารสัตว์ กากเมล็ดซึ่งหลงเหลืออยู่หลังจากการสกัดเม็ดสีออกจากเมล็ด มีประโยชน์สำหรับเป็นอาหารสัตว์ปีกและสามารถแทนที่ข้าวโพด 30% ในอาหารได้
-ว่ากันว่าไฟสามารถเกิดขึ้นได้จากการเสียดสีของไม้เนื้ออ่อน 2 ชิ้น
-ที่มาของสีย้อมธรรมชาติสีแดงที่รู้จักกันในชื่อ Annatto ถูกใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในการผลิตสีเคลือบเล็บน้ำมันใส่ผม, ลิปสติก, สบู่และผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนเช่นขี้ผึ้ง,ยาขัดเฟอร์นิเจอร์, ยาขัดรองเท้า
-ชนพื้นเมืองในแถบอเมริกาเขตร้อนใช้สีย้อมจากพืชเพื่อระบายสีใบหน้าและร่างกายเพื่อการตกแต่งและเพื่อปกป้องจากแมลงและดวงอาทิตย์ Annatto paste กรองรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดดซึ่งช่วยปกป้องผิวจากการถูกแดดเผามากเกินไป -Bixin สกัดจากเปลือกหุ้มเมล็ดใช้ในอินเดียเป็นยาขับไล่แมลง
-สีย้อมสีแดงที่ได้จากเมล็ดถูกนำไปใช้กับผิวหนังเพื่อขับไล่ยุงและแมลงกัดอื่น ๆ
-เมล็ดมีน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นหอม
พิธีกรรม/ความเขื่อ---การใช้แบบดั้งเดิมที่สำคัญอย่างหนึ่งของต้น Bixa orellana คือ สำหรับร่างกาย ใบหน้า และผม ในหมู่ชนเผ่าและอารยธรรมโบราณต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการตกแต่งหรือเป็นลางบอกเหตุเพื่อปัดเป่าวิญญาณชั่วร้ายและความเจ็บป่วย
ภัยคุกคาม--เนื่องจากสายพันธุ์นี้ถูกคุกคามจากความเสื่อมโทรมของแหล่งที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการแพร่กระจายและการเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ภัยคุกคามจึงไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อประชากรทั้งหมด ถูกจัดวางไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด'
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species. https://www.gbif.org/species/2874863
ระยะเวลาออกดอก/ติดผล --- กันยายน-ตุลาคม/ธันวาคม-มกราคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง (เมล็ดใช้เวลาในการงอก8-10 วัน)


ต่อไส้/Allophylus cobbe


ชื่อวิทยาศาสตร์---Allophylus cobbe (L.) Forsyth f.(1794)
ชื่อพ้อง---Has 24 Synonyms
---Basionym: Rhus cobbe L.(1753)
---Ornitrophe cobbe (L.) Willd.(1799)
---Schmidelia cobbe (L.) DC.(1824)
---Toxicodendrum cobbe (L.) Gaertn.(1788)
---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:77163314-1#synonyms
ชื่อสามัญ---Tit-berry, Titberry, Indian Allophylus, Diverse Trifoliate Sumach, Rhus cobbe.
ชื่ออื่น---กวง, กุม (ภาคใต้); ไก่เถื่อน (ภาคกลาง); ข้าวตาก (ภาคตะวันออก); คางลาง (ภาคกลาง); ง้วนพู (ภาคตะวันออก); จ๊าตอง (ลำพูน); ต่อไส้ (ทั่วไป); ต่อไส้ขาว (ภาคใต้); ตานขโมย (กาญจนบุรี); ตาลอีลิ้น (สระบุรี); เพี้ยฟาน (ภาคเหนือ); แมงเม่า (ภาคตะวันออกเฉียงใต้); โลด, โลดน้ำ, สิบไส้ (ภาคใต้) ;[ASSAMESE: Chi-chehirum.];[BENGALI: Rakhalphul.];[BORNEO: Pamaman.];[BRUNEI: Tukil-tukil.];[CHINESE: Dian nan yi mu huan.];[FRENCH: Bois trois feuilles.];[INDONESIA: Cukilan (Javanese); Si jangi, Sicancang (Minangkabau, Sumatra); Pokok Tumbit Kayu (Bahasa Melayu).];[KANNADA: Murele Bemde.];[MALAYALAM: Mukkannanpezhu, Mukkannal Peezh.];[MALAYSIA: Chinchang, Chunkil (Peninsular); Kelampu (Iban, Sarawak); Buah Penancang, Tumbit Kayu, Matoa, Kasai (Malay); Embuakat, Gamperut (Dusun); Bonbongan, Kerimbau (Murut); Mambahino (Bajau).];[MARATHI: Theepani, Thivana, Tipin.];[MYANMAR: Zaung-gale.];[PHILIPPINES: Barotangol (General); Bating-tangkaian, Bignai-gubat (Filipino).];[SANSKRIT: Triputa.];[TAIWAN: Kaobo Yimu Chinese, Zhigong tree.];[TAMIL: Amalai.];[TELUGU: Guvva Gutti, Erra Avalu, Salli Kunkudu.];[THAI: Kuang, Kum (Peninsular); Kai thuean (Central); Khao tak (Eastern); Khang lang (Central); Nguan phu (Eastern); Cha tong (Lamphun); To sai (General); To sai khao (Peninsular); Tan khamoi (Kanchanaburi); Tan i lin (Saraburi); Phia fan (Northern); Maeng mao (Southeastern); Lot,  Lot nam, Sip sai (Peninsular).];[VIETNAM: Chạc ba, Ngoại mộc.].
ชื่อวงศ์---SAPINDACEAE
EPPO Code---AOLCO (Preferred name: Allophylus cobbe.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย , ศรีลังกา , แอฟริกาใต้ , อเมริกาใต้ , เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และปาปัวนิวกินี
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Allophylus' มาจากภาษากรีก “allos” = แตกต่าง และ “phyton” = เผ่าพันธุ์ ตามลักษณะที่ผันแปรของรูปร่าง ขนาดของใบและช่อดอก; ชื่อเฉพาะสายพันธุ์ 'cobbe' ( นิรุกติศาสตร์ นี้ ขาดหายไปหรือไม่สมบูรณ์ โปรดเพิ่มหรือพูดคุยได้ที่ Etymology scriptorium ) https://en.wiktionary.org/wiki/Cobbe
Allophylus cobbe เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เงาะหรือวงศ์ soapberry (Sapindaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย William Forsyth (Junior) (1772–1835) นักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกันในปี พ.ศ.2337


ที่อยู่อาศัย มีการกระจายในวงกว้าง พบได้ทั่วไปในเขตร้อนใน อเมริกา, แอฟริกาและผ่านเอเชียไปยัง ออสเตรเลีย และแปซิฟิก แนะนำ (เพาะปลูก) ในเอเชีย-ทรอปิคอล อินโดจีน ประเทศไทย พรรณไม้ชนิดนี้มีความผันแปรสูงมาก พบบ้างที่เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยขึ้นอยู่ตามชายหาดและหลังแนวป่าชายเลนที่เป็นเลนแข็ง มีความทนทานทางนิเวศทำให้มีขอบเขตการกระจายหลายสภาพป่า พบที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1,500 (-2,000) เมตร ในออสเตรเลียมีการบันทึกไว้ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลถึงประมาณ 500 เมตร ในประเทศไทย พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าโปร่ง ป่าดิบแล้งทั่วไป ที่ระดับน้ำทะเล 300-1,200 เมตร
ลักษณะ โดยทั่วไปเป็นไม้พุ่มตามนิสัย แต่อาจเป็นไม้เลื้อยหรือในบางครั้งเป็นต้นไม้ที่สามารถสูงได้ถึง 10 เมตร แต่โดยทั่วไปแล้วจะสูงไม่เกิน 3-5 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นมีเปลือกเรียบสีน้ำตาลอมเทา ก้านใบประกอบมักมีขน ยาวประมาณ 1.5-8 ซม. ด้านบนเป็นร่องตื้นๆ ใบประกอบแบบนิ้วมือมี 3 ใบย่อย (trifoliolate) แต่อาจมีใบประกอบตั้งแต่หนึ่งถึงห้าใบ ขนาด 8-12 x 5-7 ซม เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปไข่หรือรูปไข่กว้าง รูปรีถึงรูปใบหอก โคนใบแหลมเยื้อง หยักมนถึงจักฟันเลื่อย ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ออกแบบช่อเชิงลด ออกตามง่ามใบ ช่อดอกยาว 6-20 ซ.ม.แตกแขนง 2-4 กิ่ง แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยมีกลีบดอก 4 กลีบ สีขาวหรือเหลืองอ่อนรูปช้อน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มม.ดอกไม้มีขนาดเล็กและไม่เด่น ผลสดรูปทรงกลมหรือไข่กลับ ขนาด 5-6 x 4-5 มม.ออกเป็นพวงตั้งขึ้น ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีส้มถึงแดงสด มันวาวเนื้อค่อนข้างแน่น ทรงกลมถึงรูปไข่กลับ ขนาด 4.5–12.5 x 3.5–8 มม. มักมี 1 เมล็ดรูปทรงกลมถึงรูปวงรี ขนาดประมาณ 4-5 มม.สีแดงอมส้มหม่นๆ
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัดหรือแสงแดดรำไรถึงร่มเงาบางส่วน ดินร่วนอุดมสมบุรณ์เก็บความชื้นระบายน้ำและอากาศได้ดี ทนต่อดินแห้ง น้ำขัง ดินเค็มและละอองเกลือ
การรดน้ำ---ต้องการน้ำปานกลาง รดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ชอบดินชื้นและทนแล้งได้
การตัดแต่งกิ่ง---สามารถตัดแต่งกิ่งให้มีขนาดเล็กและเป็นพุ่ม หรือปล่อยให้เติบโตเป็นต้นไม้ขนาดเล็ก หากต้องการปลูกเป็นไม้พุ่มเพื่อกระตุ้นการแตกแขนง ให้เด็ดยอดที่งอกใหม่ล่าสุดที่ปลายออก แล้วก้านจะแตกออกเป็นสองส่วน การตัดแต่งกิ่งที่ตาย กิ่งที่เสียหายหรือเป็นโรคสามารถทำได้ตลอดเวลา
การใส่ปุ๋ย---ใช้ปุ๋ยเม็ดอเนกประสงค์สูตรเสมอทุก 2 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักปีละ 2 ครั้งในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิและปลายฤดูใบไม้ร่วง
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่มีปัญหาแมลงหรือโรคร้ายแรง
รู้จักอันตราย---ผลไม้เป็นพิษกับปลา ในนิวกินีใช้เป็นยาพิษปลา
การใช้ประโยชน์--- พืชที่เก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นอาหารยาและแหล่งที่มาของไม้
-ใช้กินได้ ผลดิบรสเปรี้ยวนิดๆ ผลสุกรสหวานมาก
-ใช้เป็นยา สรรพคุณทางยา ใบอ่อน ตำผสมดินสอพองสุมกระหม่อมเด็ก แก้หวัด ใบใช้เป็นน้ำยาบ้วนปาก รักษากระดูกหัก บรรเทาผื่น รากขับปัสสาวะ รักษาอาการท้องเสีย รักษาเส้นเอ็นที่ชำรุด
-ในประเทศอินเดีย เปลือกต้น ราก และใบ ใช้รักษาอาการปวดกระเพาะอาหาร และแก้ไข้
-ในเวียตนาม ใช้เป็นยารักษาเส้นเอ็น
-ใช้ปลูกประดับ สามารถปลูกในบ้านได้ทั้งใบประดับและผลไม้ รวมถึงเป็นที่อยู่อาศัยและอาหารของนก สามารถใช้ในสวนสาธารณะและภูมิทัศน์สวน ตามชายฝั่งหรือริมชายหาด
-อื่น ๆ ไม้มีความแข็ง แต่ไม่คงทนมาก ส่วนใหญ่จะใช้เป็นไม้สำหรับโครงสร้างชั่วคราวและภายในอาคาร (จันทัน ไม้เท้า ด้ามมีด ไม้ตีผลฝ้าย) ใช้เป็นเชื้อเพลิง
-ในBismarck Archipelago มีการใช้เสาและกิ่งไม้สำหรับทำเรือแคนูและทำเครื่องหมายตำแหน่งของกับดักปลา
ระยะออกดอก/ติดผล---(มีนาคม-) พฤษภาคม-สิงหาคม (-พฤศจิกายน)/(พฤษภาคม.-) กรกฏาคม-ธันวาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด ชำราก (ระยะเวลาการงอก ของเมล็ด 26 ถึง 166 วัน)


ระย่อมตีนเป็ด/Rauvolfia sumatrana

[raau-FO-feeah] [soo-MAH-truh-nuh]

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Rauvolfia sumatrana Jack.(1820)
ชื่อพ้อง---Has 10  Synonyms.
---Cyrtosiphonia madurensis Teijsm. & Binn.(1866)
---Cyrtosiphonia reflexa (Teijsm. & Binn.) Miq.(1857)
---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:81660-1#synonyms
ชื่อสามัญ---Sumatra devil pepper
ชื่ออื่น---ตีนเป็ดเล็ก (สุราษฎร์ธานี); ระย่อมตีนเป็ด (กรุงเทพฯ) ;[CHINESE: Su men da la luo fu mu.];[MALAYSIA: Pulai pipit.];[THAI: Tin pet lek (Surat Thani); Rayom tin pet (Bangkok).];[VIETNAM: Ba gạc đại mộc.].
ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE
EPPO Code---RAUSS (Preferred name: Rauvolfia sp.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้-พม่า ไทย คาบสมุทรมลายู บอร์เนียว สุมาตรา ชวา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Rauvolfia' ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ Leonhard Rauwolf (also spelled Leonhart Rauwolff) (1535 – 1596) เป็นแพทย์ นักพฤกษศาสตร์ และนักเดินทางชาวเยอรมัน ; ชื่อเฉพาะสายพันธุ์ 'sumatrana' = จากสุมาตรา อ้างอิงถึงแหล่งกำเนิดแห่งหนึ่ง
Rauvolfia sumatrana เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ตีนเป็ด (Apocynaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Jack (1795–1822) นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต ในปี พ.ศ.2463


ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน, อินเดีย, พม่า ,ไทย ,เวียตนาม, มาเลเซีย ,อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ พบขึ้นตามริมลำธารในป่าดิบชื้น ป่าเต็งรังที่ลุ่มและป่าไม้สัก บางครั้งก็อยู่ในขอบของป่าไม้ตามชายฝั่ง ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลถึงประมาณ 1,400 เมตร ในประเทศไทยพบทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ขึ้นริมลำธารในป่าดิบชื้น ที่ระดับความสูงถึงประมาณ 400 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ต้นขนาดเล็กไม่ผลัดใบ แตกกิ่งต่ำ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทุกส่วนมียางสีขาว สูงได้ถึง 10-20 เมตร ลำต้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25-40 ซม.ตามกิ่งจะมีช่องอากาศหนาแน่น ก้านใบยาว 0.7–2.8 ซม.ใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาวประมาณ 4.5-20 ซม.แผ่นใบหนา เส้นแขนงใบข้างละ 24-30 เส้น เรียงจรดกันเป็นเส้นขอบใน ช่อดอกหลายช่อมีมากถึง 35 ดอกขึ้นไปเรียงเวียนรอบข้อตามปลายกิ่ง ยาว 8-20 ซม.ก้านดอกยาว 11–14.5 ซม. กลีบเลี้ยงรูปไข่ 1.5–1.7 x 1.2–2.2 มม. ปลายป้าน ดอกสีขาว หลอดกลีบดอกยาว 4–4.5 มม. แฉกยาว 1.5–1.8 มม. ด้านนอกเกลี้ยง มีขนด้านในถึงใต้เกสรเพศผู้ มีขนสั้นนุ่มรอบปากหลอด ผลกลมรี ออกเป็นคู่ติดกันที่ฐาน เอนโดคาร์ปแข็ง 2 อันที่แยกจากกันล้อมรอบด้วยเมโซคาร์ปเนื้อเดียว กลมหรือเยื้องด้านบน เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2.5 ซม.ผลสุกมีสีดำอมน้ำเงินหรือดำอมม่วง แต่ละผลมี 1 เมล็ดขนาด 7.7–8.5 x 2–3.5 มม.
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัด สามารถปลูกได้ในที่ร่มรำไร (ป่าโปร่ง) ดินร่วนปนทราย ดินที่ชื้น ดินร่วนซุยที่อุดมสมบูรณ์ มีการระบายน้ำดี ค่า pH ในช่วง 5.5-7 ทนได้ 5-7.5 อัตราการเจริญเติบโต ปานกลาง
การรดน้ำ---ต้องการน้ำปานกลาง การรดน้ำต้องสม่ำเสมอและมีปริมาณมากในฤดูร้อน เว้นช่วงในฤดูหนาว
การตัดแต่งกิ่ง---ตัดแต่งกิ่งเพื่อรักษาขนาดและรูปทรงตัดแต่งหลังออกดอกและออกผลหมด และเพื่อการเจริญเติบโตใหม่ การตัดแต่งกิ่งที่ตาย กิ่งที่เสียหายหรือเป็นโรคสามารถทำได้ตลอดเวลา
การใส่ปุ๋ย---ใส่ปุ๋ยเม็ดอเนกประสงค์สูตรเสมอ ทุก2สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปีละ 1 ครั้งหลังการตัดแต่งกิ่ง
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่ค่อยมีโรคหรือแมลงรบกวน /การให้น้ำมากเกินไปอาจทำให้รากเน่าได้
รู้จักอ้นตราย---แม้ว่าเราจะไม่เห็นข้อมูลเฉพาะสำหรับสปีชีส์นี้ แต่ส่วนใหญ่สมาชิกทั้งหมดในสกุลนี้มีอัลคาลอยด์ที่เป็นพิษ
ใช้ประโยชน์--- พืชที่เก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นยาและแหล่งที่มาของไม้ บางครั้งมีการปลูกเพื่อใช้เป็นยา
-ใช้เป็นยา เปลือกใช้รักษาโรคบิด แก้ท้องร่วง ป้องกันและรักษาโรคมาลาเรีย
-ถูกใช้อย่างแพร่หลายโดยชนเผ่าของหมู่เกาะอันดามันและหมู่เกาะนิโคบาร์ในการรักษาอาการป่วยต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นยาต้านพยาธิ fbr บรรเทาปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โรคลมบ้าหมู โรคลมชัก และอาการปวดหัว
-ในประเทศฟิลิปปินส์เปลือกแห้งใช้รักษาไข้มาลาเรีย เปลือกไม้ใช้เป็นยาระบาย
-ในเวียตนาม ใช้รากลดความดันโลหิต
-อื่น ๆ ไม้เนื้ออ่อนใช้สำหรับเป็นไม้กระดานและวัตถุขนาดเล็กเช่นมีดจับ ด้ามมีดและใช้ทำฝักดาบ
ภัยคุกคาม---เนื่องจากสายพันธุ์นี้มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างมาก มีประชากรจำนวนมาก ปัจจุบันไม่พบภัยคุกคามที่สำคัญใดๆ และไม่มีการระบุถึงภัยคุกคามที่สำคัญในอนาคต สายพันธุ์นี้จึงได้รับการประเมินล่าสุดใน IUCN Red List ประเภท 'กังวลน้อยที่สุด'
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2019)
สถานะการอนุรักษ์---CITES Appendix II (ควบคุมการค้าเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ที่ไม่เข้ากันกับการอยู่รอดของสายพันธุ์)
ระยะออกดอก/ติดผล---ตุลาคม-พฤศจิกายน/พฤศจิกายน - มกราคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด, ตอนกิ่ง


คำขาว/Rhododendron moulmeinense

ชื่อวิทยาศาสตร์---Rhododendron moulmeinense Hook.f.(1856)
ชื่อพ้อง--- Has 7 Synonyms
---Azalea moulmainensis (Hook.) Kuntze.(1891)
---Rhododendron leucobotrys Ridl.(1909)
---Rhododendron nematocalyx Balf.f. & W.W.Sm.
---Rhododendron oxyphyllum Franch.(1917)
---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:332916-1#synonyms
ชื่อสามัญ---Westland's Rhododendron.    
ชื่ออื่น---กุหลาบพันปีป่า, กุหลาบเขาหลวง, กุหลาบป่า (ทั่วไป); คำขาว (เชียงใหม่);[CHINESE: Máo mián dùjuān huā, Mao mian du juan];[MYANMAR: Zalat-pyu.];[THAI: Ku lap pa (general); Kham khao (Chiang Mai).];[VIETNAM: Đỗ quyên lá nhọn].
ชื่อวงศ์---ERICACEAE
EPPO Code---RHOSS (Preferred name: Rhododendron sp.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นิรุกติศาสตร์---ชื่อของสกุล 'Rhododendron' จากภาษากรีกโบราณ ῥόδον (rhódon = “ กุหลาบ” ) + δένδρον  ( déndron = “ ต้นไม้” )
-ชื่อสามัญ "Westland's rhododendron" ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ AB Westland หัวหน้าอุทยานพฤกษศาสตร์คนแรกของฮ่องกง  Yun-shen Bau และ Lai Ying-lun: คู่มืออย่างเป็นระบบสำหรับพืชตระกูลเฮลธ์ของฮ่องกง
Rhododendron moulmeinense เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในวงศ์กุหลาบป่า (Ericaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย  Sir Joseph Dalton Hooker (1817-1911) นักพฤกษศาสตร์ นักชีววิทยาและศัลยแพทย์ชาวอังกฤษ ในปีพ.ศ.2399
ที่อยู่อาศัย พืชพื้นเมืองทางตอนใต้ของประเทศจีน (ฝูเจี้ยน, กวางตุ้ง, กวางสี, กุ้ยโจว, ฮ่องกง, หูหนาน, ยูนนาน ), พม่า, มาเลเซีย, ไทยและเวียดนาม ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ตามป่าดิบเขา ที่ค่อนข้างโปร่ง สูงจากระดับน้ำทะเล 950-2,200 เมตร เช่น เขาหลวงและ เขานัน จังหวัดนครศรีธรรมราช
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-15 เมตร เปลือกสีเทาน้ำตาลไม่ลอก ก้านใบยาว 10-15 มม.ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ เป็นกลุ่มห่าง ๆกลุ่มละ 3-6 ใบ รูปรีแกมรูปหอกยาว 7-14 ซม.กว้าง 3-6 ซม.ปลายใบแหลม ดอกสีขาวออกเป็นช่อตามปลายกิ่งและซอกใบช่อละ 3-5 ดอก ก้านดอก 1-2 ซม. เกลี้ยง กลีบเลี้ยง 5 แฉกตื้นๆ ดอกกว้างถึง 6 ซม.กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายแยกแผ่เป็น 5 กลีบ บริเวณโคนกลีบมีประสีเหลืองแต้มเป็นทาง เกสรเพศผู้มี 10 อัน มีขนที่ส่วนล่าง รังไข่ รูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 5 มม. เกลี้ยง ผลแคปซูลทรงกระบอกปลายแหลม มี 5 พู ขนาด 35–60 × 4–6 มม. ผลแก่แตกเป็น 5 เสี่ยง เมล็ดแบนขนาดเล็กมีปีกบางใสล้อมรอบ จำนวนมาก
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---เจริญเติบโตได้ดีบนภูเขาสูงอากาศหนาวเย็น สภาพป่าสมบูรณ์ ร่มครึ้ม ความชื้นสูง ดินร่วนระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุมาก ทนอุณหภูมิต่ำสุด (-12°C)
การรดน้ำ---ต้องการน้ำปานกลาง การรดน้ำต้องสม่ำเสมอและมีปริมาณมากในฤดูร้อน เว้นช่วงในฤดูหนาว
การตัดแต่งกิ่ง---ตัดแต่งกิ่งเพื่อรักษาขนาดรูปทรงและเพื่อการเจริญเติบโตใหม่ ตัดแต่งหลังออกดอกหมด การตัดแต่งกิ่งที่ตาย กิ่งที่เสียหายหรือเป็นโรคสามารถทำได้ตลอดเวลา
การใส่ปุ๋ย---ใช้ปุ๋ยละลายช้าทุก 3 เดือน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปีละ 1 ครั้งหลังการตัดแต่งกิ่ง
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่ค่อยมีโรคหรือแมลงรบกวน /การให้น้ำมากเกินไปอาจทำให้รากเน่าได้
รู้จักอ้นตราย---ไม่มีข้อมูลความเป็นพิษของพืชชนิดนี้
ใช้ประโยชน์---นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ
ภัยคุกคาม--เนื่องจากสายพันธุ์นี้ถูกคุกคามจากความเสื่อมโทรมของแหล่งที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการแพร่กระจายและการเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ภัยคุกคามจึงไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อประชากรทั้งหมด ถูกจัดวางไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด'
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2019)
-ในฮ่องกงซึ่งเกิดขึ้นบนเกาะ Ma On Shan, Pat Sin Leng, Wu Kau Tang และเกาะ Lantau เป็นสายพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎระเบียบป่าไม้ 96A.
ระยะออกดอก/ติดผล---มีนาคม-เมษายน, กรกฎาคม-ธันวาคม/พฤษภาคม-มิถุนายน, มกราคม-กุมภาพันธ์
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ


กุหลาบแดง/Rhododendron simsii

ชื่อวิทยาศาสตร์---Rhododendron simsii Planch.(1853)
ชื่อพ้อง---Has 14 Synonyms.
---Azalea prolifera Poit.(1829)
---Azalea simsii (Planch.) H.F.Copel.(1943)
---Rhododendron bellum W.P. Fang & G.Z. Li.(1984)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2427105
ชื่อสามัญ---Formosa Azalea, Sim's Azalea
ชื่ออื่น---กุหลาบดอย, กุหลาบแดง (เลย); [CHINESE: Du juan, Jiāngnán dùjuān.];[FRENCH: Azalée de Sims.];[GERMAN: Zimmer-Azalee.];[JAPANESE: Azarea.];[KOREAN: Dae man cheol jjuk.];[PORTUGUESE: Azaléia-belga, Azálea-vermelha.];[RUSSIAN: Azaliya indiyskaya, Rododendron indiyskiy, Rododendron Simsa.];[SWEDISH: Fönsterazalea.];[TAIWAN: Táng dùjuān.];[THAI: Kulap daeng (Loei).];[VIETNAM: Đỗ quyên hoa đỏ.].
ชื่อวงศ์---ERICACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ตั้งแต่จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีน ตอนเหนือของลาว เวียตนาม ไปจนถึงญี่ปุ่น
นิรุกติศาสตร์---ชื่อของสกุล 'Rhododendron' จากภาษากรีกโบราณ ῥόδον (rhódon = “ กุหลาบ” ) + δένδρον  ( déndron = “ ต้นไม้” ) ; ชื่อเฉพาะ 'simsii' เป็นการระลึกถึงJohn Sims (1749-1831) ซึ่งเป็นบรรณาธิการคนแรกของ "Magazine Botanique"
Rhododendron simsii เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในวงศ์กุหลาบป่า (Ericaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Jules emile Planchon (1823 –1888) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ในปีพ.ศ.2396
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกพบได้ทั่วไปในฮ่องกง มีการกระจายพันธุ์ในพื้นที่ทางตอนใต้ของแยงซีเกียงในประเทศจีน รวมทั้งในเวียดนามและไทย เติบโตที่ระดับความสูง 500–2,700 เมตร.ในประเทศไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชอบขึ้นเป็นกลุ่มๆใกล้ลำธาร ป่าบนภูเขาหินทราย,ป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง1,000-1,600 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มสูง 2(–5) เมตร แตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก ใบเดี่ยวออกเรียงสลับแผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่กลับกว้าง 1-2.5 ซม.ยาว 2-6 ซม. ใบเหนียวหนามีขนอ่อนปกคลุมทั้งสองด้าน ดอกมีตั้งแต่สีขาวไปจนถึงสีแดงเข้ม ออกเป็นช่อที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง จำนวน2-7ดอก ผลรูปไข่ขนาด1-1.5 ซม.มีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมเมื่อแก่แตกตามยาวเมล็ดแบนขนาดเล็กจำนวนมากและมีปีกบางใส
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---เจริญเติบโตได้ดีบนภูเขาสูงอากาศหนาวเย็น สภาพป่าสมบูรณ์ ร่มครึ้ม ความชื้นสูง ดินร่วนระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุมาก อุณหภูมิที่เหมาะสม 18-21ºC
การรดน้ำ---ต้องการน้ำปานกลาง การรดน้ำต้องสม่ำเสมอและมีปริมาณมากในฤดูร้อน เว้นช่วงในฤดูหนาว หากพืชถูกปล่อยให้อยู่ในสภาวะแห้งแล้ง การเจริญเติบโตอาจชะงักและตาดอกอาจไม่พัฒนาหรืออาจเติบโตเพียงบางส่วน ทำให้ใบพืชร่วงหล่นหรือเหี่ยวเฉาในที่สุด หลีกเลี่ยงการใช้น้ำประปาโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีน้ำกระด้าง ประกอบด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนตที่ละลายน้ำซึ่งเป็นด่างและเป็นพิษต่อพืช
การตัดแต่งกิ่ง---กิ่งที่ยาวขึ้นสามารถตัดแต่งเล็กน้อยหรือตัดให้สั้นลงหลังดอกบานได้ แต่ห้ามใช้กับกิ่งไม้ที่มีอายุมาก ซึ่งอาจทำให้การแตกยอดไม่สำเร็จ
การใส่ปุ๋ย---ใช้ปุ๋ยละลายช้าทุก 3 เดือน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปีละ 1 ครั้งหลังการตัดแต่งกิ่ง
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่ค่อยมีโรคหรือแมลงรบกวน /การให้น้ำมากเกินไปอาจทำให้รากเน่าได้
รู้จักอ้นตราย---Rhododendron simsiiบางชนิดมีพิษเนื่องจากมี สาร grayanotoxin อาการทางกายภาพจากพิษของสาร เกรอาโนทอกซินจะปรากฏขึ้นหลังจากระยะเวลาแฝงที่ขึ้นกับขนาดยาเป็นเวลาหลายนาทีถึงประมาณสามชั่วโมง อาการทางคลินิกที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ผลกระทบต่างๆ ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดคลื่นไส้และอาเจียน และความรู้สึกตัวเปลี่ยนไป ผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดอาจรวมถึงความดันเลือด ต่ำ
ใช้ประโยชน์---นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ สามารถปลูกเป็นไม้กระถาง
ระยะออกดอก---มีนาคม-พฤษภาคม/มิถุนายน-สิงหาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ


อ้างอิง, แหล่งที่มา
ข้อมูลในเว็บไซต์นี้ได้รวบรวมจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น
---หนังสือพรรณไม้ในสวนหลวง ร.๙ เล่ม1,เล่ม 2,เล่ม 3 2554 .  
---หนังสือ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม1,เล่ม2,เล่ม3, เล่ม4 2548
---หนังสือ ต้นไม้เมืองเหนือ คู่มือศึกษาต้นไม้ยืนต้น ในป่าภาคเหนือ ประเทศไทยโดย ไซมอน การ์ดเนอร์,พินดา สิทธิสุนธร,วิไลวรรณ อนุสารสุนทร หอพรรณไม้ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2549
---ไม้ต้นในสวน Trees in the Gardenโดย องค์การสวนพฤกษศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี The Botanical Garden Organization Office of the Prime Minister พิมพ์ครั้งที่1 พฤษภาคม 2542 จัดพิมพ์โดย มูลนิธิ ศาสตราจารย์ ดร.สง่า สรรพศรี
---คู่มือดูพรรณไม้ป่าสะแกราช เล่ม1, เล่ม2 โดย ดร. ปิยะ เฉลิมกลิ่น,จิรพันธ์ ศรีทองกุล,อนันต์ พิริยะภัทรกิจ
---หนังสือ พรรณไม้วงศ์กระดังงา ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ภาพ: อภิชัย อิงควุฒิ                                                      
---อ้างอิง,ภาพประกอบการศึกษา-หนังสือป่าเชายเลน นิเวศวิทยาและพรรณไม้ โดย สรายุทธ บุญยะเวชชีวิน (ผู้แต่งและภาพ) รุ่งสุริยา บัวสาลี พิมพ์ครั้งที่1 เมษายน 2554
---หนังสือ ดอกไม้ และประวัติไม้ดอกเมืองไทย จาก ชุดธรรมชาติศึกษา โดย วิชัย อภัยสุวรรณ 2532
---ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์  BGO Plant Databases, The Botanical Garden Organization http://www.qsbg.org/database/
---สำนักงานหอพรรณไม้. (2557). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย  เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช http://www.dnp.go.th/botany/mplant/index.aspx
---The International Plant Names Index and World Checklist of Selected Plant Families 2017. Published on the Internet at http://www.ipni.org and http://apps.kew.org/wcsp/
---The Plant List (TPL) was a working list of all known plant species  http://www.theplantlist.org/
---Useful Tropical Plants. http://tropical.theferns.info/viewtropical.                       
---India Biodiversity Portal. http://indiabiodiversity.org/species/show/                    
---Plants of the World Online Kew Science.www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org
---GBIF.the Global Biodiversity Information Facility.https://www.gbif.org/species/
---https://www.nparks.gov.sg/florafaunaweb/who-we-are
---http://www.dnp.go.th/botany/detail.aspx?wordsnamesci=Winitia0cauliflora0(Scheff.)0Chaowasku
---http://www.asianplant.net/Annonaceae/Stelechocarpus_cauliflorus.htm
---http://khaophrathaew.org/Biodiversity_Flora2.htm
---https://whatflower.net/about/
---https://gd.eppo.int/search
REFERENCES ---General Bibliography
REFERENCES ---Specific & complementary

Check for more information on the species:    
    
Plants Database   --- Names, synonymy and distribution    The Garden.org Plants Database    https://garden.org/plants/
Global Plant Initiative    Digitized type specimens, descriptions and use    หอพรรณไม้ - กรมอุทยานแห่งชาติ    www.dnp.go.th/botany/Herbarium/GPI.html
Tropicos    ---Nomenclature, literature, distribution and collections    Tropicos - Home    www.tropicos.org/
GBIF   --- Global Biodiversity Information Facility    Free and open access to biodiversity data    https://www.gbif.org/
IPNI    ---International Plant Names Index    The International Plant Names Index - home page    http://www.ipni.org/
EOL    ---Descriptions, photos, distribution and literature    Global access to knowledge about life on Earth    Encyclopedia of Life eol.org/
PROTA       ---Uses    The Plant Resources of Tropical Africa    https://books.google.co.th/books?isbn=9057822040
Prelude    ---Medicinal uses    Prelude Medicinal Plants Database    http://www.africamuseum.be/collections/external/prelude
Google Images   --- Images        
            

รวบรวมและเรียบเรียงโดย Tipvipa..V รูปภาพ--ทิพพ์วิภา วิรัชติ (2008)
บริษัท สวนสวรส การ์เด้น ดีไซน์ จำกัด
สวนเทวา  เชียงใหม่
www.suansavarose.com
www.suan-theva.com

Up date 26/8/2020

2/7/2022, 5/42023







ความคิดเห็น

  1. 1
    Geometry Dash
    Geometry Dash dsfajfvbawe@gmail.com 26/08/2024 09:29

    The flowers look very beautiful. 

  2. 2
    Zoe
    Zoe aggiwfofqoqo@yahoo.com 26/06/2024 19:05

    Are you a celebrity? If you are, you will find your name and information on Are you a celebrity? If you are, you will find your name and information on famous celebrities - the database which is open for everyone.


  3. 3
    lxbfYeaa
    lxbfYeaa testing@example.com 17/11/2023 22:33
    555
  4. 4
    lxbfYeaa
    lxbfYeaa testing@example.com 17/11/2023 22:33
    555
  5. 5
    lxbfYeaa
    lxbfYeaa testing@example.com 17/11/2023 22:15
    555
  6. 6
    lxbfYeaa
    lxbfYeaa testing@example.com 17/11/2023 22:15
    555
  7. 7
    ufabet
    ufabet ufabet927@gmail.com 01/07/2023 12:47


    Pretty! This has been an incredibly wonderful article. Thank you for supplying this information. Don\'t forget to follow UFABET UFA365 UFABETเข้าสู่ระบบ ยูฟ่าเบท , an online casino website.

  8. 8
    SallieStevens
    SallieStevens SallieStevens@gmail.com 27/01/2022 09:53

    Backlinks are links from a page on one website to another. This is important to us and you are giving us a chance and opportunity to help each other. We are hoping to have the same goal for the future of ours. www.chokdeebacarrat.com/ole777

  9. 9
    Kittt
    Kittt Kitti.pint@gmail.com 24/11/2017 14:25

    เป็นประโยชน์มากครับ.. อ่านแล้ว มีความคิดอยากทำสวนเรียนรู้ แสดงพันธุ์ไม้ ..ให้คนรุ่นต่อๆไปได้รู้จัก, รู้ว่ามีประโยชน์มากมาย ,ได้เห็นคุณค่า ,รักต้นไม้ และช่วยกันปลูกต้นไม้ต่างๆให้มากขึ้นๆๆๆ จริงๆครับ... ขอบคุณจริงๆ

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

  Copyright 2005-2009 suansavarose All rights reserved.
view